ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตร

          สำหรับอาคารประชารัฐ ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างเก็บน้ำราษีไศล ตำบลหนองแค อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงอ่างเก็บน้ำราษีไศล ได้ใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ ทำกิจกรรม พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา โดยการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรผสมผสาน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชนและหน่วยงานของรัฐอย่างยั่งยืน

           จากนั้น นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน และคณะ ลงพื้นที่พบปะประชาชนเพื่อรับความคิดเห็น และปัญหาของประชาชนในพื้นที่เขื่อนราษีไศล

เฉลิมชัย แต่งตั้ง สรวิศ ธานีโต เป็นทีมที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ชี้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญงานด้านเกษตร การกำหนดยุทธศาสตร์ พัฒนาด้านต่าง ๆ

วันที่ 6 มกราคม 2566 รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้ เพื่อให้การบริหารราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ บรรลุตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  • คลื่นทุนจีนบุก “เชียงใหม่-ภูเก็ต” รอบใหม่ ยึดธุรกิจท่องเที่ยว-จี้สกัดนอมินี
  • ฮ่องกง เตรียมแจกตั๋วเครื่องบินฟรี 500,000 ใบ ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ
  • ปลาหยก 1 ในปลาเอเลี่ยนห้ามเลี้ยง กรมประมง สั่ง ซี.พี.ระงับโปรโมต

จึงแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญ ในงานด้านเกษตร การกำหนดยุทธศาสตร์และพัฒนาในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้คำปรึกษาและข้อเสนอต่าง ๆ เป็นประโยชน์ ในการบริหารราชการแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมาย ดังนี้

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day เปิดสถานีเรียนรู้ หวังผลผลิตมีตลาดมั่นคงแน่นอน และต่อยอดเป็นมูลค่าสูง สร้างรายได้รวมให้กับประเทศ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (26 พฤษภาคม 2565) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ประเทศไทยยกระดับสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารอันดับ Top 10 ของโลก ปีที่ผ่านมาเราเข้าสู่อันดับ 13 ของโลก จึงเร่งสร้างผลผลิตภาคเกษตรคุณภาพ ทั้งพืช ประมง ปศุสัตว์ โดยเล็งเห็นถึงจังหวัดเพชรบุรีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีประสิทธิภาพสูงมากในฐานของการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเป็นเส้นทางไปสู่การแปรรูปเป็นอาหาร โดยการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการลดต้นทุนการผลิต เช่นส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี พร้อมเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของอาหารปลอดภัย นอกจากนั้น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการผลักดัน ที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการสร้างผลผลิตคุณภาพ โดยจะเริ่มต้นทุกตำบลในจังหวัดเพชรบุรี จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืนระดับตำบล เพื่อส่งเสริมในเรื่องของภาคเกษตร ผนึกพลัง อบต. กำนันผู้ใหญ่บ้านและเครือข่ายภาคประชาชน มาร่วมแรงร่วมใจ และจะต้องให้ครบทั้ง 7,255 ตำบลทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ท้องถิ่นจะมาช่วยคิดร่วมทำช่วยพัฒนา และที่สำคัญ ความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหารภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ที่จะเดินหน้าการใช้เทคโนโลยีการเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสู่การพัฒนา และความร่วมมือโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้มั่นใจว่า เกษตรแปลงใหญ่หรือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะมีตลาดแล้วได้ราคาที่ดี มีกำไร ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว 2 ล้านไร่ โดยจับคู่กันระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่ ในสภาอุตสาหกรรม 20 กว่าบริษัท โดยตั้งเป้าขยายเป็น 5 ล้านไร่ ซึ่งเพชรบุรีก็เป็นเป้าหมายที่จะเข้าร่วมในโครงการนี้ และสามารถช่วยแก้ปัญหาใหญ่คือการตลาด จะส่งผลให้ผลผลิตของเรามีตลาดมั่นคงแน่นอน และต่อยอดเป็นมูลค่าสูงต่อไปและสร้างรายได้รวมให้กับประเทศด้วย

วันที่ 21 เมษายน 2565 เวลา 17.30 น. นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ประกอบด้วย นายอำไพ ประเสริฐสังข์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด ประมงจังหวัดหนองคาย ผู้แทนด่านตรวจพืช ผู้แทนศูนย์บริหารจัดการด่านประมง เขต 2 หนองคาย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงนายด่านศุลกากรหนองคาย ประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคาย ให้การต้อนรับ นายอลงกรณ์พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามงานนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้ตรวจเยี่ยมด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 และกำหนดเดินทางไปท่าบกท่านาแล้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อตรวจดูตู้คอนเทนเนอร์สำหรับขนส่งสินค้า และร่วมปล่อยขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตร ลาว - จีน ออกจาก สถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ พร้อมเยี่ยมชมการดำเนินงาน เวียงจันทน์โลจิสติกส์ปาร์ค ในวันที่ 22 เมษายน 2565

         นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ฯพณฯ วิดาร์ อุลริกเซน รองรัฐมนตรีด้านการประมงและนโยบายทางทะเล กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมประมงนอร์เวย์ และคณะ โดยฝ่ายนอร์เวย์ ได้นำเสนอปฏิญญาโคเปนเฮเกน และข้อริเริ่มความยุติธรรมสีน้ำเงิน (Blue Justice Initiative) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประชาคมโลกในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติผ่านการทำการประมง เช่น การฟอกเงิน การทำประมงผิดกฎหมาย การเลี่ยงภาษี การค้ามนุษย์ และได้เชิญชวนให้ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าประมงในลำดับต้น ๆ ของโลก สนับสนุนปฏิญญาโคเปนเฮเกนนี้ ซึ่งปัจจุบันมี 48 ประเทศทั่วโลกให้การสนับสนุน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนในหลักการ เนื่องจากเห็นว่าการเข้าร่วมจะทำให้ประเทศไทยมีเครือข่ายกับนานาประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านอาชญากรรมผ่านการทำการประมง รวมทั้งการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการเสริมสร้างการทำประมงให้มีความยั่งยืน   

        นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ขอการสนับสนุนความเชี่ยวชาญจากนอร์เวย์ในการสำรวจทรัพยากรประมงและสมุทรศาสตร์บริเวณพื้นที่ทะเลอันดามันตอนล่าง เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังนอกชายฝั่ง และฝ่ายไทยก็หวังว่าจะได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและดำเนินการร่วมกับ International Blue Justice Tracking Center ในการติดตามตำแหน่งและเส้นทางการเดินเรือ