การป้องกันอันตรายจากการ ทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ
ในที่นี้
จริงๆแล้วมาจากคำภาษาอังกฤษที่ว่า "Occupational Safety and Health" ผู้ประกอบอาชีพในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร
ครู นักเรียน 
เจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ลูกจ้าง คนงาน ยาม เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่ต้องมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบ
โดยตรง
ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนักเรียนความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงาน
ต้องตระหนักและพึงระลึกถึงตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจะนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

การป้องกันอันตรายจากการ ทำงาน

ความปลอดภัย หมายถึง การที่ร่างกายปราศจากอุบัติภัยหรือทรัพย์สินปราศจากความเสียหายใดๆ เป็นสิ่งที่มนุษย์หรือสัตว์
ต้องการความปลอดภัยทั้งสิ้น 
ความปลอดภัยจะเป็นประโยชน์มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหรือการกระทําของตนเอง

 ความปลอดภัยในโรงงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ อันจะเกิดแก่ร่างกายชีวิต หรือ ทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงานในโรงงาน
ซึ่งก็คือสภาพการทํางานที่ถูกต้องโดยปราศจาก อุบัติเหตุในขณะทํางานนั่นเอง อุบัติเหตุ อาจนิยามได้ว่า คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่พึงประสงค์
ในระหว่างการทํางานและมีผลไปขัดขวางหรือก่อผลเสียหายแก่การทํางานนั้นในโรงงานต่าง ๆ นั้นย่อมจะเกิดอุบัติเหตุกับระบบต่าง ๆ ได้มาก
อาทิ เครื่องจักรเครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบขนส่งหรือขนถ่ายวัสดุ เครื่องมือกล วัตถุดิบ สารเคมี สารไวไฟ ฯลฯ อุบัติเหตุที่เกิดแก่ชีวิตร่างกาย 
จากสถิติที่ประเมินมาพบว่าอุบัติเหตุที่เกิดแก่ร่างกายของคนงานคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความถี่บ่อย ๆ ครั้งในการเกิดดังนี้

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
•การกระทําไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน
•ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
•การมีนิสัยชอบเสี่ยง
•การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน
•การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
•การแต่งกายไม่เหมาะสม
•การทํางานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เมาค้าง ป่วย

การป้องกันอันตรายจากการ ทำงาน

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•ส่วนที่เป็นอันตรายหรือส่วนที่เคลื่อนไหวไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
•การวางผังไม่ถูกต้อง วางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
•พื้นโรงงานขรุขระเป็นหลุมบ่อ
•พื้นโรงงานมีเศษวัสดุ น้ำมัน น้ำบนพื้น
•สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่นละออง
•เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด
•ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด

การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือ การป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น 

หลักการ 5 ส. สู่การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น
•สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย ใช้-ไม่ใช้
•สะดวก หมายถึงการจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
•สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ สถานที่ก่อนและหลังการใช้งาน
•สุขลักษณะ หมายถึงผู้ปฎิบัติงานต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
•สร้างนิสัย หมายถึงการสร้างนิสัยที่ดี

กฎ 5 รู้
•รู้ งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

•รู้ การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

การป้องกันอันตรายจากการ ทำงาน

Visitors: 107,755

5.6  วิธีป้องกันและบทบาทผู้ดำเนินงานป้องกันอุบัติภัย

    5.6.1  วิธีการป้องกนอุบัติภัย

1.  โดยการออกกฎโรงงาน( regulation ) ให้มาตรฐานการทำงาน แนวทางการปฏิบัติ การทดสอบ การดำเนิน การและ หน้าที่ปฏิบัติต่าง ๆ ที่ถูกต้องและปลอดภัยในโรงงาน

2.  โดยการจัดทำมาตรฐาน ( standardization ) กำหนดมาตรฐานของโครงสร้าง เครื่องจักรกล และขั้นตอน การ ปฏิบัติงานต่าง ๆ ภายในโรงงานให้สอดคล้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ

3.  โดยการตรวจสอบ ( inspection ) เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของคนงาน

4.  โดยการทำวิจัยทางเทคนิค ( technical research ) เป็นการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ โครงสร้างการใช้ งานของเครื่องจักรต่าง ๆ 

5.  โดยการวิจัยทางการแพทย์ ( medical research ) เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับร่างกาย คนงานและความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะ ที่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของร่างกาย 

6.  โดยการวิจัยทางจิตวิทยา ( psychological research ) ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง จิตใจคน งาน กับการ เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

7.  โดยการวิจัยทางสถิติ ( statistical research ) เป็นการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลและวิจัยหาแนวโน้ม ของการเกิด อุบัติเหตุและจุด ที่มี การเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุด

8.  โดยการให้การศึกษา( education ) โดยการสอนวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย ในหมาวิทยาลัย และโรงงาน อุตสาหกรรม

9.  โดยการฝึกอบรม ( training ) โดยการอบรมคนงานทุกคนที่เข้ารับหน้าที่เพื่อให้มีการทำงานที่ปลอดภัยที่สุด

การป้องกันอันตรายจากการ ทำงาน

        5.6.2  บทบาทผู้ดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุ

1.  การกำหนดนโยบาย การกำหนดนโยบายควรกำหนดไว้เป็นอันดับแรก  ไม่ว่าจะเป็นนโยบายระดับสูงหรือระดับประเทศ  ระดับหน่วยงาน  องค์กรต่าง ๆ ในชุมชน หรือครอบครัว ทั้งนี้เพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายเพื่อการบรรลุความปลอดภัยหรือการป้องกันอุบัติเหตุ

 2.  การประสานงาน

    2.1  การประสานเพื่อออกคำสั่งปฎิบัติการ

    2.2  การประสานเพื่อออกการแผนร่วมกัน

    2.3  การประสานเพื่อกำหนดกิจกรรมร่วมกัน

    2.4  การประสานเพื่อเพื่อรายงานผลการปฎิบัติการ

    2.5  การประสานเพื่อกำหนดโครงการร่วมกัน

    2.6  การประสานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

3.  ความรับผิดชอบ  คนที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้การปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระผูกพันที่ผู้นำต้องสร้างขึ้นเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี

4.  การแสดงออกการแนะนำให้รู้จักเก็บรักาาเครื่องมือการปฎิบัติตนเพิ่อให้เกิดความปลอดภัยในโรงงาน เมื่อกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุต้องเข้าร่วมใกล้ชิด ชักชวนบุคลากรในหน่วยงานทิ้ง

ก้นบุหรี่ให้ลงถังที่มีฝาปิด

5.  การติดตามผล

    5.1  ปัญหาแลอุปสรรคของการดำเนินงาน

    5.2  ความสำเร็จของกการดำเนินงาน

    5.3  สาเหตุของความล้มเหลวของการดำเนินงาน

การป้องกันอันตรายจากการ ทำงาน

    5.6.3  องค์ประกอบสำคัญในการดำเนินการป้องกันอุบัติภัย

1.  การจัดตั้งองค์กรหรือบุคคลที่รับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัย

2.  การวิเคราะห์วางแผนและค้นหาสาเหตุ

3.  กำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติ

4.  ให้ความรู้และอบรมพนักงานให้มีความเข้าใจต่อการป้องกันอุบัติภัย

5.  กระจายความรับผิดชอบตามสายงาน

แนวทางการป้องกันอันตรายจากการทำงาน มีอะไรบ้าง

การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร

หลักการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร 5 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง

วิธีการป้องกันการเกิดอันตรายจากเครื่องจักร 2.หมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องจักร และบำรุงรักษาเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานเสมอ 3.พนักงานทุกคนต้องสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร 4.การฝึกอบรมให้พนักงานทุกคนได้ใช้งานเครื่องจักรได้อย่างถูกต้องปลอดภัย 5.ปฏิบัติตามกฎระเบียบของการทำงานอย่างเคร่งครัด

กฎความปลอดภัย 5 ข้อ มีอะไรบ้าง

หลักการเกี่ยวกับความปลอดภัย ... .
1. สะสาง ... .
ผลจากการดำเนินงาน ... .
2. สะดวก.
หลักการ ... .
3. สะอาด ... .
4. สุขลักษณะ ... .
5. สร้างนิสัย.

เเนวทางในการป้องกันการประสบอันตรายมีกี่ข้อ

8 ขั้นตอน วีธีป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ.
1.งดใช้มือถือขณะขับรถ หนึ่งสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุบนท้องถนน ... .
2.คาดเข็มขัดนิรภัย ช่วยกระจายแรงกระแทกที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ... .
3.ไม่ขับรถเร็วเกินกำหนด อย่าเห็นแก่ธุระสำคัญ หรือแม้แต่ความสนุก ... .
4.นำรถเข้าศูนย์ ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อเช็คระยะ ... .
6.ง่วงไม่ขับ ... .
7.เมาไม่ขับ ... .
8.ปฏิบัติตามกฎจราจร.