เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ สวัสดิการ

รู้จัก เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)
เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller) คือ ผู้ทำหน้าที่ดูแล กำหนดทิศทาง ความเร็วเพดานบินของเครื่องบิน ซึ่งนักบินต้องปฏิบัติตาม ตั้งแต่บินขึ้นจากท่าอากาศยานต้นทาง หรือเริ่มเข้าเขตรับผิดชอบ (เข้าเขตประเทศ) กระทั่งลงจอดที่ท่าอากาศยานปลายทาง หรือพ้นเขตที่รับผิดชอบ (พ้นเขตประเทศ) อย่างปลอดภัย สำหรับ Ground Control แม้จะทำหน้าที่ควบคุมเครื่องบินที่อยู่บนภาคพื้น แต่ก็ไม่ง่ายนัก เพราะนักบินจะมีเวลาอยู่กับ Ground มากกว่าส่วนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการขอ Information การ Negotiation การ Complain จะเกิดขึ้นบน Ground มากที่สุด ดังนั้นการติดต่อสื่อสารและให้บริการ จะเกิดความประทับใจได้ Controller ต้องมีทักษะในการสื่อสารสูง และตัดสินใจอย่างรอบคอบและรวดเร็ว

ไม่มีคำว่า “ หยุด ” สำหรับ ATC
เครื่องบินที่อยู่ในอากาศเคลื่อนที่ตลอดเวลา ไม่สามารถเบรคลอยคว้างในอากาศได้ และช่วงเวลาเพียงแค่ 1 นาทีนั้น ATC ไม่ได้ควบคุมเครื่องบินแค่เครื่องเดียว ลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า ตอนนี้มีเครื่องบิน 20 ลำ ต่างต้องการเข้ามาลงที่สนามบินดอนเมือง ATC ต้องจัดการเครื่องเหล่านั้นตามลำดับก่อน-หลัง สำหรับงานบน Tower ถือว่ามีพื้นที่รับผิดชอบน้อยกว่า เพราะเฉลี่ยแล้วเครื่องบินที่เข้ามาลงจะมีเวลาอยู่ในพื้นที่ของ Tower ประมาณ 3 นาทีเท่านั้น การตัดสินใจทุกอย่างจึงต้องรวดเร็วและปลอดภัย

ATC อาชีพที่เครียดที่สุดในโลก
อาชีพนี้ได้ชื่อว่าเป็นอาชีพที่เครียดที่สุดอาชีพหนึ่ง เพราะการดูแลเครื่องบินที่เข้ามาพร้อมกันหลายสิบเครื่อง ย่อมมีความเครียดแน่นอน และการติดต่อสื่อสารหรือให้บริการระหว่างนักบินบนเครื่องกับเจ้าหน้าที่ATC จะเกิดความประทับใจได้ Controller ต้องมีทักษะในการสื่อสารสูง สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ และรวดเร็ว  แต่ก็มีวิธีแก้เครียดคือ รู้จักปลดปล่อย อย่าให้ทับถม บริษัทฯ จัดให้มีสวัสดิการหลายอย่างที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น การบริหารระยะเวลาทำงาน การสับเปลี่ยนหน้าที่ พอถึงเวลาพักก็จัดห้องพักที่เป็นสัดส่วนไว้ให้ มีทีวี วิทยุ เก้าอี้นวด นวนิยาย คอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม ให้ได้ผ่อนคลายตามชอบ เน้นการทำงานร่วมกันแบบพี่น้อง จัดให้มีการประชุมทุกเดือน เพื่อนำปัญหาจากการทำงานมาเล่าสู่กันฟัง ทั้งปัญหาส่วนบุคคล ปัญหาบริษัท บ้านเมือง เพื่อให้ทันเหตุการณ์และขจัดปัญหาเหล่านั้นออกไป ไม่ให้อยู่ในระบบการทำงานที่มีความเครียดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

การปฏิบัติหน้าที่
หลังจากผ่านข้อเขียนและสัมภาษณ์แล้ว จะต้องเข้ารับการอบรม Intensive Course เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยมีการทดสอบผลการเรียนด้วย ถือเป็นการทดลองเรียนก่อน ยังไม่ถือว่ารับเป็นพนักงานของ ATC และมีสัญญาว่า ผู้ที่เรียนไม่ไหวสามารถออกไปได้ แต่จะไม่มีสิทธิ์ทำงานในส่วนใดของ ATC ส่วนผู้ที่ผ่านการทดสอบในขั้นตอนนี้ ทางบริษัทวิทยุการบินฯ จะทำการบรรจุเป็นพนักงานในตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป” และส่งไปอบรมยังสถาบันการบินพลเรือนเป็นระยะเวลา 8 เดือน แล้วจึงมีการทดสอบอีกครั้ง เพื่อทำการคัดเลือกศูนย์ควบคุมการบิน และหอบังคับการบินที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน ในขั้นตอนนี้บริษัทฯ จะเลื่อนตำแหน่งให้เป็น “เจ้าหน้าที่ข้อมูลการบิน” และต้องออกไปทำการฝึกเป็นเวลา 1 ปี และกลับมาสอบเลื่อนขั้นอีกครั้ง โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางอากาศมาเป็นผู้ทดสอบ หากผ่านขั้นนี้ได้แล้ว จะทำงานเป็น Aerodrome Controller หลังจากนั้นต้องสอบเลื่อนขั้นอีกครั้ง เพื่อคัดว่าจะปฏิบัติงานควบคุมด้านใด โดยแยกเป็น 2 ระดับ คือ Approach Control และ Area Control

เส้นทางการเตรียมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ ATC
ก่อนอื่นน้องๆ ต้องถามตนเองว่ามีความชอบงานนี้มากแค่ไหน มีใจรักในงานท้าทายนี้เพียงพอหรือยัง โดยเฉพาะทำงานแบบเข้าเวรเป็นกะได้ไหม (ลักษณะการทำงานของเจ้าหน้าที่ ATC แต่ละผลัดจะมีชั่วโมงการทำงาน 12 ชั่วโมง จะทำ 2 พัก 2 กล่าวคือทำงาน 2 ชั่วโมง แล้วพัก 1 ชั่วโมง (control เครื่องบิน 1 ชั่วโมง และ assistant 1 ชั่วโมง) เข้าเวร morning shift เริ่ม 08.00-20.00 แล้วพัก 24 ชั่วโมง แล้วสลับมาเข้า Night Shift เริ่ม 2 ทุ่ม เลิก 2 โมงเช้า แล้วพัก 48 ชั่วโมง) ทำงานเป็นทีมได้หรือเปล่าว และหากต้องไปปฏิบัติงานที่สนามบินต่างจังหวัดจะไหวหรือไม่ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเจอทั้งสิ้น เนื่องจากช่วงแรกหลังจากจบเรียนภาคทฤษฎีจบ ต้องออกไปทำงานเป็น ATC สนามบินภูมิภาคก่อนเป็นเวลาแรมเดือมแรกปี และที่สำคัญ จะต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง แล้วต้องเป็นคนที่ประสานงานได้ดี

หลักสูตร ATC Fast Track
จากอัตราการเติบโตของปริมาณเที่ยวบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างบุคลากรทางสายงานนี้ให้ทันต่อความต้องการของอุตสาหกรรมการบินโลก จึงได้เปิดหลักสูตร ATC Fast Track ขึ้นมา เริ่มจากสรรหาบุคคลที่จบปริญญาตรีจากสาขาใดก็ได้ อายุไม่เกิน 27 ปี สอบโทอิกผ่าน 600 คะแนน วิธีการคัดเลือกจะใช้กระบวนการทดสอบความรู้อาทิ วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ข้อสอบจะให้ทำหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน และมีการตรวจด้านจิตเวชด้วย ผู้ที่ผ่านด่านแรกนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป คือการทดสอบความสามารถทางด้านการพิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ สอบสัมภาษณ์ จนผ่านการเลือกมาทั้งสิ้นรุ่นละ 40 คน

เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ สวัสดิการ

ที่มา :  www.aerothai.co.th

เส้นทางสู่อาชีพ "เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ"

น้องๆ ที่สนใจอาชีพด้านการบิน อย่าง เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (หรือ Air Traffic Controller หรือ ATC) สามารถยื่นสมัครสอบกับบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท. หรือ AEROTHAI) ซึ่งเป็นหน่วยงานพลเรือนรุปแบบรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งทำหน้าที่ดูแลด้านการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศของไทย ควบคู่ไปกับหน่วยงานควบคุมจราจรทางอากาศ

คุณสมบัติพื้นฐานสำหรับผู้สมัครตำแหน่ง ATC

1 อายุไม่เกิน 27 ปี
2 จบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ 
(จะสายวิทย์สายศิลป์ ทุกคนก็สามารถสมัครได้)
3 มีผลคะแนน TOEIC ไม่ต่ำกว่า 650 คะแนน (อายุของผลการสอบไม่เกิน 6 เดือนก่อนวันสมัคร)
4 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้
5 สามารถทำงานแบบเข้ากะและทำงานต่างจังหวัดได้

โดยปกติแล้วทางบริษัทจะเปิดรับสมัครทุกปี อาจจะมีบางปีที่เว้นช่วงไปบ้าง อย่างเช่นปีนี้ที่รับสมัครไปเมื่อตอนต้นปี เว้นช่วงกว่า 2 ปี แต่ยังไงก็ตาม บริษัทยังต้องการพนักงานเพิ่มอยู่ตลอด เพราะอุตสาหกรรมการบินอย่างที่เราทราบกันดีว่าเติบโตเร็วมากและมีการขยายงานอยู่ตลอดเวลา น้องๆ สามารถเตรียมตัวให้พร้อมไว้ได้เสมอ หลังจากสมัครเรียบร้อย น้องๆ ก็ต้องเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการสอบต่อไป

เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ สวัสดิการ
www.flickr.com

ขั้นตอนการสอบ ATC 

1. การสอบข้อเขียน
ประกอบด้วยวิชาความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ (ระดับม. ปลาย) ความรู้ความสามารถทั่วไป (Aptitude Test) และความรู้พื้นฐานทั่วไป (ภูมิศาสตร์กายภาพ/ความรู้ทั่วไป/ความรู้เบื้องต้นด้านคอมพิวเตอร์) โดยทั้งหมดจะให้เวลา 3 ชม. ข้อสอบเป็นแบบปรนัย

2. ทดสอบทักษะในการใช้แป้นคอมพิวเตอร์ (keyboard)
หรือสอบพิมพ์ดีด เกณฑ์คือน้องๆ ต้องสามารถพิมพ์ภาษาอังกฤษได้ไม่ต่ำกว่า 25 คำต่อนาที น้องๆ ที่อยากฝึกซ้อมมากขึ้นก็อาจจะลองหาโปรแกรมสำหรับฝึกพิมพ์มาลองใช้ดูได้ มีการจับเวลาให้ด้วย เสริมความมั่นใจไปอีกขั้นนึง

3. สอบสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ
ลักษณะการสอบจะเทียบเคียงกับการสอบวัดระดับมาตรฐานการใช้ภาษาอังกฤษที่กำหนดของ ICAO ซึ่ง ATC และนักบินจะต้องผ่านการทดสอบนี้ทุกคน และอย่างน้อยต้องได้ในระดับ 4 (Operation Level/Level 4) ในส่วนนี้ให้น้องๆ เตรียมแนะนำตัวเองและฝึกซ้อมถามตอบไว้คร่าวๆ ว่า ทำไมถึงรู้จักหรือสนใจอาชีพนี้ มีความสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ปกติแล้วเวลาว่างชอบทำอะไร มีงานอดิเรกอะไร

สำเนียงภาษาอังกฤษของน้องๆ ไม่จำเป็นต้องเป๊เหมือนเจ้าของภาษา แต่สิ่งที่จำเป็นและอยากเน้นคือการออกเสียงให้ชัดเจน ตัวสะกดและอักขระให้ถูกต้อง นั่นคือสิ่งที่จะทำให้คนฟังต่างชาติเข้าใจเราได้ ไม่ต้องพูดเร็วหรือรีบพูดจนเกินไป พูดให้คนฟังจับใจความที่เราพูดทัน เรียบเรียงประโยคให้ถูกต้อง (ประโยคง่ายๆ ไม่ต้องยาวหรือซับซ้อน) สติและการเตรียมฝึกซ้อมที่ดีจึงสำคัญมาก

4. การตรวจร่างกายและจิตวิทยาการบิน
บริษัทจะจัดตารางให้น้องๆ เข้ารับการตรวจร่างกายและทำข้อสอบจิตวิทยาการบินกับคุณหมอและนักจิตวิทยาที่สถาบันเวชศาสตร์การบินของกองทัพอากาศ ซึ่งในขั้นตอนนี้น้องๆ ต้องดูแลค่าใช้จ่ายในการตรวจเองนะค้า เก็บสะสมสตางค์หยอดกระปุกไว้ล่วงหน้าได้

5. สอบสัมภาษณ์ภาษาไทย
ในขั้นตอนนี้จะเป็นการสัมภาษณ์โดยกรรมการและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ของบริษัท พูดจาตอบคำถามให้ชัดเจนฉาดฉาน มั่นใจ (ในระกับที่พอเหมาะพอดี) และเป็นตัวของตัวเองดีที่สุด

เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ สวัสดิการ
towardsmaturity.org

เมื่อเข้ามาเป็นพนักงานของวิทยุการบินแล้ว น้องจะอยู่ในตำแหน่ง “นักเรียนฝึกหัดควบคุมจราจรทางอากาศ” น้องๆ จะต้องเรียนคอร์สเร่งรัดที่สอนโดยบริษัทเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นบริษัทจะส่งต่อให้สถาบันการบินพลเรือต่อไปอีกประมาณ 9 เดือน ระหว่างนี้บริษัทจะดูแล ให้เงินเดือนละ 19,250 บาท (อ้างอิงจากประกาศรับสมัคร มี.ค.60)

สำหรับน้องๆ ที่จบปริญญาตรีจากสถาบันการบินพลเรือนมาโดยตรงในสาขาจัดการจราจรทางอากาศมาตั้งแต่แรกแล้ว หลังจากเรียนที่บริษัท 3 เดือน น้องๆ ก็จะได้ไปทำงานตามที่ปฏิบัติงานจริงล่วงหน้าเพื่อนๆ คนอื่นที่เข้ามาพร้อมกันไป 9 เดือนโดยประมาณ

สำหรับสถานที่ทำงานหลังจากน้องเรียนจบหลักสูตรที่บริษัทกำหนดแล้ว ก็จะขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัทและอัตรากำลังที่ต้องการในช่วงนั้นๆ ว่าจะส่งน้องๆ ไปประจำที่หน่วยไหน สำหรับในส่วนกลางก็จะมีที่สำนักงานใหญ่ ทุ่งมหาเมฆ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ในส่วนภูมิภาคจะมีศูนย์ควบคุมการบินหลักๆ อยู่ที่ เชียงใหม่ พิษณุโลก อุบลราชธานี อุดรธานี หัวหิน ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่

หลังจากน้องเริ่มทำงานที่สถานที่ควบคุมจราจรทางอากาศจริง เรียน ฝึก และสอบผ่านตามเกณฑ์ที่สำนักงานการบินพลเรือนได้กำหนดไว้ บริษัทจะปรับสตางค์ค่าขนมเพิ่มครั้งใหญ่ให้เรา (นอกเหนือไปจากการปรับขึ้นประจำปีละสองครั้งตามการประเมินผล) พร้อมแถมค่าใบอนุญาตและค่าวิชาชีพเพิ่มเข้าไปอีกในแต่ละเดือนด้วย

ที่มา : 
engineer-tutor.com 
www.businessinsider.com