ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำสังคโลก


17/05/2564 | 8,969 |

     อาณาจักรสุโขทัยได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งสังคโลก เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐ ซึ่งนอกจากผลิตเพื่อใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและในรูปแบบของประติมากรรมต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบกับสถาปัตยกรรมของยุคสมัยแล้วยังผลิตขึ้นเพื่อเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แม้ในปัจจุบันเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยยังคงเป็นที่นิยมสำหรับนักสะสมและพิพิธภัณฑ์จากทั่วโลก ในปัจจุบัน ที่จังหวัดสุโขทัยยังคงมีการผลิตเครื่องสังคโลกทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ที่อาศัยวิธีการปั้น การเคลือบ การเขียนสีและลวดลายตามอย่างในอดีต เช่นที่ สุเทพสังคโลก ที่นักท่องเที่ยวสามารถศึกษาเรียนรู้รูปแบบและลวดลายของเครื่องสังคโลกได้ก่อนที่จะทดลองปั้น เขียนลวดลายได้ด้วยตนเองโดยผ่านการแนะนำจากช่างผู้ชำนาญการ อย่างลุงสุเทพและป้าสำเนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเนื้อละเอียดชนิดแตกลายงาสีเขียวไข่กาที่เรียกว่า เซลาดอน
       สังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดี มีการเคลือบผิวและตกแต่งลวดลายงดงาม เผาด้วยความร้อนสูงประมาณ 1,250 องศาเซลเซียส เตาเผาและเทคนิคการเผาได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานนับร้อยปี ตั้งแต่สมัยต้นกรุงสุโขทัยจนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เครื่องสังคโลก จ.สุโขทัย วัฒนธรรมเชิงศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน จนพัฒนามาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ทันสมัยในปัจจุบัน “ร้านสุเทพสังคโลก” จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทางด้านการปั้น และการเขียนลาย ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเครื่องสังคโลกที่ขุดพบเจอในอดีต จำหน่ายและรับผลิตงานสังคโลกตามสั่ง เป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดีที่มีการเคลือบผิวและตกแต่งลวดลายอย่าง ประณีต งดงาม รูปแบบของสังคโลกมีหลากหลาย เช่น สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีขาว เป็นต้น ร้านสุเทพสังคโลกได้สืบทอดและอนุรักษ์เครื่องสังคโลก โดยผู้ก่อตั้งและดูแลก็คือ คุณสุเทพ และคุณสนอง พรมเพ็ชร


ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง
รูปภาพ


ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง


                        วัฒนธรรมสมัยสุโขทัย
                สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ได้นานเกือบ 200 ปี สร้างแบบแผนการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน ตลอดจนได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมไว้มากมาย วัฒนธรรมสมัยกรุงสุโขทัยในที่นี้ได้แก่
                1. วัฒนธรรมทางด้านการศึกษา 
ในสมัยกรุงสุโขทัยการจัดรูปแบบทางการศึกษาในช่วงแรกจะได้รับอิทธิพลจากคติ พราหมณ์เข้ามาต่อจากนั้นจึงรับคติธรรมทางพุทธศาสนาเข้ามาเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ ของการจัดการศึกษาทั้งสิ้น การศึกษาในสุโขทัยน่าจะมีลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะดังนี้
1.1 การศึกษาทางพุทธศาสนา สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เช่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงอบรมศีลธรรมแก่ประชาชนทุกวันที่ไม่ใช่วันพระ โดยประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ถ้าเป็นวันพระจะทรงนิมนต์พระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนราษฎร ในรัชกาล พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระเจ้าลิไทย พระองค์ทรงผนวช และอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาหลายด้าน ที่สำคัญคือ การส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนภาคเหนือ ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา
1.2 การศึกษาในวิชาชีพ เป็นการเรียนตามกฎธรรมชาติ เรียนจากพ่อแม่ เรียนจากชุมชนที่ตัวอยู่ใกล้ เรียนจากการกระทำ การฝึกฝนศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ การทำไร่ไถ่นา การปั้นเครื่องปั้นดินเผา งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรมหรือสถาปัตยกรรม เป็นต้น
                2. วัฒนธรรมทางด้านตัวอักษรไทย
                 ศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฎข้อความที่เกี่ยวข้องอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า “ …1205ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในแลใส่ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผุ้นั่นใส่ไว้…” จากศิลาจารึกดังกล่าวจึงเป็นที่เชื่อกันว่าอักษรไทยพ่อขุนรามคำแหงซึ่งลง ศิลาจารึกปี พ.ศ. 1826 นี้เป็นอักษรไทยเก่าแก่ที่สุดที่ใช้ในประเทศไทย  สำหรับความเป็นมาของอักษรพ่อ ขุนรามคำแหงนั้นนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี นักอักษรศาสตร์ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะ ยอร์ช เซเดส์ สรุปว่าอักษรพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด เพราะมีรูปลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่จากการศึกษาของ นันทนา ด่านวัฒน์ ทางด้านอักขรวิทยาพบว่าอักษรต้นตระกูลของอักษรพ่อขุนรามคำแหง คืออักษรหราหมี อักษรคฤนห์ อักษรขอมหวัด เพราะปรากฎความคล้ายคลึงทางด้านอักขรวิทยาของอักษรพ่อขุนรามคำแหงและอักษรใน ตระกูลทั้งสาม อักษรพ่อขุนรามคำแหงนั้นปรากฎใช้เฉพาะในรัชสมัยของพระองค์เท่านั้น ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยได้ปรากฎรูปอักษรไทยแบบใหม่ขึ้นอักษรพบใหม่ นี้เรียกว่าอักษรพระเจ้าลิไทย

3. วัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรม
                  วรรณกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยคงจะมีจำนวนมากและหลายประเภท หากแต่มิได้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน  ที่หลงเหลือ ถึงปัจจุบัน มีดังนี้
3.1 ศิลาจารึก ศิลาจารึกมีประโยชน์ทางการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีตลอดจน วิชาอักษรศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และอื่น ๆ ศิลาจารึกที่พบในสมัยสุโขทัยมีประมาณ 30 หลัก ที่สำคัญมากได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง กรมศิลปากรได้จัดไว้เป็นอันดับแรกของวรรณกรรม ซึ่งรวมคุณค่าทางภาษา ทั้งความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ทางการปกครอง ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม นับว่าวรรณกรรมประเภทนี้เป็นหลักฐานยืนยันเรื่องราวทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย ได้เป็นอย่างดี
3.2 ไตรภูมิพระร่วง ถือเป็นวรรณกรรมปรัชญาชิ้นแรกของไทย พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 1888 นับเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าทางปรัชญา คุณค่าทางวรรณคดีโดยเฉพาะการสอนจริยธรรมคือ สอนให้คนรู้จักความดีความชั่ว รู้จักใช้วิจารณญาณและสอนให้คนมีศีลธรรมรักษาความดีและมีความรับผิดชอบ
3.3 สุภาษิตพระร่วง วรรณกรรมชิ้นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยหรือไม่ อย่างไรก็ตามสุภาษิตพระร่วงนับว่าเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งวรรณกรรม หนึ่ง เพราะมีจุดประสงค์ที่จะสั่งสอนคน สาระการสอนนั่นมีทั้งวิชาความรู้ เรื่องมิตรและการผูกมิตร การปฏิบัติตนต่อบุคคลประเภทต่าง ๆ สอนให้รู้จักรักษาตัวให้พ้นภัย สอนให้รอบคอบ เป็นต้น เช่น “ เมื่อน้อยให้เรียนวิชาให้หาสินเมื่อใหญ่ “ หรือ” ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง “ ดังนั้นสุภาษิตพระร่วงจึงมีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยเป็นอันมาก ทั้งยังมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่เพราะได้นำเอาสุภาษิตมาใช้เป็นคติธรรม ในการดำรงชีวิตอีกด้วย
3.4 ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ บาง คนเชื่อว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ แต่งในสมัยสุโขทัยเพราะมีเนื่อเรื่องและท้องเรื่องอ้างถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่เมืองสุโขทัย แต่บางคนก็เชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จุดประสงค์การแต่งเพื่อเป็นการแนะนำตักเตือนข้าราชการสำนัก ฝ่ายในให้มีกริยามารยาทที่เหมาะสมกับศักดิ์ศรีของตนเองและเพื่อเชิดชู เกียรติยศของพระมหากษัตริย์นอกจากนี้ยังทรงคุณค่าทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีของราชสำนักโดยเฉพาะประเพณีพราหมณ์ทั้ง 12 เดือน
 
                4.วัฒนธรรมการแต่งกาย
                  นายชิน อยู่ดี ได้ทำการศึกษาค้นคว้าการแต่งกายของประชาชนชาวสุโขทัยโดยอาศัยหลักฐานประเภทโบราณวัตถุสมัยสุโขทัย  ได้สรุปการแต่งกายสมัยสุโขทัยว่า
4.1 การแต่งกายของผู้หญิง ผู้หญิงในสมัยสุโขทัยจะไว้ผมยาว เกล้ามวย มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวมรอบมวย มวยนั้นมีทั้งเกล้าอยู่กลางกระหม่อมและที่ท้ายทอย มีปิ่นปัก สวมเสื้อแขนยาวตัวคับ นุ่งผ้าถุง ผู้หญิงบางคนห่มผ้าสไบเฉียง ผ้าที่ใช้มีทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม สีของผ้ามีสี แดง ดำ ขาว เหลือง เขียว ผัดหน้า วาดคิ้ว สวมแหวน เจ้านายฝ่ายในมีกรองคอ พาหุรัด และทองพระกรทรงมงกุฎยอดแหลมหรือกรอบพักตร์
4.2 การแต่งกายของผู้ชาย ผู้ชายสมัยกรุงสุโขทัยไว้ผมยาว มุ่นมวยไว้ที่กลางกระหม่อมก็มี ไว้ที่ท้ายทอยก็มี สวมเสื้อผ้าผ่าอกแขนยาว และสวมกางเกงขายาวแบบชุดคนเมือง ทหารสวมเสื้อแขนสั้น ถ้าพระยาห้อยผ้าไว้ที่บ่า มีผ้าคาดพุงหรือเข็มขัด ชายบางคนนุ่งกางเกงขาสั้น เจ้านายนุ่งผ้าโจงกระเบนคาดเข็มขัด และมีผ้าประดับทับโจงกระเบนห้อยลงมา 2 ข้าง ผ้านี้จีบตามแนวเส้นนอน เวลาออกศึกนุ่งกางเกงขายาว มีผ้าโจงกระเบนทับอย่างเครื่องแต่งการละคร หมวกที่ผู้ชายใส่มีมงกุฎยอดแหลม หมวกทรงประพาสและหมวกรูปคล้ายฝาชี ซึ่งบางท่านเรียกว่าหมวกชีโบ

5.วัฒนธรรมทางด้านดนตรีและการฟ้อนรำ
                 นายมนตรี ตราโมท ได้ศึกษาเรื่องดนตรีสมัยสุโขทัย โดยอาศัยหลักฐานประเภทศิลาจารึกและภาพประติมากรรม รวมทั้งหนังสือไตรภูมิพระร่วง โดยเฉพาะศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ได้ระบุข้อความที่เกี่ยวกับดนตรีและการฟ้อนรำไว้หลายแห่ง เช่น ศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฏข้อความว่า   “…เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกันแต่อรัญญิก พู้นเท้าหัวลานดมบงคมกลอง ด้วยเสียงพาทย์เสียงพินเสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น ใครจักมักหัว ใครจักมักเลื่อนเลื่อน…”
ศิลาจารึกหลักที่ 8 ปรากฎข้อความว่า “…ดับหนทางแต่เมืองสุโขทัยมาเถิงเขานี้งามหนักหนาแก่กม สองขอก หนทางย่อมกัลปพฤษ์ใส่ร่มยล ดอกไม้ตามใต้เทียนประทีป เผาธูปหอมตลบทุกแห่งปลูกธงปฎาทั้งสองปลาก หนทางย่อมเรียงขันหมากขันพลูบูชาพิลม ระบำเต้นเล่นทุกฉัน…ด้วยเสียงอันสาธุการบูชา หยิบดุริยาพาทย์ พิณฆ้องกลองเสียงดัง สิพอดังดินจักหล่มอันไซร้…”
จากศิลาจาริกดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการนำเครื่องดนตรีและการฟ้อนรำ การเล่นสนุกสนานของชาวสุโขทัย นายมนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมทางด้านดนตรีของสุโขทัย โดยแยกพิจารณา 2 ประการคือ
5.1 เครื่องดนตรี ประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่าง ๆ ดังนี้ คือ สังข์ แตร บัณเฑาะว์ มโหระทึก ปี่ฉไนแก้ว ปี่สรไน กลองชนะ ฆ้อง กลอง ตะโพน ฉิ่ง กลับ ระฆัง กังสดาล ซอ
5.2 เพลงร้องและเพลงดนตรี ในสมัยสุโขทัยมีทั้งการร้องและการขับ แต่ทำนองร้องและทำนองขับจะเป็นอย่างไรยากที่จะชี้ให้ชัดเจนได้ มีเพลงที่น่าจะเป็นเพลงสมัยสุโขทัย คือ เพลงเทพทองหรือเพลงสุโขทัย ทำนองเพลงนี้เดิมที่เดียวเป็นเพลงพื้นเมืองใช้ร้องว่าแก้กันระหว่างผู้หญิงผู้ชาย ส่วนอีก 2 เพลงน่าจะเป็นสมัยสุโขทัย คือเพลงพระทองกับเพลงนางนาค
                6. วัฒนธรรมทางด้านประติมากรรมและจิตรกรรม
                 วัฒนธรรมทางด้านประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นงานประณีตศิลป์ ซึ่งแสดงถึงความสมารถและความเข้าถึงแก่นของคำสั่งสอนของพุทธศาสนาของช่างศิลป์
6.1 ประติมากรรม ประติมากรรมในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ ได้แก่การสร้างพระพุทธรูป ซึ่งนิยมสร้างพระพุทธรูปปั้นและหล่อด้วยสัมฤทธิ์ การสร้างพระพุทธรูปเป็นแบบลอยตัวและภาพนูนสูงติดฝาผนัง นอกจากนั้นพระพุทธรูปแล้วยังมีการหล่อเทวรูปสัมฤทธิ์ เช่นเทวรูปพระนารายณ์ เทวรูปพระอิศวร เทวรูปพระหริหระ เป็นต้น
งานประติมากรรมที่เด่นที่สุดในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ คือ พระพุทธรูปจะเห็นได้ว่าพระพุทธรูปที่สวยงามในศิลปะแบบสุโขทัยเป็นรูปที่ ตรัสรู้แล้ว ดังนั้น ระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ จึงมีการผ่อนคลายและพระองค์ก็จะอยู่ในความสงบแท้จริง พระพักตร์สงบมีรอยยิ้มเล็กน้อย
พระพุทธรูปที่สำคัญ คือ  พระพุทธชินราช  ประดิษฐานอยู่ใน พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  จังหวัดพิษณุโลก  เป็นพระพุทธรูปสำคัญ  และมีความงามมากที่สุดองค์หนึ่งในงานประติมากรรมไทย สันนิษฐานว่า  สร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)  พระพุทธชินสีห์  ประดิษฐานอยู่ ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก  สมเด็จ- พระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ (ในรัชกาลที่ 3)   โปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปซึ่งมีรูปลักษณะงดงาม สันนิษฐานว่า  สร้างขึ้นในคราวเดียวกับพระพุทธชินราช   พระศรีศากยมุนี  ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม  กรุงเทพมหานคร  เดิมเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานคร  เมื่อ  พ.ศ.  2351 
6.2 จิตรกรรม จิตรกรรมที่เราพบในสมัยสุโขทัยทั้งภาพลายเส้นและลายเขียนฝุ่น ภาพลายเส้นในสมัยสุโขทัย โดยเฉพาะภาพจำหลักลายเส้นลงเส้นในแผ่นหินชนวนวัดศรีชุม เมืองสุโขทัยเป็นภาพชาดกจะเห็นได้ว่าเส้นลายดังกล่าวเป็นภาพที่อิทธิพลของ ศิลปะศรีลังกาอยู่มากมาย เช่นภาพเทวดาต่าง ๆ แต่คนไทยสมัยสุโขทัยน่าจะมีส่วนร่วมในการสลักภาพเหล่านี้ด้วย ภาพสลักที่วัดศรีชุมเป็นเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาเป็นชาดกต่าง ๆ สีที่ใช้ในโครงงานระบายสีแบบดำ แดง ที่เรียกว่าสีเอกรงค์

                7.วัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรม  
   การที่อาณาจักรสุโขทัยรับนับถือพุทธศาสนาจากลังกาจึงได้รับอิทธิพลเข้ามา  สถาปัตยกรรม สุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
7.1 สถาปัตยกรรมรูปทรงอาคาร สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ คือ
7.1.1 สถาปัตยกรรมรูปทรงอาคาร ได้แก่ อาคารโอ่โถงหรืออาคารที่มีผนัง มีหลังคาซ้อนเป็นชั้น ๆ ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางด้านหน้าต่อเป็นมุขที่ยืน มีบันไดขึ้นสองข้างทางมุข ตัวอย่าง เช่น วิหารที่วัดสวนแก้วอุทยานน้อย เมืองศรีสัชนาลัย เป็นต้น
7.1.2 อาคารที่ก่อด้วยแลงหรือรูปทรงอาคาร หลังคาใช้เรียงด้วยแลงซ้อนเหลี่ยมกันขึ้นไปจนถึงชั้นสูงสุดที่ไปบรรจบกันที่ตอนอกไก่ ตัวอย่างเช่น วิหารวัดกุฏิราย เมืองศรีสัชนาลัย เป็นต้น
7.1.3 อาคารที่เป็นอาคารสี่เหลี่ยม มีหลังคาที่เป็นชั้นแหลมลดหลั่นกันไปถึงยอด หลังคาเป็นชั้นประมาณ 3 ชั้น ที่เรียกว่า “ มณฑป “ มณฑปนี้จะเป็นแบบมณฑปที่มีผนังและมณฑปโถง ตัวอย่างเช่น มณฑปวัดศรีชุม เมืองสุโขทัย (มณฑปที่มีผนัง ) และหอเทวลัยมหาเกษตรพิมาน เมืองสุโขทัย ( มณฑปโถง )
7.2 สถาปัตยกรรมรูปแบบสถูปหรือเจดีย์ มีทั้งทรงกลมแบบลังกา เจดีย์ทรงกลมฐานสูง เจดีย์ย่อเหลี่ยมแบบมีซุ้มจระนำ เจดีย์แบบห้ายอด เจดีย์ทรงปรางค์ ยอดเป็นเจดีย์ทรงกลมสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย และเจดีย์ทรงดอกบัวตูม จากลักษณะสถาปัตยกรรมเจดีย์ต่าง ๆ เหล่านี้จะเห็นได้ว่าลักษณะเจดีย์ที่สำคัญที่พบมากมี 2 แบบ คือ
7.2.1 เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา หรือ เจดีย์ดอกบัวคว่ำ เป็นแบบที่สร้างสมัยแรก เช่นที่วัดตะกวน วัดช้างล้อม วัดสระศรี เมืองสุโขทัย
7.2.2 เจดีย์ทรงดอกบัวตูม นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะพากันยกย่องว่า พระเจดีย์ทรงบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้
กล่าวได้ว่าสมัยสุโขทัยเป็นสมัยเริ่มแรกของวัฒนธรรมไทยแทบทุกด้าน วัฒนธรรมสมัยสุโขทัยได้เป็นแบบอย่างของวัฒนธรรมไทยสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นสมัยสุโขทัยจึงจัดว่าเป็นสมัยทองแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่สำคัญสมัยหนี่งของไทย
                ชลประทานสมัยสุโขทัย
ดังได้ทราบกันแล้วว่าสภาพภูมิประเทศของสุโขทัยไม่สมบูรณ์ดี ทำให้มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมในฤดูฝน และน้ำแล้งในฤดูแล้ง จึงต้องมีการสร้างระบบชลประทานเพื่อกักเก็บน้ำ บรรพบุรุษสุโขทัยที่ยังชีพด้วยกสิกรรม  จึงสร้างทำนบดินขนาดมหึมาขวางกั้นหุบเขา ระหว่างเขาพระบาทใหญ่กับเขากิ่วอ้ายมา ซึ่งเชิงเขาทั้งสองห่างกัน 400 เมตร สำหรับเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขา ซึ่งเรียกเป็นภาษาสันสกฤตว่า สรีดภงค์ แปลว่า ทำนบ แล้วขุดคลองระบายน้ำเข้าไปในตัวเมืองสุโขทัยและตัวเมืองใกล้เคียงซึ่งปกติเป็นถิ่นกันดารแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้กลับกลายเป็นแหล่งดินดีน้ำอุดม สรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วงนี้ เป็นเขื่อนดินกั้นน้ำ โดยที่น้ำในเขื่อนจะถูกส่งไปตามคลองสู่กำแพงเมืองไหลเข้าตระพัง (สระ) เพื่อใช้สอยในเมือง และพระราชวัง
หัตถกรรมสมัยสุโขทัย   
                   ชาวสุโขทัย นอกจากจะมีอาชีพทำการเกษตรแล้ว ยังมีช่างปั้นช่างเผา  หลักฐานคือ เตาทุเรียง เตาเผาถ้วยชามสังคโลก ปัจจุบันสำรวจพบใน 3 บริเวณ คือ เตาทุเรียงบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย เตาทุเรียงป่ายาง และเตาทุเรียงเกาะน้อย ที่อำเภอศรีสัชนาลัย สำหรับที่เมืองเก่าเป็นเนินดินอยู่ระหว่างวัดศรีชุมและวัดพระพายหลวง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 พบเตาโดยรอบ 49 เตา อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา   เตาเผามีลักษณะคล้ายประทุนเกวียน ขนาดกว้าง 1.50-2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ที่ใส่ไฟ ที่วางถ้วยชาม และปล่องไฟ เครื่องปั้นที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นถ้วยชาม มีขนาดใหญ่หนา น้ำยาเคลือบขุ่น สีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร
 

คุณค่า ของภูมิปัญญาสมัย สุโขทัย มี อะไร บ้าง

ภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์ขึ้นนี้มีคุณค่าสืบมาถึงปัจจุบัน ๑. ภาษาไทย การประดิษฐ์อักษรไทยทำให้คนไทยมีตัวหนังสือของตนเองใช้ในการบันทึกเรื่องราว การสร้างสรรค์งานเขียนประเภทต่างๆ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน เช่น ผลงานทางศาสนา ทางประวัติศาสตร์ นิทาน โคลงกลอน

ข้อใดเป็นการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัย

answer choices. การประดิษฐ์ตัวอักษรไทยที่เรียกว่า ลายสือไทย การรู้จักใช้ศิลาแลง การสร้างที่กักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในหน้าแล้ง

คนสุโขทัยใช้ภูมิปัญญาอย่างไรในการ

. คนสุโขทัยใช้ภูมิปัญญาในการทําเครืองเคลือบสังคโลกอย่างไรบ้าง ) การใช้ยางไม้เคลือบเครืองดินเผาทีเป็นดินเหนียวและดินขาวให้เกิดความสวยงาม ) การเลือกฤดูกาลในการเผาโดยนิยมเผาในฤดูฝนทีมีความชืนมากจะได้เครืองเคลือบทีมีสีสวยงามกว่าเผาในฤดูร้อน ) การสร้างเตาเผาเครืองเคลือบทีเรียกว่า เตาทุเรียง .

ข้อใดคือภูมิปัญญาไทยในสมัยสุโขทัยที่เกี่ยวข้องระบบชลประทาน

สรีดภงส์ หรือ ศรีดภงส์, สรีดภงค์, สรีดภงษ์, ทำนบพระร่วง คือ ทำนบกั้นน้ำหรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่าเขื่อน ที่มีลักษณะเป็นเขื่อนดินกั้นน้ำระหว่างเขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา เพื่อทำการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรกรรมและใช้สอยในเมืองสมัยสุโขทัย