การเขียนโปรแกรม ขั้นพื้นฐาน


        ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ของภาษาโปรแกรม และระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ว่ามีโครงสร้างและวิธีการใช้คำสั่งอย่างไร ซึ่งในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้คือ

                        1. ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา

                        2. กำหนดแผนในการแก้ปัญหา

                        3. เขียนโปรแกรมตามแผนที่กำหนด

                         4. ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม

                        5. นำโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบไปใช้งาน

ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา
           ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจและทำการวิเคราะห์ปัญหาเปํนลำดับแรก เพราะการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาเป็นสิ่งที่สำคัญโดยที่ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบว่าโจทย์ต้องการผลลัพธ์อะไร และการให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์นั้น ต้องป้อนข้อมูลอะไรบ้าง และเมื่อป้อนข้อมูลเข้าไปแล้วจะทำการประมวลผลอย่างไร สิ่งหล่านี้ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะถ้าผู้เขียนโปรแกรมวิเคราะห์ปัญหาไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็อาจจะไม่ตรงกับ
ความต้องการของโจทย์ได้

กำหนดแผนในการแก้ปัญหา
           หลังจากทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาโจทย์จนได้ข้อสรปุว่าโจทย์ต้องการอะไรแล้ว ผู้เขียนโปรแกรมก็จะทำการกำหนดแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการเขียนผังงาน (Flowchart) ซึ่งการเขียนผังงานคือการเขียนแผนภาพที่เป็นลำดับ เพื่อแสดงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ การเขียนผังงานมี 3 แบบคือ แบบเรียงลำดับ(Sequential) แบบมีการกำหนดเงื่อนไข(Condition) และแบบมีการทำงานวนรอบ(Looping)

ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้อง
         หลังจากขียนโปรแกรมเสร็จแล้วให้ทดลองคอมไพล์โปรแกรมว่ามีจุดผิดพลาดที่ใดบ้าง ในภาษาซีการคอมไพล์ โปรแกรมจะใช้วิธีการกดปุ่ม Alt + F9 ในกรณีที่ มีข้อผิดพลาดจะแสดงในช่องด้านล่างของหน้าจอเอดิเตอร์ ในส่วนของกรอบ message ให้อ่านทำความเข้าใจ และแก้ไขตามที่โปรแกรมแจ้งข้อมูลผิดพลาด เมื่อเสร็จแล้วให้ทดลองรันโปรแกรม

นำโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบไปใช้งาน
         ถ้าหากรันโปรแกรมแล้วใช้งานได้แสดงว่าจะได้ไฟล์ที่มีส่วนขยายเป็น EXE เพื่อนำไปทดสอบ้งานในที่ต่างๆ และถ้านำไปใช้งานแล้วมีปัญหาก็ให้ทำการแก้ไขโปรแกรมอีกครั้ง แต่ถ้ารันโปรแกรมแล้วไม่มีปัญหาใดๆ แสดงว่าโปรแกรมนี้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ จากนั้นผู้เขียนโปรแกรม ก็ต้องจัดทำคู่มือประกอบการใช้งานและนำไปเผยแพร่ต่อไป 

1. การเขียนโปรแกรมที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged) เป็นการสร้างลำดับการทำงานหรือการนำเสนอวิธีการทำงานด้วยแผ่นภาพ/สัญลักษณ์ ซึ่งไม่ใช่การป้อนคำสั่งควบคุมการทำงานโดยคอมพิวเตอร์ แต่เป็นการทำความเข้าใจความหมายของ สัญลักษณ์และรูปภาพ เพื่อนำมาใช้แสดงผลวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัวในชีวิตประจำวัน

การเขียนโปรแกรม ขั้นพื้นฐาน

2. การเขียนโปรแกรมที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Plugged) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นการเขียนคำสั่งควบคุมการทำงานโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแสดงผลลัพธ์ทางจอภาพ หรือไปควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้เชื่อมต่อไว้ปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับใช้เขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานมากมาย เช่น Scratch, Python, C#, Java ,PHP เป็นต้น

การเขียนโปรแกรม ขั้นพื้นฐาน
การเขียนโปรแกรม ขั้นพื้นฐาน
การเขียนโปรแกรม ขั้นพื้นฐาน
การเขียนโปรแกรม ขั้นพื้นฐาน
การเขียนโปรแกรม ขั้นพื้นฐาน



อ้างอิง

นางสาวดวงนภา จริรัมย์ ชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน รายวิชาวิทยาการคำนวณ Scratch Programming 1 สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564

การมใช้งานโปรแกรม Scratch จากเว็บไซต์ Scratch (wanwisa67667.blogspot.com) สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564

                                    ภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นในยุคแรก  ยังมีข้อจำกัดในการที่จะพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่  ทั้งนี้เนื่องจากภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นขาดโครงสร้างที่ดี  ทำให้การพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนเป็นไปได้ยาก  ในช่วงต้นปี  ค.ศ.1970  จึงมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาเชิงกระบวนการ (Procedural  หรือ  Structural  Language)  เกิดขึ้น  ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นในการพัฒนาโปรแกรม  ทำให้สามารถแก้ไขและบำรุงรักษาได้ง่าย  เนื่องจากโปรแกรมถูกแยกออกเป็นส่วน ๆ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาเชิงกระบวนการที่สำคัญคือ