ข้อความ ใดแสดง ความ หมาย ของ ขั้วแม่เหล็ก ถูก ต้อง ที่สุด

ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

ขั้วแม่เหล็ก

   
ข้อความ ใดแสดง ความ หมาย ของ ขั้วแม่เหล็ก ถูก ต้อง ที่สุด

ภาษา

ภาษาที่แสดง

ญี่ปุ่น (JP) จีน (CN)
เยอรมัน (DE) ฝรั่งเศส (FR)
ไทย (TH) อังกฤษ (EN)

พินอิน (拼音;pinyin)
จู้อิน (注音;zhuyin)

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ขั้วแม่เหล็ก (n) magnetic pole, Example: ถ้าขั้วแม่เหล็กชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ ถ้าชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้, Count Unit: ขั้ว, Thai Definition: บริเวณที่ตัวแท่งแม่เหล็กซึ่งมีแรงแม่เหล็กมากที่สุด โดยปกติบริเวณดังกล่าวจะอยู่ใกล้ปลายทั้ง 2 ของแท่งแม่เหล็ก
ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ขั้วแม่เหล็ก น. บริเวณที่ตัวแท่งแม่เหล็กซึ่งมีแรงแม่เหล็กมากที่สุด โดยปรกติบริเวณดังกล่าวจะอยู่ใกล้ปลายทั้ง ๒ ของแท่งแม่เหล็ก, ถ้าชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ ถ้าชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้.
ขั้วแม่เหล็กโลก น. เรียกบริเวณที่มีแรงแม่เหล็กโลกมากที่สุดทางซีกโลกเหนือและใต้ ว่า ขั้วแม่เหล็กโลกเหนือ ขั้วแม่เหล็กโลกใต้.
ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
Japanese-Thai: Longdo Dictionary
磁極 [じきょく, jikyoku] (n) ขั้วแม่เหล็ก

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ



Are you satisfied with the result?


Discussions

ข้อความ ใดแสดง ความ หมาย ของ ขั้วแม่เหล็ก ถูก ต้อง ที่สุด

เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อความ ใดแสดง ความ หมาย ของ ขั้วแม่เหล็ก ถูก ต้อง ที่สุด

ไฟฟ้าและแม่เหล็ก

เมื่อ :

วันจันทร์, 11 มกราคม 2564

แม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก

          แม่เหล็ก เป็นสารที่สามารถดูดและผลักกันเอง  และสามารถดูดพวกสารแม่เหล็กได้โดยการเหนี่ยวนำ โดยปกติมี 2 ขั้ว คือ ขั้วเหนือและขั้วใต้

        สนามแม่เหล็ก คือบริเวณ (space) ที่มีอำนาจการกระทำที่เกิดจากแม่เหล็ก อำนาจการกระทำที่ส่งออกมาจากแม่เหล็กนี้มีลักษณะเป็นปริมาณเวกเตอร์ (Magnetic field Vector) มีสัญลักษณ์เวกเตอร์ B เรียกอีกชื่อว่าอำนาจแม่เหล็กชักนำ (Magnetic Induction) ซึ่งเป็นอำนาจของเส้นแรงชักนำ (Line of Induction) ซึ่งเป็นเวกเตอร์ เรียกว่า ฟลักซ์แม่เหล็ก (Magnetic Flux)  มีหน่วยในการวัดเป็น weber

ข้อความ ใดแสดง ความ หมาย ของ ขั้วแม่เหล็ก ถูก ต้อง ที่สุด

ภาพสนามแม่เหล็กโลก
ที่มา: http://nongin2540.blogspot.com/p/blog-page_23.html

          สำหรับรอบ ๆ แท่งแม่เหล็ก อำนาจแม่เหล็กในสนามแม่เหล็กแต่ละแห่งจะมีค่าไม่เท่ากันคือ ในแต่ละแห่งความแรงของสนามแม่เหล็กจะมีค่าไม่เท่ากัน เนื่องจากสนามแม่เหล็กนั้นเรามองไม่เห็นจึงมีทฤษฎีเกี่ยวกับเส้นแรงแม่เหล็กขึ้นเช่นเดียวกับทฤษฎีของเส้นแรงไฟฟ้า

หลักเกี่ยวกับเส้นแรงแม่เหล็กที่ควรทราบ คือ

  1. ภายนอกแท่งแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็กจะมีทิศพุ่งออกจากขั้วเหนือ (N) และพุ่งเข้าสู่ขั้วใต้ (S) เสมอ

  2. ภายในแท่งแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็กจะมีทิศจากขั้วใต้ (S) พุ่งเข้าสู่ขั้วเหนือ (N)  เสมอ

การคำนวณหาขนาดของสนามแม่เหล็ก

          สนามแม่เหล็ก เป็นอาณาบริเวณที่มีเส้นแรงแม่เหล็กพุ่งผ่าน ถ้าบริเวณใดมีจำนวนเส้นแรงแม่เหล็กผ่านมาก บริเวณนั้นจะมีความแรงหรือความเข้มสนามแม่เหล็กสูง เส้นแรงแม่เหล็กจะมีทิศพุ่งออกจากขั้วแม่เหล็กขั้วเหนือไปยังขั้วแม่เหล็กขั้วใต้ ความแรงของสนามแม่เหล็ก อาจจะกำหนดดังนี้ จำนวนเส้นแรงแม่เหล็กต่อ 1 หน่วยพื้นที่เส้นแรงผ่าน คือค่าของสนามแม่เหล็กที่จุดนั้น เราสามารถหาขนาดของสนามแม่เหล็กได้ดังนี้

          สนามแม่เหล็ก = จำนวนเส้นแรงแม่เหล็ก/พื้นที่หน้าตัดของบริเวณที่เส้นแรงผ่าน

โดยที่  สนามแม่เหล็ก มีหน่วยเป็น weber/m2

          จำนวนเส้นแรงแม่เหล็ก มีหน่วยเป็น weber

          พื้นที่หน้าตัดของบริเวณที่เส้นแรงผ่าน มีหน่วยเป็น ตารางเมตร

        สิ่งที่ควรทราบ

        สนามแม่เหล็ก เป็นปริมาณเวกเตอร์ ทิศของสนามแม่เหล็กจะไปตามทิศของเส้นแรงแม่เหล็กดังต่อไปนี้คือ

  1. ในกรณีที่เส้นแรงแม่เหล็กเป็นเส้นตรง ทิศของสนามแม่เหล็กจะมีทิศเดียวกับทิศของเส้นแรง

  2. ในกรณีที่เส้นแรงแม่เหล็กเป็นเส้นโค้ง ทิศของสนามแม่เหล็กที่จุดใด ๆ จะมีทิศสัมผัสกับเส้นแรงแม่เหล็กที่จุดนั้นโดยมีทิศไปตามแนวเส้นแรง

สนามแม่เหล็กโลก

          เราทราบดีว่าโลกเรานี้มีอำนาจแม่เหล็ก ทั้งนี้เพราะแท่งแม่เหล็กที่แขวนไว้ในแนวระดับหรือเข็มทิศจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เสมอ จากการสำรวจสนามแม่เหล็ก หรือเส้นแรงแม่เหล็กเราพบว่าโลกทำตัวเหมือนกับมีแท่งแม่เหล็กขนาดใหญ่อยู่ในใจกลางโลก ซึ่งเราเรียกว่า สนามแม่เหล็กโลก

          แม่เหล็กโลกวางตัวโดยเอาขั้วใต้อยู่ทางซีกโลกเหนือและขั้วเหนืออยู่ทางซีกโลกใต้ แนวแกนของแม่เหล็กโลกทำมุมเล็กน้อย ประมาณ 17  องศา กับแนวเหนือใต้ภูมิศาสตร์โลก

          เนื่องจากขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะผลักกัน และขั้วแม่เหล็กต่างชนิดกันจะดูดกัน ดังนั้นเข็มทิศซึ่งเป็นแม่เหล็กเมื่อวางไว้ในสนามแม่เหล็กโลก เข็มทิศจะต้องเอาขั้วเหนือชี้ไปทางทิศเหนือ เพราะขั้วใต้ของแม่เหล็กโลกอยู่ทางเหนือ และเอาขั้วใต้ชี้ไปทางใต้เสมอ เพราะขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกอยู่ทางใต้

           จุดสะเทิน (Neutral Point) ถ้ามีสนามแม่เหล็กมากกว่าหนึ่งสนามในบริเวณเดียวกัน สนามแม่เหล็กที่ตำแหน่งต่าง ๆ ในบริเวณนั้นอาจจะหักล้างกันจนเป็นศูนย์ก็ได้ เราเรียกบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กลัพธ์เป็นศูนย์ว่าจุดสะเทิน

          สิ่งที่ควรทราบ  เส้นแรงที่เห็นเป็นการรวมกับแบบเวกเตอร์ของเส้นแรงของแท่งแม่เหล็กกับเส้นแรงของสนามแม่เหล็กโลก

สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า

       1. ถ้ามีกระแสผ่านลวดตัวนำจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบตัวนำนั้น การหาทิศทางของสนามแม่เหล็กใช้กฎมือขวา (Right Hand Rule) ใช้มือขวากำรอบลวดตัวนำ หัวแม่มือทาบบนเส้นลวดพุ่งตามทิศกระแส ปลายนิ้วทั้งสี่ที่กำรอบเส้นลวดจะแสดงทิศสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น

          สิ่งที่ควรทราบ

              - สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบ ๆ เส้นลวด ณ ที่ห่างจากเส้นลวดต่างกันจะมีขนาดไม่เท่ากัน

              - ทิศของสนามแม่เหล็กที่จุดใด ๆ จะอยู่ในแนวเส้นสัมผัสเส้นแรงแม่เหล็กที่จุดนั้น ๆ เสมอ

      2. ขดลวดโซลินอยด์ (Solenoid)

           การหาทิศของสนามแม่เหล็ก

            วิธีที่ 1 มองปลายใดปลายหนึ่ง ถ้ากระแสทวนเข็มนาฬิกา สนามพุ่งออกเป็นขั้วเหนือ ถ้ากระแสตามเข็มนาฬิกาสนามพุ่งเข้าเป็นขั้วใต้

            วิธีที่ 2 ใช้กฎมือขวา คือ กำมือขวาให้นิ้วทั้งสี่วนไปตามทิศของกระแสที่ไหล นิ้วหัวแม่มือที่ชี้ออกจะแสดงทิศของขั้วเหนือที่เกิดขึ้น

           สิ่งที่ควรทราบ   สำหรับสนามแม่เหล็กตรงกลางภายในขดลวดโซลินอยด์จะถือว่ามีค่าสม่ำเสมอ

  1. ขดลวดทอรอยด์ (Toroid)

            เกิดจากลวดตัวนำที่มีฉนวนหุ้มมาขดเป็นวงกลม รูปทรงกระบอกคล้ายโซลินอยด์ แล้วมาขดต่อเป็นวงกลม เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่าน ย่อมเกิดสนามแม่เหล็กภายในเทอรอยด์โดยสนามแม่เหล็กที่ขอบด้านใน สูงกว่า สนามแม่เหล็กที่ขอบด้านนอก (ในทอรอยด์จึงมีสนามแม่เหล็กไม่สม่ำเสมอ) ใช้ในเครื่องปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน โดยกักเก็บพลาสมาที่เป็นอนุภาคไฟฟ้าที่มีความเร็วสูงที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันได้

      ตัวอย่างที่ 1 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสนามแม่เหล็ก

  1. ภายนอกแท่งแม่เหล็กสนามแม่เหล็กมีทิศพุ่งจากขั้วเหนือเข้าสู่ขั้วใต้

  2. สนามแม่เหล็กมีความเข้มสม่ำเสมอในทุก ๆ จุด

  3. เมื่อนำเข็มทิศไปวางไว้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กเข็มทิศจะชี้ทิศเหนือ

     คำตอบที่ถูกต้องคือข้อใด

  1. ข้อ A เท่านั้น   

  2. ข้อ A, B       

  3. ข้อ B, C 4.

  4. ข้อ A, C

      เฉลย คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ 1

แหล่งที่มา

ช่วง  ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 5  ม.6. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

พงษ์ศักดิ์  ชินนาบุญ. (2556). ฟิสิกส์ เล่ม 4 ม. 4-6. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุภารัตน์   โรจนโพธิ์. (มปป). สนามแม่เหล็ก. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม  2562, จาก http://nongin2540.blogspot.com/p/blog-page_23.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

แม่เหล็ก, สนามแม่เหล็ก

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันจันทร์, 09 ธันวาคม 2562

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ฟิสิกส์

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม