ท้อง 9 เดือน ปวดท้อง เหมือน ปวด ประจำเดือน

การคลอดระยะที่หนึ่งอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง หรืออาจยาวนานเป็นวันๆดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรตกใจเมื่อเริ่มต้นเจ็บท้อง

ช่วงต้นของการเจ็บท้องคลอด...จะรู้สึกอย่างไร?

อาการแรกสุดของการเจ็บท้องคลอด ก็คือ รู้สึกปวดหน่วงๆคล้ายกับปวดท้องประจำเดือน คุณแม่อาจมีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อปวดท้องหรือปวดหลังร่วมด้วย บางท่านอาจท้องเสีย รู้สึกไม่สบายคลื่นไส้อาเจียน ทั้งนี้ เพราะในระยะเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอดระบบการย่อยอาหารจะทำงานช้าลง เมื่ออาการค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นปวดรุนแรงเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอหรือที่เรียกว่าการหดรัดตัวของมดลูก  คุณแม่ก็จะทราบว่ากำลังเข้าสู่ช่วงของการเจ็บท้องคลอดแล้ว

มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด

ในระยะเริ่มต้นของการคลอดหรือก่อนหน้านั้นมูกที่บริเวณคอมดลูกหรือมูกปนเลือดจะหลุดออกมาเปรอะกางเกงชั้นในหรือในขณะที่คุณเข้าห้องน้ำหรือเรียกกันว่า มีมูกเลือดออกจากทางช่องคลอด แต่ก็ไม่เสมอไปว่าทุกคนจะต้องมี ดังนั้นอย่ากังวลใจถ้าคุณแม่ไม่มีมูกออกมาทางช่องคลอดบางครั้งมูกอาจออกมาในระยะอื่นของการเจ็บท้องคลอดก็ได้

น้ำเดิน

" น้ำเดิน " ที่จริงแล้วก็คือน้ำคร่ำซึ่งคอยรองรับลูกน้อยในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์เมื่อจะคลอดลูกถุงน้ำคร่ำจะแตกออกทำให้น้ำคร่ำไหลออกมาจากช่องคลอดคุณแม่บางท่านอาจได้ยินเสียง " โพละ " เบาๆเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกบางท่านอาจจะมีน้ำไหลออกมาเพียงเล็กน้อย แต่บางท่านก็ออกมามาก

หากน้ำคร่ำเดินตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอดคุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้นจึงต้องรักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดจึงไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอด มีเพศสัมพันธ์หรือลงแช่น้ำอุ่น
และควรติดต่อสูติแพทย์ที่ดูแลโดยทันทีเพื่อตรวจเช็คว่าถึงเวลาใกล้คลอดแล้วหรือยัง

การเจ็บท้องคลอดเกิดจากการหดรัดตัวและผ่อนคลายเป็นจังหวะๆของกล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังของคุณแม่ในระยะนี้มดลูกจะหดรัดตัวรุนแรงขึ้น นานขึ้น และถี่ขึ้นเรื่อยๆ
โดยปกติช่วงเริ่มต้น มดลูกจะหดรัดตัวทุกๆ 10 นาทีโดยแต่ละครั้งกินเวลานาน 40 วินาที เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดแล้ว มดลูกก็จะหดรัดตัวทุกๆ 30 วินาที และแต่ละครั้งกินเวลานานกว่า 1 นาที อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยคุณแม่แต่ละท่านอาจมีระยะเวลาการบีบรัดตัวของมดลูกแตกต่างกันไป

การทำให้การคลอดระยะที่หนึ่งผ่านไปได้ด้วยดี

ดูเม็กซ์มีคำแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่คลอดง่ายขึ้นลองอ่านคำแนะนำเพื่อช่วยให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่น

ระยะที่สอง

เริ่มขึ้นเมื่อปากมดลูกของคุณแม่เปิดกว้างออกถึง 10 เซนติเมตร และจะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอดออกมา หากเป็นท้องแรกระยะที่สองอาจใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แต่หากไม่ใช่ท้องแรกก็จะใช้เวลาสั้นกว่านั้นมาก บางครั้งเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น

การเบ่งคลอดโดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายของคุณแม่จะบอกเองว่าเมื่อไหร่ควรเบ่งคลอด คุณแม่จะมีความรู้สึกอยากเบ่งจนสุดที่จะกลั้นไว้ได้เมื่อหัวลูกโผล่พ้นออกมาทางช่องคลอดคุณหมออาจขอให้คุณแม่หยุดเบ่งก่อนและกลั้นลมเบ่งไว้ด้วยการหายใจสั้นๆตื้นๆคล้ายคนหอบ ระยะเจ็บเบ่งนี้เป็นระยะที่มีความละเอียดอ่อน ต้องระวังไม่ให้ปากช่องคลอดฉีกขาดมากเกินไปจากนั้นเมื่อกล้ามเนื้อขยายออกและมดลูกหดรัดตัวรอบใหม่คุณแม่จึงค่อยออกแรงเบ่งอีกครั้ง และในที่สุดทารกก็จะคลอดออกมา คุณหมอจะสำรวจทารกตัดสายสะดือ ให้กับทารก” ทำความสะอาดและหุ้มผ้าก่อนส่งให้คุณแม่อุ้ม

ระยะที่สาม

เป็นช่วงของการคลอดรกการคลอดระยะที่สามนี้จะใช้เวลาประมาณ 5 –15 นาทีหากมีการฉีดยาเพื่อช่วยเร่งการคลอดทารกให้เร็วขึ้นแต่หากคุณแม่คลอดทารกเองตามธรรมชาติ ก็อาจใช้เวลานานกว่านั้น อาจนานถึง 1 ชั่วโมง คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกเริ่มต้นบีบรัดตัวใหม่แต่จะไม่รุนแรงเท่ากับระยะที่สองจากนั้นรกที่หลุดลอกแล้วก็จะดันผ่านปากมดลูกที่เปิดกว้างอยู่ออกมาทางช่องคลอดเมื่อรกคลอดออกมาหมดแล้ว คุณหมอจะนำรกไปตรวจเพื่อให้แน่ใจว่ารกลอกตัวออกหมดแล้วและจะกดบริเวณหน้าท้องของคุณแม่เพื่อให้แน่ใจว่ามดลูกเริ่มหดรัดตัวลงแล้ว​

เมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 8 หรือเรียกง่ายๆ ว่า ท้อง 8 เดือน ช่วงนี้จะเป็นช่วงหนึ่งซึ่งเกิดความตื่นเต้น จนถึงเกิดอาการวิตก ! ได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะกับคุณแม่ หรือครอบครัวที่พึ่งมีท้องครั้งแรก เนื่องจากร่างกายคุณแม่จะมีอาการต่างๆ นานา ที่ชวนให้คิดว่าจะมีการคลอดเกิดขึ้น ซึ่งส่วนมากก็เป็นอาการที่เราเรียกกันว่าการเจ็บเตือน แต่อย่างไรก็ตาม มีบ้างเหมือนกันที่คลอดทารกออกมาในช่วงเดือนที่ 8 นี้

อาการที่ทำให้คุณแม่เริ่มกังวลว่าจะเป็นสัญญาณในการจะคลอดก่อนครบกำหนด 9 เดือน หรือไม่ ก็คือ อาการปวดหน่วงๆ ที่ท้อง จริงอยู่ว่าอาการนี้ไม่น่าวิตกเท่าการปวดแบบมดลูกเกิดการบีบรัดหดตัว แต่ก็เป็นอาการที่ทำให้คุณแม่มือใหม่หลายๆ คนเกิดความกังวลได้ ว่านี่เป็นสัญญาณก่อนการคลอด ทีนี้พอหลังจากปวดหน่วงบ่อยๆ เข้า พอ เกิดเจ็บท้องแบบมดลูกบีบตัว หรือมีอาการท้องเกร็งแข็งก็อาจจะมีบางคนบางบ้าน ที่หอบหิ้วกันไปยังโรงพยาบาล เพราะกังวลว่าจะเกิดการคลอดก่อนกำหนดขึ้นมา (ผู้เขียนก็เคยประสบเหตุการณ์นี้มาเช่นกัน !ในตอนมีลูกคนแรก)

จริงๆ แล้วอาการปวดหน่วงนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบมากและเป็นอาการหน่วงแบบเบาๆ แต่ต่อเนื่องก็คือ อาการปวดหน่วงที่เกิดจากการหย่อนตัวของข้อต่อบริเวณเชิงกราน ซึ่งการหย่อยนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ร่างกายเตรียมความพร้อมในการคลอดลูก ที่เชิงกรานจะต้องรับการขยายตัวเพื่อให้ทารกคลอดผ่านออกมาได้ง่าย เป็นกระบวนการตามธรรมชาติ และอาจจะมีอาการมากหน่อยในช่วงที่คุณแม่เปลี่ยนท่าจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่งเมื่ออยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ เช่น นั่งอยู่แล้วลุกขึ้น ก็จะเกิดอาการปวดหน่วงๆ เหมือนจะมีอะไรเคลื่อนลง นั่นทำให้เกิดความวิตกได้ว่าเป็นอาการของคนที่กำลังจะคลอด และยิ่งในช่วงเดือนนี้อาการท้องแข็ง หรืออาการบีบตัวของมดลูกที่เป็นการเจ็บเตือนมีบ่อย ก็เลยทำให้กังวล ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาโดยเฉพาะท้องแรกที่วิตกมากหน่อยเนื่องจากยังไม่มีประสบการณ์

ท้อง8เดือนปวดหน่วงส่วนมากจะไม่ใช่อาการเตือนว่าจะคลอด แต่เป็นการเตรียมความพร้อม แต่อย่างไรก็ดีคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเองอย่างต่อเนื่อง และไปพบแพทย์เป็นประจำ ซึ่งในช่วงนี้แพทย์อาจจะนัดบ่อยหน่อย เพราะใกล้คลอดแล้ว และเป็นช่วงที่มีอาการ ครรภ์เป็นพิษเกิดขึ้นได้ง่าย ดังนั้นก็ขอให้วางใจ ไปพบแพทย์ตามเวลาก็จะทราบถึงพัฒนาการและช่วงเวลาคลอดที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ แต่ก็ขอให้เตรียมตัวให้พร้อมในการเดินทางไปคลอดไว้ให้พร้อมได้แล้ว เวลาคลอดจริงๆ จะได้ไม่วุ่นวายขาดนั่นขาดนี่