ข้อใดใช้ภาพพจน์แบบอุปลักษณ์

.............................................................................................................................

คำชี้แจง  ๑) ข้อสอบมีทั้งหมด  ๓๐ ข้อ  คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน ใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ        

                   ๓๐ นาที 

 ๒) ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย  Í ข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 

๑. ข้อใดมีโวหารภาพพจน์เช่นเดียวกับ “หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ”

                ก. ก้อยกุ้งปรุงประทิ่นวางถึงลิ้นดิ้นแดโดย

                ข. เมื่อลมพัดใบไม้สะบัดโบกมือเรียกใคร

                ค. สุดเอยสุดสวาท  โฉมประหลาดล้ำเทพอัปสร

                ง. เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์  พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข 

๒. “สายธาราดั่งนาฬิกาแก้ว  แว่วแว่วจ๊อกจ๊อกเซาะซอกหิน” ข้อความที่ขีดเส้นใต้ใช้ภาพพจน์

       ชนิดใด

                ก. สัทพจน์                           

ข. สัญลักษณ์                        

ค. บุคลวัต                             

 ๓. ข้อใดใช้ภาพพจน์แบบอุปลักษณ์

                ก. เธอคือโคมทองของชีวิตพี่                            

                ข. เสียงรถด่วนขบวนสุดท้าย

                ค. ฝากเพลงนี้มากับสายลมผ่าน

                ง. หากมีเวลามาเยี่ยมบ้านนาบ้างเธอพี่เน้อ

 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ  ข้อ ๔-๗

                                                                ก. อุปมา                

ข. อุปลักษณ์

                                                                ค. บุคลวัต                             

ง. สัทพจน์ 

๔. “ธรรมชาติต่างสลดหมดความคะนองทุกสิ่งทุกอย่าง” เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด

๕. “บุหลันลอยเลื่อนฟ้าไม่ราคี  รัศมีส่องสว่างดั่งกลางวัน” เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด

๖. “เธอคือสายน้ำฉ่ำชื่นใจ  จากวันนี้ไปฉันไม่ทุกข์ตรม” เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด

๗. “น้ำพุพุ่งซ่าไหลมาฉาดฉาน  เห็นตระการมันไหลจอกโครมจอกโครม” เป็นโวหารภาพพจน์

       ชนิดใด

๘. นวนิยายเรื่องใดผู้แต่งตั้งชื่อเรื่องโดยใช้ภาพพจน์แบบปฏิพากย์

                ก. เขียนฝันด้วยชีวิต                           

ข. เก้าอี้ขาวในห้องแดง

                ค. เด็ดดอกฟ้า                                      

ง. หงส์สะบัดลาย 

๙. ข้อใดใช้โวหารเกินจริง

                ก. โอ้โอ๋อกพรชนกชนนีนี้จะแตกคราสักเจ็ดภาคภินทนาการ

                ข. พลางโอบอุ้มจุมพิตพักตร์พระหลานรักสองสายสมรเสมอเนตร

                ค. พระหลานหลวงประโคมดุริยะดนตรีแตรสังข์ทั้งปวงกึกก้องทั้งห้องพระโรงชัย

                ง. ก็เหตุไฉน จึ่งไอ้พวกพาลมิจฉาชาติชวนกันสรรแสร้งแกล้งสบประมาทนินทาต่อหน้า

                 พระที่นั่ง 

๑๐. ข้อใดใช้ภาพพจน์ “นามนัย”

                ก. น้องฝันว่าได้เอื้อมถึงอากาศ         ประหลาดเด็ดสุริยาลงมาล่าง

                ข. เอ็งไปป่าพาไปแต่วันทอง             ที่นั่งรองนั้นได้มาแต่ไหน

                ค. ครั้นรุ่งแจ้งแสงสางสว่างหล้า      ทองประศรีตื่นตาหาช้าไม่

                ง. เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ      เด็ดใบบอนช้อนน้ำในไร่ฝ้าย

๑๑.ข้อใดใช้ภาพพจน์เช่นเดียวกับ “ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน”

         ก. เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม                           ถึงพรหม

        ข. มองซิมองทะเล                                  เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน

        ค. วันนี้แพรสีแสดห่มแดดกล้า       ห่มทุ่งหญ้าป่าเขาอย่างเหงาหงอย

        ง. ดูน้ำวิ่งกลิ้งเชี่ยวเป็นเกลียวกลอก  กลับกระฉอกฉาดฉัดฉวัดเฉวียน 

๑๒. ข้อใดเป็นโวหารภาพพจน์ปฏิพากย์

                ก. อันของสูงแม้ปองต้องจิต              ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ

                ข. ฉันเอาฟ้าห่มให้หายหนาว           ดึกดื่นกินแสงดาวต่างข้าว

                ค. เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น       เธอตายเพื่อผู้อื่นนับหมื่นแสน

                ง. โอ้หนาวอื่นพอขืนอารมณ์ได้       แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ 

๑๓. “เป็นการใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งมาเข้าคู่กัน ทำให้

ผู้อ่านสะดุดใจ”     เป็นความหมายของภาพพจน์ชนิดใด

                ก.ปฏิพากย์                           

ข. สัญลักษณ์                        

ค.อติพจน์                             

ง. อุปลักษณ์ 

๑๔. “ภพนี้มิใช่หล้า            หงส์ทอง เดียวเอย

         กาก็เจ้าของครอง        ร่วมด้วย”

        โคลงนี้ใช้ภาพพจน์ชนิดใด

                ก. อุปลักษณ์                         

ข. สัญลักษณ์                        

ค. อติพจน์                            

ง. ปฏิพากย์ 

๑๕. ข้อใดมีการใช้สัญลักษณ์

                ก. ทะเลไม่เคยหลับใหล                     ใครบอกได้ไหมไฉนจึงตื่น

                ข. เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา                    เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง

                ค. เมฆหมอกที่ผ่านมาในชีวิต           ฉันพิชิตมันได้ด้วยใจหาญ

                ง. อยากจะบอกว่ารักสักเท่าฟ้า          หมดภาษาจะพิสูจน์พูดรักได้ 

๑๖. “เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า          เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลงวันใหม่

        เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย       เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน” 

       คำประพันธ์ที่ขีดเส้นใต้ เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด

                ก. นามนัย                             

ข.อุปมา                                 

ค. บุคลวัต                             

ง. สัทพจน์ 

๑๗. “วังเอ๋ยวังเวง                                หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน

         ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล           ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน”

         คำประพันธ์นี้มีการใช้โวหารภาพพจน์ชนิดใด

                ก. นามนัย                             

ข. บุคลวัต                             

ค. อุปมา                

ง. สัทพจน์ 

๑๘. ข้อใดไม่แสดงภาพพจน์แบปฏิพากย์

                ก. ตัวเจ้าจะสำราญระริกรื่น               ข้านี้นับวันคืนละห้อยไห้

                ข. เจ้ามาได้ผัวดีมีทรัพย์มาก                มาลืมเรือนเพื่อนยากแต่เก่าก่อน

                ค. เพราะถิ่นนี้มีฟ้ากว้างกว่ากว้าง         มีความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว

                ง. บ้างเป็นเงินเกลี้ยงเกลาขาวสะอาด   บ้างเป็นชาติทองแท้แลอร่าม

๑๙. ข้อใดเป็นการใช้โวหารภาพพจน์แบบกล่าวเกินจริง

                ก. ฉันแว่วเสียงเธอเพ้อครวญริมทะเลแห่งนี้

                ข. ถ้าวันนี้ยังมีเขาอยู่ เราคงยืนสู้ดูโลกอย่างทระนง

                ค. ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน

                ง. เพราะเธอเหมือนหลักไม้ตั้งตรงนั่น ไม้เลื้อยอย่างฉันได้พันอาศัย

๒๐. “พอแดดพริ้มยิ้มพรายกับชายฟ้า โลกก็จ้าแจ่มหวังด้วยรังสี” ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์  เช่นเดียวกับคำประพันธ์นี้