กรณีศึกษา โรคหลอดเลือดสมอง

dc.contributor.authorสิรินาฏ นิภาพรth_TH dc.contributor.authorจิราลักษณ์ นนทารักษ์th_TH dc.contributor.authorสมบัติ มุ่งทวีพงษาth_TH dc.contributor.authorปิยะฉัตร สมทรงth_TH dc.contributor.authorSirinard Nipapornen_US dc.contributor.authorJiraluck Nontaraken_US dc.contributor.authorSombat Muengtaweepongsaen_US dc.contributor.authorPiyachat Somsongen_US dc.coverage.spatialโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติth_TH dc.date.accessioned2014-05-28T04:30:55Z dc.date.available2014-05-28T04:30:55Z dc.date.issued2556-12-01 dc.identifier.otherhs2103 dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4017 dc.description.abstractโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโรคหนึ่งของประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตเป็นลำดับที่ 3 ในปี 2550 และก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability ADUSTED Life Year: DALYs) ที่สำคัญ และมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งผู้ป่วยโรคเลือดเลือดสมองหากรอดชีวิต ส่วนใหญ่จะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ทั้งก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายต่อครอบครัว และภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที ประเทศไทยมีระบบบริการสุขภาพหลัก 3 ระบบ ได้แก่ ระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งแต่ละระบบมีการออกแบบระบบที่ต่างกัน การจัดบริการสุขภาพให้กับผู้ป่วยจึงขึ้นอยู่กับสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยภายใต้หลักประกันสุขภาพที่ผู้ป่วยมีสิทธิ ซึ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก็เช่นกัน สิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับในแต่ละระบบมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงมีข้อสงสัยว่าการจัดและให้บริการที่ผู้ป่วยได้รับภายใต้สิทธิประโยชน์ที่ต่างกันของระบบหลักประกันสุขภาพหลัก จะส่งผลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยและการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยหรือไม่ การศึกษานี้เป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ทำการศึกษาในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่มีศูนย์เชี่ยวชาญโรคหลอดเลือดสมองที่มีระบบ stroke fast track ที่มีประสิทธิภาพสูง และเป็นศูนย์กลางรับผู้ป่วยจากโรงพยาบาลในเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองที่อยู่บริเวณปริมณฑลกรุงเทพฯ ส่วนเหนือ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2555 – มกราคม 2556 ผลการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่า ในระยะเฉียบพลัน (acute) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ทุกสิทธิจะได้รับการรักษาตามแนวทางเวชปฏิบัติ ไม่พบความเลื่อมล้ำในการให้บริการหรือเลือกปฏิบัติที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยแพทย์มองว่าเป็นจริยธรรมทางการแพทย์ที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะฟื้นฟู (Chronic) แพทย์จะเลือกวิธีในการดูแลรักษาโดยมีการพิจารณาสิทธิของผู้ป่วย เช่น การให้ยาลดความดันโลหิต การตรวจวินิจฉัยพิเศษ เพื่อหาสาเหตุการเกิดโรค เป็นต้น การไม่มาพบแพทย์ตามนัดนั้น ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับยา rt-PA และไม่ได้รับยา rt-PA เกิดจากพยาธิสภาพทางร่างกายทำให้ไม่สะดวกต่อการมาพบแพทย์ผู้ดูแลไม่สามารถพามารับบริการได้การที่ต้องมีหนังสือส่งตัวจากสถานพยาบาลหลัก ที่อยู่อาศัยอยู่ห่างจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมารับกายภาพบำบัดที่สถานพยาบาลหากครอบครัวหรือผู้ดูแลเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วยสามารถที่จะฟื้นฟูกลับมาสู่สภาพเดิมได้th_TH dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH dc.language.isothth_TH dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.)th_TH dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH dc.subjectหลักประกันสุขภาพth_TH dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH dc.subjectโรคสมองขาดเลือดth_TH dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH dc.titleการประเมินสมรรถนะระบบหลักประกันสุขภาพในการให้บริการผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด จากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติth_TH dc.title.alternativePerformance assessment of health insurance in ischemic stroke patient : case study of Thammasat University Hospitalth_TH dc.typeTechnical Reportth_TH dc.identifier.callnoW160 ส741ก 2556 dc.identifier.contactnoT56-04en_US dc.subject.keywordหลอดเลือดสมองอุดตันth_TH dc.subject.keywordหลอดเลือดสมองตีบth_TH .custom.citationสิรินาฏ นิภาพร, จิราลักษณ์ นนทารักษ์, สมบัติ มุ่งทวีพงษา, ปิยะฉัตร สมทรง, Sirinard Nipaporn, Jiraluck Nontarak, Sombat Muengtaweepongsa and Piyachat Somsong. "การประเมินสมรรถนะระบบหลักประกันสุขภาพในการให้บริการผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด จากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ." 2556. http://hdl.handle.net/11228/4017. .custom.total_download501 .custom.downloaded_today0 .custom.downloaded_this_month0 .custom.downloaded_this_year1 .custom.downloaded_fiscal_year4

การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษา โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดสุรินทร์



การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษา โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดสุรินทร์
นายลิขิต แนบทางดี*
บทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อยจัดได้ว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกและในประเทศไทย องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้รายงานสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองในปี 2548 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกจำนวน 5.7 ล้านคนและคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มเป็น 7.8 ล้านคน ซึ่งปัจจุบันแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อเนื่องจะเน้นการฟื้นฟูสภาพเมื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาการคงที่และเข้าสู่ระยะฟื้นฟู แพทย์จะส่งผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้าน
กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทย อายุ75 ปีปฏิเสธการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ปฏิเสธโรคประจำตัว ไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปีปฏิเสธแพ้ยาใดๆ มีอาการ แขน ขา ซีกขวา อ่อนแรง ปากเบี้ยว ซึม ก่อนมาโรงพยาบาล 8 ชั่วโมง ญาติพามารักษาที่โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา แพทย์วินิจฉัย Stroke, not specified as haemorrhage or infarction ส่งต่อรักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ แพทย์วินิจฉัย Stroke Right Hemiparesis ได้รับการรักษาและส่งกลับมาฟื้นฟูสภาพที่บ้าน จากการออกเยี่ยมบ้านมีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 8 ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีการดูแลตัวเองของ โอเร็มกรอบแนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านและแบบประเมินการเยี่ยมบ้านINHOMESSS และประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล(Barthel Activities of Daily Living : ADL)คะแนน = 2การพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับคือ การรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ การป้องกันการติดเชื้อ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง ภาวะโภชนาการ การขับถ่าย การนอนพักผ่อน การปรับตัวต่อความเครียด การจัดการสิ่งแวดล้อม การรับรู้ตนเอง อัตมโนทัศน์ ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาจากทีมสุขภาพ (Care team)ตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติได้รับคำปรึกษาเอาใจใส่ให้กำลังใจอย่างต่อเนื่องด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ครอบคลุมตามแผนการรักษาพยาบาล
ผลลัพท์: ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้านเพิ่มเติมจำนวน 4ครั้งเป็นระยะเวลา 3เดือน คะแนน ADL = 4ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดูแลตัวเองได้ตามแผนการรักษา มีผู้ดูแล (Care Giver)เข้าร่วมเยี่ยมบ้าน มีระบบการสื่อสารกับทีมสุขภาพทาง Lineและจากการประชุมทีมเยี่ยมบ้านพบโอกาสพัฒนาคุณภาพการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านทั้งด้านความรู้และทักษะของพยาบาลและการรับรู้และทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยและครอบครัวโดยเฉพาะการป้องกันแผลกดทับ ซึ่งถือเป็นบทบาทของผู้บริหารทางการพยาบาลที่สำคัญที่จะช่วยทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดคล้องปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน

คำสำคัญ :โรคหลอดเลือดสมอง ,การพยาบาลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน

* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดสุรินทร์