เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมากเพราะพระองค์ทรงเป็นทั้งรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศได้เป็นปึกแผ่นและทรงขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ ความเจริญรุ่งเรื่องนี้ทำให้มีการประกอบการค้าทั้งในประเทศและนอกราชอาณาจักร ในยุคสมัยอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหล้กฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง ดังข้อความตอนหนึ่งว่า



เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี

ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง

เพื่อจองวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย

ใครจักค้าช้างค้า ใครจักค้าม้าค้า

จากข้อความที่กล่าวมาจากเดิมมีการจัดเก็บจังกอบ จำกอบ จกอบ เป็นค่าเดี่ยวกัน เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่จัดเก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของไปเพื่อขายในที่ต่าง ๆ หรือหมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นในอัตรา 10 ชัก 1 และการจัดเก็บนั้นมิได้เป็นตัวเงินเสมอไป คื่อเก็บสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่เก็บอย่างใดได้สะดวก เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้นการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งสถานที่จัดเก็บในสถานที่ที่สะดวก เช่น ถ้าเป็นทางบกก็จะไปตั้งที่ปากทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเป็นทางน้ำก็จะตั้งใกล้ท่าแม่น้ำหรือเป็นทางร่วมสายน้ำ โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะคอยเป็นที่จัดเก็บสินค้าทั่วไป ไม่เพียงเฉพาการน้ำและขนออกราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน และขนอนตลาด เป็นต้น

การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรื่อไม่

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน
   
เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน
    
เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน
  
เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

              อาชีพด้านเกษตรกรรม
               1.เป็นเศรษฐกิจ หรือผลการผลิตเพื่อยังชีพ
              2. การผลิตทางการเกษตร   เช่น
              - ปลูกข้าวเป็นสำคัญเป็นอาหารหลัก ดังศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่า เมืองสุโขทัยนี้นี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
              - พืชไร่ต่างๆ เช่น อ้อย ข้าวโพด
             - พืชสวนในหลักศิลาจารึกได้กล่าวถึงการทำสวน เช่น มะพร้าว  มะม่วง มะขาม มะปราง  หมาก พลู  เป็นต้น

  3.2  การพัฒนาทางการเกษตร ที่สำคัญ เช่น

                - สรีดภงส์ (ทำนบพระร่วง) คือ ระบบการชลประทานการสร้างเขื่อนดินทางหุบเขาด้านทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยทำทำนบกั้นลำน้ำแม่ลำพันเบี่ยงเบนการไหลของน้ำจากที่สูงเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภค สรีดภงส์ 1 อยู่นอกกำแพงเมืองด้าทิศตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่อ่างเก็บน้ำอยู่ระหว่างเขาพระบาทใหญ่กับเขากิ่วอ้ายมาโดยมีคันดินกว้าง 4 เมตร เป็นแนวยาว 300 เมตรเศษ

สรีดภาส์ 2 ตั้งอยู่บ้านคีรีมนต์ ตำบลเมืองเก่า เมืองสุโขทัย ห่างกำแพงเมืองไปทางทิศใต้ตามคันดินกั้นน้ำโคกมน สภาพอ่างน้ำกว้างขวาง ปัจจุบันตื้นเขินหมดแล้ว1

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรตพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณะและภูมิปัญญาจังหวัดสุโขทัย 2544 หน้า 102

               *- ตระพัง  คือ  คูน้ำหรือสระน้ำขนาดใหญ่รอบวัดรองรับที่ทำท่อไหลมาจากเขาหลวงเข้าสู่ตัวเมืองเพื่อไว้ใช้ในการเพาะปลูก1และกักเก็บไว้ใช้ในหน้าแล้ง   อภิวันทน์  อดุลยพิเชฎฐ์  3 เมืองมรดกโลก 2550  หน้า23  ในตัวเมืองสุโขทัยมีตระพังอยู่ 3 แห่ง คือ ตระพังทองอยู่ทางด้านตะวันออก  ตระพังเงินอยู่ทางด้านตะวันตก  และตระพังสออยู่ทางด้านเหนือ มีวัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลาง2 ดนัย  ไชยโยธา  นามานุกรมประวัติศาสตร์ไทย  2548 หน้า 40

            - ผลผลิตจากป่า (ของป่า) ทั้งจากอาณาจักรสุโขทัย ล้านนา ล้านช้างจะรับซื้อเพื่อส่งออกเมืองท่าชายทะเล ใช้เมืองท่าของมอญระบายสินค้าเพื่อส่งสินค้าไปยัง อินเดีย เปอร์เซีย หลายชนิดเช่น
           - เครี่องเทศ เช่น พริกไทย กระวาน ดีปลี จันทร์หอม ลูกจันทร์เทศ ครั่ง ไม้ฝาง
           -เครื่องหอม เช่น ไม้กฤษณา ไม้จันทร์หอม กำยาน ชะมดเช็ด ชะมดเชียง
           -อื่น ๆ เช่น งาช้าง การบูร ยางรัก ขี้ผึ้ง หนังสัตว์ นอแรด  1 อดิศร  สักดิ์สูง   พื้นฐาอารยธรรมไทย 2550 หน้า 50  

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน
    
เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน
  
เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

เตาทุเรียง

                2. อุตสาหกรรม (หัตถกรรมในครัวเรือน)
                      นอกจากการเกษตรและการค้าแล้ว เศรษฐกิจของสุโขทัยยังมีการทำเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก โดยเฉพาะการทำเครื่องสังคโลก (สีเขียวไข่กา)  ที่ตลาดต้องการมาก โดยได้มีการขุดซากเตาเผาเครื่องสังคโลกเป็นจำนวนมากที่เมืองศรีสัชนาลัย เครื่องสังคโลกที่ผลิตได้มากคือ ถ้วยชาม นอกจากนั้นมีแจกัน ตุ๊กตารูปแบบต่างๆเป็นต้น

                    การทำเครื่องสังคโลกมีกรรมวิธีในการทำโดยสังเขปคือ นำเอาแร่ธาตุ เช่น ดินขาว หินฟันม้า และวัสดุอย่างอื่นมาผสมรวมกัน แล้วปั้นเป็นภาชนะรูปต่างๆจากนั้นนำภาชนะมาเผาก่อนเพื่อไล่ความชื้นในเนื้อดินออกไปให้หมด แล้วนำไปเคลือบด้วยน้ำยาสีขาวนวลหรือสีเขียวไข่กา
                    จากนั้นนำไปเข้าเตาเผาอีกครั้งหนึ่ง  นับเป็นกรรมวิธีแบบใหม่ก้าวหน้ากว่าวิธีการทำกันมาแต่ก่อน สันนิษฐานว่าสุโขทัยคงจะเรียนรู้เทคนิคการปั้นแบบนี้จากจีน ซึ่งขณะนั้นชนชาติจีนเป็นผู้ผูกขาดการทำและการค้าเครื่องปั้นดินเผาเคลือบในเอเชีย
                 แหล่งผลิตเครื่องสังคโลกอยู่ 3 แห่ง คือ
                1. เตาทุเรียง อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัยแถบบริเวณวัดพระพายหลวง
                2. เตาป่ายาง อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองศรีสัชนาลัย
                3. เตาเกาะ น้อย อยู่ที่ศรีสัชนาลัย ห่างจากแก่งหลวงขึ้นไปตามลำน้ำยมประมาณ 5 กิโลเมตร 1  มัลลิกา  มัสอูดี และคณะ . เอกสารการสอนชุด ไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7(ฉบับปรับปรุง)  . ๒๕๔๔.หน้า 233 - 234

               ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง คงยังไม่ได้ทำเป็นอุตสาหกรรมใหญ่โต การเริ่มต้นผลิตเครื่องสังคโลกที่ทำเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการค้าน่าจะเริ่มในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)  อุตสาหกรรมประเภทนี้จีนเคยผูกขาดมานาน ช่วงตรงกับสมัยสุโขทัยนั้นจีนไม่สามารถส่งเครื่องสังคโลกออกนอกประเทศได้เพราะประเทศจีนเกิดสงครามกลางเมือง ต่อมาเกิดโรคระบาดและน้ำท่วม   ส่งเป็นสินค้าออกไปยังประเทศต่างๆ ในแถบหมู่เกาะอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  จนเมื่อสุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาแล้ว เครื่องสังคโลกก็ยังคงเป็นสินค้าออกที่สำคัญอีกระยะเวลาหนึ่ง 1  ทวีศักดิ์  ล้อมลิ้มและคณะ   สื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ม.4 2546 หน้า97  น้อย อยู่ที่ศรีสัชนาลัย ห่างจากแก่งหลวงขึ้นไปตามลำน้ำยมประมาณ 5 กิโลเมตร 1  มัลลิกา  มัสอูดี และคณะ . เอกสารการสอนชุด ไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7(ฉบับปรับปรุง)  . ๒๕๔๔.หน้า 233 - 234

               ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง คงยังไม่ได้ทำเป็นอุตสาหกรรมใหญ่โต การเริ่มต้นผลิตเครื่องสังคโลกที่ทำเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการค้าน่าจะเริ่มในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)  อุตสาหกรรมประเภทนี้จีนเคยผูกขาดมานาน ช่วงตรงกับสมัยสุโขทัยนั้นจีนไม่สามารถส่งเครื่องสังคโลกออกนอกประเทศได้เพราะประเทศจีนเกิดสงครามกลางเมือง ต่อมาเกิดโรคระบาดและน้ำท่วม   ส่งเป็นสินค้าออกไปยังประเทศต่างๆ ในแถบหมู่เกาะอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  จนเมื่อสุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาแล้ว เครื่องสังคโลกก็ยังคงเป็นสินค้าออกที่สำคัญอีกระยะเวลาหนึ่ง 1  ทวีศักดิ์  ล้อมลิ้มและคณะ   สื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ม.4 2546 หน้า97 

3.  การพาณิชยกรรม (การค้าขาย)
การค้าขายสมัยสุโขทัยเป็นการค้าขายแบบเสรี ได้รับการส่งเสริมจากทางราชการมาก มีการยกเว้นภาษีผ่านด่าน นำสินค้ามาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้  การค้าของสุโขทัยอาจแบ่งออกได้ 3 ประเภท
    1. การค้าภายในประเทศ
    2. การค้ากับแว่นแคว้นใกล้เคียง
    3.การค้ากับอาณาจักรที่อยู่ไกลออกไปหรือการค้ากับต่างประเทศ

                1. การค้าภายในประเทศ  สันนิฐานว่าการค้าภายในของสุโขทัยคงมีปริมาณการค้าไม่มากนักตามลักษณะของเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ ส่วนใหญ่คงเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างหมู่บ้าน และอาจมีการซื้อขายสินค้าด้วยเงินตราบ้าง  เนื่องด้วยชุมชนต่าง ๆของอาณาจักรสุโขทัยตั้งอยู่ตามลำน้ำ จึงมีการติดต่อกันโดยอาศัยเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

 ถนนพระร่วง.................

                หลักฐานจากหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวถึงการค้าเป็นการค้าแบบเสรีไม่มีการเก็บภาษี  (ในระยะแรก)  ไม่เก็บภาษีผ่านด่าน(จังกอบ/จกอบ) และในตัวเมืองสุโขทัย มีตลาดการค้าที่เรียกว่า “ตลาดปสาน” เป็นที่รวมสินค้าทางการเกษตรของเกษตรกร คำว่าปสานตรงกับภาษาเปอร์เซีย(อิหร่าน) ว่า บาร์ซาร์   แปลว่าตลาดที่มีห้องหือร้านเป็นแถวติดต่อกัน นั้นแสดงว่าในเมืองสุโขทัยมีตลาดประจำสำหรับประชาชน ซื้อขายสินค้ากัน และเป็นตลาดที่ตั้งในย่านชุมชนด้วย ส่วนใหญ่สินค้าที่นำมาซื้อขายกันเป็นผลผลิตจากเรือกสวนไร่นา และผลิตผลที่ทำกันภายในครอบครัว

                     -ถนนพระร่วง มี 2 สาย คือ สายเหนือ จากสุโขทัยถึงเมืองศรีสัชนาลัย และสายใต้จากสุโขทัยถึงเมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ถนนนี้มีขนาดกว้างเพียงพอที่กองคาราวานนำสินค้าขนส่งผ่านและแวะแลกเปลี่ยนสินค้าได้สะดวก

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

เส้นทางการค้าภายในอาณาจักร

             2. การค้ากับแว่นแคว้นใกล้เคียง     สันนิษฐานว่าคงเป็นการค้าแบบกองคาราวานใช้วัวต่าง ใช้ม้าต่างบรรทุกสินค้าต่างๆที่เหลือใช้ไปขาย แล้วซื้อสินค้าอื่นๆที่ต้องการกลับมา  ดังข้อความตอนหนึ่งในหลักศิลาจารึกที่กล่าวว่า เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย สินค้าส่วนใหญ่ที่อาณาจักรสุโขทัยซื้อกลับมาคงเป็นสินค้าประเภทของป่า  เช่น  ครั่ง  กำยาน  การบูร  ยางสน ยางรัก ขี้ผึ้ง หนังสัตว์ ชะมดเช็ด ไม้ฝาง ไม้กฤษณา ไม้จันทน์หอม เป็นต้น สินค้าประเภทของป่ามีอยู่มากในล้านนา   และเมืองต่างๆ  ทางตอนบน  อีกทั้งยังเป็นสินค้าที่ตลาดการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศจีนมีความต้องการเป็นอย่างมาก  สุโขทัยซื้อสินค้าประเภทของป่ากลับมา เพื่อส่งขายต่อให้กับเมืองต่าง ๆ ทางด้านตะวันตกริมทะเลอันดามัน และเมืองท่าริมอ่าวไทยทางด้านใต้ 1   มัลลิกา  มัสอูดี และคณะ . เอกสารการสอนชุด ไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7(ฉบับปรับปรุง)  . ๒๕๔๔.หน้า 233 - 234

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน
  
เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

รูปภาพการค้าขายกับประเทศจีน                   

 3 .การค้ากับอาณาจักรที่อยู่ไกลออกไปหรือการค้ากับต่างประเทศ  ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเอเชียด้วยกัน คือ จีน อินเดีย พม่า มอญ ไทยใหญ่   สภาพทำเลที่ตั้งทำให้สุโขทัยต้องอาศัยปัจจัยภายนอกอยู่มากในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ไม่มีเมืองท่าใกล้ทะเล ต้องพึงพาอาศัยเมืองท่าของอาณาจักรอื่นๆ โดยสุโขทัยอาศัยเส้นทางการค้าที่สำคัญ 2 เส้นทางคือ 

                    3.1  เส้นทางทางตะวันตก  จากสุโขทัยไปเมืองเมาะตะมะ เส้นทางเริ่มต้นที่เมืองสุโขทัย ผ่านเมืองชากังราว(กำแพงเพชรฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง  ชากังราวในภาษามอญแปลว่า ทางผ่าน) เมืองเชียงทอง ตัดออกช่องเขาที่ด่านแม่ละเมา (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก)   ผ่านเมืองเมียวดี แล้วเดินทางต่อไปถึงเมาะตะมะ เมืองท่าของอาณาจักรมอญ ริมฝั่งทะเลอันดามัน ที่เมืองนี้ พ่อค้าจากสุโขทัยจะซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าจากอินเดีย เปอร์เซีย(อิหร่าน)  และอาหรับ สินค้าออกที่สำคัญได้แก่ ไม้ฝาง ไม้กฤษณา กระวาน กานพูล ช้าง ม้า พริกไทย น้ำตาล งาช้าง หนังสัตว์ นอแรด และเครื่องสังคโลก    สินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าแพรพรรณ  ผ้าไหม  ผ้าทอ  เครื่องประดับประเภทอัญมณี  เป็นต้น 

                     3.2 เส้นทางใต้ หรือเส้นสุโขทัย-อ่าวไทย  เริ่มต้นจากสุโขทัย ล่องเรือมาตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำสาขา ผ่านเมืองศูนย์การค้าต่างๆ ในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางตอนล่าง แล้วออกสู่อ่าวไทย เส้นทางนี้พ่อค้าจากสุโขทัยสามารถติดต่อค้าขายกับพ่อค้าจีน ญี่ปุ่น มลายู   และอินโดนีเซีย   ส่วนสินค้าที่ซื้อขายกัน

                     สินค้าออก ได้แก่ ของป่าต่างๆ  และเครื่องสังคโลก

                     สินค้าเข้า ได้แก่ ผ้าแพร ผ้าไหม ผ้าต่วน เครื่องถ้วยชามจีน พัด เครื่องเหล็ก  และอาวุธต่างๆ

               จะเห็นได้ว่า การที่อาณาจักรสุโขทัยไม่มีเมืองท่าของตนเองในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับว่าอาณาจักรสุโขทัยมีอำนาจทางการเมืองในการปกครองเมืองท่าทางตะวันตกและทางใต้หรือไม่ หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มอญได้แยกตัวเป็นอิสระ และทางใต้อาณาจักรอยุธยาก่อตัวขึ้นเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งและแผ่ขยายอำนาจไปยังดินแดนใกล้เคียง จึงมีผลกระทบอย่างมากต่อการค้ากับต่างประเทศของอาณาจักรสุโขทัย   1

1                 มัลลิกา  มัสอูดี และคณะ . เอกสารการสอนชุด ไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7(ฉบับปรับปรุง)  . ๒๕๔๔.หน้า 233

                อุปสรรคของการค้ากับต่างประเทศของอาณาจักรสุโขทัยคือ สภาพทำเลที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยตั้งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินและอยู่ห่างจากทะเลมาก ไม่เอื้ออำนวยให้สุโขทัยได้รับความมั่งคั่งจากการค้ากับต่างประเทศมากมายนัก อย่างไรก็ตาม   การค้ากับต่างประเทศก็เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจแบบพอยังชีพในสมัยสุโขทัย             

  ระบบเงินตรา

    ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงได้กล่าวถึงการค้าขายใช้เงินตราใน
ระบบการเปลี่ยนสินค้า ว่า “.........ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า.......”  ในสมัยสุโขทัยมีระบบเงินตราสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า มี 2 ประเภท  คือ เบี้ย  และเงินพดด้วง

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง มี การ ยกเว้น ภาษี ผ่าน ด่าน

เบี้ยหอย สื่อกลางที่ใช้แทนเงินตราอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่าเบี้ยหอยเป็นหอยที่พ่อค้าต่างประเทศนำเข้ามาใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้า มีหลักฐานหลายแห่งที่บ่งบอกว่าเงินตราที่เป็นเงินอย่างหนึ่งในสมัยสุโขทัยใช้เบี้ย เช่น พญาเลอไทย ทรงบำเพ็ญมหาทาน จำนวน 10,000,000 เบี้ย  และจากพงศาวดารมอญ เรื่องราชาธิราชได้กล่าวถึง มะกะโท เอาเบี้ยที่ได้รับราชทานจากพระร่วงเจ้าไปซื้อเมล็ดพันธุ์ผักกาด เป็นต้น 1 ดนัย ไชยโยธา  นามานุกรมประวัติศาสตร์ไทย  2548  หน้า 62