สมเด็จพระนเรศวรมีพระเชษฐภคินีคือใคร

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นโอรสของพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิกษัตริย์ตรี ซึ่งทรงเป็นพระราชธิดาของพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นหลานยายของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ผู้เสียพระชนชีพบนคอช้างในสงครามหงษาวดีนั้น พระองค์ประสูติเมื่อปีเถาะ พ.ศ.2098 ที่เมืองพิษณุโลก เพราะพระราชบิดาทรงครองเมืองเหนืออยู่เวลานั้นถึงพ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง เมืองหงษาวดีกษัตริย์พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา คราวขอช้างเผือกชนะเมืองเหนือ แล้วขอเอาสมเด็จพระนเรศวรไปเป็นราชบุตรบุญธรรม เมื่อพระชันษาได้ 9 พรรษา พระองค์ต้องอยู่ในกรุงหงษาวดีถึง 6 ปี จึงทรงตรัสภาษาพม่า มอญได้เป็นอย่างดีครั้นถึงพ. ศ. 2112 พระมหินทราธิราชกรุงศรีอยุธยา กับพระมหาธรรมราชาเมืองพิษณุโลก เกิดวิวาทกันขึ้นพระเจ้าบุเรงนองจึงยกทัพมาช่วยพระมหาธรรมราชา เมื่อชนะพระมหินทราธิราชแล้วก็ราชาภิเษกให้พระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา เวลาที่พระเจ้าบุเรงนองพักอยู่จัดการปกครองในกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้ได้ขอพระสุพรรณกัลยาณี พระธิดาองค์ใหญ่ของพระมหาธรรมราชาเป็นพระชายาแล้วจึงได้อนุญาตให้สมเด็จกลับมาช่วยราชการพระบิดาในกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่นั้นมาทรงมีพระชันษาได้ 15 พรรษา เสด็จกลับมาประทับเมืองไทยพระองค์ทรงทราบเหตุการณ์ในระหว่างเมืองไทย และหงษาวดีอยู่อย่างถี่ถ้วน ปรากฎต่อมาว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็ง เช่น ตอนพระยาจีนจันตุหนีก็ดี พระยาละแวกกรุงกัมพูชายกทัพมากวาดต้อนผู้คนก็ดี พระองค์ก็เสด็จไปปราบได้ราบคาบทุกครั้ง ครั้งพระเจ้าบุเรงนองทิวงคตแล้ว พระเจ้านันทบุเรงราชโอรสได้ครองเมืองแทน เกิดวิวาทกับพระเจ้าอังวะ และพม่าไทยใหญ่ แล้วมีคำสั่งให้พระเจ้าแปรพระเจ้าตองอู พระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าล้านช้างและพระเจ้ากรุงศรีอยุธยายกกองทัพไปช่วยรบ เพื่อจะดูทีว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรู พระเจ้านันทบุเรงระแวงสมเด็จพระนเรศวรอยู่ว่าจะแข็งเมือง เช่นเดียวกับพระเจ้าอังวะ จึงสั่งให้พระมหาอุปราชา คอยอยู่ในหงษาวดี แล้วให้คิดกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสีย ทางฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็มีพระประสงค์อยู่ธรรมดาที่จะกลับเป็นอิสระจึงเดินทัพไปช่วยอย่างช้า เพื่อดูว่าใครจะแพ้ใครจะชนะต่อกัน เสด็จไปถึงเมืองแครงชายแดนเมืองมอญ เมื่อเดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ พ.ศ.2127 เมื่อทรงพักผ่อนแล้วก็เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถระคันฉ่องที่ได้ทรงคุ้นเคยกันมาก่อน พระมหาเถระคันฉ่องนั้นมีน้ำใจสงสารจึงกราบทูลให้ทรงทราบว่า เขาลวงให้เสด็จมาเพื่อจะทำร้ายแล้วให้พระยาเกรียรติ พระยารามผู้ได้รับคำสั่งมาลอบปลงพระชนม์นั้น ให้รับสารภาพตามความจริง สมเด้จพระนเรศวร จึงทรงเรียกประชุมนายทัพนายกองเจ้าเมืองกรมการ และนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นสักขีพยานที่พลับพลา แล้วทรงน้ำจากพระน้ำเต้าทองคำประกาศ แก่เทพยาดาฟ้าดินว่า “ตั้งแต่วันนี้ไปกรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงษาวดีแล้ว” โปรดให้พวกมอญที่มาเข้ากับไทยช่วยกันแยกย้ายไปตามพวกไทยที่ถูกพระเจ้าหงษาวดีจับมาเป็นเชลยแต่ครั้งก่อนๆได้ประมาณหมื่นเศษแล้วทรงพาพวกไทยและมอญเหล่านี้รวมทั้งพระมหาเถระคันฉ่องพระยาเกียรติพระยาราม ออกจากเมืองแครง เมื่อเดือน 6 แรม 3 ค่ำ ปีพ.ศ.2127 กลับมาเมืองไทยทางแม่น้ำสะโตงและเข้าเมืองไทยทางด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้านันทบุเรงก็ตั้งพระทัยจะปราบเมืองไทยเป็นตัวอย่างให้อยู่ในอำนาจเช่นแต่ครั้งพระเจ้านันทบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าผู้ชนะสิบทิศให้จงได้ แต่ยกทัพมาครั้งใดก็ถูกพระนเรศวรตีแตกด้วยพระหัตถ์กลับไปทุกครั้ง ถึงพ.ศ.2135 พระเจ้าหงษาวดีนันทบุเรงทรงทราบข่าวว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชสมบัติพระองค์จึงทรงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่า “กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ พระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ควรส่งทัพไปเมืองไทยเป็นการเตือนสงครามเอาเปรียบไว้ก่อน ถ้าเหตุการเมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที” ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดำรินั้น พระเจ้าหงษาวดีจึงทรงตัดแก่พระมหาอุปราชาให้เตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ห้าแสน พระมหาอุปราชากราบทูลพระราชบิดาว่า “โหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก” สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า”พระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรส ล้วนเชี่ยวชาญกล้าหาญในการศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยรอให้พระราชาบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และซึ่งเจ้าว่ากลัวเคราะห์นั้นอย่าไปรบเลยเอาผ้าสตรีมานุ่งเสียจะได้สิ้นเคราะห์ “ พระมหาอุปราชาได้ฟังรับสั่งดังนั้นก็อับอายขุนนางทั้งปวง และหวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก ก็ตรวจเตรียมลี้พลและมีพระราชกำหนดไปถึงเมืองเชียงใหม่ให้จัดทัพทั้ง 4 เหล่ายกมาหงษาวดี นอกจากนี้ยังรับสั่งให้บรรดาหัวเมืองขึ้นทั้งมวลส่งทัพมาช่วยรบ เมิ่อทัพต่างๆมาถึงหงษาวดีพร้อมกันแล้วก็เตรียมจัดทัพหลวงเพื่อจะยกไปในเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น เสร็จแล้วพระองค์เสด็จเข้าตำหนักด้วยพระทัยโศกเศร้าจนหมดสง่าราศรี พระมหาอุปราชารับสั่งลาพระสนมเพื่อไปทำศึกและตรัสปลอบพระสนมว่า”พระองค์จำใจจากไปขออย่าให้นางโศกเศร้าคร่ำครวญเพราะพระองค์จะรีบกลับ”พอพระสนมได้ฟังรับสั่งดังนั้น ต่างพากันร้องไห้รำพัน และขอตามเสด็จด้วยเป็นเหตุให้พระมหาอุปราชาเร่าร้อนพระทัยยิ่งขึ้นและคิดที่จะขัดพระบรมราชโองการของบิดา แต่ด้วยความเกรงกลัวต่อพระราชอาญาจึงฝืนความโสกตรัสห้ามพระสนมว่า” การเดินทางไปในป่าเขาเป็นการลำบาก จะเป็นการกังวลจนทำให้พระองค์อาจรบพุ่งไม่ถนัด” กว่าจะตรัสปลอบโยนและสั่งเสียพระสนมเสร็จก็เป็นเวลาใกล้รุ่งพอดี พระมหาอุปราชาทรงรับพระพร และพระบรมราโชวาทจากพระบิดาแล้วก็ทูลลาเสด็จไปทรงพระคชาธารชื่อ พัทธกอ ทรงเคลื่อนทัพซึ่งมีรี้พลห้าแสนพร้อมด้วยเหล่าช้างม้าคนเดินเท้า พาหนะต่างๆเกวียน และอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ พอถึงประตูเมืองผ่านโขนทวาร (คือ ประตูป่าซึ่งจัดสร้างขึ้นเพื่อให้ทหารรอดผ่าน) รับประพรมน้ำมนต์จากพราหมณ์ และพระภิกษุหนึ่งซึ่งนั่งอยู่บนร้านสูง สองข้างประตู
เส้นทางการเดินทัพขอพระมหาอุปราชา

สมเด็จพระนเรศวรมีพระเชษฐภคินีคือใคร


          พระมหาอุปราชาทรงนำทัพผ่าป่าและเขามาอย่างช้าๆเดินทางเฉพาะเวลาเช้า และเวลาเย็น พอแดดร้อนก็พักเพื่อให้รี้พล ช้าง ม้า ร่าเริงและกล้าหาญ เมืองและตำบล ที่ทัพพระมหาอุปราชาฝ่ามาเรียงตามลำดับดังนี้ 
    1. หงษาวดี
    2. ด่านเจดีย์สามองค์เริ่มเข้าเขตไทย ปัจจุบันอยู่อำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรีห่างจากตัวอำเภอประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นช่องทางติดต่อระหว่างมอญกับไทย เจดีย์องค์หนึ่งอยู่นเขตมอญ อีก 2 องค์อยู่ในเขตไทย เดิมคงเป็นกองหินเป็นรูปเจดีย์จริงในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    3. ตำบลไทรโยค รับสั่งให้ตั้งค่ายทรงปรึกษาแผนการที่จะเข้าตีเมืองกาญจนบุรี
    4. ลำน้ำกระเพิน พระยาจิตตองคุมพลสร้างสะพานเชือก
    5. เมืองกาญจนบุรี ประทับแรม 1 คืน
    6. ตำบลตระพังตรุ จังหวัดกาญจนบุรี ทรงตั้งค่ายเป็นแบบดาวล้อมเดือนตรงชัยภูมินาคนาม
    7. ตำบลโคกเผาข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ปะทะกับหัวหน้าของไทย เวลาประมาณ 7 นาฬิกา

พระนเรศวรทรงเตรียมทัพ
        เมื่อทรงทราบข่าวศึก สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสว่า พระองค์เตรียมช้างม้า รี้พลจะยกไปตีเมืองละแวก บัดนี้ทัพหงษาวดียกมาชิงรบก่อน ควรที่จะยกไปต่อสู้เพื่อชิงชัยชนะและมีพระราชกำหนดออกไปให้พระอัมรินทร์ลือชัย เจ้าเมืองราชบุรีเกณฑ์พลห้าร้อยไปตั้งซุ้มอยู่ ถ้าข้าศึกข้ามสะพานลำน้ำกระเพินแล้วให้ตีดสะพานเชือกและเอาไฟเผาทำลายเสีย เมื่อรับสั่งดังนั้นมินานก็มีใบบอกจากเมืองสิงห์บุรี สรรค์บุรี สุพรรณบุรี และวิเศษไชยชาญ แจ้งข่าวศึกมาตามลำดับ
       สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงปรึกษาการศึกกับขุนนางผู้ใหญ่ว่าจะออกไปรบนอกกรุงหรือตั้งรับอยู่ในกรุงดี ขุนนางกราบทูลให้ออกไปรบนอกเมือง เมื่อทรงสดับคำกราบทูลชอบพระะทัยนัก ตรัสว่าความคิดของขุนนางทั้งปวงต้องกับพระราชดำริของพระองค์ แล้วมีพระราชโองการให้ทัพหัวเมือง ตรี จัตวา หัวเมืองปักใต้ 23 หัวเมืองรวมรี้พลห้าหมื่นเป็นทัพหน้าให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์ เป็นปลัดทัพยกไปขัดรับหน้าข้าศึกอยู่ ณ ตำบลหนองสาหร่าย ตีข้าศึกไม่แตกและต้านทานไม่ไหว พระองค์จะเสด็จยกทัพมาช่วยรบตามหลัง แม่ทัพทั้งสองกราบบังคมลาไปตั้งค่ายตรงชัยภูมิสีหนามอยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย ตามพระราชบัญชา 
        สมเสด็จพระนเรศวรตรัสให้โหราฤกษ์ พระโหราธิบดีหลวงญาณโยค และหลวงโลกทีปคำนวณพระฤกษ์ถวายว่า”สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้จตุรงค์โชคอาจปราบข้าศึกให้แพ้สงครามไป”ขอเชิญเสด็จยกทัพออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ เวลา 08.30 น. เมื่อได้มงคลฤกษ์ทรงเคลื่อนพยุหยาตราเข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่กองทัพ เสด็จทางชลมารคไปประทัพแรมอยู่ที่ตำบลปากโมก

สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินเป็นศุภมิตครั้งแรก
        เมื่อประทับที่ปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษาการศึกอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่จนยามที่สามจึงเสด็จเข้าที่บรรทม ครั้นเวลา 04.00 น. พระองค์ทรงสุบินเป็นศุภนิมิตเรื่องราวพระสุบินของสมเด็จพระนเรศวร มีว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตร น้ำไหลป่าท่วมป่าทุ่งสูงทางทิศตะวันตกเป็นแนวยาวสุดสายตา พระองค์ทรงลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวและกว้างใหญ่นั้น และมีจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งทะยานเข้าโถมปะถทะและจะกัดพระองค์จึงเกิดต่อสู้กันขึ้น พระองค์ทรงใช้พระแสงดาบฟันถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำก็เหือดแห้งไป เมื่อพระองค์ตกพระทัยตื่นบรรทม สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที พระโหราธิบดีกราบถวายพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดข้นเพราะเทวดาสังหรณ์ให้ทราบเป็นนัย น้ำซึ่งไหลทางท่วมป่าทางทิศตะวันตก คือ กองทัพพม่า จระเข้ คือ พระมหาอุปราชา การสงครามคราวนี้จะเป็นการใหญ่ขนาดทำยุทธหัตถีกัน การที่พระองค์เอาชนะจระเข้ได้แสดงว่าศัตรูของพระองค์จะต้องสิ้นชีวิตลงด้วยบพระแสงของ้าว และที่พระองค์ทรงกระแสน้ำ หมายความว่า พระองค์จะรุกไล่บุกฝ่าไปในหมู่ข้าศึกจนข้าศึกแตกพ่ายไป ไม่อาจจะต้านทานพระบรมเดชานุภาพได้
ศุภนิมิตบังเกิดแก่สมเด็จพระนเรศวร ครั้งที่ 2
          พอใกล้ฤกษ์ยกทัพสมเด็จพระนเรศวร และพระเอกาทศรถเสด็จไปยังเกยช้างพระที่นั่งคอยพิชัยฤกษ์อยู่ ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรืองงามขนาดผลส้มเกลี้ยงลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนเวียนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระที่น้องทั้งสองทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงพระสรรเสริญและนมัสการอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุนั้น บันดาลให้พระองค์ชนะข้าศึกและขอเชิญเป็นธงและเป็นฉัตรไปปกป้องเพื่อระงับความเดือดร้อน นำแต่ความสะดวกสบายมาสู่กองทัพ
สมเด็จพระนเรศวรทรงตั้งค่ายที่หนองสาหร่าย
          จากตำบนปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จเอกาทศรถทรงช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร์ เสด็จเคลื่อนพลมาทางบ้านสระแก้ว และบ้านสระเหล้า วันนั้นพระอาทิตทรงกลดจนเวลาบ่าย 15.00 น. ก็ถึงตำบลหนองสาหร่าย ปันจุบันเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางการเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวร
    1. กรุงศรีอยุธยา
    2. ตำบลปากโมก
    3. บ้านสระแก้ว
    4. บ้านสระเหล้า
    5. ตำบลหนองสาหร่าย ทรงตั้งค่ายเป็นรูปดอกบัวตรงชัยภูมิครุฑนาม 

         เมื่อถึงหนองสาหร่ายแล้วรับสั่งให้หยุดกองทัพหลัง กองทัพหน้าซึ่งตั้งค่ายอยู่ก่อน แล้วเสด็จประทับบนเกยใต้ร่มไม้ประดู่เหนือจอมปลวกหลวงเป็นชัยภูมิตามแบบครุฑนาม และรับสั่งให้ตั้งค่ายเป็นกระบวนปทมพยหะ(รูปดอกบัว) การที่สมเด็จพระนเรศวรทรงเลือกชัยภูมิแบบครุฑนาม ก็เพื่อข่มกำลังข้าศึกซึ่งตั้งในชัยภูมิแบบนาคนาม
        พระมหาอุปราชาสั่งให้กองลาดตระเวนพม่า คือ สมิงจะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่อน ได้ไปพบกองทัพไทยเข้า จึงรีบกลับไปกราบทูลให้พระมหาอุปราชาทราบว่า ทัพไทยกำลังตั้งอยู่ริมหนองสาหร่าย มีรี้พลประมาณ 17-18 หมื่น พระมหาอุปราชาเห็นว่าจะได้เปรียบไทย เพราะกำลังพม่ามีมากกว่าหลายเท่าจึงรับสั่งให้เตรียมพลให้เสด็จตั้งแต่เวลา 03.00 น. พอเวลา 05.00น. ก็ยกไปตีทัพไทยให้แตก แล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา ครั้นได้ฤกษ์พระมหาอุปราชาทรงช้างพระที่นั่งชื่อพลายพัทธกอ เสด็จเคลื่อนพลออกจากตำบลตระพังตรุ ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี

ทัพหน้าของไทยปะทะกับกองพม่า

สมเด็จพระนเรศวรมีพระเชษฐภคินีคือใคร


          พระยาศรีไสยณรงค์ และพระราชฤทธานนท์เมื่อได้รับพระบรมราชโองการให้ออกโจมตีข้าศึกจึงจัดทัพเป็นศรีเสนา คือ แบ่งเป็น 3 ทัพใหญ่ แต่ละทัพแยกออกได้ 3 กองทัพไทยเคลื่อนออกจากตำบลหนองสาหร่าย ถึงตำบลโคกเผาข้าว เวลา 07.00 น. ได้ปะทะกับพม่า ทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันด้วยอาวุธชนิดเดียวกันเป็นคู่ๆ ด้วยความสามารถ สมเด็จพระนเรศวรให้สืบข่าวการรบของทัพหน้า ขณะที่พราหมณ์ผู้ทำพิธี และผู้ชำนาญไสยศาสตร์ทำพิธีเปิดประตูป่า และพิธีเซ่นละว้า เซ่นไก่(บวงสรวงปิศาจด้วยไก่) หลวงมหาวิชัยรับพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ไปทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามไสยศาสตร์(กระทำเพื่อให้มีชัยชนะแก่ข้าศึก โดยนำไม้ที่มีชื่อร่วมกับข้าศึกมาเข้าพิธีกับรูปั้นและชื่อข้าศึก พอได้ฤกษ์พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ให้แก่ผู้แทนพระองค์ไปฟันรูปปั้นและชื่อข้าศึกนั้นแล้วรีบกลับมาทูลพระองค์ว่าตนได้ปราบศัตรูว่าตามพระราชกระแสรับสั่งเรียบร้อยแล้ว) สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับเสียงปืน ซึ่งไทยกับพม่ากำลังยิงต่อสู้กันอยู่ แต่เสียงนั้นอยู่ไกลฟังไม่ถนัด จึงรับสั่งให้หมื่นทิพเสนารีบไป่สืบข่าว
สมเด็จพระนเรศวรทรงบัญชาให้ทัพหน้าถอย
        พอหมื่นทิพเสนาไปถึงทัพหน้าของไทยได้นำขุนหมื่นผู้หนึ่งเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร ขุนหมื่นผู้นั้นกราบทูลว่าเมื่อเวลา 07.00 น. ทัพไทยได้ปะทะกับทัพพม่าที่ตำบลโคกเผาข้าว ทัพไทยต้องถอยร่นอยู่ตลอดเวลา เพราะทัพพม่าคราวนี้กำลังรี้พลมากมายนัก สมเด็จพรระนเรศวรจึงตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองว่าควรคิดหาอุบายแก้ไขการศึกอย่างไร บรรดาแม่ทัพนามกองกราบทูลขอให้พระองค์ส่งทัพไปยันไว้ให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อน จึงเสด็จยกทัพหลวงออกต่อสู่ภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า”ทัพไทยกำลังแตกพ่ายอยู่ถ้าจะส่งทัพไปต้านทานอีกก็จะพลอยแตกอีกเป็นครั้งที่ 2 ควรที่จะล่าถอยลงมาโดยไม่หยุดยั้งเพื่อลวงให้ข้าศึกละเลิงใจยกติดตามโดยไม่เป็นขบวน พอได้ทีก็ให้ยกกำลังส่วนใหญ่เข้าโจมตีก็คงจะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย” แม่ทัพนามกองเห็นชอบด้วยกับพระราชดำรินั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงสั่งให้หมื่นทิพเสนากับหมื่นราชมาตย์รีบไปแจ้งแก่ทัพของไทยให้ล่าถอยโดยเร็ว ทัพหน้าจึงรีบถอยร่น ทัพพม่าก็รุกไล่ตามจนเสียกระบวน
ศุภนิมิตบังเกิดแก่สมเด็จพระนเรศวร ครั้งที่ 3
         ขณะสมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกยเพื่อรอพิชัยฤกษ์เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆเยือกเย็นตั้งมืดอยู่ทางทิศพายัพ(ตะวันตกเฉียงเหนือ) แล้วก็กลับกลายแลดูโปร่งโล่งไปเผยไปเผยดวงตะวันให้ส่องสว่างจ้าสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนทัพตาม”เกล็ดนาค”(ตามตำราพิชัยสงครามซึ่งกำหนดไว้ว่า วันใดนาคหัวและหางไปทางทิศใดต้องไปตั้งทัพทางทิศหัวนาคแล้วเคลื่อนไปทางหางนาค คิอไม่ให้ทวนย้อนเกล็ดนาค) ในไม่ช้าก็ปะทะกับข้าศึก พอช้างพระที่นั่งทั่งสองพระองค์ได้ยินเสียงฆ้องกลองและปืนข้าศึกก็เริ่มคึกคะนองด้วยกำลังตกมันถลันเข้าไปในหมู่ข้าศึก ควาญไม่สามรถคัดท้ายไว้อยู่ แม่ทัพนายกองตามเสด็จไม่ทัน ผู้ที่เสด็จด้วยมีแต่ควาญรวม 4 คน สมเด็จพระพี่น้องทั้งสองได้ทอดพระเนตรข้าศึกมีกำลังมากมายไม่เป็นทัพไม่เป็นกอง จึงไสช้างพระที่นั่งเข้าชนช้างข้าศึก เหล่าข้าศึกพากันระดมยิงอาวุธมาดังห่าฝนแต่ไม่ถูกช้างทรง ทันใดนั้นก็บังเกดตะวันตลบมืดในท้องฟ้าราวกับไม่มีแสงตะวันและไม่รู้กหน้าซึ่งกันและกัน สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศแก่เทวดาในสวรรค์ 6 ชั้น และพระพรหมซึ่งประทับบนแท่นดอกบัวในบรมโลกทั้ง 16 ชั้น ขอเชิญให้ทรงสดับพระราชดำรัสของพระองค์ การที่เทพเจ้าบันดาลให้มาประสูติสบวงศ์กษัตริย์ก็มุ่งหวังที่จะทะนุบำรุงพระวรพุทธศาสนา เพื่อแสงหาบุญกุศลเหตุใดไม่ทรงบันดาลให้ท้องฟ้าสว่างปราศจากความมือ เพื่อจะได้แลเห็นเหล่าข้าศึกในสนามรบได้ถนัดตา มืดเช่นนี้ทำให้ฉงนสงสัยพอตรัสดังนั้นแล้วก็บังเกิดพายุใหญ่พัดปั่นป่วนในท้องฟ้า สนามรบสว่างจ้าขึ้น ทรงเร่งช้างพระที่นั่งสอดส่ายพระเนตรหาพระมหาอุปราชา ทรงแลไปทางขวาได้เห็นนายทัพขี่ช้างเผือกตัวหนึ่งมีฉัตรกั้นอยู่ใต้ร่มต้นข่อยมีพล 4 เหล่าเรียงรายอยู่มากมาย สมเด็จพระนเรศวรได้ทอดพระเนตร ก็ทรงมั่นพระทัยว่าเป็นพระมหาอุปราชาจอมทัพพม่า เพราะจัดทัพห้อมล้อมไว้มากผิดปกติ ตั้งเครื่องสูงครบแลดูน่าประหลาดใจ
สมเด็จพระนเรศวรตรัสชวนพระมหาอุปราชากระทำยุทธหัตถี
        สมเด็จพระนเรศวรทรงมีราชดำรัสอันไพเราะทักทายโดยมิได้แสดงความขุ่นเคืองพระทัยแม้แต่น้อยว่า”พระะเจ้าที่ผู้ทรงความเป็นใหญ่แห่งประเทศมอญพระเกียรติคุณเป็นที่ครั่นคร้ามเกรงกลัว พระเดชานุภาพเลื่องลือหวาดหวั่นกันไปทั่วสิบทิศไม่มีผู้ใดกล้าสู้ฤทธิ์พากันหลบหนีสิ้น พระเจ้าพี่ คผู้กครองประเทศอันบริบรูณ์ยิ่งเป็นการไม่สมควรเลยที่พระเจ้าพี่จะประทับอยู่ใต้ร่มไม้ ขอเชิญเสด็จออกมากระทำยุทธหัตถีร่วมกัน เพื่อแสดงเกียรติไว้ให้ปรากฎต่อจากเราทั้งสองจะไม่มีอีกแล้ว การรบด้วยการชนช้างจะถึงที่สุดเพียงนี้ต่อไปจะไม่ได้พบอีกการที่กษัตริย์กระทำยุทธหัตถีกันก็คงมีแต่เราสองพี่น้องชั่วฟ้าดินสลาย ขอทูลเชิญเทวาและพรหมเสด็จมาประชุม ณ ที่นี้ เพื่อทอดพระเนตรการชนช้างตัวต่อตัว ผู้ใดเชี่ยวชาญกว่าขอทรงอวยพรส่งเสริมให้มีชัย