หลักธรรมพระพุทธศาสนากับสันติภาพ

สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง หมายถึง มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ดังนี้

  1. เมตตากายกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตา นั่นคือ การอยู่ด้วยกันด้วยการกระทำดีต่อกัน ไม่เบียดเบียนทำ

ร้ายกัน ไม่ก่อสงคราม แต่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกัน เพื่อความผาสุขของมวลมนุษย์ เป็นต้น

  1. เมตตาวจีกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา คือใช้หลักการทูต โดยการเจรจาให้เข้าใจกัน ไม่กล่าวร้ายเสียดสีกัน เป็นต้น
  1. เมตตามโนธรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา คือการไม่คิดทำร้ายซึ่งกันและกัน มีความซื่อสัตย์เคารพในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีจิตเมตตาต่อกัน เป็นต้น
  1. แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมแก่เพื่อนมนุษย์ ได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคเครื่องมือการเกษตร ตลอดจนวิทยาการความรู้ต่างๆให้แก่เพื่อนมนุษย์รวมตลอดถึงการรู้จักใช้ ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ไม่ทำลายระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบมวลมนุษย์ เป็นต้น
  1. รักษาความประพฤติ(ศีล) เสมอกัน ได้แก่ การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับมติสากลหรือหลักการขององค์การสหประชาชาติหรือ องค์การระหว่างประเทศไม่ฝ่าฝืนมติหรือหลักการนั้นอันจะก่อให้เกิดความหวาด ระแวง ไม่ไว้เนื้อเนื้อเชื่อใจกัน
  1. มีความเห็นร่วมกัน ไม่วิวาทเพราะมีความเห็นผิดกัน ได้แก่ การอยู่ร่วมกันจะต้องยอมรับในกฎกติกาทางสังคมที่กำหนดไว้ ไม่กระทำตนเสมือนว่าเป็นการฝ่าฝืนมติของสังคมโลก ไม่เอารัดเอาเปรียบกันหรือข่มเหงกีดกันผู้อื่น มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและสังคมที่ตนอาศัยอยู่ด้วย

หลักสังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4 แปลว่า เครื่องยึดเหนี่ยว มี ความหมายว่า คุณธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้ คือ เป็นเครื่องก่อให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวสนิทสนมยิ่ง ๆ ขึ้นและผูกพันให้มั่นคงตลอดไป ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1.ทาน แปลว่า การให้ หมาย ถึง การแบ่งให้ เฉลี่ยให้ ปันให้ เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรี ผูกสามัคคีกันไว้ เช่น เมื่อเพื่อนมนุษย์ถูกภัยพิบัติ เราก็ควรส่งอาหาร สิ่งของ ยารักษาโรคไปให้ตามกำลังความสามารถของเราหรือเพื่อนมนุษย์เป็นปกติสุขเราก็ แบ่งปันให้ความรู้วิทยาการ เงินทุนเครื่องมือทำการเกษตร เป็นต้น

  1. ปิยวาจา แปลว่า เจรจาอ่อนหวาน หมายถึง พูดคำที่สุภาพ อ่อนโยนและเป็นคำที่มีประโยชน์ที่ผู้ฟังได้ฟังแล้วชื่นใจ สบายใจเห็นประโยชน์ในคำพูดนั้น
  1. อัตถจริยา แปลว่า ประพฤติประโยชน์ หมายความว่า การบำเพ็ญตนให้เป็นคนมีประโยชน์ต่อผู้อื่น ได้แก่ การไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนมนุษย์ และไม่นิ่งดูดายเมื่อผู้อื่นขอความช่วยเหลือ การสนับสนุนในสิ่งที่เห็นว่าถูกต้องดีงาม เป็นประโยชน์ต่อประชาคมโลกโดยรวมและการชักนำโน้มนำประเทศที่มีนโยบายที่ผิด พลาดที่มุ่งแสวงหาอำนาจผลประโยชน์หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขของโลก ให้หันมามีนโยบายหรือทิศทางที่ถูกต้องชอบธรรม เพื่อความสงบสุขของมนุษยชาติได้
  1. สมานัตตา แปลว่า ความเป็นคนมีตนสม่ำเสมอ หมายความว่า ไม่ถือตัว คือไม่หยิ่งจองหองในเมื่อได้ดีมีฐานะ ซึ่งได้แก่ การให้ความนับถือเพื่อนมนุษย์ ผู้มีฐานะศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับตน ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลที่ด้อยกว่าตน เป็นต้น

หลักพรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร หมายถึง หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ หรือธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักในใจและควบคุมความประพฤติ จึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมวลมนุษยชาติ และสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยชอบธรรม มี 4 ประการคือ

  1. เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอย่างให้เพื่อนมนุษย์มีความสุข มิจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษยชาติและสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยทั่ว หน้า
  1. กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
  1. มุทิตา คือความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตใจผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงอยู่ปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป
  1. อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง มีจิตใจเที่ยงตรง ไม่เอนเอียง ไม่เกิดอคติต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย

ในขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองบ้านเมือง จะต้องมีคุณสมบัติ และข้อปฏิบัติ เพื่อให้บุคคลในรัฐอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ ผู้ปกครองรัฐจะต้องมีหลักปฏิบัติ โดยประกอบด้วยธรรมต่อไปนี้

หลักทศพิธราชธรรม

ทศพิธราชธรรม คือ มีคุณธรรมของผู้ปกครอง หรือ ราชธรรม

(ธรรมของพระราชา 10 ประการ ดังนี้

  1. ทาน หมายถึง การให้ และแบ่งปันให้มวลประชา คือ บำเพ็ญตนเป็นผู้ให้ โดยมุ่งปกครองหรือทำงานเพื่อให้กับมวลประชา เอาใจใส่ จัดสรรสวัสดิการ การให้การสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ให้ประชาราษฎร์ได้รับประโยชน์สุข ความสะดวกปลอดภัย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนประสบทุกข์ และให้ความสนับสนุนแก่คนทำความดี
  1. ศีล หมายถึง รักษาความสุจริต คือ ประพฤติดีงาม สำรวมกายและวจี ประกอบการอย่างสุจริต ประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง และเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์
  1. ปริจจาคะ หมายถึง บำเพ็ญกิจด้วยเสียสละ คือ สามารถเสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนเสียสละชีวิตของตนได้ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความสงบเรียนร้อยของบ้านเมือง
  1. อาชวะ หมายถึง ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง คือ ซื่อตรง ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน
  1. มัททวะ หมายถึง ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงคน คือ มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่งหยาบคายกระด้างถือองค์ มีความงามสง่าเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ควรได้ความรักภักดี
  1. ตปะ หมายถึง พ้นจากการมัวเมาโดยเผากิเลส คือ ตัดกิเลสตัญหา มิให้เข้ามาครอบงำจิตใจ ระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่หลงไหลหมกมุ่นในความสุขสำราญและมั่นแต่จะบำเพ็ยเพียรทำกิจในหน้าที่ให้ บริบูรณ์
  1. อักโกธะ หมายถึง ไม่โกรธ คือ ไม่เกรี้ยวกราด ไม่วินิจฉัยความ และกระทำการด้วยอำนาจความโกรธ มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันสุขุมราบเรียบตามธรรม
  1. อวิหิงสา หมายถึง ไม่เบียดเบียน คือ ไม่หลงอำนาจ ไม่บีบคั้นกดขี่ มีความกรุณา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใดด้วยอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง
  1. ขันติ หมายถึง ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ อดทนต่อความเหนื่อยยาก อดทนต่อการบำเพ็ญกรณียกิจโดยชอบธรรม
  1. อวิโรธนะ หมายถึง ความไม่คลาดธรรม คือ การประพฤติอยู่ในธรรมอันถือประโยชน์สุขความดีงามของรัฐและราษฎร์เป็นที่ตั้ง สิ่งใดที่ประชาราษฎร์ปรารถนาโดยชอบธรรมก็ไม่ขัดขืน การใดที่จะเป็นไปโดยชอบธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาราษฎร์ ก็ไม่ขัดขวาง วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรม คงที่ ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว เพราะถ้อยคำดีร้าย ลาภสักการะหรืออารมณ์ที่ปรารถนาและไม่ปรารถนาใด ๆ มีความเที่ยงธรรม และมีนิติธรรม คือ มีระเบียบแบบแผน มีหลักในการปกครอง ตลอดจนประพฤติตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม

ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม 10 ประการนี้ ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นหัวใจในการปกครอง องค์พระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมือง ได้ทรงเคารพและยึดเป็นแนวทางในการบริหารประเทศตลอดมา บุคคลใดก็ตาม หากประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม 10 ประการนี้ ย่อมได้รับการยกย่องเทิดทูนว่าเป็นผู้ปกครองโดยธรรม และจะเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนและประชาชนจะถวายความจงรักภักดีเป็น อย่างยิ่งและส่งผลให้สังคมนั้นสงบสุขในที่สุด

หลักจักรวรรดิวัตร

จักรวรรดิวัตร หมายถึง วัตรปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรด์ พระจริยวัตรที่พระเจ้าจักรพรรดิพึงทรงบำเพ็ญสม่ำเสมอ ธรรมเนียมการทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจของพระเจ้าจักรพรรด์ หรือหน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่

  1. ธรรมาธิปไตย หมาย ถึง การยึดหลักธรรมเป็นใหญ่ในการปกครอง พระราชาจะต้องจัดการบำรุงรักษาป้องกัน และคุ้มครองอันชอบธรรมและเป็นธรรม ต่อบุคคลภายใต้การปกครองดังนี้

1.1 บำรุงพระญาติวงศ์ ด้วยการบำรุงเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน เป็นต้น ให้อยู่โดยเรียบร้อยสงบสุขและมีความเคารพนับถือกัน