ปริมาณน้ำตาล ต่อวัน กรมอนามัย

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะกินหวาน น้ำตาลพอดีที่ 4 กรัม กินน้ำตาลมากไป เพิ่มความเสี่ยงหลายโรครุมเร้าตามมา แถมยัง อ้วน อีกด้วย

กลไกของน้ำตาลเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกย่อยที่ลำไส้เล็กเป็นกลูโคส แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ตับอ่อนหลั่งอินซูลินนำพากลูโคสเข้าสู่เซลล์ เซลล์เผาผลาญเป็นพลังงาน สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อดึงเอาพลังงานไปใช้เลย น้ำตาลส่วนที่เกินจากการใช้งาน จะถูกเก็บไว้ที่กล้ามเนื้อ (ผลพวงจากกินน้ำตาลมากกว่า 6 ช้อนชาต่อวัน) จะถูกตับดึงไปเปลี่ยนเป็นไขมัน ไขมันเมื่อมากเกินจะไปสะสม   ที่กล้ามเนื้อและพุง


แม้ว่าน้ำตาลจะให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ก็ไม่ควรกินน้ำตาลเพื่อเป็นแหล่งของพลังงาน เพราะถือว่าเป็นพลังงานที่ไม่ค่อยมีคุณค่า ซึ่งในวันหนึ่ง ๆ เรากินอาหารเข้าไปหลากหลายประเภท ทั้งแป้ง โปรตีน ไขมัน ซึ่งแล้วแต่เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงทั้งสิ้น ดังนั้น การกินน้ำตาลมาก ๆ ไม่ว่าจะมาจากเครื่องดื่ม ขนมหวาน หรือจากน้ำตาลโดยตรง จะมีอันตรายต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้ฟันผุ และการบริโภคน้ำตาลปริมาณสูงเป็นประจำ นำไปสู่การเพิ่มของน้ำหนักตัว และอ้วนในที่สุด


นโยบาย “หวานพอดีที่ 4 กรัม” จึงเป็นความสำคัญและจำเป็นที่ต้องการให้ทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องได้หันมาให้ตระหนักและให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ขณะที่ผู้บริโภคก็ต้องปรับพฤติกรรมเติมน้ำตาลในกาแฟหรือเครื่องดื่มแค่ 4 กรัม หรือลดการกินหวาน ก็จะช่วยสร้างสุขภาพดีให้กับตนเองได้ ทั้งนี้ กรมอนามัย ต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วนได้ใส่ใจในการจัดอาหารว่างเพื่อสุขภาพ  เนื่องจากส่วนใหญ่มักพบว่าอาหารว่างที่บริโภคเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงอุดมไปด้วยแป้งและคาร์โบไฮเดรต อาทิ ขนมปัง ขนมเค้กหน้าครีม เป็นต้น เมื่อกินในปริมาณที่มากเกินไปและขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้

.

หวานมากไป เสี่ยงโรคอะไรบ้าง? เช็กเลย

.

 • น้ำหนักเกิน โรคอ้วน 

 • โรคฟันผุ

 • โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

 • โรคไขมันพอกตับ โรคหัวใจและหลอดเลือด ฯลฯ

.

หวานพอดีต้อง...เท่าไหร่? 

.

กินหวานอย่างพอดีที่ 4 กรัม (1 ช้อนชา) ซึ่ง ปริมาณน้ำตาลต่อวันทั้งหมดที่แนะนำให้บริโภคไม่ ควรเกินวันละ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม

.

เช็กความหวาน...ยังไง?

.

ปริมาณน้ำตาลสามารถดูเบื้องต้นได้ง่ายๆ จากข้อมูลโภชนาการบนผลิตภัณฑ์ เช่น  หน้าซองระบุว่ามีน้ำตาล 6 กรัม หาก เรากินผลิตภัณฑ์นั้นหมด แสดงว่าเราได้รับน้ำตาลไป 6 กรัมแล้ว เราจะเหลือปริมาณน้ำตาลที่ควรได้รับจากอาหารได้อีก 18 กรัม เท่านั้นในวันนี้ หรือเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่าย (Healthier Choice) เพราะเป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดและดีต่อสุขภาพแล้ว

     ทั้งนี้แม้จะแนะนำว่า ปริมาณน้ำตาลที่ควรกินในหนึ่งวัน สำหรับแต่ละช่วงวัย ไม่ควรเกิน 4-8 ช้อนชา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องกินให้ครบ 4-8 ช้อนชาต่อวันนะคะ หากลดได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี หรือเลือกบริโภคน้ำตาลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากทำได้รับรองว่าโรคอ้วนไม่ถามหา การลดน้ำหนักเห็นผลดีขึ้นแน่นอน

ปริมาณน้ำตาล ต่อวัน กรมอนามัย

 

ในปัจจุบันมีเครื่องดื่มวางขายตามท้องตลาดมากมาย ผู้บริโภคสามารถเลือกดื่มได้ตามใจชอบ หลายๆ ท่านอาจดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงหลายชนิดต่อวัน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินความต้องการโดยที่ไม่รู้ตัว วันนี้เราจะมาพูดถึงน้ำตาลในเครื่องดื่ม และการเลือกเครื่องดื่มให้ดีต่อสุขภาพกันค่ะ

น้ำตาล คือ? 
น้ำตาล เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยน้ำตาล 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา หรือประมาณ 24 กรัม เท่านั้น แต่ทราบหรือไม่ว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลสูงถึง 25 ช้อนชาต่อวัน หรือประมาณ 100 กรัมต่อวัน 

กินน้ำตาลมากเกินไป...อันตรายไหม?
เมื่อเรากินน้ำตาลเข้าไป ร่างกายจะดูดซึม และนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้โดยตรง แต่หากเรากินน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะเก็บสะสมน้ำตาลในรูปของไกลโคเจนที่ตับและกล้ามเนื้อ เพื่อเก็บไว้ใช้เป็นแหล่งพลังงานสำรองในยามที่ร่างกายขาดพลังงาน แต่หากมีการสะสมไกลโคเจนมากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยนจากไกลโคเจน เป็นไขมันซึ่งเมื่อมีไขมันมากขึ้น อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาได้

ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม (ปริมาณอ้างอิง 200 มิลลิลิตร)

ชนิดของเครื่องดื่มปริมาณน้ำตาล (ต่ำสุด)ปริมาณน้ำตาล (สูงสุด)นมและผลิตภัณฑ์นม6 กรัม31 กรัมนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม (150 ml)4 กรัม27 กรัมน้ำผลไม้พร้อมดื่ม4 กรัม50 กรัมชาพร้อมดื่ม0 กรัม39 กรัมเครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมดื่ม8 กรัม36 กรัมเครื่องดื่มเกลือแร่11 กรัม24 กรัมน้ำอัดลม0 กรัม31 กรัม


จากตารางจะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม 200 ml (นมเปรี้ยว 150 ml) มีตั้งแต่ 0 กรัมไปจนถึง 50 กรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำตาลที่แนะนำ!!! (24 กรัมต่อวัน)

เลือกเครื่องดื่มอย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพ

เครื่องดื่มที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายที่สุด คือ น้ำเปล่า เราควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 2 ลิตรหรือประมาณ 6-8 แก้ว แต่หากรู้สึกอยากดื่มเครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่นและอร่อย เรามีวิธีในการเลือกเครื่องดื่มมาฝากกันค่ะ

1. เลือกเครื่องดื่มที่ไม่หวาน เครื่องดื่มหวานน้อย หรือเครื่องดื่มที่ไม่ใส่น้ำตาลเพิ่ม เมื่อไปสั่งเครื่องดื่มตามร้านต่างๆ เราสามารถเลือกสั่งระดับความหวานตามใจชอบได้ เช่น หวาน 0% หวาน 50% 
2. เลือกเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ปัจจุบัน มีเครื่องดื่มมากมายที่ใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล เช่น น้ำตาลเทียม หญ้าหวาน  ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ทำให้เรารู้สึกถึงรสหวานแต่ไม่ได้รับน้ำตาลและพลังงาน เช่น เครื่องดื่มสมุนไพรใส่หญ้าหวาน 
3. อ่านฉลากโภชนาการ เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลน้อย การอ่านฉลากโภชนาการช่วยให้เราทราบได้ว่า เครื่องดื่ม   แต่ละชนิดมีน้ำตาลมากน้อยเพียงใด ลองเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันหลายๆ ยี่ห้อ เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลน้อยที่สุด

แหล่งข้อมูล: กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

โดย ชฎาพร หนองขุ่นสาร 
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ (CDT, CDE) 
ศูนย์โภชนาการและการกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปริมาณน้ำตาล ต่อวัน กรมอนามัย

โซเดียมแฝงที่พบในอาหาร

อ่านต่อ...

ปริมาณน้ำตาล ต่อวัน กรมอนามัย

อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน Immune Booster

อ่านต่อ...

ปริมาณน้ำตาล ต่อวัน กรมอนามัย

สังกะสี (Zinc) กับโควิด-19

อ่านต่อ...

ปริมาณน้ำตาล ต่อวัน กรมอนามัย

เสริมภูมิให้สูง ด้วยวิตามินเอ

อ่านต่อ...

ดูบทความทั้งหมด