หนังสือรับรอง จาก หัวหน้างาน

หนังสือรับรองการทำงาน เป็นหนังสือที่ออกโดยนายจ้างของพนักงาน/ลูกจ้างนั้น เพื่อรับรองว่าในระยะเวลาการจ้างงานระหว่าง นายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างได้ปฏิบัติงานนั้น มีการทำงานในตำแหน่งใด ระยะเวลางาน มีเงินเดือนและรายได้อื่นจากนายจ้างเท่าใด เช่น ค่าสวัสดิการ ค่านายหน้า เงินโบนัส เงินบำเหน็จ และเงินได้อื่นๆ โดยมีจุดประสงค์ที่หลากหลายในการนำไปใช้ เช่น ลูกจ้างนำไปใช้เพื่อประกอบการสมัครงาน การสมัครเรียนในระดับปริญญาขั้นสูง ประกอบการขออนุมัติการกู้ยืมกับสถาบันการเงินต่างๆ หรือใช้ประกอบการทำธุรกรรมต่างๆ ที่ต้องการหลักฐานพิสูจน์ประสบการณ์ในการทำงานของตัวพนักงาน/ลูกจ้างนั้น

การนำไปใช้

เนื่องจากหนังสือรับรองการทำงานเป็นการรับรอง ซึ่งหมายความว่าเป็นการยืนยันความถูกต้อง ดังนี้ การกรอกข้อมูลในหนังสือรับรองการทำงาน จะต้องระบุข้อความที่ถูกต้องตรงตามความเป็นความจริง ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งงาน ประสบการณ์ และระยะเวลาการทำงาน ลักษณะการจ้างงาน จำนวนเงินเดือน ค่าตอบแทนต่างๆ เป็นต้น มิฉะนั้นแล้ว หากมีการนำหนังสือรับรองการทำงานไปใช้ประกอบอ้างอิง และปรากฏว่าข้อความที่ไม่ถูกต้อง/ไม่เป็นจริงนั้น ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย นายจ้างและผู้รับรองอาจจะถูกดำเนินการทางกฎหมายและอาจถูกเรียกร้องค่าเสียหายได้

นอกจากนี้ นายจ้างอาจระบุข้อมูลการติดต่อของนายจ้าง เพื่อให้ผู้นำไปใช้ สามารถใช้ติดต่อเพื่อสอบถามเพิ่มเติมและยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงานของตัวพนักงาน/ลูกจ้างนั้นได้ (Employment Verification)

โดยในหนังสือรับรองการทำงาน นายจ้าง หรือพนักงาน/ลูกจ้างผู้ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง เช่น ผู้จัดการฝ่ายบุคคล อาจเป็นผู้ลงนามในหนังสือรับรองการทำงาน ก็ได้ โดยเมื่อจัดทำและลงนามเรียบร้อยแล้ว ก็ส่งมอบให้กับพนักงาน/ลูกจ้างผู้ร้องขอหนังสือรับรองซึ่งมีชื่ออยู่ในหนังสือรับรองดังกล่าว เพื่อพนักงานนั้นนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ โดยนายจ้างอาจทำสำเนาเก็บไว้อีกฉบับเพื่ออ้างอิง หรือไม่ก็ได้

เนื่องจาก ข้อมูลพนักงาน/ลูกจ้าง โดยเฉพาะเงินเดือนอาจถือเป็นข้อมูลความลับและข้อมูลเฉพาะบุคคล ดังนั้น การส่งมอบหนังสือรับรองการทำงานควรส่งมอบด้วยซองจดหมายปิดผนึกที่บุคคลอื่นไม่สามารถเห็นข้อความในหนังสือรับรองการทำงานนั้นได้จนกว่าพนักงานผู้ขอหนังสือนั้นจะเปิดออกดู

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกหนังสือรับรองการทำงานไว้โดยตามกฎหมายการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้ เมื่อสิ้นสุดการจ้างงานแล้ว พนักงาน/ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับเอกสารซึ่งแสดงว่าลูกจ้างมีระยะเวลาการทำงานและมีการทำงานเป็นอย่างไร ดังนี้ เมื่อการจ้างสิ้นสุดจึงเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้กับพนักงาน/ลูกจ้าง ไม่ว่าพนักงาน/ลูกจ้างนั้นร้องขอ หรือไม่ก็ตาม

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

เรามาทำความรู้จักหนังสือรับรองการทำงานกันดีกว่า ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนเลยว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารสำคัญที่จำเป็นต่อการยื่นสมัครงานครั้งต่อ ๆ ไปของคุณ เพราะ HR ของแต่บริษัทเขาก็อยากรู้ว่าคุณทำอะไรมาก่อนหน้าใช่ไหมล่ะครับ? หนังสือรับรองการทำงานจึงเป็นเอกสารที่สำคัญมาก

นอกจากการนำไปสมัครงาน เอกสารนี้ยังสามารถนำไปใช้ได้หลายอย่าง แต่ก่อนที่เราจะลงลึกไปมากกว่านี้ มาทำความรู้จักหนังสือรับรองการทำงานกันก่อนดีกว่าครับ

หนังสือรับรองการทำงานคืออะไร?

หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน หรือใบรับรองงานคือเอกสารเดียวกัน เป็นเอกสารที่นายจ้างออกให้ลูกจ้างที่ผ่านการทดลองทำงานแล้ว และลูกจ้างจะได้รับหนังสือรับรองการทำงานหลังจากสัญญาจ้างงานสิ้นสุดลง หนังสือรับรองการทำงานมีไว้เพื่อรับรองว่าบุคคลนั้น ๆ เคยได้ผ่านการทำงานในที่นั้น ๆ มาแล้ว

หลังจากได้สิ้นสุดการทดลองงาน ลูกจ้างจะได้รับหนังสือรับรองการทำงาน โดยหนังสือควรจะมีข้อมูลระบุว่า

  1. ตราครุฑ
  2. ออกหนังสือที่ไหน และระบุเวลาออกที่ชัดเจน
  3. ชื่อของลูกจ้างที่ขอหนังสือรับรองการทำงาน
  4. ตำแหน่งที่เข้าทำงานอย่างละเอียด
  5. เงินเดือนที่ได้รับล่าสุด
  6. ระยะเวลาสัญญาการทำงานขั้นต่ำ
  7. ชื่อ ลายเซนต์ และตำแหน่งผู้รับรอง

หนังสือรับรองงานจะไม่มีข้อความระบุให้ร้ายกับลูกจ้างไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม (ถึงมีการทุจริตในการทำงาน นายจ้างก็ไม่สามารถระบุเหตุผลที่เลิกจ้างงานในใบรับรองการทำงานได้)

หนังสือรับรองการทำงานมีประโยชน์อะไรบ้าง?

  1. ลูกจ้างสามารถใช้เป็นหลักฐานว่ามีประสบการณ์เคยผ่านงานนั้น ๆ มาแล้วในการสมัครงานครั้งใหม่
  2. ลูกจ้างสามารถนำหนังสือรับรองการทำงานไปประกอบการสมัครเรียนต่อในระดับปริญญาขั้นที่สูงกว่าเดิมได้
  3. ลูกจ้างสามารถใช้เครดิตจากหนังสือรับรองการทำงานไปประกอบคำขอกู้ยืมเงินจากธนาคารต่าง ๆ ได้ โดยจะเพิ่มเปอร์เซนต์ในการกู้ผ่านหรือกู้ในจำนวนเงินที่มากขึ้น
  4. สามารถนำใบรับรองการทำงานไปยื่นขอทำบัตรเครดิตได้
  5. สะดวกแก่ผู้จ้างงานครั้งต่อ ๆ ไปที่จะได้รับทราบประวัติการทำงานของผู้สมัคร ว่าเคยทำงานที่ไหน ในตำแหน่งอะไร เงินเดือนเท่าไหร่มาบ้าง

หนังสือรับรองการทำงานสามารถขอย้อนหลังได้หรือไม่?

หนังสือรับรองการทำงานสามารถขอย้อนหลังได้ตามกฎหมาย แต่หากต้องการขอควรรีบขอเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากข้อมูลของลูกจ้างคนนั้นไม่ได้อยู่ในระบบของบริษัทเก่าแล้ว บริษัทอาจจะออกหนังสือรับรองการทำงานให้ไม่ได้ หรืออาจจะขอได้แต่ยากมากขึ้นเพราะข้อมูลอาจหายไปแล้ว หรือหายากกว่าขอตั้งแต่พึ่งออกจากงานมา

แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 บริษัทต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้ลูกจ้างในทุกกรณี หากไม่ออกให้ลูกจ้างสามารถไปร้องศาลแรงงานได้

หากลูกจ้างทุจริตในหน้าที่การงาน บริษัทสามารถเลือกที่จะให้ หรือไม่ให้หนังสือรับรองการทำงานได้หรือไม่?

ตามกฎหมายแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับหนังสือรับรองการทำงานทุกกรณี ไม่ว่าจะลาออกเองหรือโดนไล่ออกโดยมีความผิดติดตัว หากบริษัทไม่ให้หนังสือรับรองแก่ลูกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องศาลแรงงานเพื่อให้บริษัทออกหนังสือให้ภายหลังอยู่ดี

นายจ้างสามารถระบุความผิดของลูกจ้าง หรือสาเหตุการเลิกจ้างลงในใบรับรองการทำงานได้หรือไม่?

ตามกฎหมายไม่ได้มีระบุข้อกฎหมายไว้ชัดเจน แต่ว่าเคยมีกรณีที่ศาลฏีกาตัดสินว่า นายจ้างไม่มีสิทธิระบุสาเหตุการเลิกจ้างได้ในทุกกรณี

ใบรับรองการทำงานมีอายุเท่าไหร่?

ถ้าตามกฎหมาย ใบรับรองงานมีอายุ 30 วัน เพราะหลังจากนั้นจะถือว่าเป็นเอกสารเก่า ไม่สามารถนำไปใช้ในระบบราชการได้ แต่หากเหตุผลในการนำใบรับรองการทำงานไปใช้ในการสมัครงานครั้งใหม่ ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องระยะเวลา เพราะเอกสารนี้มีไว้เพื่อยืนยันว่าบุคคลนั้นๆ มีประสบการณ์ เคยผ่านการทำงานที่นั้น ๆ มาก่อนเท่านั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับใบรับรองการทำงาน

มาตรา 585 เมื่อการจ้างแรงงานสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญ แสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไหร่ และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร

หากนายจ้างฝ่าฝืนลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14 ที่ว่าไว้ว่า

มาตรา 14 ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างให้ถูกต้องตามสิทธิ และหน้าที่ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น