วันสำคัญทาง พระพุทธ ศาสนา 6 วัน

หลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชา หรือ “อริยสัจ 4” เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าค้นพบวิธีการดับทุกข์ โดยมีความหมายว่า ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นอริยะ มีอยู่ 4 ข้อ ได้แก่

• ทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก (ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย)
• สมุทัย เหตุแห่งการเกิดทุกข์ (“ตัณหา” / “กิเลส”)
• นิโรธ การดับทุกข์
• มรรค หนทางสู่ความดับทุกข์ 8 ประการ (ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ)

ในวันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งควรนำมาปฏิบัติ ได้แก่ ความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท

อนึ่ง วันวิสาขบูชา (Vesak Day) ได้ถูกรับรองให้เป็น “วันสำคัญสากล” ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 55 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยได้รับการรับรองจาก 16 ประเทศ คือ ไทย ศรีลังกา บังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย และยูเครน

"ศาสนาพุทธ" เป็นศาสนาประจำชาติไทย ที่มีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของคนไทย เพราะนอกจากเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจแล้ว ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนายังรวมผู้คนทุกเพศทุกวัยให้มาทำกิจกรรมร่วมกันช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัยและทำให้จิตใจผ่องใสบริสุทธิ์ 

ThailandPostMart จึงขอรวบรวมข้อมูลของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนควรตระหนักถึงความสำคัญ โดยจะมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติและศาสนาพุทธ รวมไปถึงกิจกรรมที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติในทั้ง 6 วันสำคัญ มาฝากกัน

วันสำคัญทาง พระพุทธ ศาสนา 6 วัน

วันมาฆบูชา 

วันมาฆบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 หากเป็นปีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองครั้ง) เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป ที่เวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย อันเป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ

- ทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า

- ทำบุญฟังเทศน์ที่วัด 

- ร่วมพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ

วันสำคัญทาง พระพุทธ ศาสนา 6 วัน

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 โดยวันนี้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ คือ เป็นวันพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ และเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงได้ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ

- ทำบุญ 

- ตักบาตรในตอนเช้าทำบุญฟังเทศน์ที่วัด

- ร่วมพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

วันสำคัญทาง พระพุทธ ศาสนา 6 วัน

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชาตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 8 วัน นับเป็นวันที่ให้ชาวพุทธแสดงความโศกเศร้าเสียใจ เนื่องจากต้องสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา 

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ

- ทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า

- ทำบุญฟังเทศน์ที่วัด 

- ร่วมพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ

วันสำคัญทาง พระพุทธ ศาสนา 6 วัน

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก โดยทรงแสดงปฐมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร) โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ซึ่งถือเป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ

- ทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า

- ทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ถือศีล

-  ร่วมพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ

- ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

วันสำคัญทาง พระพุทธ ศาสนา 6 วัน

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ในอดีตเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์จะอยู่จำพรรษา โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น เป็นระยะเวลา 3 เดือนในช่วงฤดูฝน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พระภิกษุสงฆ์ไปเหยียบพืชพันธุ์ในนาของชาวบ้านเสียหาย ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย 

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ

- เข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา

- ถวายหลอดไฟหรือเทียนพรรษา

- ถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือผ้าวัสสิกสาฎก และจตุปัจจัย

วันสำคัญทาง พระพุทธ ศาสนา 6 วัน

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่มีการประกอบพิธีทำสังฆกรรม เรียกว่า “มหาปวารณา” เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันอีกด้วย

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ

- ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ

- ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา

- ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"

นอกจากการตระหนักรู้ในความสำคัญของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติแล้ว การน้อมนำเอาหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาพุทธมาใช้ในการดำเนินชีวิต หมั่นทำจิตให้ผ่องใส รวมถึงร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ ก็ถือเป็นหน้าที่สมควรปฏิบัติในฐานะที่เป็นศาสนิกชน อีกทั้งยังช่วยธำนุบำรุงศาสนาให้คงอยู่สืบไป

 

วันสำคัญทาง พระพุทธ ศาสนา 6 วัน

ThailandPostMart เราขอเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักรู้ความสำคัญของวันสำคัญในพระพุทธศาสนา เพื่อคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทย ด้วยการจัดทำ “ชุดแสตมป์วันสำคัญทางพุทธศาสนา” เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในวันสำคัญสากลของโลก พร้อมถวายเป็นพุทธบูชา ทั้งชุดแสตมป์พระธาตุประจำวันเกิดและชุดแสตมป์มวลหมู่พฤกษาที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล ออกแบบโดยศิลปินมากฝีมือ ลายเส้นสวยงาม น่าสะสมไว้เป็นที่ระลึก

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

1. วันมาฆบูชา 2. วันวิสาขบูชา 3. วันอาสาฬหบูชา 4. วันอัฏฐมีบูชา 5. วันเข้าพรรษา 6. วันออกพรรษา 7. พิธีตักบาตรเทโว 8. วันธัมมัสสวนะ หรือวันพระ 9. วันขึ้นปีใหม่ 10. วันสงกรานต์ 11. วันสารทไทย วันส าคัญทางศาสนาพุทธ ประกอบด้วย

วันสำคัญทางพุทธศาสนามีความสำคัญอย่างไร

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หมายถึง วันที่มีเหตุการณ์สำคัญบางอย่างเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะเป็นวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าซึ่งจะกำหนดเอาวันที่มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นในชีวิตของพระองค์เป็นหลัก

ถัดจากวันวิสาขบูชา 7 วัน คือวันอะไร

วันอัฏฐมีบูชา คือ วันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 นับถัดจาก วันวิสาขบูชาไป 7 วัน เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระที่เมือง กุสินารา เป็นวันสำคัญที่ระลึกถึงพระพุทธองค์อีกวันหนึ่ง (วัดบางที่จะจัดเวียนเทียน)

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใดเป็นวันของพระสงฆ์

วันเข้าพรรษา การเข้าพรรษา คือ การที่พระภิกษุอยู่ประจำวัดตลอดช่วงของการเข้าพรรษา เป็นเวลา 3 เดือน ปุริมพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11.