มารยาทของชาวพุทธ มีอะไรบ้าง

              มารยาทชาวพุทธ  หมายถึง  กิริยาวาจาของผู้ที่ นับถือพระพุทธศาสนาที่ถือว่าเรียบร้อยซึ่งพระพุทธศาสนามีหลักคำสอนเพื่อ ฝึกหัดกิริยามารยาทของชาวพุทธให้มีความงดงาม  และเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น  เช่นมารยาทเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ เป็นต้น

มารยาทของชาวพุทธ มีอะไรบ้าง
๑)  การเข้าพบพระสงฆ์
 ๑)  ข้อปฏิบัติก่อนเข้าพบพระสงฆ์
          เนื่องจากพระสงฆ์ดำเนินชีวิตตามหลักพระธรรมวินัยอาจมีข้อห้ามบางอย่างที่เราไม่ทราบ  ดังนั้น  ก่อนเข้าพบพระสงฆ์ควรติดต่อสอบถามข้อปฏิบัติ  และควรแจ้งความประสงฆ์ขออนุญาตเข้าพบท่านก่อนทุกครั้ง  เมื่อท่านอนุญาตจึงจะเข้าพบได้
 ๒)  ข้อปฏิบัติเมื่อถึงที่อยู่ของพระสงฆ์
          เมื่อไปถึงวัดหรือสถานที่ที่ได้นัดหมายท่านไว้  ควรคุกเข่ากราบเบญจางคประดิษฐ์  หากสถานที่นั้นมีโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระพุทธรูป  ให้กราบพระพุทธรูปก่อนแล้วค่อยกราบพระสงฆ์  เสร็จแล้วนั่งพับเพียบเก็บเท้าให้เรียบร้อย  และไม่นั่งเสมอพระสงฆ์
 ๓)  ข้อปฏิบัติขณะสนทนากับพระสงฆ์
          ควรใช้คำพูดให้ถูกต้องเหมาะสมตามฐานะ  หากเป็นการสนทนากับพระเถระผู้ใหญ่  ควรประนมมือพูดและรับคำพูดของท่านทุกครั้ง  พูดคุยเฉพาะกิจธุระสำคัญ
 ๔)  ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการเดินทางของพระสงฆ์
          การเดินสวนทางกับพระสงฆ์ควรหลีกทางด้านขวามือของเรา  หรือด้านซ้ายของพระสงฆ์  เมื่อท่านเดินมาถึงตรงหน้าควรน้อมตัวลงไหว้และรอจนกว่าท่านจะเดินผ่านเลยไป  จึงเดินต่อไปตามปกติ

๒)  การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย
 ๑)  การประนมมือ  หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  อัญชลี  เป็ฯการกระพุ่มมือทั้งสองประนมโดยใช้ผฝ่ามือประกบกัน  ให้ฝ่ามือทั้งสองชิดกันตั้งไว้ระหว่างอก  นิ้วมือทั้งสิบชิดกัน  ไม่เหยียดตรงข้างหน้า  แขนทั้งสองกางออกจากลำตัวพอสมควร  เงยหน้ามองต่อสิ่งที่เคารพ  ลำตัวตรง  หหลังไม่งอหรือน้อม
 ๒)  การไหว้  หรือที่เรียกว่า  วันทา  คือ  การกระพุ่มมือประนมขึ้นจรดหน้าผาก  พร้อมกับก้มศรีษะเล็กน้อย  หัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้ว  ปลายนิ้วจรดหน้าผาก  ไหว้แล้วลดมือลง

 ๓)  การกราบ  หรือที่เรียกว่า  อภิวาท  คือ  การหมอบลงกับพื้นพร้อมกับกระพุ่มมือหรือประนมมือ  อันเป็นกิริยาการแสดงความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างสูงสุด  การกราบพระรัตนตรัยใช้วิธีการกราบที่พร้อมด้วยองค์  ๕  หรือ  เบญจางคประดิษฐ์  อันประกอบด้วย  เข่า  ๒  มือ  ๒  หน้าผาก  ๑  จรดพื้น  สำหรับผู้ชายนิยมนั่งคุกเข่า   ผู้หญิงนั่งปลายเท้าจรดพื้น  นั่งทับส้นเท้า

๓)  การฟังพระธรรมเทศนา
 การฟังพระธรรมเทศนาในวาระต่างๆ  ผู้ฟังควรตั้งใจน้อมจิตไปตามกระแสธรรมที่กำลังฟังเพื่อจะได้ทราบในหลักธรรมที่พระสงฆ์กำลังเทศน์  และควรประนมมือขึ้น  เพื่อแสดงความเคารพต่อพระธรรมและพระสงฆ์  ถ้าจำเป็นต้องลุกขึ้นในขณะฟังธรรมควรยกมือไหว้ก่อนลุกขึ้นแล้วค่อยเดินออกไป

๔)  การฟังเจริญพระพุทธมนต์
 การเจริญพระพุทธมนต์  คือ  การสวดพระสูตร หรือพระปริตร อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า  แนวความคิดเรื่องการสวดพระพุทธมนต์  นอกจากจะเป็นพุทธานุสติแล้ว  ยังเชื่ออีกว่าสามารถป้องกันภยันตรายต่างๆ  ที่จะเกิดขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้  การเจริญพระพุทธมนต์จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเจริญพระปริตร หรือสวดพระปริตร
 แล้วฟังพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ในงานพิธีกรรมต่างๆ  ควรแสดงความเคารพโดยการประนมมือและตั้งใจฟังอย่างสงบ  ไม่พูดคุยหรือแสดงกิริยาอาการไม่เรียบร้อย

๕)  การฟังสวดพระอภิธรรม
 การไปร่วมงานศพควรแต่งตัวให้เกียรติแก่เจ้าภาพ  ด้วยการใส่ชุดขาวดำ  ไม่ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีฉูดฉาด  เมื่อถึงเวลาพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม  ควรประนมมือตั้งใจฟัง  ระลึกตามด้วยมรณานุสสติ  ไม่ควรพูดคุย  หยอกล้อ  หรือส่งเสียงดังในระหว่างที่พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมอยู่

๖) มารยาทในการใส่บาตร
๑.ควรตื่นแต่เช้ามารอใส่บาตร
๒. เมื่อพระสงฆ์เดินมาใกล้จะถึงให้นั่งหย่งยกขันขึ้นเสมอหน้าผากพร้อมอธิษฐาน
ว่า "ขอให้ทานนี้นำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด "
๓. ลุกขึ้นยืนและถอดรองเท้าใช้มือขวาตักข้าวใส่ให้ตรงบาตรพร้อมใส่กับข้าว ถ้าอาหารที่จะใส่บาตรจัดเป็นถุงก็วางถุงใส่บาตรอย่างบรรจง
๔. ควรทำด้ายความนอบน้อมและความเคารพ
๕.อย่าชวนพระสนทนา
๖.เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้ว วางขันใว้ข้างตัวแล้วนั่งกระหย่งยกมือไหว้พระ เมื่อพระสงเดินผ่านไปแล้วจึงลุกขึ้นเป็นอันเสร็จ

มารยาทของชาวพุทธ มีอะไรบ้าง
  ๗)  มารยาทที่พึงแสดงต่อสถานที่อันควรสักการะ
     สถานที่อันควรสักการะ เช่น ศาสนสถาน วัด โบสถ์ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
๑. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
๒. ถอดหมวก ถอดรองเท้าลดร่มลง
๓. ไม่แแสดงอาการเหยียบย่ำดูหมิ่น
๔. ไม่พูดจาลบหลู่ เหยียดหยามหยาบคาย
๕. ไม่ส่งเสียงดังและทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
๖.ไม่กล่าวคำทำนองไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาต่อสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น                                                             ๗.ทำใจให้เป็นกลาง
๘. ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เขาปฏิบัติกัน
๙.อย่าทำอะไรที่เป็นการทำลายน้ำใจกัน  

๘)การปฏิสันถาร
การปฏิสันถารหมายถึง การต้อนรับแขกผู้มาเยือน อาจทำได้หลายวิธี คือ ปฏิสันถารด้วยวาจาด้วยการให้ที่พักอาศัย และการแสดงน้ำใจต่อกัน เมื่อมีแขกมาบ้านเราต้องรู้จักปฏิบัติตนว่า จะพูดอย่างไร กับบุคคลวัยใด ฐานะใดจะใช้สรรพนามแทนตัวเราและแขกอย่างไร ต้องรู้จักเลือกให้ถูกแต่อะไรก็ไม่เท่ากับการยิ้มแย้มแจ่มใส โดยแสดงให้เห็นว่าเรายินดีและเต็มใจให้การต้อนรับ

คำถาม   การแสดงความเคารพพระรัตนตรัยการประนมมือขึ้นระหว่างอก สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 

ก อภิวาท                ข วันทา                  ค อัญชลี               ง ถูกทุกข้อ

                                                                            มารยาทในการพูด

มารยาทของชาวพุทธ มีอะไรบ้าง
http://img38.imageshack.us/img38/4483/speech2dj2.jpg" width="202" height="206" align="left" hspace="12" />มารยาทการพูดที่ดีควรปฏิบัติ มีดังนี้
- ใช้คำทักทายผู้ฟังให้ถูกต้องเหมาะสมตามสถานภาพผู้ฟัง เช่น สวัสดี / เรียนกราบเรียน /ขอประทานกราบเรียน
- ใช้คำพูดที่แสดงถึงความมีมารยาทอยู่เสมอ เช่น ขอโทษขอบใจ ขอบคุณ
- ใช้คำพูดที่สุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง ไม่ใช้เสียงดุดันหยาบคาย
- ไม่พูดยกตนข่มท่าน คุยโอ้อวดว่าตนเหนือกว่าผู้อื่น
- ไม่ชิงพูด แย่งพูดก่อนคนอื่น หรือผูกขาดการพูดเพียงคนเดียว
- ไม่พูดยืดยาวนอกประเด็น พูดวกวนซ้ำซากน่าเบื่อ
- ไม่พูดเสียงห้วนๆ สั้นๆตามอารมณ์
- ไม่พูดหยาบคาย ใช้คำต่ำไม่เหมาะสม
- ไม่โต้เถียงคัดค้านอย่างไม่มีเหตุผล

               การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประกอบกับกิจการงานใดหรือคบหาสมาคมกับผู้ใด ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงานการคบหาสมาคมกับผู้อื่นตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นการพูดมีความสำคัญต่อตนเองเพราะถ้าผู้พูดมีศิลปะในการพูดก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง ส่วนในด้านสังคมนั้นเนื่องจากเราต้องคบหาสมาคมและพึ่งพาอาศัยกันการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ “พูดดี” คือพูดไพเราะน่าฟัง และพูดถูกต้องด้วย
มารยาทในการพูด
การพูดของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ รู้จักกาลเวลาและที่สำคัญต้องคำนึงถึงมารยาทที่ดีในการพูดด้วย
มารยาทในการพูดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล
2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ

มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล มีดังนี้
1. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน
2. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูดไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ
3. พูดตรงประเด็นอาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์
4. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่นไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตนฯลฯ
มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
 การพูดในที่สาธารณะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคลเพราะการพูดในที่สาธารณะนั้น
ย่อมมีผู้ฟังซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ กัน มีวัยวุฒิคุณวุฒิ และพื้นฐานความรู้ความสนใจและรสนิยมต่างกันไป
มารยาทในการพูดระหว่างบุคคลอาจนำมาใช้ได้และควรปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะแก่โอกาสและสถานที่
2. มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
3. ก่อนพูดควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียมนิยม
4. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่ประชุม
5. ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ
6. ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม
7. ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง
8. พูดให้ดังพอได้ยินทั่วกันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด
          การสื่อสารด้วยการพูดไม่ว่าจะเป็นการพูดกับคนเพียงคนเดียวหรือพูดกับคนจำนวนมากจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้พูดทุกคนต้องมีมารยาท ถ้าขาดหรือละเลยต่อมารยาทในการพูดแล้วอาจทำให้การพูดประสบความล้มเหลวหรือไม่ประสบความสำเร็จได้
ข้อควรคำนึงในการสื่อสารด้วยการพูด
การพูดจะสัมฤทธิผลหรือไม่เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการที่ผู้พูดได้วิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญในการพูดให้ถ่องแท้หรือไม่มีการเตรียมพร้อมเพียงใดก่อนที่จะพูดฉะนั้นการพูดจึงมีข้อควรคำนึงดังนี้การพูดให้เหมาะสมกับบุคคลต้องวิเคราะห์ในเรื่องต่อไปนี้คือ วัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพความสนใจพิเศษเพื่อเตรียมเรื่องที่จะพูดได้อย่างเหมาะสม การพูดให้เหมาะกับกาลเทศะควรพิจารณาว่าจะพูดในโอกาสใดการพูดนั้นเป็นทางการมากน้อยแค่ไหน การพูดให้ผู้อื่นเข้าใจตรงตามความประสงค์ควรใช้ภาษาบ่งบอกความต้องการหรือความมุ่งหมายให้ชัดเจนหลีกเลี่ยงการตีความหลายแง่หลายมุมการพูดสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังหรืออ่านเป็นการพัฒนาการใช้ภาษาให้สัมพันธ์กันทุกด้านและอาศัยความสามารถในการสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรืออ่านได้อย่างถูกต้องซึ่งจะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนาของผู้ส่งสารได้อย่างถูกต้องรวดเร็วการพูดแสดงความคิดเห็นเป็นการใช้ทักษะการฟัง การอ่าน การพูด และการคิดให้สัมพันธ์กัน ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญเพราะการพูดแสดงความคิดเห็นผู้พูดต้องใช้ทั้งความรู้ ความคิดเหตุผลหรือหลักการต่าง ๆ หลายอย่างประกอบกันความคิดเห็นจึงจะมีคุณค่าน่าเชื่อถือ

มารยาทชาวพุทธ หมายถึงอะไร *

มารยาทชาวพุทธ เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผน ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ้งเป็นแนวปฎิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะมารยาทชาวพุทธที่หล่อหลอมมาจาก หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เป็นกริยาวาจาที่บุคคลในสังคมพึงปฎิบัติต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนา ที่มี ...

การปฏิบัติตนตามมารยาทของพุทธมีประโยชน์อย่างไร

มารยาท และการวางตัวที่เหมาะสม จึงเป็นปราการด่านแรกที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ผ่านการอบรมฝึกฝนตนมาดี มีคุณสมบัติของผู้ดีมีวัฒนธรรมอันเจริญ สามารถยังจิตของผู้พบเห็นให้ยินดีเลื่อมใส นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีความเคารพ อ่อนน้อม ส่งผลให้เกิดความเคารพในพระรัตนตรัย และเคารพในการปฏิสันถารอีกด้วย มารยาทการยืน การ ...

หน้าที่ของชาวพุทธและมารยาทของชาวพุทธมีอะไรบ้าง

- หน้าที่ชาวพุทธในด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ การดำรงตนอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ละเมิดกฎระเบียบ และกติกาของสังคม - หน้าที่ชาวพุทธด้านการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา คือ ไม่นิ่งดูดายเมื่อมีวิกฤตการณ์เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา

ของชาวพุทธคืออะไร

พุทธศาสนิกชน หมายถึง คนที่ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เต็มใจที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมคือ เว้นจากการทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้หมดจดจากกิเลส ด้วยการบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เช่น ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเพื่อขัดเกลา อบรม บ่มเพาะกาย วาจา ใจให้งดงามเรียบร้อย ให้สงบนิ่ง และให้พ้นจากความเศร้าหมอง ...