เพราะเหตุใดบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 จึงได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนบทละครร

โขนพระราชทาน ตอน สืบมรรคา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่กำลังลงโรงอยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นบทพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย...ที่ใช้ในละครเรื่องรามเกียรติ์ ครับ

บทละครตอนนี้ รัชกาลที่ 2 ทรงแก้ไขตัดตอนมาจากพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในประวัติสุนทรภู่ ถึงตอนนางสีดาผูกคอตาย บทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 ที่เคยเล่นกันมาแต่ก่อน รัชกาลที่ 2 ทรงเห็นว่าดูเยิ่นเย้อชักช้านัก

กว่าหนุมานจะมาช่วยได้ นางสีดาก็ต้องตายไปแล้ว

จึงได้ทรงแก้ไขบทตอนนี้ให้กระชับรวดเร็วขึ้น ให้หนุมานได้เข้าไปอย่างฉับพลันทันที ไม่ปล่อยให้หนุมานมัวทำท่าตกใจหันรีหันขวางอยู่ตามบทเก่า

เมื่อสุนทรภู่แต่งแก้ว่า “เมื่อนั้น วายุบุตรแก้ได้ดังใจหมาย” จึงเป็นที่พอพระทัย

นี่คือลักษณะประการหนึ่งของพระราชนิพนธ์ ร.2 เฉพาะบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ทรงไว้ยาวเป็นลำดับที่ 2 คือประมาณ 14,000 คำกลอน

ส่วนบทละครเรื่องอิเหนา ที่ทรงไว้ยาวเป็นลำดับที่หนึ่ง คือมากถึง 20,520 คำกลอน คนรุ่นหลังต่างยกย่องกันว่าทรงแก้ไขได้อย่างดีเลิศ

ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ.2459 ให้เป็นยอดของบทละครรำ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงสรรเสริญไว้ว่า

ดีพร้อมทั้งเนื้อความทำนองกลอน และกระบวนที่จะเล่นละคร

ในเชิงรำก็ให้ท่าทีจะรำได้แปลกๆงามๆในเชิงจัดคุมหมู่ละครก็ให้ท่าทีที่จะจัดได้เป็นภาพงามโรง ในเชิงร้องก็ให้ท่าทีที่จะจัดลู่ทาง ทำนองไพเราะเสนาะโสต ในเชิงกลอนก็สละสลวยเพราะพริ้ง ไม่มีที่เปรียบ

ละครจะดีได้ต้องครบองค์ 5 1 ตัวละครงาม 2 รำงาม 3 ร้องเพราะ 4 พิณพาทย์เพราะ 5 กลอนเพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

ข้าพเจ้ามารำลึกได้ถึงรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ซึ่งนักเลงหนังสือก็ดี นักเลงดูละครก็ดี ต้องยอมรับทั้งนั้นว่าเป็นหนังสือดี เป็นบทกลอนไพเราะ และถ้อยคำสำนวนดี เป็นตัวอย่างดียิ่งอันหนึ่งแห่งจินตกวีนิพนธ์ในภาษาไทยเรา

บทละครรามเกียรติ์ บทหนึ่งที่หลายคนจดจำได้ ตอนหนุมานช่วยนางสีดาไว้ทัน แล้วทูลว่าจะเนรมิตกายให้ใหญ่ ทูลเชิญขึ้นฝ่ามือกลับไปหาพระราม

นางสีดาตอบหนุมานว่า “อันตัวเรายากเย็นเพราะเป็นหญิง ไม่สิ้นสิ่งพะวงสงสัย ประเดี๋ยวยักษ์ลักมาลิงพาไป เทพไทยจะติฉินนินทา”

ด้วยเหตุผลนี้เอง สงครามรามเกียรติ์ที่อาจจะจบลงได้ก็ยืดเยื้อต่อไปอีก

แต่หากจะว่ากันไป ก็ถือเป็นเรื่องดี ที่ทำให้พวกเราซึ่งเกิดไม่ทันดูละครรามเกียรติ์ แต่ก็ยังมีบุญตา ได้ดูโขนรามเกียรติ์พระราชทาน มาแล้วหลายตอน และหวังว่าจะมีตอนต่อๆไป

โขนตอนสืบมรรคา ดูแล้วก็ได้ความคิดนะครับ ได้ความคิดว่า ทุกคนเกิดมามีหน้าที่

เป็นทหารก็ทำหน้าที่ทหาร มีอริราชชาติศัตรู ก็รบก็สู้กันไป อย่าทำเหมือนหนุมาน ที่ฮึกเหิมทำเกินคำสั่งนายถึงขั้นเผากรุงลงกา

นักการเมืองก็ทำหน้าที่นักการเมือง เอาแต่เรื่องทุกข์สุขของประชาชน

แต่ทำไม ตอนนี้มีแต่เรื่องหนักหูชาวบ้าน เดี๋ยวก็ตีฝีปากเล่นเกมกฎหมาย เดี๋ยวก็ตีฝีปากแย่งชิงเก้าอี้ นักการเมืองเมืองเราตอนนี้ ทำหน้าที่แบบไหนยังไงก็ไม่รู้.

            อิเหนา สังข์ทอง ไกรทอง ขุนช้างขุนแผน

เพราะเหตุใดบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 จึงได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนบทละครร

            วรรณคดีที่คนไทยต่างรู้จักตัวละครและเรื่องราวกันดีมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็กนักเรียน แต่หากถามว่าเป็นผลงานของใครนั้น อาจไม่ใช่ทุกคนที่ตอบได้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กษัตริย์นักประพันธ์ผู้ทำให้ช่วงเวลานั้นเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย

            เนื่องในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงเป็นที่มาของกิจกรรม “ยุคทองวรรณคดีไทย ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ และมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 22 - วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 11.00 น. - 17.00 น. ณ อุทยานการเรียนรู้ TK park ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

            กิจกรรมในงานประกอบด้วย 4 ส่วน คือ นิทรรศการ ภาพยนตร์ การแสดง และเกมการแข่งขัน

เพราะเหตุใดบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 จึงได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนบทละครร

หมากสกา และดอกสร้อยฟ้า

            นิทรรศการรำลึกถึงพระปรีชาสามารถ

            โดยบริเวณลานสานฝัน ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นสวนดอกไม้ไทยขนาดย่อมซึ่งเป็นพรรณไม้ที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องต่างๆ อันเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เช่น ต้นแสงจันทร์ ต้นสร้อยฟ้า ต้นทับทิมหนู บัว ถูกจัดวางข้างแผ่นป้ายนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระปรีชาสามารถด้านต่างๆอย่างสวยงาม

            นอกจากนี้ ยังได้มีการจำลองเรือนไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น พร้อมกับการเล่น “หมากสกา” กีฬาไทยชนิดหนึ่งที่ช่วยฝึกฝนความคิด ปฏิภาณไหวพริบ การแก้ไขปัญหา ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับหมากรุกและหมากฮอต

            อีกมุมหนึ่งของนิทรรศการ คือการนำแผนที่ของอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยหรือ “อุทยาน ร.2” ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำให้ผู้เข้าชมเสมือนได้หลุดเข้าไปในโลกวรรณคดี เพราะมีสถาปัตยกรรมไทยและหุ่นปั้นตัวละครในวรรณคดีที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมา ได้แก่ เรือนไทยหมู่ เรือประพาสอุทยาน รูปปั้นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ สังข์ทอง ไกรทอง รวมถึงพิพิธภัณฑ์ขนมไทย โดยอุทยาน ร.2 ตั้งอยู่ ณ ตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นที่พระบรมราชสมภพ จัดสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมรักษาสมบัติวัฒนธรรมของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมบัติวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 2 เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชน และยังส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น

เพราะเหตุใดบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 จึงได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนบทละครร

ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ และวรรณคดีเรื่องอิเหนา

            ภาพยนตร์เกี่ยวกับพระราชประวัติ รัชกาลที่ 2

            หนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นในนิทรรศการครั้งนี้ คือการจัดฉายภาพยนตร์สารคดีเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสครบ 200 ปี วันครองราชย์ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระปรีชาสามารถด้านต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

            พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2300 ณ นิวาสสถาน ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา

            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี ชั่วระยะเวลาที่พระองค์ครองราชย์อยู่นั้นนับว่าประเทศอยู่บนสถานภาพปกติสุข เมื่อว่างเว้นจากการสงคราม พระองค์จะทรงทำนุบำรุงประเทศชาติในด้านศิลปะ วรรณคดี และสถาปัตยกรรม ดังเป็นที่ปรากฏว่าวรรณคดีในสมัยของพระองค์รุ่งเรืองถึงขีดสุด

            ด้านพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ พระราชนิพนธ์วรรณคดีที่มีชื่อเสียงมาถึงปัจจุบัน วรรณคดีในสมัยของพระองค์ถือเป็นแบบฉบับอันยอดเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นคำกลอน ละครนอก ละครใน เสภา นิราศ กาพย์ ฉันท์ ลิลิต โครงสี่สุภาพ อาทิ บทละครเรื่องอิเหนา เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน บทพากย์โขน บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ สังข์ทอง คาวี ไกรทอง มณีพิชัย

            ด้านศิลปกรรมพระองค์ทรงให้สร้างวัดอรุณราชวราราม ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระพุทธรูปพระประธานด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง หรือทรงแกะสลักบานประตูบาทกลางพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นลายสลักซับซ้อน ด้านดนตรีพระองค์ทรงโปรดดนตรีไทยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งซอสามสายเป็นเครื่องดนตรีที่พระองค์โปรดปรานมาก ซอสามสายคู่พระหัตถ์ทรงพระราชทานนามว่า “ซอสายฟ้าฟาด” เมื่อว่างจากพระกรณียกิจพระองค์มักจะทรงเครื่องดนตรีซอสามสายอยู่เสมอ สำหรับด้านต่างประเทศทรงรับเป็นไมตรีกับพม่า ขณะเดียวกันก็โปรดให้สร้างเมืองและป้อม เพื่อป้องกันพระนคร เช่น สร้างป้อมนครเขื่อนขันธ์ อันเป็นเมืองด่านสำหรับป้องกันศึกศัตรู

เพราะเหตุใดบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 จึงได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนบทละครร

ละครนอกเรื่องสังข์ทอง และละครในเรื่องรามเกียรติ์

            การแสดงร่ายรำจากบทพระราชนิพนธ์

            จากบทพระราชนิพนธ์อันงดงามของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นำมาสู่การบรรเลงดนตรีและการแสดงนาฏศิลป์อันอ่อนช้อย กิจกรรมครั้งนี้ นักศึกษา “กลุ่มโจงแดง” จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งได้รวมตัวกันเนื่องจากมีความชอบในศิลปะการแสดงและดนตรีไทย โดยได้นำการแสดงร่ายรำจากบทพระราชนิพนธ์ 2 เรื่องมาให้ได้ชม คือ

            ละครนอก เรื่อง “สังข์ทอง” ตอน “รจนาเสี่ยงพวงมาลัย” มีเรื่องราวว่า พระสังข์ซึ่งตัวจริงรูปร่างงาม ผิวเป็นทองทั้งตัว แต่แกล้งปลอมตัวโดยเอารูปเงาะเข้าสวมใส่แล้วแกล้งทำเป็นบ้าใบ้ ถูกพามาให้รจนา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงเลือกคู่ เนื่องจากเป็นบุพเพสันนิวาส รจนาจึงมองเห็นรูปทองข้างในของเจ้าเงาะ แล้วทิ้งพวงมาลัยให้เพื่อเลือกพระสังข์ (เจ้าเงาะ) เป็นสวามี

            และ ละครใน เรื่อง “รามเกียรติ์” ตอน “หนุมานจับนางเบญกาย” เรื่องราว คือ นางเบญกายแปลงกายเป็นนางสีดาแกล้งทำเป็นตายลอยน้ำไปที่ค่ายของพระราม เพื่อให้พระรามหมดกำลังใจรบ จะได้ยกทัพกลับไปแต่หนุมานก็รู้สึกถึงความผิดปกติ เพราะศพนางสีดาลอยทวนน้ำขึ้นมา จึงทูลขอพระรามนำศพนางสีดาไปเผาไฟ นางเบญกายทนร้อนไม่ไหว จึงกลับคืนร่างเดิมและเหาะขึ้นฟ้าไป แต่หนุมานก็เหาะตามไปจับตัวนางมาได้

            นอกจากการแสดงร่ายรำแล้ว ยังมีการบรรเลงซออู้เพลงไทยเดิม เช่น เพลง “ลาวเสี่ยงเทียน” จากวรรณคดีเรื่อง “อิเหนา”ในตอนที่บุษบารู้สึกสับสน ว่าจะเลือกจรกาที่เป็นคู่หมั้นในปัจจุบัน หรืออิเหนาซึ่งเคยได้หมั้นหมายกันมาก่อน นางจึงไปเสี่ยงเทียนในถ้ำที่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์  และจุดเทียนอธิษฐาน เพื่อให้เห็นว่าใครคือเนื้อคู่ตัวจริง

เพราะเหตุใดบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 จึงได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนบทละครร

ผู้เข้าร่วมแข่งขันต่อโมเดลพระปรางค์วัดอรุณ

            กิจกรรมแข่งขันต่อโมเดล

            นอกจากนิทรรศการ ภาพยนตร์ และการแสดงที่ผู้เข้าร่วมงานได้รับชมแล้ว ยังมีกิจกรรมสนุกๆ ให้ทุกคนในครอบครัวได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำภารกิจให้สำเร็จ ด้วยกิจกรรมแข่งขันต่อโมเดล โดยเป็นโมเดลรูปพระปรางค์วัดอรุณ ซึ่งมีหลายครอบครัวเข้าร่วมเล่นเกม ทีมละ 2-3 คน แข่งขันต่อโมเดลให้สมบูรณ์มากที่สุดในเวลาที่จำกัด ซึ่งก่อนที่จะมีการแข่งขัน พิธีกรและกรรมการการแข่งขันคือพี่ต้องและพี่ริบบิ้น ได้เล่าถึงประวัติของวัดอรุณราชวรารามและพระปรางค์วัดอรุณว่า

            “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า"วัดมะกอก" ตามชื่อตำบลบางมะกอก ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง แล้วเปลี่ยนชื่อวัดว่า "วัดอรุณราชธาราม" ถึง สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดอรุณราชวราราม"

            ในส่วนของ “พระปรางค์วัดอรุณ” นั้น เดิมที่มีความสูง 16 เมตร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชปรารภสร้างพระปรางค์ในวัดอรุณให้สูงขึ้นอีก เพื่อเป็นศรีแก่พระนคร โดยสร้างได้ส่วนสัดสวยงาม สูง 81.85 เมตร วัดรอบฐาน 234 เมตร ประกอบด้วยปรางค์เล็กล้อมอยู่ 4 ทิศ และมีพระมณฑปอยู่ทั้ง 4 ทิศ

            สำหรับผลการแข่งขันนั้น ปรากฏว่าโมเดลพระปรางค์วัดอรุณมีรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงไม่มีทีมใดต่อโมเดลครบถ้วนตามเวลาที่กำหนด ผู้ชนะจึงได้แก่ผู้ที่เหลือชิ้นส่วนโมเดลน้อยที่สุด ได้รับรางวัลเป็นสมุดบันทึกและบัตรสมาชิกอุทยานการเรียนรู้ TK park โดยทุกทีมได้รับโมเดลพระปรางค์วัดอรุณที่ต่อไว้นำกลับไปต่อให้สำเร็จ

            กิจกรรมครั้งนี้ นอกจากจะทำให้ทราบถึงพระราชประวัติและพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในด้านวรรณคดี ที่มีความโดดเด่นมากที่สุดในยุครัตนโกสินทร์แล้วยังได้ทราบถึงพระปรีชาสามารถด้านอื่นๆ ของพระองค์ รวมถึงมรดกความเป็นไทยต่างๆ ที่ควรคู่ให้คนรุ่นหลังได้อนุรักษ์สืบต่อไป

พี่ตองก้า