ทฤษฎีการเรียนรู้ มีใครบ้าง

ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 กลุ่ม

กันยายน 16, 2560

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายการเรียนรู้ในปัจจุบันแยกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีปัญญา(Cognitive Theories) ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism)
และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

(Social Learning) เมอร์เรียม และคาฟฟาเรลลา (Merriam and caffarella. 1991 : 123-139)ได้สรุปสาระสำคัญของกลุ่มทฤษฎีทั้ง 4 กลุ่มไว้ดังต่อไปนี้

กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เน้นขบวนการภายในที่ทำให้เกิดพฤติกรรม แต่จะสังเกตและวัดผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก การทดลองของกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยมใช้สัตว์เป็นเครื่องทดลอง ทำให้เกิดการโต้แย้งเมื่อนำมาใช้กับการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ว่า พฤติกรรมการแสดงของมนุษย์อาจไม่ตรงตามผลการทดลองกับสัตว์ เนื่องจากมนุษย์มีระบบการรับรู้และการตอบสนองต่างจากสัตว์

ทฤษฎีของกลุ่มพฤติกรรมนิยมกล่าวว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง พฤติกรรมมนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยมีการวางเงื่อนไข มีการเสริมแรงในรูปของรางวัลและการลงโทษ

การเลือกการเสริมแรงมีแนวทางการเลือกที่ต้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อมีการวางเงื่อนไขและการเสริมแรงที่เหมาะสม สิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกับประสบการณ์เดิม จะมีผลทำให้ความคงทนของการเรียนรู้ดีขึ้น

กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีปัญญาเน้นแนวความคิดด้านการหยั่งรู้ (Insight) และการรับรู้ (Perception)พฤติกรรมที่เป็นผลจากการเรียนรู้จึงมีทั้งพฤติกรรมภายในและภายนอก พฤติกรรมภายใน ได้แก่ ความคิดที่ทำให้เกิดการหยั่งรู้ ส่วนพฤติกรรมภายนอก เป็นการแสดงออกและความสามารถในการรับรู้ ทฤษฎีนี้จึงเน้นการสร้างเสริมประสบการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ทำให้เกิดการหยั่งรู้และการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้เรียนสามารถรวมประสบการณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและมองเห็นวิธีการแก้ ปัญหาการจัดเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก จากซับซ้อนน้อยไปสู่ซับซ้อนมาก จากสิ่งที่ไม่มีความหมายใกล้ชิดกับผู้เรียนไปสู่สิ่งที่มีความหมาย การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนดำเนินไปสู่เป้าหมาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากความเข้าใจ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้อยู่ได้นานกว่าการท่องจำ

นอกจากนี้ขบวนการและวิธีการคิดเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ และค้นพบสิ่งใหม่ ๆ อีกด้วย

กลุ่มทฤษฎีมนุษย์นิยม เป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดง- ออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักบรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เป็นทฤษฎีที่แตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้สามทฤษฎีแรกค่อนข้างมากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเน้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่มนุษย์มีส่วนร่วมหรือสังเกตจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในลักษณะการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์สังคมและพฤติกรรมความแตกต่างของพฤติกรรมภายใต้สถานการณ์เดียวกัน สามารถอธิยายได้โดยลักษณะนิสัยส่วนตัว และแรงกระตุ้นที่เป็นปัจจัยความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจึงให้ความสำคัญกับบริบททางสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์ลักษณะการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้บทบาท และพฤติกรรมตามต้นแบบในสังคม

เมอร์เรียมและคาฟฟาเรลลา (Merriam and Caffarella)ได้สรุปสาระสำคัญและเสนอชื่อนักจิตวิทยาการศึกษาที่สนับสนุนแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทั้ง 4 กลุ่มว่า หลักการของทฤษฎีแต่ละกลุ่มเป็นผลจากความพยายามของนักจิตวิทยาการศึกษาที่จะทำความเข้าใจและอธิบายกระบวนการและผลที่เกิดจากการเรียนรู้จากมุมมองที่แตกต่างกันแต่มิได้ขัดแย้งกัน 

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) ทางการศึกษาที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีกี่ประเภท มีความสำคัญอย่างไร ตลอดจนการนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน

ทฤษฎีการเรียนรู้ คือ?

เดิมทีแล้ว ทฤษฎีทางการศึกษา ไม่ได้ถูกพัฒนาและนำมาใช้อย่างจริงจังจนกระทั่งช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยก่อนหน้านี้ก็เพียงการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ โดยโสกราตีส เพลโต และอริสโตเติล ซึ่งเป็นการศึกษาและค้นพบว่าความรู้และความจริงสามารถพบได้ในตัวเอง (ลัทธิเหตุผลนิยม) หรือผ่านการสังเกตจากภายนอก (ประสบการณ์นิยม)

จนในศตวรรษที่ 19 นักจิตวิทยาเริ่มตอบคำถามเหล่านี้ด้วยการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายคือการเข้าใจอย่างเป็นกลางว่าผู้คนเรียนรู้อย่างไรและพัฒนาวิธีการสอนตามนั้น

และในศตวรรษที่ 20 ก็มีการถกเถียงกันในหมู่นักทฤษฎีการศึกษา ระหว่าง “ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม” และ “ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธินิยม” ว่าผู้คนเรียนรู้ผ่านการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก หรือผ่านการใช้สมองเพื่อสร้างความรู้จากข้อมูลภายนอกกันแน่

ทฤษฎีการเรียนรู้ ส่งผลต่อการศึกษาอย่างไร?

เดิมทีหลายคนอาจคิดว่าการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปที่เด็กนักเรียนทุกคนต้องพบเจอ เพราะจะยังไงทุกคนก็ต้องไปโรงเรียนและเรียนรู้สิ่งเดียวกัน แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย

นักทฤษฎีทางการศึกษาจำนวนมาก ให้คำแนะนำว่า จริงๆ แล้วมีแนวทางการจัดการศึกษามากมายที่เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน และสามารเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น อันจะทำให้ครูเหนื่อยน้อยลง และนักเรียนเองก็เข้าใจเรื่องที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งศาสตร์และศิลป์ของการสอนเหล่านี้ นักทฤษฎีทางการศึกษาหลายคนได้เป็นผู้บุกเบิกโดยที่ได้ศึกษาและคิดค้น “ศาสตร์แห่งการเรียนรู้” เพื่อดูว่าสิ่งใดใช้ได้ผลดีที่สุดเมื่อไหร่ และจะเหมาะสมกับใครบ้างนั่นเอง

กล่าวว่า“การเรียนรู้ที่ดี เป็นกระบวนการที่เกิดมาจากการนำประสบการณ์ส่วนตัวและสิ่งแวดล้อมรอบตัวมารวมกัน และส่งผลให้เกิดการเพิ่มคุณค่า และปรับเปลี่ยนมาเป็นความรู้ ทักษะ ค่านิยม ทัศนคติ พฤติกรรม และโลกทัศน์ ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ ก็มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนดังกล่าว”  

โดยทั่วไปแล้ว มีทฤษฎีการเรียนรู้ 5 ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ที่ครูผู้สอนควรนำไปใช้ในชั้นเรียน ได้แก่

  • ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
  • ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธินิยม
  • ทฤษฎีการเรียนรู้สรรคนิยม
  • ทฤษฎีการเรียนรู้มนุษยนิยม
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ความเชื่อมโยง

นักทฤษฎีการศึกษา ครู และผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าทฤษฎีเหล่านี้สามารถมอบแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จและเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบแผนการสอนและพัฒนาหลักสูตร

ทฤษฎีการเรียนรู้ มีใครบ้าง

ADVERTISEMENT

ทฤษฎีการเรียนรู้ ประเภทต่างๆ

ในปัจจุบัน หลังจากการศึกษาค้นคว้า และอภิปรายจำนวนมาก ได้ก่อเกิดทฤษฎีการเรียนรู้ 5 ทฤษฎีดังต่อไปนี้

1. พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม จะศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมที่ถูกกระตุ้น มีการตอบสนอง และสังเกตได้ เท่านั้น เนื่องจากสามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบและปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน”

การเกิดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีนี้ ขึ้นอยู่กับ ระบบของกิจวัตรที่ “ฝึกฝน” พฤติกรรมหรือข้อมูลใหม่เข้าสู่สมองของผู้เรียน รวมถึงการเสริมแรงเชิงบวก (Positive Feedback) จากครูผู้สอนและสถานศึกษาด้วย ตัวอย่างเช่น หากนักเรียนทำผลงานได้ดีเยี่ยม พวกเขาจะได้รับคำชมและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ผู้เรียนจึงจะเกิดการเรียนรู้ อ่านเพิ่มเติม

2. พุทธินิยม (Cognitivism)

ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ จะอาศัยทั้งปัจจัยภายนอก (เช่น ความรู้หรือข้อมูล) และกระบวนการคิดภายในประกอบกัน

ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นในปี 1950 โดยเปลี่ยนจากพฤติกรรมนิยม มาเน้นที่บทบาทของจิตใจในการเรียนรู้ ตามที่ : “ในด้านจิตวิทยาความรู้ความเข้าใจ เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งความรู้ ซึ่งผู้เรียนคือผู้ประมวลผลข้อมูล ดูดซับ และดำเนินการ เป็นผลให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเก็บไว้เป็นความจำของตนเอง” อ่านเพิ่มเติม

3. สรรคนิยม หรือ คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism)

ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ เชื่อว่า ผู้เรียนจะต่อยอดจากประสบการณ์และความเข้าใจก่อนหน้านี้เพื่อ “สร้าง” ความเข้าใจใหม่

ซึ่งผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน (Active Engagement) ในสังคมเท่านั้น เช่น การทดลองหรือการแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความจริง เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

4. มนุษยนิยม (Humanism)

“ แนวทางที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ” ซึ่งเน้นศักยภาพมากกว่าวิธีการหรือสื่อการเรียนการสอน

ด้วยความเข้าใจว่าผู้เรียนเป็นผ้าขาว มนุษยนิยมจึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างสภาพแวดล้อม อันเปรียบเสมือนการเติมสีไปบนผ้า ซึ่งเอื้อให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเอง ด้วยทฤษฎีนี้ ผู้เรียนจะได้รับการตอบสนอง และพวกเขาก็มีอิสระที่จะกำหนดเป้าหมายของตนเองในขณะที่ครู เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitators) ในการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เหล่านั้น อ่านเพิ่มเติม

5. ความเชื่อมโยง (Connectivism)

ในยุคดิจิทัล ทฤษฎีความเชื่อมโยง ถูกแยกออกจาก ทฤษฎีสรรคนิยม โดยการระบุและแก้ไขช่องว่างในความรู้

โดยทฤษฎีนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทฤษฎีความเชื่อมโยง มุ่งเน้นไปที่ความสามารถของผู้เรียนในการจัดหาและอัปเดตข้อมูลที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ การรู้ว่าจะหาข้อมูลที่ดีที่สุดได้อย่างไรและจากที่ใดมีความสำคัญพอๆ กับข้อมูล อ่านเพิ่มเติม

ทำไมทฤษฎีการเรียนรู้จึงสำคัญ?

ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะของมนุษย์ที่ต้องการความรู้ ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยา และผู้นำทางความคิดมากมายจึงอุทิศตนเพื่อศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ เพราะการทำความเข้าใจวิธีการที่มนุษย์เรียนรู้เป็นขั้นตอนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการเรียนรู้นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือวิทยาลัยครู รวมถึงการจัดอบรมสัมมนาสำหรับบุคลากรทางการศึกษา จึงใช้เวลาอย่างมากในการให้นิสิต และนักศึกษาที่จะมาเป็นครูในอนาคต ศึกษาการพัฒนามนุษย์และทฤษฎีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีที่เด็กจะสามารถเรียนรู้และเกิดพัฒนาการทางปัญญา อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูทุกคนในการเป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดหน้าชั้นเรียน

ทฤษฎีการเรียนรู้ มีใครบ้าง

“ไม่มีนักเรียนสองคนไหน ที่จะเรียนรู้แบบเดียวกันหรือในอัตราที่เท่ากันทุกประการ เช่นเดียวกับการที่ไม่มีคนสองคนไหนในโลก จะมีรูปพรรณที่เหมือนกันทุกประการ บุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนและสร้างสรรค์การสอนที่ตรงกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคน เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กทั้งหมดได้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นก้าวแรกที่สำคัญ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ครูธรรมดาๆทั่วไป ก้าวผ่านไปสู่ ยอดครูผู้เชี่ยวชาญทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสอน”

Pamela Roggeman

-
คณบดีวิทยาลัยครุศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฟีนิกซ์

ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นครู นักเรียน หรือผู้ปกครองของนักเรียน การรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎีแต่ละข้อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแสวงหาความรู้ได้ดียิ่งขึ้น

มีทฤษฎีอื่น ๆ ในการศึกษาหรือไม่?

เช่นเดียวกับตัวนักเรียน ทฤษฎีการเรียนรู้ในการศึกษามีความหลากหลายและหลากหลาย นอกเกนือจาก 5 ทฤษฎีที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีทฤษฎีอื่นๆ อีก ได้แก่

  • ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงปฏิรูป (Transformative) : ทฤษฎีนี้มีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ ข้อมูลใหม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของเราได้โดยพื้นฐานแล้วเมื่อประสบการณ์ชีวิตและความรู้ของเราถูกจับคู่กับการไตร่ตรองอย่างมีวิจารณญาณ
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social) : ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการโดยปริยายของแรงกดดันจากเพื่อนฝูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียนสังเกตนักเรียนคนอื่นและจำลองพฤติกรรมของตนเองตามนั้น บางครั้งก็เป็นการเลียนแบบเพื่อน บางครั้งก็เป็นการแยกแยะตัวเองจากคนรอบข้าง การควบคุมพลังของทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับการดึงดูดความสนใจของนักเรียน โดยเน้นที่วิธีที่นักเรียนสามารถเก็บข้อมูล ระบุว่าเมื่อใดจึงจะเหมาะสมที่จะสร้างพฤติกรรมก่อนหน้านี้ และกำหนดแรงจูงใจของนักเรียน
  • ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential) : มีความคิดโบราณและคำอุปมามากมายเกี่ยวกับการสอนบางสิ่งโดยการทำสิ่งนั้น ถึงแม้ว่ามันจะกลายเป็นทฤษฎีการเรียนรู้อย่างเป็นทางการจนถึงต้นทศวรรษ 1980 ก็ตาม แนวทางนี้เน้นทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างและประสบการณ์เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้

ทฤษฎีทางการศึกษา มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างไร?

ทฤษฎีการศึกษามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ สำหรับครู ตัวอย่างทฤษฎีการเรียนรู้สามารถส่งผลต่อแนวทางการสอนและการจัดการห้องเรียน การค้นหาแนวทางที่เหมาะสม (แม้ว่าจะเป็นการรวมทฤษฎีการเรียนรู้ตั้งแต่ 2 ทฤษฎีขึ้นไป) สามารถก่อให้เกิดประสบการณ์และการสร้างแรงบันดาลใจในห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพได้

วิธีประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้

ประสบการณ์ที่เรามีต่อทฤษฎีการเรียนรู้ในฐานะนักเรียน มีอิทธิพลต่อรูปแบบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เราชื่นชอบเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น หากใครก็ตามมีประสบการณ์ในชั้นเรียนที่เต็มไปด้วยการเรียนรู้ทางสังคมในวัยประถม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คนๆนั้น จะรู้สึกถนัดและทำงานได้อย่างไหลลื่นในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีการทำงานร่วมกันสูง เป็นต้น

โดยสรุป

ทฤษฎีการศึกษา มีการพัฒนามาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยของโสกราตีส ผู้ที่ซึ่งน่าจะเป็นคนบุกเบิกทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีพุทธินิยม และในห้วงแห่งการพัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้ที่ผ่านมา (และเชื่อว่าจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกในอนาคต) ครูและนักเรียนจำเป็นจะต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากวิวัฒนาการนี้ให้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ตราบที่เราทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดในการพัฒนาความรู้ของตัวเอง และทำความเข้าใจว่ามนุษย์จะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างไร

ทฤษฎีการสอน มีใครบ้าง

มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมายซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง 4 ทฤษฏีซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันคือทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุททฤษฎีการเรียนกาสอนของเคสและทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเองมีอย่างไร

Constructionismเป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusette Institute of Technology) ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) หรือ ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเอง ประสบการณ์ใหม่/ ความรู้ใหม่ +

ผู้คิดทฤษฎีประสบการณ์เพื่อใช้ในการเรียนรู้ได้แก่ใคร

เพียเจต์ (Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิสเป็นผู้เสนอแนวคิดของทฤษฎีนี้ โดยได้อธิบายพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กว่ามีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับขั้นเป็นไปตามวัยต่างๆ เราจึงไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้พัฒนาการข้ามจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียในการเรียนรู้แก่เด็กแต่ควรให้เด็กได้พัฒนาการเป็นไปตามธรรมชาติและการจัด ...

ข้อใดเป็นทฤษฎีความรู้

ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge :TOK) หรือรู้จักกับในอีกชื่อ หนึ่งว่า ญาณวิทยา ( Epistemology ) เป็นสาระที่ว่าด้วยการแสวงหาความรู้ เพิ่มเติมอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ผู้เรียนรู้ (knowing) ว่าด้วยการค้นคว้าและ แสวงหาความรู้ เพื่อพิสูจน์ประเด็นความรู้ ข้อค้นพบหรือสมมติฐานของ ความรู้ที่ผู้เรียนได้รับรู้ และเป็นที่ยอมรับ ว่า ...