สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพปีพ.ศ.ใด

           ���˵ط���˹���� �ѹ��� 25 ���Ҥ� �ͧ�ء�� ���ѹ�ͧ�Ѿ�¹�� ���ͧ�ҡ���ѹ��� ���稾�й���������Ҫ ����Ѿ������¡�ا�����ظ�� �ç��з��ط��ѵ���ժ�ª�е�� ���稾������ػ�Ҫ� ��觾��� ��м���觪�ª��㹤��駹�� ��������֡������������ء�ҹ�·ء��ȷҧ �����Ҷ֧ 150 ��

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของไทย

เป็นอีกหนึ่งวันที่คนไทยควรร่วมน้อมรำลึกถึง เนื่องจาก 25 เมษายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ ในอดีตพระองค์ได้กอบกู้อิสรภาพของไทย และทำนุบำรุงบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนปกปักรักษาเอกราชของชาติจนทำให้มีประเทศไทยอย่างเช่นทุกวันนี้ ซึ่งกิจกรรมในวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะมีการจัดกิจกรรมวางพวงมาลาเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดี และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

พระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ ทรงพระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2098 พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระอนุชา คือ พระสุพรรณกัลยา และสมเด็จพระเอกาทศรถ ในขณะที่พระองค์ทรงพระเยาว์ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก และทรงขอสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรมเพื่อเป็นตัวประกันที่หงสาวดี จนพระชนมายุได้ 15 พรรษา พระองค์จึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2098 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ณ เมืองแครง ประกาศอิสรภาพของชาติไทยโดยไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป และทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์สุโขทัย

ในรัชสมัยของพระองค์ทรงกระทำสงครามขยายพระราชอาณาจักรไทย ให้แผ่ไพศาลไปในจตุรทิศ ทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ โดยพระองค์ได้กู้คืนอิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ช่วยกอบกู้เอกราชของชาติ ทรงผดุงความเป็นไทย ปกป้องรักษาแผ่นดินให้ปลอดพ้นภัยจากอริราชศัตรู เพื่ออิสรภาพของปวงชนชาวไทย โดยในปี พ.ศ. 2124 ทรงแสดงแสนยานุภาพในการยกกองทัพเข้าตีเมืองคังจนได้รับชัยชนะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2135 ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา จนได้รับชัยชนะ ทำให้พระบรมเดชานุภาพ แผ่ไพศาลไปทั่วปฐพี และปราบปรามหัวเมืองมอญฝ่ายใต้ ได้เมืองตะนาวศรี มะริด ทวาย ต่อมาปี พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2142 ทรงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีได้เมืองเมาะลำเลิง และเมืองตองอู จนหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งปวงยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษา


สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพปีพ.ศ.ใด

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นวีรบุรุษของชาติที่ถูกกล่าวขานอยู่ในประวัติศาสตร์ถึงวีรกรรมของพระองค์มากที่สุดก็ว่าได้ ทรงกู้อิสรภาพให้ชาติไทยในขณะที่ตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าได้อย่างมหัศจรรย์ ในขณะนั้นกองทัพไทยอยู่ในสภาพอ่อนแอ เพราะถูกพม่ายึดอาวุธและกวาดต้อนผู้คนไปทั้งหมด เหลือข้าราชการให้อยู่รักษาเมืองแค่ ๓,๐๐๐ คน ที่สำคัญทั้งทหารและประชาชนต่างหวาดกลัวความอำมหิตของพม่า ทั้งพระองค์เองก็ตกไปเป็นตัวประกัน

เมื่อพระองค์หนีจากพม่ากลับมาแผ่นดินเกิด ความกล้าหาญและอัจฉริยภาพในความเป็นผู้นำของพระองค์ก็ปรากฏ ทรงปลุกเร้าให้ความหวาดกลัวนั้นกลับเป็นความฮึกเหิม ทรงตัดสินพระทัยประกาศอิสรภาพในขณะที่กำลังกองทัพไม่อาจเทียบกับพม่าได้ แต่ด้วยกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของพระองค์ ก็ทรงรวมกำลังใจของเหล่าทหารให้ต่อต้านกองทัพพม่าที่ยกมาปราบปรามจนแตกพ่ายยับเยินไป ขยายพระราชอาณาจักรไทยออกไปกว้างใหญ่ไพศาล เกียรติคุณของพระองค์ร่ำลือไกล ไม่แต่เพียงประเทศใกล้เคียงเท่านั้น พ่อค้าวาณิชตั้งแต่ยุโรปและเปอร์เซียต่างก็มุ่งสำเภาเข้ามาค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาที่พลิกพื้นขึ้นสู่ความมั่นคงในรัชสมัยของพระองค์ จนเป็นราชอาณาจักรที่รุ่งเรืองและสงบสุขร่มเย็น ไม่มีอริราชศัตรูเข้ามารุกรานเป็นเวลาถึง ๑๐๐ ปีเศษ

ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเตือนใจให้รำรึกถึงความเป็นมาของชาติไทยในอดีต ทุกวันนี้ก็ยังมีวันสำคัญเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอยู่หลายวัน

ในปี พ.ศ.๒๑๔๘ สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพใหญ่จากเชียงใหม่จะไปตีกรุงอังวะ เมื่อออกจากเชียงใหม่แล้วสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชา ได้แยกเดินทัพไปทางเมืองฝาง ครั้นสมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปถึงทุ่งดอนแก้ว เมืองหาง แขวงเมืองเชียงใหม่ ก็ทรงประชวรเป็นฝีขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นพิษ จึงโปรดให้ไปเชิญสมเด็จพระเอกาทศรถมาโดยเร็ว ครั้นพระอนุชามาถึงได้ ๓ วันก็เสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ ขณะพระชนมพรรษาได้ ๕๐ ปี ครองราชย์มาได้ ๑๕ ปี สมเด็จพระเอกาทศรถได้อัญเชิญพระบรมศพกลับกรุงศรีอยุธยา

เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ ๒๕ เมษายนของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” และเป็นวันรัฐพิธี ให้มีการวางพวงมาลาพานพุ่มสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์หลายแห่งทั่วประเทศ

ส่วนวันที่ ๑๔ มกราคม ก็เป็นวันรำลึกถึงสมเด็จพระนเรศวรที่สำคัญอีกวันหนึ่ง ทั้งนี้ในปี ๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะเป็นกบฏต่อพม่า พระเจ้านันทบุเรงจึงรวมพลไปปราบ และเกรงว่ากรุงศรีอยุธยาจะไปร่วมกับอังวะด้วย จึงขอให้ส่งกองทัพไปร่วม ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาก็ทรงส่งสมเด็จพระนเรศวรไปแทน พระเจ้านันทบุเรงเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรต่อไปจะเป็นภัยต่อหงสาวดี จึงรับสั่งให้ ๒ พระยามอญ คือพระยาเกียรติและพระยารามมาดักรอที่เมืองแครง และเดินทัพร่วมไปกับสมเด็จพระนเรศวร เมื่อได้โอกาสก็ให้หาทางกำจัดเสียกลางทาง ๒ พระยามอญเป็นศิษย์ของมหาเถรคันฉ่อง ได้นำความลับนี้ไปบอกพระอาจารย์ พระมหาเถรคันฉ่องนั้นมีความรักและเมตตาต่อสมเด็จพระนเรศวรมาก ทรงแวะมานมัสการทุกครั้งเมื่อผ่านมาทางเมืองแครง จึงทูนให้ทรงทราบเรื่องนี้

สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีคคิดร้ายต่อพระองค์ถึงเพียงนี้ จะเป็นไมตรีต่อกันไปไม่ได้แล้ว ถึงไม่พร้อมก็ต้องทำ จึงรับสั่งประชุมแม่ทัพนายกองพร้อมด้วย ๒ พระยามอญและกรมการเมืองแครง แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องมาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งหลายได้ทราบ แล้วทรงหลั่งน้ำด้วยพระเต้าทองคำสู่แผ่นดิน ประกาศต่อเทพยดาฟ้าดินว่า
 
“ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป”

จากนั้นก็ทรงยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วยพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติ พระยาราม และชาวเมืองแครงที่ขมขื่นต่อการปกครองของพม่า ขอสวามิภักดิ์ติดตามมาด้วย

วันนี้จึงวันสำคัญอีกวันหนึ่งของชาติไทย แต่เนื่องจากวันนี้ยังมีความสับสน พงศาวดารกล่าวแต่ว่า เมื่อเดือน ๖ ปีวอก พ.ศ.๒๑๒๗ บางท่านก็ระบุว่าเป็นวันที่ ๑๔ เมษายน เลยไม่มีรัฐพิธีในวันนี้

ส่วนวันที่ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชานั้นก็สับสนเช่นกัน ในปี ๒๔๙๔ สภากลาโหมเห็นว่า ควรเลือกวันที่มีความสำคัญเป็นเกียรติประวัติศาสตร์ของชาติเป็นวันกองทัพบก และกำหนดให้วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี เมื่อวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง เป็นวันที่ระลึกสำหรับกองทัพไทยและกองทัพบก โดยถือว่าการกระทำยุทธหัตถีครั้งนี้ เป็นชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนำมาซึ่งเอกราชของประเทศ และได้รับการยกย่องสรรเสริญทั่วไปทั้งทวีปเอเซียและยุโรป จึงเป็นวันที่คนไทยพึงระลึกถึงด้วยความภาคภูมิใจ ทั้งยังจะทำให้เกิดความรักชาติ

แต่ก็เกิดการตีความกันว่า วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง เป็นวันที่เท่าไหร่กันแน่
ใน พ.ศ.๒๔๙๔ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้เป็นวันที่ ๒๕ มกราคม

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ คณะรัฐมนตรีได้ลงมติอนุมัติให้วันที่ ๒๕ เมษายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และวันที่ ๑๘ มกราคม เป็นวันยุทธหัตถี ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักฐานที่ราชบัณฑิตยสถานและคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ซึ่งเป็นผลทำให้ประวัติศาสตร์ของวันยุทธหัตถีเปลี่ยนไป ดังนั้นเพื่อดำรงความมุ่งหมายเดิมในการกำหนดวันที่ระลึกกองทัพไทยและกองทัพบก รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กระทรวงกลาโหมและกองทัพบก จึงได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยและวันกองทัพบก จากเดิมวันที่ ๒๕ มกราคม เป็นวันที่ ๑๘ มกราคม โดยเริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นต้นมา

วันที่ ๑๘ มกราคมจึงถือว่าเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา และถือว่าเป็น “วันกองทัพไทย” และ “กองทัพบก”

ประวัติศาสตร์ก็เป็นอย่างนี้แหละครับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดก่อนเราเกิดเป็นร้อยๆปี บรรพบุรุษของเรายุคนั้นก็ไม่มีความนิยมที่จะจดบันทึกเหตุการณ์ไว้ มาสอบหากันภายหลังก็อาจคลาดเคลื่อน เมื่อเราได้หลักฐานก็ลงความเห็นกันตามหลักฐาน หากได้หลักฐานใหม่ว่าหลักฐานเก่าไม่ถูกต้อง ก็ต้องเชื่อหลักฐานใหม่ที่น่าเชื่อถือกว่า เช่นแต่ก่อนเราเชื่อว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพหนีโรคห่าจากเมืองอู่ทองมาสร้างกรุงศรีอยุธยา ต่อมามีหลักฐานทางวิชาการว่า เมืองอู่ทองเป็นเมืองร้างก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยามาถึง ๓๐๐ แล้ว เราจึงค้นคว้าหลักฐานกันใหม่ เพราะสมัยนี้เราเชื่อกันด้วยหลักฐาน ไม่ใช่ให้ใครยกเมฆมากรอกหูกันได้

สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพปีพ.ศ.ใด


สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพปีพ.ศ.ใด


สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพปีพ.ศ.ใด


สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพปีพ.ศ.ใด

สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเมื่อปี พ.ศ. ใด

สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ พ..2127 ประชุมนายทัพนายกองที่พลับพลาต่อหน้า พระสงฆ์ และพวกมอญ แล้วทรงหลั่งทักษิโณทกให้ตกเหนือพื้นแผ่นดิน ประกาศอิสรภาพของประเทศสยาม

สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศเอกราช ณ ที่ใด

- พุทธศักราช ๒๑๒๗ พระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงประกาศอิสรภาพของไทย เมืองแครง พระเจ้ากรุงหงสาวดีให้สุระกำมายกกองทัพตามมาไล่จับสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง ถูกสุระกำมา แม่ทัพพม่าตายและทรงได้รับมอบอำนาจให้บัญชาการบ้านเมืองสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียว สงครามไทยกับพม่า พระยาพะสิมยกกำลัง ๑๓๐,๐๐๐ คน มาทางเมืองสุพรรณบุรี ...

พระนเรศวรประกาศอิสรภาพเมื่ออายุเท่าไร

พระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงประกาศอิสรภาพของไทย ณ เมืองแครง พระเจ้ากรุงหงสาวดีให้สุระกำมายกกองทัพตามมาไล่จับสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงถูกสุระกำมา แม่ทัพพม่าตายและทรงได้รับมอบอำนาจให้บัญชาการบ้านเมืองสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียว

พระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าเมื่อใด

สมัยราชอาณาจักรศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกู้ชาติไทยให้กลับมีอิสรภาพพ้นจากอำนาจพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ (ซึ่งเดิมลงมติกันแล้วว่า ตรงกับวันที่ ๒๕มกราคม) นับว่าเป็นชัยชนะอันเยี่ยมยอดในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผลแห่งชัยชนะที่ทรงมอบให้แก่ชาติไทยครั้งนี้ ทำให้พม่าไม่กล้ายกมาย่ำยีประเทศไทยอีกเป็นเวลานาน สมเด็จพระ ...