กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

Show

ช่วงการปกครองในสมัยรัชการเป็นช่วงที่วัฒนธรรมจากตะตกเริ่มเข้ามามอิทธิพลในประเทศ ดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ

การปฏิรูปบ้านเมืองใน สมัยรัชกาลที่๕ แบ่งเป็นกี่ระยะอะไรบ้าง

แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปฏิรูประยะแรก และการปฏิรูประยะหลัง

การปฏิรูปประเทศระยะแรก

การปฏิรูปประเทศในระยะแรก รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ซึ่งศภาทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย  รวมไปถึงยกเลิกประเพณีโบราณต่าง ๆ ไม่เห็นว่าไม่เหมาะกับสังคมสังคมในสมัยนั้น แต่สภาทั้ง 2 ปฏิบัติงานได้ไม่นานก็ต้องยุติหน้าที่ลงเนื่องจากวิกฤติการณ์วังหน้า

การปฏิรูปประเทศระยะหลัง

รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงภยันอันตรายของจากล่าอาณานิคมของประเทศโลกตะวันตก และทรงเห็นว่าการปกครองในแบบเดิมของไทยนั้นมีความล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความเจริญของบ้านเมือง จึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปการปกครอง 2435 โดยใน พ.ศ. 2430 ได้มีการเริ่มแผนการปฏิรูปการปกครองขึ้นตามแบบแผนของตะวันตก ในส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ต่อได้เปลี่ยนมาใช้คำว่ากระทรวงแทนโดยสถาปนาขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2435  และยังได้มีการประกาศแต่งตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงแต่ละกระทรวงขึ้น และยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่งต่อจากนั้นก็ได้มีการยุบกระทรวงเหลือเพียง 10  กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระกรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงเมือง(นครบาล) กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านเศรษฐกิจ  

การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จนส่งผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

  1. มีการปรับตัวให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อให้หลุดพ้นจากการคุกคามจากประเทศตะวันตกด้วยเหตุผลว่าเป็นประเทศที่มีความล้าหลัง ดังนั้นในการปฏิรูปบ้านเมืองให้มีความทันสมัยนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้เงินทุนอย่างมาก 
  2. มีการปฏิรูปการคลัง เนื่องด้วยปัญหาทางด้านการคลังที่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปทางด้านอื่น ๆ และปัญหาในเรื่องความล้าสมัยไม่สามารถตรวจสอบได้ของการคลัง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปโดยมีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมพระราชทรัพย์ เป็นที่รวมงานการเก็บภาษีอากรและแจกจ่ายภาษีนั้นไปยังกรมกองต่าง ๆ  มีการจัดทำงบประมาณ มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และส่วนของแผ่นดิน และมีการปฏิรูประบบเงินตรา 

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านสังคม  

เนื่องในสมัยรัชกาลที่  ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทางด้านต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยขึ้น จึงผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านสังคมด้วยเช่นกันคือการยกเลิกทาส โดยแผนการปฏิรูปสังคมในเรื่องของการเลิกทาสนั้นก็ได้มีการออกประกาศพระราชบัญญัติต่าง ๆ ในการยกเลิกทาส เช่น การมีธงประจำชาติครั้งแรก การออกประกาศพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสไทย นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องขนบประเพณีในบางเรื่องอีกด้วย เช่น ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเดิมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการจะเป็นผู้ถือน้ำและสาบานตน เปลี่ยนเป็นพระมหากษัตริย์เป็นผู้เสวยน้ำและสาบาน 

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความว่าด้วย
การเมืองไทย
กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

รัฐธรรมนูญ

  • รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
  • กฎหมาย

พระมหากษัตริย์

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

พระมหากษัตริย์

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

รัชทายาท


  • ราชวงศ์จักรี
  • การสืบราชสันตติวงศ์ของไทย
  • คณะองคมนตรี

ฝ่ายบริหาร

รัฐบาล


กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

นายกรัฐมนตรี

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

  • คณะรัฐมนตรี
    • คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62
  • กระทรวง
  • องค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ฝ่ายนิติบัญญัติ

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

รัฐสภา
ประธานรัฐสภา

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5
กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5


วุฒิสภา (ชุดปัจจุบัน)

  • พรเพชร วิชิตชลชัย
    • ประธานวุฒิสภา

สภาผู้แทนราษฎร (ชุดปัจจุบัน)

  • ชวน หลีกภัย
    • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ชลน่าน ศรีแก้ว
    • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

  • พระราชบัญญัติ

ฝ่ายตุลาการ

ศาลฎีกา

  • ประธาน
    • โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ

ศาลปกครองสูงสุด

  • ประธาน
    • วรพจน์ วิศรุตพิชญ์

ศาลรัฐธรรมนูญ

  • ประธาน
    • วรวิทย์ กังศศิเทียม

  • ศาลไทย

การเลือกตั้ง

  • การเลือกตั้งที่ผ่านมา
    • วุฒิสภา: พ.ศ. 2557
    • สภาผู้แทนราษฎร: พ.ศ. 2562
  • พรรคการเมือง
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560

การแบ่งเขตการปกครอง

  • การปกครองส่วนภูมิภาค
    • จังหวัด
  • การปกครองส่วนท้องถิ่น
    • องค์การบริหารส่วนจังหวัด
    • เทศบาล
    • องค์การบริหารส่วนตำบล
    • กรุงเทพมหานคร
      • ผู้ว่าราชการ
      • สภา
    • เมืองพัทยา
      • นายก

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  • ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • อาเซียน

ปัญหาที่เกี่ยวข้อง

  • ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้
  • ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
  • รัฐประหาร พ.ศ. 2557

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5
สถานีย่อยประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย จัดตั้งขึ้นโดยการตราพระราชบัญญัติ ปัจจุบันมีกระทรวงหรือเทียบเท่าจำนวนทั้งสิ้น 20 กระทรวง

ประวัติ[แก้]

การบริหารแผ่นดินในต้นรัตนโกสินทร์นั้น คงดำเนินตามแบบที่ได้ทำมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ผิดแต่ว่ามีกรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่หลักของการบริหารนั้น คงมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม ว่าการฝ่ายทหาร สมุหนายก ว่าการพลเรือน ซึ่งแบ่งออกเป็นกรมเมืองหรือกรมนครบาล กรมวัง กรมคลัง และกรมนา

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2416 นั้น เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จต่างประเทศดูแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรป นำมาใช้ในสิงคโปร์ ชวา และอินเดียแล้ว ทรงพระราชปรารภว่า สมควรจะได้วางระเบียบราชการ บริหารส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศ โดยจัดจำแนกราชการเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่เป็นหมวดเหล่า ไม่ก้าวก่ายกัน ดังนั้นใน พ.ศ. 2418 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกกระทรวงพระคลังออกจากกรมท่า หรือต่างประเทศ และตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ทำหน้าที่เก็บรายได้ของแผ่นดินทุกแผนกขึ้นเป็นครั้งแรก

ต่อจากนั้น ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพอเหมาะสม กระทรวงซึ่งมีอยู่ในตอนแรก ๆ เมื่อเริ่มเถลิงราชสมบัตินั้นเพียง 6 กระทรวง[ต้องการอ้างอิง] คือ

  • กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
  • กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ และการทหารบก ทหารเรือ
  • กระทรวงนครบาล มีหน้าที่บังคับบัญชาการรักษาพระนคร คือปกครองมณฑลกรุงเทพฯ
  • กระทรวงวัง มีหน้าที่บังคับบัญชาการในพระบรมมหาราชวัง
  • กระทรวงการคลัง มีหน้าที่จัดการอันเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และการพระคลัง
  • กระทรวงเกษตรพานิชการ มีหน้าที่จัดการไร่นา

เพื่อให้เหมาะสมกับสมัย จึงได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกระทรวงบางกระทรวง และเพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง คือ

  • กระทรวงการต่างประเทศ แบ่งหน้าที่มาจากกระทรวงการคลังเก่า มีหน้าที่ตั้งราชทูตไปประจำสำนักต่างประเทศ เนื่องจากเวลานั้นชาวยุโรปได้ตั้งกงสุลเข้ามาประจำอยู่ในกรุงเทพฯ บ้างแล้ว สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นเสนาบดีกระทรวงนี้เป็นพระองค์แรก และใช้พระราชวังสราญรมย์เป็นสำนักงาน เริ่มระเบียบร่างเขียนและเก็บจดหมายราชการ ตลอดจนมีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยมาทำงานตามเวลา ซึ่งนับเป็นแบบแผนให้กระทรวงอื่น ๆ ทำตามต่อมา
  • กระทรวงยุติธรรม แต่ก่อนการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ได้รวมอยู่ในกรมเดียวกัน และไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน เป็นเหตุให้วิธีพิจารณาพิพากษาไม่เหมือนกัน ต่างกระทรวงต่างตัดสิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมผู้พิพากษา ตั้งเป็นกระทรวงยุติธรรมขึ้น
  • กระทรวงโยธาธิการ รวบรวมการโยธาจากกระทรวงต่าง ๆ มาไว้ที่เดียวกัน และให้กรมไปรษณีย์โทรเลข และกรมรถไฟรวมอยู่ในกระทรวงนี้ด้วย
  • กระทรวงศึกษาธิการ แยกกรมธรรมการและสังฆการีจากกระทรวงมหาดไทย เอามารวมกับกรมศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการมีหน้าที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝึกหัดบุคคลให้เป็นครู สอนวิชาตามวิธีของชาวยุโรป เรียบเรียงตำราเรียน และตั้งโรงเรียนขึ้นทั่วราชอาณาจักร

ทั้งนี้ได้ทรงเริ่มจัดการตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2431 จัดให้มีเสนาบดีสภา มีสมาชิกเป็นหัวหน้ากระทรวง 10 นาย และหัวหน้ากรมยุทธนาธิการ กับกรมราชเลขาธิการ ซึ่งมีฐานะเท่ากระทรวงก็ได้เข้านั่งในสภาด้วย รวมเป็น 12 นาย พระองค์ทรงเป็นประธานมา 3 ปีเศษ

แต่เดิมเสนาบดีมีฐานะต่าง ๆ กัน แบ่งเป็น 3 คือ เสนาบดีมหาดไทยกับกลาโหมมีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี เสนาบดีนครบาล พระคลัง และเกษตราธิการ มีฐานะเป็นจตุสดมภ์ เสนาบดีการต่างประเทศ ยุติธรรม ธรรมการและโยธาธิการ เรียกกันว่า เสนาบดีตำแหน่งใหม่ ครั้นเมื่อมีประกาศ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 จึงเรียกเสนาบดีเหมือนกันหมด ไม่เรียกอัครเสนาบดี

รายชื่อกระทรวงในปัจจุบัน[แก้]

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตราสำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักนายกรัฐมนตรี (นร) มีฐานะเป็นกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ

  • (๑) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • (๒) กรมประชาสัมพันธ์
  • (๓) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

  • (๔) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • (๕) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  • (๖) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
  • (๗) สำนักงบประมาณ
  • (๘) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  • (๙) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • (๑๐) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • (๑๑) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • (๑๒) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • (๑๓) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • (๑๔) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
  • (๑๕) สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความ สามัคคีปรองดอง
  • (๑๖) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงกลาโหม เป็นรูปจักรสมอปีก

กระทรวงกลาโหม (กห) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมราชองครักษ์
  • (๔) หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
  • (๕) กองทัพไทย
    • (๕.๑) กองบัญชาการกองทัพไทย
    • (๕.๒) กองทัพบก
    • (๕.๓) กองทัพเรือ
    • (๕.๔) กองทัพอากาศ
    • (๕.๕) ส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

กระทรวงการคลัง (กค) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและ หลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมธนารักษ์
  • (๔) กรมบัญชีกลาง
  • (๕) กรมศุลกากร
  • (๖) กรมสรรพสามิต
  • (๗) กรมสรรพากร
  • (๘) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
  • (๙) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
  • (๑๐) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงการต่างประเทศ เป็นรูปบัวแก้ว

กระทรวงการต่างประเทศ (กต) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศหรือส่วน ราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมการกงสุล
  • (๔) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • (๕) กรมพิธีการทูต
  • (๖) กรมยุโรป
  • (๗) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
  • (๘) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
  • (๙) กรมสารนิเทศ
  • (๑๐) กรมองค์การระหว่างประเทศ
  • (๑๑) กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
  • (๑๒) กรมอาเซียน
  • (๑๓) กรมเอเชียตะวันออก
  • (๑๔) กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมพลศึกษา (ชื่อเดิม สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ)
  • (๔) กรมการท่องเที่ยว (ชื่อเดิม สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัว และชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมกิจการเด็กและเยาวชน
  • (๔) กรมกิจการผู้สูงอายุ
  • (๕) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
  • (๖) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
  • (๗) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นรูปพระวชิระ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและ นวัตกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • (๔) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  • (๕) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
  • (๖) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการ

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรูปพระพิรุณทรงนาค

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่ กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมการข้าว
  • (๔) กรมชลประทาน
  • (๕) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • (๖) กรมประมง
  • (๗) กรมปศุสัตว์
  • (๘) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
  • (๙) กรมพัฒนาที่ดิน
  • (๑๐) กรมวิชาการเกษตร
  • (๑๑) กรมส่งเสริมการเกษตร
  • (๑๑) กรมส่งเสริมสหกรณ์
  • (๑๒) กรมหม่อนไหม
  • (๑๓) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  • (๑๔) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
  • (๑๕) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงคมนาคม เป็นรูปพระรามทรงรถ

กระทรวงคมนาคม (คค) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงคมนาคม

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมเจ้าท่า (ชื่อเดิม กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี)
  • (๔) กรมการขนส่งทางบก
  • (๕) กรมการขนส่งทางราง
  • (๖) กรมท่าอากาศยาน
  • (๗) กรมทางหลวง
  • (๘) กรมทางหลวงชนบท
  • (๙) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นรูปพระพุธ

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การอุตุนิยมวิทยา การสถิติและราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมอุตุนิยมวิทยา
  • (๔) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • (๕) สำนักงานสถิติแห่งชาติ

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวน อนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมควบคุมมลพิษ
  • (๔) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • (๕) กรมทรัพยากรธรณี
  • (๖) กรมทรัพยากรน้ำ
  • (๗) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
  • (๘) กรมป่าไม้
  • (๙) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • (๑๐) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • (๑๑) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงพลังงาน เป็นสัญลักษณ์โลกุตตระ

กระทรวงพลังงาน (พน) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพลังงาน

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
  • (๔) กรมธุรกิจพลังงาน
  • (๕) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
  • (๖) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงพาณิชย์ เป็นรูปพระวิศนุกรรม

กระทรวงพาณิชย์ (พณ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมการค้าต่างประเทศ
  • (๔) กรมการค้าภายใน
  • (๕) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
  • (๖) กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • (๗) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • (๘) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ชื่อเดิม กรมส่งเสริมการส่งออก)
  • (๙) สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงมหาดไทย เป็นรูปราชสีห์

กระทรวงมหาดไทย (มท) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒ นาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมการปกครอง
  • (๔) กรมการพัฒนาชุมชน
  • (๕) กรมที่ดิน
  • (๖) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • (๗) กรมโยธาธิการและผังเมือง
  • (๘) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงยุติธรรม เป็นรูปดุลพาห์

กระทรวงยุติธรรม (ยธ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมคุมประพฤติ
  • (๔) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
  • (๕) กรมบังคับคดี
  • (๖) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
  • (๗) กรมราชทัณฑ์
  • (๘) กรมสอบสวนคดีพิเศษ
  • (๙) สำนักงานกิจการยุติธรรม
  • (๑๐) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี

  • (๑๑) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงแรงงาน

กระทรวงแรงงาน (รง) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครอง แรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมการจัดหางาน
  • (๔) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
  • (๕) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • (๖) สำนักงานประกันสังคม

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงวัฒนธรรม

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมการศาสนา
  • (๔) กรมศิลปากร
  • (๕) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  • (๖) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงศึกษาธิการ เป็นรูปเสมาธรรมจักร

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับ ดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ กำหนดนโยบาย แผน และ มาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา เพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัด การศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือ ส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
  • (๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • (๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  • (๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุข (สธ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ อนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัด กระทรวงสาธารณสุข

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมการแพทย์
  • (๔) กรมควบคุมโรค
  • (๕) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (ชื่อเดิม กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก)
  • (๖) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • (๗) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
  • (๘) กรมสุขภาพจิต
  • (๙) กรมอนามัย
  • (๑๐) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ตรากระทรวงอุตสาหกรรม

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม

  • (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
  • (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
  • (๓) กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • (๔) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
  • (๕) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
  • (๖) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
  • (๗) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • (๘) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวง มีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี

  • (๑) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนาและดูแลรักษาศาสนสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์และอำนาจ หน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
  • (๒) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามที่ กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
  • (๓) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย และ เผยแพร่ทางวิชาการ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
  • (๔) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
  • (๕) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการ ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
  • (๖) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่ กำหนดไว้ในกฎหมาย

รายชื่อกระทรวงของไทย[แก้]

พ.ศ. 2476–2484[แก้]

มีจำนวน 9 กระทรวง (และหน่วยงานเทียบเท่า) [1]

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงธรรมการ
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุตติธรรม
  • กระทรวงวัง
  • กระทรวงเศรษฐการ (กระทรวงพาณิชย์)

พ.ศ. 2484–2495[แก้]

มีจำนวน 10 กระทรวง (และหน่วยงานเทียบเท่า) [2]

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงพาณิชย์
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุตติธรรม
  • กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2495–2496[แก้]

มีจำนวน 14 กระทรวง (และหน่วยงานเทียบเท่า) [3]

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงการสหกรณ์
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงเศรษฐการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2496–2506[แก้]

มีจำนวน 14 กระทรวง ได้แก่[4]

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงเศรษฐการ
  • กระทรวงสหกรณ์
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2506–2534[แก้]

ในปี พ.ศ. 2506 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2506 ดังนี้[5]

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงเศรษฐการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2534–2545[แก้]

ในช่วงที่นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ในมาตรา 4 ได้กำหนดให้มีกระทรวง ทบวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงดังต่อไปนี้[6]

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงพาณิชย์
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2535[7]
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงอุตสาหกรรม
  • ทบวงมหาวิทยาลัย
  • กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จัดตั้งขึ้นเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2536[8]

พ.ศ. 2545–2562[แก้]

ในช่วงที่ ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยกำหนดในมาตรา 5 ให้มีกระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ดังต่อไปนี้[9]

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559[10])
  • กระทรวงพลังงาน
  • กระทรวงพาณิชย์
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงแรงงาน
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน[แก้]

ในช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการยุบรวมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เข้าด้วยกันและจัดตั้งเป็นกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[11]

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • กระทรวงพลังงาน
  • กระทรวงพาณิชย์
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงแรงงาน
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงอุตสาหกรรม

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476
  2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484
  3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495
  4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2496
  5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ. 2506
  6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534
  7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 (ยุบสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และจัดตั้ง กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ขึ้นแทน เปลี่ยนชื่อ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม)
  8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2536
  9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
  10. พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 80 ก หน้า 1 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559
  11. ผู้จัดการออนไลน์, ราชกิจจาฯ ประกาศ กม. 9 ฉบับ ตั้ง “กระทรวงการอุดมศึกษา” เริ่ม 2 พ.ค.

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รัฐวิสาหกิจไทย
    • รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย
  • องค์การมหาชน
    • รายชื่อองค์การมหาชน
  • หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (ประเทศไทย)
  • มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5
วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ ประวัติตราสัญลักษณ์กระทรวงต่าง ๆ โดย พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ไทยก็อฟดอตเน็ต
  • http://www.bu.ac.th/th/visitor/thailand/festival/piyamaharaj/ เก็บถาวร 2006-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

กระทรวงและองค์กรตามรัฐธรรมนูญของรัฐบาลไทย

กระทรวง

  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • กระทรวงพลังงาน
  • กระทรวงพาณิชย์
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงแรงงาน
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • กระทรวงอุตสาหกรรม
  • สำนักนายกรัฐมนตรี

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

อดีต

  • กระทรวงทหารเรือ
  • กระทรวงนครบาล
  • กระทรวงโยธาธิการ
  • กระทรวงวัง
  • กระทรวงมุรธาธร
  • กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  • ทบวงมหาวิทยาลัย
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ศาล

  • ศาลปกครอง
  • ศาลยุติธรรม
  • ศาลทหาร
  • ศาลรัฐธรรมนูญ

องค์กรอิสระ

  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง
    • กกต.
  • ผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • สผผ.
  • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
    • ป.ป.ช.
  • คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
    • สตง.
  • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

องค์กรอัยการ

  • อัยการสูงสุด
    • สนง.

  • หมวดหมู่
  • องค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ราชการของฝ่ายบริหารไทย

ราชการส่วนกลาง

  • กระทรวง
  • รัฐวิสาหกิจ
  • องค์การมหาชน
  • หน่วยงานรูปแบบพิเศษ

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ราชการส่วนภูมิภาค

  • จังหวัด
  • อำเภอ/กิ่งอำเภอ

ราชการส่วนท้องถิ่น

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • เทศบาลนคร
  • เทศบาลเมือง
  • เทศบาลตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
  • กรุงเทพมหานคร
  • เมืองพัทยา

ราชการในพระองค์

  • สำนักพระราชวัง
  • หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
  • สำนักงานองคมนตรี

หมวดหมู่:การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5
บทความเกี่ยวกับประเทศไทย

ประวัติศาสตร์
แบ่งตามเวลา

  • ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
  • อาณาจักรสุโขทัย
  • อาณาจักรอยุธยา
  • อาณาจักรธนบุรี
  • อาณาจักรรัตนโกสินทร์
  • การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
  • พ.ศ. 2475–2516
  • พ.ศ. 2516–2544
  • หลัง พ.ศ. 2544

แบ่งตามหัวข้อ

  • สงคราม
  • ศักดินา
  • หน่วยเงิน
  • หัวเมือง
  • มณฑลเทศาภิบาล
  • แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
  • อุทยานประวัติศาสตร์

กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5

ภูมิศาสตร์

  • ภูมิภาค
    • เหนือ
    • ตะวันออกเฉียงเหนือ
    • กลาง
    • ตะวันออก
    • ตะวันตก
    • ใต้
  • เส้นแบ่งเขตแดน
  • ทรัพยากรธรรมชาติ
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • ภูมิอากาศ
  • แม่น้ำ
  • น้ำตก
  • เกาะ
  • กลุ่มรอยเลื่อน
  • แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก
  • อุทยานธรณีโลก
  • อุทยานแห่งชาติ

การเมือง

  • การเลือกตั้ง
  • เขตการปกครอง
    • จังหวัด
    • เทศบาล
  • ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • พรรคการเมือง
  • พระมหากษัตริย์
    • รายพระนาม

รัฐบาล

  • กฎหมาย
  • รัฐธรรมนูญ
    • ฉบับปัจจุบัน
  • รัฐสภา
    • สภาผู้แทนราษฎร
    • วุฒิสภา
  • นายกรัฐมนตรี
    • รายชื่อ
  • คณะรัฐมนตรี
    • ชุดปัจจุบัน
  • กระทรวง
  • ราชการส่วนกลาง
  • ราชการส่วนภูมิภาค
  • ราชการส่วนท้องถิ่น
  • ข้าราชการ
  • องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
  • ศาล
  • กองทัพ
    • กองทัพบก
    • กองทัพเรือ
    • กองทัพอากาศ
  • ตำรวจ

เศรษฐกิจ

  • เงินบาท
  • ธนาคาร (ธนาคารกลาง)
  • งบประมาณแผ่นดิน
  • เกษตรกรรม
  • การขนส่ง
  • การท่องเที่ยว
  • พลังงาน
  • การว่างงาน
  • ตลาดหลักทรัพย์
  • โทรคมนาคม
  • บริษัทมหาชน
  • ภาษีอากร
  • รัฐวิสาหกิจ
  • ค่าจ้างขั้นต่ำ
  • วิดีโอเกม

สังคม

  • การศึกษา
  • กีฬา
  • เชื้อชาติไทย
  • ภาษา
    • ไทยกลาง
    • ไทยถิ่นอีสาน
    • ไทยถิ่นเหนือ
    • ไทยถิ่นใต้
  • ประชากรศาสตร์
  • ศาสนา
    • พุทธ
    • อิสลาม
    • คริสต์
    • ฮินดู
    • ซิกข์
  • สตรี
    • การทำแท้ง
  • สาธารณสุข
    • บริการสุขภาพ
    • โรงพยาบาล
    • การแพทย์แผนไทย
  • โทรทัศน์
  • ภัยพิบัติ

วัฒนธรรม

  • ศิลปะ
  • จิตรกรรม
  • ประติมากรรม
  • สถาปัตยกรรม
  • ดนตรี
    • เพลง
  • นาฏศิลป์
  • การไหว้
  • สีประจำวัน
  • ภาพยนตร์
  • ละครโทรทัศน์
  • การ์ตูน
  • วรรณกรรม
    • วรรณคดี
  • การละเล่นพื้นเมือง
    • การละเล่นเด็ก
  • ผี
  • อาหาร
    • ขนม
  • ชื่อบุคคล
  • การแต่งงาน
  • เรือ
  • หน่วย
  • วันสำคัญ
  • เวลา
    • ปฏิทิน
  • สัญลักษณ์ประจำชาติ
    • ตราแผ่นดิน
    • ธงชาติ
    • เพลงชาติ
  • ความเป็นไทย

ประเด็น

  • การเกณฑ์ทหาร
  • คตินิยมเชื้อชาติ
  • การแผลงเป็นไทย
  • ลัทธิข้อยกเว้นไทย
  • ความรู้สึกต่อต้านไทย
  • การตรวจพิจารณา
  • โทษประหารชีวิต
  • สิทธิมนุษยชน
    • กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
  • อาชญากรรม
    • กบฏ
    • การก่อการร้าย
    • การสังหารหมู่
    • การค้าประเวณี
    • การค้าหญิงและเด็ก
    • การฉ้อราษฎร์บังหลวง
    • การพนัน
    • การเพิ่มจำนวนอาวุธปืน
    • ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
  • รัฐประหาร

  • กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5
    หมวดหมู่
  • กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5
    สถานีย่อย
  • กระทรวง 12 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5
    โครงการวิกิ

กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกี่กระทรวง

4. กระทรวงที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 มีทั้งหมดกี่กระทรวง อะไรบ้าง ➢ 12 กระทรวง ได้แก่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงธรรมการ

กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีหน้าที่อะไรบ้าง

1. กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งหัวเมืองประเทศราศทางเหนือ 2. กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง 3. กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ

กระทรวงใดในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาและการศาสนา

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 5 ) ได้มีการก่อตั้ง “กระทรวงธรรมการ" ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ ( ต่อมาได้มีการแยกหน่วยงานต่าง ๆ ออกไป ) ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ "กระทรวงธรรมการ" และกระทรวง ...

กระทรวงใดมีหน้าที่ดูแลโรงเรียนทั่วราชอาณาจักรในสมัยรัชกาลที่ 5

4.กรมธรรมการ มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาเกี่ยวกับพระสงฆ์ โรงเรียนและโรงพยาบาลทั่วพระราชอาณาจักร 5. กรมโยธาธิการ มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาเกี่ยวกับการก่อสร้าง ทำถนน ขุดคลอง และการช่างทั่วไป ไปรษณีย์โทรเลข การรถไฟ