คนท้อง หัวใจเต้นเร็ว pantip

ภาวะหายใจไม่อิ่มเกิดขึ้นได้ทุกช่วงของการตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์ทำให้ผนังทรวงอกและขนาดของมดลูกขยายใหญ่ขึ้นจนอาจเกิดภาวะหายใจไม่อิ่ม และทำให้คุณแม่หลายคนรู้สึกวิตกกังวลว่าจะเกิดอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วยหรือไม่ โดยข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจภาวะหายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น และช่วยให้รับมือกับภาวะดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์

คนท้อง หัวใจเต้นเร็ว pantip

สาเหตุของอาการหายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์

ภาวะหายใจไม่อิ่มในช่วงแรกของการตั้งครรภ์อาจเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะตั้งครรภ์ และระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยฮอร์โมนดังกล่าวจะกระตุ้นให้สมองต้องการออกซิเจนมากขึ้น เพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนเพียงพอต่อการหายใจด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกเหมือนอากาศไม่พอหายใจและต้องสูดหายใจเข้าลึก ๆ เสมอ

คุณแม่บางรายอาจเผชิญภาวะหายใจไม่อิ่มในช่วงไตรมาสแรกหรือไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์หากมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือตั้งครรภ์ลูกแฝด เนื่องจากผนังทรวงอกจะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มความจุของปอด และอาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดเมื่อใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปด้วย

ส่วนภาวะหายใจไม่อิ่มในช่วงไตรมาสที่ 3 เกิดจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้กระบังลมถูกดันสูงขึ้นจนทำให้คุณแม่หายใจไม่สะดวก

นอกจากนี้ ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคหืด และโลหิตจางก็อาจเป็นสาเหตุของภาวะหายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกัน

หายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไร ?

เคล็ดลับต่อไปนี้อาจช่วยให้บรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์ให้ดีขึ้นได้

  • นั่งหลังตรง การนั่งหลังตรงให้อกผายไหล่ผึ่งจะช่วยให้ปอดขยายและมีความจุอากาศภายในปอดมากขึ้น
  • ใช้หมอนหนุนสูงขึ้นขณะนอน การใช้หมอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้นขณะนอนหลับจะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะในขณะที่กระบังลมถูกดันให้สูงขึ้น
  • ใช้ชีวิตให้ช้าลง การใช้ชีวิตให้ช้าลง ไม่เร่งรีบทำกิจกรรมต่าง ๆ และทำอะไรอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์ได้
  • ไม่หักโหม การหักโหมทำงานหนักหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ มากเกินไปอาจทำให้หายใจไม่ทัน หากรู้สึกเหนื่อยหรือมีภาวะหายใจไม่อิ่มเกิดขึ้น ควรหยุดพักสักครู่ก่อนเริ่มทำงานต่อ   
  • ผ่อนคลายความเครียด ความวิตกกังวลและความเครียดอาจส่งผลให้รู้สึกหายใจไม่ออกได้ ดังนั้น ควรเรียนรู้การรับมือควบคุมปัญหาและจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม และอาจนอนพักผ่อนหรือทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
  • ออกกำลังกาย การเล่นโยคะและการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ ช่วยพัฒนาการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย เพื่อวางแผนการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและปลอดภัย
  • อดทน ภาวะหายใจไม่อิ่มอาจทำให้รู้สึกอึดอัดและไม่สะดวกสบาย แต่การหายใจของคุณแม่จะกลับมาเป็นปกติอีกครั้งหลังคลอดบุตร

หายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม ?

แม้ภาวะหายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระหว่างที่ตั้งครรภ์ แต่ในบางครั้ง อาการหายใจไม่อิ่มก็อาจเป็นสัญญาณอันตรายของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เช่น

  • โรคหืด หญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคหืดจะมีปัญหาเรื่องการหายใจที่รุนแรงขึ้นขณะตั้งครรภ์ และอาจร้ายแรงจนกระทบต่อชีวิตมารดาและทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เนื่องจากภาวะหายใจไม่อิ่มอาจรุนแรงขึ้นได้ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3
  • โลหิตจาง ภาวะโลหิตจางอาจเป็นสาเหตุทำให้หายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ริมฝีปากและปลายนิ้วซีดหรือมีสีออกม่วงคล้ำร่วมด้วย
  • ปอดบวม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีภาวะหายใจไม่อิ่มที่เกิดจากโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ปอดบวม
  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากรู้สึกเจ็บขณะสูดหายใจเข้าลึก ๆ หรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วขึ้น เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดได้ ซึ่งแม้พบการป่วยด้วยโรคไม่บ่อยนัก แต่อาการป่วยอาจรุนแรงถึงชีวิตได้

      ข้อมูลสุขภาพ

      โรคและการรักษา

      10 สัญญาณเช็กอาการไทรอยด์ผิดปกติ

      1 นาทีในการอ่าน

      คนท้อง หัวใจเต้นเร็ว pantip

      แชร์

      1) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น

      ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะส่งผลกระทบไปถึงการทำงานของหัวใจทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น หรืออ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉงในภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ

      2) ผมร่วง

      ภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ทำงานต่ำสามารถเกิดผมร่วงได้

      3) นอนไม่หลับ

      อาการนอนไม่หลับมาคุกคามบ่อย ๆ ทั้งที่ปกติเป็นคนที่นอนหลับง่ายและหลับได้สนิทโดยตลอด เนื่องจากหากไทรอยด์ผิดปกติอาจหลั่งฮอร์โมนมามากเกินไปจนกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและรบกวนการพักผ่อนได้

      4) รู้สึกง่วงตลอดเวลา

      เกิดได้ในภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะเกิดอาการอ่อนเพลียไม่สดชื่นร่วมด้วย

      5) อ้วนขึ้นหรือผอมลงอย่างผิดปกติ

      ต่อมไทรอยด์ผิดปกติในลักษณะหลั่งฮอร์โมนออกมามากจะกระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมให้ขยันเกินไปในภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะพบว่าน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่าย เนื่องจากการเผาผลาญที่ต่ำลง

      6) หิวบ่อยหรือไม่หิวกินไม่ค่อยลง

      หากต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกหิวบ่อยขึ้น ทานมากขึ้น แต่น้ำหนักตัวลดลง หากไทรอยด์ทำงานน้อยลงอาจกินไม่ค่อยลง บวม อ้วนง่าย

      7) ขับถ่ายไม่เป็นปกติ

      เข้าห้องน้ำน้อยกว่าปกติหรือท้องผูกบ่อย ๆ แม้จะกินพวกผัก ผลไม้ เกิดจากร่างกายมีภาวะขาดไทรอยด์ได้ ในภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะมีการทำงานของลำไส้มากขึ้น ทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นกว่าปกติ ส่วนในไทรอยด์ต่ำอาจพบอาการท้องผูก

      8) รู้สึกหนาวตลอดเวลาหรือขี้ร้อนมากขึ้น

      ต่อมไทรอยด์ไม่หลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณเพียงพอ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายก็จะลดน้อยลง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะมีอาการขี้ร้อน เหงื่อออกมากกว่าปกติ  ส่วนภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีอาการขี้หนาวมากขึ้น

      9) ผิวแห้ง

      ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลงส่งผลต่อผิวแห้งมากขึ้นหรือเหงื่อลดน้อยลง

      10) ใจสั่น

      ภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปจะเร่งกระบวนการการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งหมดจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว


      ***อย่าเพิ่งวิตกกังวลกับสัญญาณเตือนไทรอยด์มากเกินไป เพราะบางอาการก็สามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้ ควรไปตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดจะดีที่สุด

      ข้อมูลโดย


      สอบถามเพิ่มเติมที่

      ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

      ชั้น 2 อาคาร โรงพยาบาลกรุงเทพ

      จันทร์ – ศุกร์ 7.00 - 16.00 น.
      เสาร์ – อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 7.00 – 16.00 น.

      0 2755 1129

      0 2755 1130

      0 2755 1697

      027551697

      [email protected]

      แชร์