วิธีเก็บข้อมูลทุติยภูมิควรดำเนินการอย่างไรบ้าง

ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่นักเรียนเก็บจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง ส่วนข้อมูลทุติยภูมิคือ ข้อมูลที่นักเรียนนำมาจากบุคคลอื่น หรือหน่วยงานอื่น ข้อมูลประเภทนี้...

  • วิธีเก็บข้อมูลทุติยภูมิควรดำเนินการอย่างไรบ้าง
    ครูเอก
  • คณิตศาสตร์ ม.ปลาย

วิธีเก็บข้อมูลทุติยภูมิควรดำเนินการอย่างไรบ้าง
การแบ่งประเภทของข้อมูลโดยอาศัยแหล่งที่มาของข้อมูล

ประเภทของข้อมูล

ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนจะศึกษาการแบ่งประเภทของข้อมูลโดยหลักเกณฑ์การแบ่งประเภทดังต่อไปนี้
1. แหล่งที่มาของข้อมูล
2. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล
3. ลักษณะของข้อมูล

การแบ่งประเภทของข้อมูลโดยอาศัยแหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)

คือ ข้อมูลที่นักเรียนเก็บจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง เช่น

  • ข้อมูลการเข้าใช้ห้องสมุดของโรงเรียน เป็นข้อมูลปฐมภูมิของบรรณารักษ์ห้องสมุด
  • ข้อมูลจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นข้อมูลปฐมภูมิของนักเรียนที่ทำการทดลอง

การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบปฐมภูมิ สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ การสำมะโน (census) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกๆ หน่วยของประชากร เหมาะสำหรับข้อมูลขนาดเล็ก เช่น การสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งเกี่ยวกับการสอบ O-NET หรือข้อมูลที่ต้องการความแม่นยำสูง มักพบได้จากการสำมะโนของสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งจะจัดทำขึ้นทุกๆ 5 ปี หรือ 10 ปี เช่น สำมะโนประชากรและเคหะ สำมะโนการเกษตร ฯลฯ ข้อมูลที่ได้จากการสำมะโนจะเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างแม่นยำ เนื่องจากเป็นค่าจริงไม่ใช่ค่าประมาณ ข้อเสียที่เด่นชัดของการสำมะโน คือ หากขนาดของประชากรมีขนาดใหญ่ ผู้เก็บข้อมูลจะต้องใช้เวลามากในการเก็บข้อมูลทุกหน่วย รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง อีกวิธีที่นิยมใช้สำหรับการเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิที่มีประชากรขนาดใหญ่ คือ การสำรวจตัวอย่าง (sample survey) เป็นวิธีการคัดเลือกตัวอย่างมาใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตัวอย่างจะเป็นค่าประมาณ ทำให้มีความแม่นยำน้อยกว่าข้อมูลที่ได้จากการสำมะโน ข้อดีของการสำรวจตัวอย่างคือ ผู้เก็บข้อมูลจากใช้งบประมาณและเวลาค่อนข้างน้อยในการเก็บข้อมูล

ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)

คือ ข้อมูลที่นักเรียนนำมาจากบุคคลอื่น หรือหน่วยงานอื่น ข้อมูลประเภทนี้ นักเรียนจะไม่ได้ลงมือเก็บรวบรวมด้วยตนเอง โดยส่วนใหญ่แล้วข้อมูลประเภทนี้มักเป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น

  • ข้อมูลประชากรในกรุงเทพมหานคร ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ. 2564 จัดเป็นข้อมูลปฐมภูมิของสำนักงานเขตแต่ละเขตในกรุงเทพมหานคร แต่จะเป็นข้อมูลทุติยภูมิของบุคคล หรือ หน่วยงาน ที่ต้องการอ้างถึงจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานคร
  • ข้อมูลการใช้บริการแผนก OPD ของโรงพยาบาล ประจำปี พ.ศ.2564 จัดเป็นข้อมูลปฐมภูมิของโรงพยาบาล แต่เมื่อโรงพยาบาลส่งรายงานให้กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลทุติยภูมิของกรวงสาธารณาสุข

ข้อดีของการเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ คือ นักเรียนไม่ต้องเสียเวลาในการเก็บข้อมูล อีกทั้งมีความสะดวกและรวดเร็วในการนำไปใช้งาน อย่างไรก็ตามเนื่องข้อมูลประเภทนี้นักเรียนไม่ได้ลงมือเก็บรวบรวมจากแหล่งกำเนิดโดยตนเอง ทำให้ข้อมูลที่นักเรียนนำมาใช้งานอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย นักเรียนควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อความถูกต้องของข้อมูลทุติยภูมิ เช่น บุคคล หรือ หน่วยงาน ที่จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด มีความรู้ความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด รวมถึงข้อมูลที่จัดเก็บมีความชัดเจนและหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือหรือไม่

    

วิธีเก็บข้อมูลทุติยภูมิควรดำเนินการอย่างไรบ้าง
วิธีเก็บข้อมูลทุติยภูมิควรดำเนินการอย่างไรบ้าง
วิธีเก็บข้อมูลทุติยภูมิควรดำเนินการอย่างไรบ้าง
วิธีเก็บข้อมูลทุติยภูมิควรดำเนินการอย่างไรบ้าง

ข้อมูล ( data )

คือ  ข้อความจริง  หรือสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพ  สถานการณ์  หรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง  โดยที่ข้อมูลอาจเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้

ข้อมูลเชิงสถิติ ( statistical  data )คือ  ข้อมูลที่สามารถนำมาประมวลผลหรือวิเคราะห์ด้วยกระบวนการหรือวิธีต่าง ๆ ได้

ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น

-ในเดือนตุลาคม  2553  น้ำมันดีเซล  B5  ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลราคาลิตรละ    27.59  บาท

-ปริมาณข้าวที่เสียหายในช่วงน้ำท่วม ปี พ.ศ. 25531  แสนไร่

ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ เช่น

-กรุงเทพมหานครมีจำนวนประชากรมากกว่าประชากรในจังหวัดปัตตานี

-ความคิดเห็นของประชากรเกี่ยวกับการทำแท้ง

การจำแนกประเภทของข้อมูล

มีการจำแนกได้  2  ลักษณะ  คือ

– จำแนกตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล

– ตามลักษณะของข้อมูล

ประเภทของข้อมูลที่จำแนกตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

มี  2  ประเภท  คือ

– ข้อมูลปฐมภูมิ (primary  data )

– ข้อมูลทุติยภูมิ ( secondary  data )

ข้อมูลปฐมภูมิ  หมายถึง  ข้อมูลที่ผู้ใช้จะต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มา

ของข้อมูลโดยตรง

ข้อมูลทุติยภูมิ  หมายถึง  ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูล  หรือ

แหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง  แต่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว

การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ

ทำได้  2  วิธี  คือ  การสำมะโน ( census )  และการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง ( sample  survey )

การสำมะโน   คือ  การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากรหรือสิ่งที่เรา

ต้องการศึกษา  ใช้กรณีประชากรมีขนาดเล็กหรือขอบเขตไม่กว้างขวางนัก ( เพราะเป็นวิธีที่ทำให้

เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก )

การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง  คือ  การเก็บรวบรวมข้อมูลจากบางหน่วยที่เลือกมาเป็น

ตัวแทนจากทุก ๆ หน่วยของประชากรหรือสิ่งที่เราต้องการศึกษาเท่านั้น

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ      

ที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไป มี  5  วิธี

การสัมภาษณ์  (interview )นิยมใช้กันมาก  เพราะจะได้คำตอบทันที  หากผู้ตอบไม่

เข้าใจสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้  แต่ผู้สัมภาษณ์ต้องซื่อสัตย์  และเข้าใจจุดมุ่งหมายของการเก็บ

ข้อมูลอย่างแท้จริง

การสอบถามทางไปรษณีย์  ( mail )ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมาก  สะดวกและ

สบายใจในการตอบแบบสอบถาม  แต่มีข้อเสียคือ  ต้องใช้ในเฉพาะที่มีการศึกษา  มีไปรษณีย์ถึง

คำถามต้องชัดเจน  อาจไม่ได้รับคืนตามเวลาหรือจำนวนที่ต้องการ  จึงต้องส่งไปเป็นจำนวนมาก

หรืออาจไปแจกและเก็บด้วยตนเอง

  • การสอบถามทางโทรศัพท์เป็นวิธีที่ง่าย  เสียค่าใช้จ่ายน้อย  ต้องเป็นการสัมภาษณ์อย่างสั้น ๆ ตอบได้ทันที  ใช้ได้เฉพาะส่วนที่มีโทรศัพท์
  • การสังเกต  ( observation )เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแล้วบันทึกสิ่งที่เราสนใจเอาไว้  ต้องใช้การสังเกตเป็นช่วง ๆของเวลาอย่างต่อเนื่องกัน  ข้อมูลจะน่าเชื่อถือได้มากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความชำนาญของผู้สังเกต
  • การทดลอง  ( experiment )เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการทดลอง  ซึ่งมักจะใชเวลาในการทดลองนาน ๆ ทำซ้ำ ๆมีความถูกต้องและเชื่อถือได้มาก  ถ้าไม่เกิดความคลาดเคลื่อนจากการวัดหรือการวางแผนการทดลอง

แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิมี        2  แหล่งที่สำคัญ  คือ

  • รายงานต่าง ๆของหน่วยงานราชการและองค์การของรัฐบาล  เช่น   ทะเบียนประวัติ

บุคลากร  ประวัติคนไข้  ทะเบียนนักเรียน  นักศึกษา

  • รายงานและบทความจากหนังสือหรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน  ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่

เฉพาะส่วนของข้อมูลที่เผยแพร่ได้ในรูปของรายงานต่าง ๆ

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ          ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปหนังสือ  รายงาน  บทความ  หรือเอกสารต่างๆ ควรจะดำเนินการดังนี้

– พิจารณาตัวบุคคลผู้เขียนรายงาน  บทความหรือเอกสาร  เป็นผู้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่  การเขียนอาศัยเหตุผลและหลักวิชาการมากน้อยเพียงใดควรใช้ข้อมูลที่ผู้เขียนเก็บรวบรวมมาเองได้โดยตรง  เช่น  ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจหรือสำมะโน  ไม่ควรใช้ข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่นเนื่องจากอาจมีความคลาดเคลื่อนได้

– ถ้าข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมสามารถหาได้จากหลาย ๆ แหล่ง  ควรเก็บรวบรวมมา จากหลาย ๆ แหล่งเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบว่าข้อมูลที่ต้องการมีความผิดพลาดบ้างหรือไม

-พิจารณาจากลักษณะของข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวม  ถ้าข้อมูลที่เป็นข้อความจริง ข้อมูลที่ได้จากทะเบียนหรือข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นหรือเจตคติ  ส่วนใหญ่มักจะมีความถูกต้องเชื่อถือได้สูง  แต่ถ้าเป็นข้อมูลประเภทความลับหรือข้อมูลซึ่งผู้ตอบอาจต้องเสียประโยชน์จากการ

ตอบ  ส่วนใหญ่มักจะไม่ถูกต้องเชื่อถือได้น้อย

– ถ้าข้อมูลที่จะเก็บรวบรวมได้มาจากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง  หรือต้องผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติมาก่อน  ควรต้องตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างขนาดกลุ่มตัวอย่าง  และวิธีการวิเคราะห์ว่าเหมาะสมที่จะใช้หรือไม่