ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการ ทำความ สะอาดบ้าน


��鹻�ж��֡�һշ�� 6 ��������С�����¹����çҹ�Ҫվ���෤�����
�Ԫҡ�çҹ�Ҫվ���෤����� �����Ԫ� � 16201 (�ش��� 1 �ӹǹ 10 ��� ��ṹ��� 10 ��ṹ)
�� ����Ҥ���� ��ҧ�˭� �ç���¹��ɴ�പ
�Ӫ��ᨧ �����͡�ӵͺ���١��ͧ����ش��§ 1 ���
��ͷ�� 1)
��͹���ѡ���¹�зӧҹ��ҹ ��÷��������ѹ�Ѻ�á
   �ҧἹ��÷ӧҹ
   ��Ǩ�٤������º����
   �������ҧ����������
   ���������ͧ�������ػ�ó�

��ͷ�� 2)
��÷Ӥ������Ҵ��鹺�ҹ�ء�������е�ͧ���������ѹ�Ѻ�á
   ���ç���ʵԡ�Ѵ����dz���
   ���Ҫغ�����Ҵ� �پ��
   �ҹ���ѹ�Ѵ���
   ��Ҵ���

��ͷ�� 3)
��ҹѡ���¹����� ����觢ͧ㹺�ҹ���ش �ѡ���¹��÷����ҧ��
   ��价��
   ���ҫ�����
   �����������
   �ҧ���������

��ͷ�� 4)
�����˵�㴨֧��ͧ����ا����ҧ����ͧ����ҧ��зӤ������Ҵ��ͧ���
   ���ͻ�ͧ�ѹ�������ҧ��ͧ��Ӷ١���˹ѧ
   ����������������ⴹ�����ä
   ���������������������¡
   ���ͻ�ͧ�ѹ������ˡ���

��ͷ�� 5)
����ͧ���͹���Өҡ������˹ѧ ����ͧ������㹡�÷Ӥ������Ҵ
   ��Ң������
   ����ѹ�ѡ�
   ����ҢѴ��
   ����Ҵ����

��ͷ�� 6)
�����˵�㴨֧��èѴ��ͧ�͹������ҡ�ȶ�������дǡ
   ������ʶҹ������Ӥѭ����ش㹺�ҹ
   ������ҧ��µ�ͧ����͡��ਹ�ҡ
   ��������������֡�ִ�Ѵ����Ҿѡ��͹
   ���ͪ������͹�������Ң��

��ͷ�� 7)
�ѡ���¹���Ըա�ô����ѡ�Ҩͺ���ҧ��
   ��ҧ������Ҵ������������
   �������Ҵ������ 1-2 �ѹ
   ���Ҫغ����ҢѴ����
   ���Ҫغ�����

��ͷ�� 8)
����ͧ��俿�Ҫ�Դ㴵�ͧ���º���꡵�ʹ����
   �÷�ȹ�
   �Ѵ��
   ������
   ���մ

��ͷ�� 9)
�ô����ѡ������ͧ��俿�� ���١��ͧ
   �������͡������ͺ������ѭ�ѡɳ�����Ѵ����� 5
   ����ҧ�÷�ȹ���ҧ�ҡ��ѧ 20 ૹ������
   ���Դ�÷�ȹ���д֧�����͡����ʹ���¡�è�
   ���Դ�����繷����� ��������Դ�������᷹���������ͧ��Ѻ�ҡ��

��ͷ�� 10)
�����������ҷ㹡�÷ӧҹ
   ��¡���Ǫ����͹㹡����
   ���º�ӧҹ���¤�������
   ���ѧ�����Դ��繢ͧ���͹㹡����
   ���·ӧҹ������������¡Ѻ���͹㹡�������


5 ส. / 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • 5 ส. เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศ โรงงาน หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งห้องนอนของตัวเอง
  • 5 ส. ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำความสะอาด แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือการเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเมื่อสถานที่เป็นระเบียบเรียบร้อย ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงานเช่นกัน
  • จะว่าไปแล้ว 5 ส. หรือ 5S เป็นหลักการคุ้นเคยที่ทุกองค์กรนำมาประยุกต์ใช้เป็นเรื่องปกติ สังเกตง่าย ๆ ว่าองค์กรไหนมีวัน Big Cleaning Day ก็เท่ากับเริ่มต้นใช้งานเครื่องมือนี้กันบ้างแล้ว

    ทว่าสิ่งหนึ่งที่ทุกคนเข้าใจผิดก็คือ 5 ส. ไม่ได้มีประโยชน์แค่การทำความสะอาดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการสร้างพื้นฐานที่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป

    ฉะนั้นก่อนฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources : HR) จะจัดอบรบกิจกรรม 5 ส. กับพนักงาน เราจำเป็นต้องเข้าใจถึงหลักการและประโยชน์ที่แท้จริงเสียก่อน

     

    Contents

    • 5 ส. คืออะไร
    • จุดเริ่มต้น 5 ส. ที่หลากหลาย
    • ทำไมต้องทำ 5 ส.
    • การทำ 5 ส. / 5S มีอะไรบ้าง
      • ส – สะสาง (Seiri หรือ Sort)
      • ส – สะดวก (Seiton หรือ Set in Order) 
      • ส – สะอาด (Seiso หรือ Shine) 
      • ส – สุขลักษณะ (Seiketsu หรือ Standardize)
      • ส – สร้างนิสัย (Shitsuke หรือ Sustain)
    • ตัวอย่างการใช้ 5 ส. / 5S ในที่ทำงาน 
    • 5 ส. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
    • บทสรุป

    5 ส. คืออะไร

    ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการ ทำความ สะอาดบ้าน

    5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้นทุน (Cost) และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) 

    โดยมากนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม ก่อนขยับขยายมาใช้ในทุกประเภทธุรกิจ เพราะเป็นแนวทางที่เป็นระบบ เหมาะสำหรับการนำมาเพื่อปรับปรุงแก้ไขการทำงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน 

    มีคนเคยเปรียบเทียบว่า 5 ส.​ เปรียบเสมือนรากต้นไม้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดการพัฒนาองค์กรตามหลักการอื่น เช่น LEAN, ISO, TPM, QCC, Six Sigma, PDCA หรือ Kaizen ฯลฯ 5 ส. จึงเป็นพื้นฐานของหลักการพัฒนาองค์กรทุกระบบก็ว่าได้ 

    ฉะนั้นถ้าเรามีรากฐานที่แข็งแรง องค์กรก็จะเติบโตอย่างมั่นคงต่อไป 

    จุดเริ่มต้น 5 ส. ที่หลากหลาย

    ถึงแม้จุดเริ่มต้นของ 5 ส. จะไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ก็มีเรื่องเล่ามากมายที่กล่าวถึงต้นกำเนิดของหลักการนี้ 

    ไล่ตั้งแต่ย้อนกลับไปไกลถึงศตวรรษที่ 16 โดยช่างต่อเรือชาวเวนิส เขาพยายามปรับปรุงกระบวนการต่อเรือให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ใช้เวลาเป็นวันหรือสัปดาห์ ก็ปรับปรุงให้เสร็จภายในไม่กี่ชั่วโมง

    บางตำราก็บอกว่าเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาจาก “กิจกรรมทำความสะอาดบ้าน” ในสถานที่ทำงาน เพราะมองว่าออฟฟิศก็เปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่ง

    แต่สิ่งที่ทำให้ 5 ส. เป็นที่รู้จักในวงกว้างก็คือ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประเทศญี่ปุ่น นำทีมโดยบริษัทรถยนต์โตโยต้าที่ประยุกต์แนวคิดของตะวันตกมาสร้างระเบียบหลักการจนกลายเป็นรูปแบบ 5 ส. ตามปัจจุบัน

    ขณะที่ประเทศไทย เริ่มต้นใช้ 3 ส. ก่อนในปี 2522 โดยบริษัท เอ็นเอชเค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด แล้วค่อยประกาศใช้ 5 ส. ครบถ้วนในปี 2524 ก่อนที่บริษัทจะนิยมปฏิบัติตามกันมาจนถึงปัจจุบัน

    ทำไมต้องทำ 5 ส.

    เพื่อน ๆ เคยหาเอกสารไม่เจอไหม? รู้สึกว่าตัวเองทำงานซ้ำซ้อน? ออฟฟิศวุ่นวายไม่สามัคคี? หรือสภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยขยะ? ฯลฯ

    ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าเราดำเนินการตามหลัก 5 ส. อย่างเคร่งครัด เพราะ 5 ส. เป็นเครื่องมือที่สร้างความระเบียบเรียบร้อยในองค์กร ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ใคร ๆ ก็สามารถปฏิบัติตามได้

    ปัจจัยสำคัญก็คือ การเริ่มต้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในองค์กร ทั้งพนักงานทั่วไป แม่บ้าน ไปจนถึงผู้บริหารสูงสุด แต่ที่สำคัญมากกว่านั้น ทุกคนจะต้องปฏิบัติจนกลายเป็นเรื่องปกติ เป็นกิจวัตรประจำวัน หรือเป็นวัฒนธรรมองค์กรนั่นเอง

    หากทุกคนพร้อมใจปฏิบัติตาม ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหรือการบังคับ 5 ส.​ ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด และก่อให้เกิดความสามัคคีในองค์กรอีกทางหนึ่งด้วย

    ประโยชน์ และความสำคัญของการใช้ 5 ส.

    • เพิ่มพื้นที่การทำงาน ลดพื้นที่จัดเก็บ
    • เพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานจากสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร
    • เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำงาน
    • ลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงในการทำงาน
    • ลดความสิ้นเปลืองในการจัดซื้ออุปกรณ์เกินความจำเป็น
    • ลดการสูญหายของอุปกรณ์และเอกสารต่าง ๆ
    • สร้างความสามัคคีแก่พนักงานในการทำงานเป็นทีม
    • สร้างความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าขององค์กรกับพนักงาน
    • สร้างความประทับใจให้แก่คนอื่นที่เข้ามาในพื้นที่

    การทำ 5 ส. / 5S มีอะไรบ้าง

    ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการ ทำความ สะอาดบ้าน

    องค์ประกอบ 5 ส. มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป จึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจแต่ละตัวอย่างลึกซึ้งเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้

    ส – สะสาง (Seiri หรือ Sort)

    เริ่มต้นแยกสิ่งที่ต้องการจัดระเบียบให้ชัดเจนระหว่าง “สิ่งจำเป็น” และ “สิ่งไม่จำเป็น” หรือแยกสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่เป็นหมวดหมู่ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหรือไม่ นับเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจเป็นอย่างมาก เพราะเราต้องกล้าตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าอะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ หรือสปาร์คจอยจริง ๆ ฉะนั้นความรู้สึกเสียดายจึงเป็นอุปสรรคใหญ่ของขั้นตอนนี้

    ส – สะดวก (Seiton หรือ Set in Order) 

    คือการนำสิ่งที่สะสางมาจัดวางอย่างเป็นระเบียบ โดยคำนึงถึงกระบวนการใช้งานและความปลอดภัย พูดง่าย ๆ ก็คือการนำมาวางในพื้นที่ที่หยิบใช้งานง่าย อาจทำป้ายระบุว่าคืออะไร อยู่หมวดหมู่ไหน หรือเก็บไว้ตรงไหน

    ส. 2 จึงเป็นขั้นตอนที่ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ อีกต่อไป

    ส – สะอาด (Seiso หรือ Shine) 

    คือการทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถูตามที่เราเข้าใจนั่นแหละ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้น่ารื่นรมย์และน่าทำงาน สิ่งนี้มีผลอย่างมากต่อจิตใจพนักงานในรู้สึกดี 

    ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นการทำความสะอาดเครื่องจักรโรงงาน ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานให้นานกว่าเดิม

    ส – สุขลักษณะ (Seiketsu หรือ Standardize)

    สุขลักษณะเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ 3 ส. แรก เราจึงควรปรึกษาหารือว่าอะไรคือมาตรฐานสุขลักษณะที่พนักงานต้องการ เพื่อที่ว่าทุกคนจะได้ปฏิบัติรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามมาตรฐานนั้น ๆ 

    และเมื่อองค์กรมีสุขลักษณะที่ดีเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของพนักงานก็จะดีตามไปด้วย

    ส – สร้างนิสัย (Shitsuke หรือ Sustain)

    ส.​ ตัวสุดท้ายมุ่งไปที่การสร้างระเบียบวินัย หรือสร้างให้เกิดนิสัยขึ้นมาจริง ๆ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากและยากที่สุด เพราะคำว่า “นิสัย” ไม่ได้ขึ้นเกิดแค่การทำเพียงครั้งเดียว แต่เกิดจากการหมั่นปฏิบัติซ้ำ ๆ เป็นประจำจนกลายเป็นเรื่องปกติ

    สรุปการทำ 5 ส. จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน พัฒนาคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น 

    Do You Know?

    รู้ไหมว่าปัจจุบันมีการเพิ่มเป็น 6 ส. หรือ 6S คือ ส – เสริมสร้างความปลอดภัย (Safety) มุ่งเน้นไปที่การระบุถึงความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เพื่อควบคุมให้พนักงานทำงานได้อย่างปลอดภัย 

    ตัวอย่างการใช้ 5 ส. / 5S ในที่ทำงาน 

    5 ส. เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสถานที่ทำงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศ โรงงาน หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งห้องนอนของเราเอง 

    และนี่เป็นภาพตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการจัดระเบียบห้องทำงานของช่าง

     

    ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการ ทำความ สะอาดบ้าน
     

    จากภาพจะเห็นว่า ห้องทำงานเดิมเต็มไปด้วยขยะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ปะปนกันไปหมด ซึ่ง 5 ส. เข้ามาจัดระเบียบดังนี้

    • ส – สะสาง : แยกอุปกรณ์และชั้นวางที่ไม่จำเป็นออกไป เหลือไว้แต่สิ่งที่ใช้งานจริง ๆ เท่านั้น
    • ส – สะดวก : จัดหมวดหมู่อุปกรณ์โดยแยกประเภทตามชั้นวาง สีกล่อง ฉลาก และตีเส้นพื้นที่สำหรับทำงาน
    • ส – สะอาด : ทำความสะอาดพื้น โต๊ะ ชั้นวาง อุปกรณ์ และทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็น
    • ส – สุขลักษณะ : สภาพแวดล้อมหลังทำความสะอาดดูปลอดโปร่ง เป็นมาตรฐานสุขลักษณะที่ดี
    • ส – สร้างนิสัย : หมั่นรักษาความสะอาดในสภาพแวดล้อมนี้เป็นประจำ

    เมื่อสถานที่ทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อยแบบนี้ ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงาน ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาอุปกรณ์ที่ต้องการ เวลาเกิดปัญหาก็สามารถจัดการได้ทันที และเมื่อเกิดการปฏิบัติซ้ำ ๆ เป็นประจำ ก็จะส่งเสริมการสร้างนิสัยการมีวินัยต่อไป 

    5 ส. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

    อย่างที่ย้ำในบทความนี้บ่อย ๆ ว่า 5 ส. ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำความสะอาด แต่เป้าหมายที่แท้จริงของมันคือการเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในที่นี้เราจะกล่าวถึงปัจจัยที่จะช่วยให้การประยุกต์ใช้ 5 ส. เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่

    • ความรับผิดชอบ – ทุกคนต้องเชื่อมั่นและทำตามหลักการนี้อย่างใจจริง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวหรือทำไปเพราะคนอื่นสั่งให้ทำ ยิ่งถ้าหากร่วมมือร่วมใจกันทุกคนแล้วล่ะก็ การสร้างวินัยก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
    • การแข่งขัน – เป็นการเพิ่มความท้าทายและความตื่นเต้นแก่พนักงาน หลาย ๆ องค์กรจึงมักมีการประกวดกิจกรรม 5 ส. เป็นประจำทุกปี
    • การปรับปรุง – ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นถ้าเราปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราแนะนำว่าอาจใช้หลักการวงจร PDCA (Plan – Do – Check – Action) มาร่วมด้วยก็ได้ เพราะจะทำให้องค์เติบโตได้อย่างมั่นคงต่อไป

    ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการ ทำความ สะอาดบ้าน
    PDCA : ความหมาย ประโยชน์ และตัวอย่างใช้ 4 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง

    บทสรุป

    “A place for everything , and everything in its place”

    “มีพื้นที่สำหรับทุกสิ่ง และมีทุกสิ่งภายในพื้นที่”

    คือสรุปหลักการของ 5 ส. / 5 S ที่ชัดเจนมากในฐานะเครื่องมือที่ใช้พื้นที่ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    ยิ่งในปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจรุนแรงมากขึ้น สิ่งที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้ก็คือการใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ หลักการ 5 ส. จึงเป็นก้าวแรกที่จะวางรากฐานให้องค์กรของคุณมีระบบระเบียบที่ชัดเจน