พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ที่ใด

���ҹء���ط���ʹ� ��Ѻ�������Ѿ�� ��о����س��ó� (�.�. ��ص��) ��и����Ԯ� (����ط�� ��ص��)������������ä��Ҥ���� � �Ѻ�ѹ���ԹԾ�ҹ �
����������������������š�ä��� : ��辺�����͢�ͤ�������ͧ���. ���������������������(�ô��Ǩ�ͺ����С�)
��������鹤� ���͢�ͤ��� : [v_seek.php]��������ͤ���������������ǹ�������´���
������������������������ͤ��Ҩҡ���ҹء���ط���ʵ�� ��Ѻ�����Ÿ��� ��о����س��ó� (�.�. ��ص��)
��и����Ԯ� (����ط�� ��ص��)��������鹤� ���͢�ͤ��� : [d_seek.php]��������ͤ���������������ǹ�������´���

ชวนพุทธศาสนิกชนไป "เที่ยวทิพย์" ชมสังเวชนียสถาน 3 แห่ง (จากทั้งหมด 4 แห่ง) ที่เกี่ยวโยงกับ "วันวิสาขบูชา" และพุทธประวัติของ "พระพุทธเจ้า" ณ ประเทศอินเดียและเนปาล โดยเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ คือ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ และสถานที่ปรินิพพาน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รวบรวมมาให้รู้จักกัน ดังนี้

"วันวิสาขบูชา" กับ 3 เหตุการณ์สำคัญ

คำว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจากภาษาบาลี "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" เมื่อตีความหมายเป็นภาษาไทยแล้ว หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วันวิสาขบูชา มีความสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด , ตรัสรู้ คือสำเร็จ , ปรินิพพาน คือดับ เกิดขึ้นในวันที่ตรงกันทั้ง 3 คราว (แต่ต่างปีกัน) คือ

1. เจ้าชายสิทธัตถะ "ประสูติ" ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี (ปัจจุบันคือลุมพินีวัน ประเทศเนปาล)

2. เจ้าชายสิทธัตถะ "ตรัสรู้" เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี (ปัจจุบันคือพุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย)

3. พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ "ปรินิพพาน" เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันคือเมืองกุสีนคร แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

"ลุมพินีวัน" ประเทศเนปาล : สถานที่ประสูติ 

ลุมพินีวัน เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ เป็นสถานที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็น "พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า" ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นสังเวชนียสถานเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย

แต่เดิมที่นี่เป็นสวนป่าสาธารณะที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราช ได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่ มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า “เสาอโศก” ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่า “พระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้” 

ปัจจุบันลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นแหล่งมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยทั่วไปที่นี่มีสภาพเป็นชนบท มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มาก มีวัดพุทธอยู่ในบริเวณนี้หลายวัด รวมทั้ง “วัดไทยลุมพินี” ด้วย

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ที่ใด

"พุทธคยา" ประเทศอินเดีย : สถานที่ตรัสรู้ 

พุทธคยา เป็น 1 ใน 4 ของสังเวชนียสถานเช่นกัน ตั้งอยู่ที่ เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า พระศาสดาของศาสนาพุทธ นับตั้งแต่ในอดีต โพธคยาได้สถานะเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาต่อชาวฮินดูและชาวพุทธมาโดยตลอด

ชาวพุทธทั่วโลกปรารถนาไปสักการะให้ได้สักครั้งในชีวิต แต่ละปีพุทธคยามีผู้ไปเยือนมากกว่าล้านคน โดยมีศาสนสถานสำคัญสูงสุดของพุทธคยา ก็คือ "พระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์" ณ จุดที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ใต้ต้นโพธิ์ ริมแม่น้ำเนรัญชรา (ซึ่งแห้งเหือดไปนานแล้ว) ซึ่งสถานที่ดังกล่าวได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ด้วยความสำคัญและความเก่าแก่เกือบ 2,600 ปี

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ที่ใด

"กุสินารา" ประเทศอินเดีย : สถานที่ปรินิพพาน

กุสินารา หรือ กุศินคร เป็นอีกหนึ่งสังเวชนียสถานที่สำคัญในพุทธประวัติ ตั้งอยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำเมืองปาวา เป็นที่ตั้งของ "สาลวโนทยาน" หรือ "ป่าไม้สาละ" ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา ในเขตจังหวัดเทวริยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "ผุสสะ" เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์

ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือ "สถูปใหญ่" ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังมี "วิหารปรินิพพาน" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพาน อยู่ภายใน และมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ที่ใด

ดับขันธปรินิพพาน
          ในสมัยนั้นมีปริพาชกผู้หนึ่งนามว่า สุภัททะ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลชาวเมือง กุสินารา ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทูลถามข้อข้องใจในธรรม เกี่ยวกับลัทธิ ของครูทั้ง ๖ ซึ่งต่างอ้างว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้ธรรมสำเร็จอรหันต์นั้น สมคำปฏิญาณจริง หรือไม่ พระพุทธองค์เห็นว่าเวลาเหลือน้อย จึงตรัสห้ามและทรงแสดงอริยมรรค มีองค์ ๘ โปรด สุภัททปริพาชกเกิดความเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญพระธรรมเทศนา ทูลขอบรรพชาในพระพุทธศาสนา ได้บรรลุพระอรหัตผลในราตรีนั้น นับเป็นพุทธสาวก องค์สุดท้ายที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันพระชนม์ชีพของพระบรมศาสดา
ประทานปัจฉิมโอวาท
            เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดสุภัททปริพาชกแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสแก่ พระอานนท์ว่าให้ภิกษุทั้งหลายลงพรหมทัณฑ์ต่อพระฉันนะ อดีตมหาดเล็กผู้ถือว่าตน มีความสำคัญกว่าผู้ใด จึงเป็นผู้ว่ายากสอนยาก ไม่ยอมฟังคำของพระเถระอื่นๆ การลง พรหมทัณฑ์ คือ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงให้โอวาท ไม่พึงสั่งสอน ไม่พึงเจรจาคำใด ๆ ด้วยทั้งสิ้น ภายหลังพระฉันนะจึงยอมสำนึกตัวและในที่สุดได้ ปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหัตผล ต่อมาพระพุทธองค์ได้ประทานโอวาท แก่ภิกษุทั้งหลายว่า "เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ไม่ควรคิดว่าพระศาสดาของเราปรินิพพานแล้ว พระศาสดาของเราไม่มี ด้วยแท้ที่จริง ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่ตถาคตแสดง และบัญญัติไว้ จะเป็นศาสดาแทนตถาคต"
          และได้ประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ตถาคตขอเตือน เธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด" "ภิกษุทั้งหลาย สติ เมื่อเกิดขึ้นก็รู้ว่า ธรรมเหล่านี้มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ ไม่มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็กำจัดธรรมอันไม่มีประโยชน์เสีย ถือเอาธรรมที่มีประโยชน์ ละธรรมที่ไม่มีอุปการะเสียถือเอาแต่ธรรมที่มีอุปการะ ดังนี้"
ดับขันธปรินิพพาน
            เมื่อพระบรมศาสดาประทานปัจฉิมโอวาทเป็นวาระสุดท้ายแล้วก็มิได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้
                        ทรงเข้าปฐมฌาน (รูปฌานที่ ๑) ออกจากปฐมฌานแล้ว
                        ทรงเข้าทุติยฌาน (รูปฌานที่ ๒) ออกจากทุติยฌานแล้ว
                       ทรงเข้าตติยฌาน (รูปฌานที่ ๓) ออกจากตติยฌานแล้ว
                        ทรงเข้าจตุตถฌาน (รูปฌานที่ ๔) ออกจากจตุตถฌานแล้ว
                        ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนะแล้ว
                        ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนะแล้ว
                        ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนะแล้ว
                        ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว
                        ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๙ อันเป็น นิโรธสมาบัติ ที่มีอาการสงบที่สุด ถึงดับสัญญาและเวทนา คือ ไม่รู้สึกทั้งกายทั้งใจทุกประการ แม้ลมหายใจเข้าออก ก็หยุดสงบยิ่งกว่านอนหลับ จากนั้นเสด็จออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ถอยเข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือถอยตามลำดับจนถึงปฐมฌาน แล้วย้อนจาก ปฐมฌานขึ้นไปสู่ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานเป็นลำดับสุดท้าย จึงดับขันธปรินิพพาน
            หลังจากที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหว กลองทิพย์บรรเลงเสียงกึกก้องกัมปนาท ท้าวสหัมบดีพรหม ท้าวโกสีย์สักกเทวราช พระอนุรุทธเถระและพระอานนท์เถระ เป็นอาทิ ได้กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงความไม่เที่ยง แห่งสังขาร ด้วยความเคารพเลื่อมใส เหล่ามหาชนพุทธบริษัททั้งหลายที่ประชุมกันอยู่ ณ สาลวันนั้นต่างก็โศกเศร้าร้องไห้ร่ำไรรำพัน พระอนุรุทธเถระและพระอานนท์เถระ ได้แสดงธรรมกถาปลอบ เพื่อให้คลายความเศร้าโศกโทมนัส
การถวายพระเพลิงพระบรมศพ
           เหล่ามัลลกษัตริย์ทั้ง ๘ ร่วมกับพระเถระผู้ใหญ่ มีพระอนุรุทธเถระ และ พระอานนท์เถระเป็นต้น ได้ให้ตั้งพระบรมศพไว้เป็นเวลา ๗ วัน ณ อุทยานสาละ อันเป็นสถานที่ปรินิพพานเพื่อรอพระเถระที่เดินทางมาจากทิศต่างๆ ในวันที่ ๘ จึงได้จัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพขึ้น ณ มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ อันเป็นมงคลสถานสูงสุดของเมืองกุสินารา และได้ทำการถวายพระเพลิงใน วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งชาวพุทธเรียกว่าวันอัฏฐมีบูชา ในครั้งแรกเมื่อจัดให้ มีการถวายเพลิงพระบรมศพปรากฏว่าไฟไม่ติด ครั้นเมื่อพระมหากัสสปเถระ พร้อมภิกษุสงฆ์ผู้เป็นศิษย์อีก ๕๐๐องค์เดินทางจากปาวานครมาถึง ได้กราบนมัสการ พระบรมยุคลบาทแล้วได้เกิดเพลิงลุกขึ้นเองเป็นอัศจรรย์
           ครั้นพิธีถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว มัลลกษัตริย์ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ สัณฐาคารศาลา อันเป็นที่ประชุมกลางเมือง ถวายสักการะเป็นเวลา ๗ วัน มีเจ้าครองนครต่างๆ ได้ส่งทูตมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ ไว้สักการะบูชายังเมืองของตน โทณพราหมณ์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดแบ่ง ให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๘ เมือง ดังนี้
           ๑. พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
           ๒. เจ้าลิจฉวี แห่งเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี
           ๓. เจ้าศากยะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
           ๔. ถูลิกษัตริย์ แห่งเมืองอัลลกัปปะ
           ๕. โกลิยกษัตริย์ แห่งเมืองรามคาม แคว้นโกลิยะ
           ๖. มหาพราหมณ์ แห่งเมืองเวฏฐทีปกะ
           ๗. มัลลกษัตริย์ แห่งเมืองปาวา แคว้นมัลละ
           ๘. มัลลกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ สำหรับตุมพะ คือทะนานที่ใช้ตักแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์ ได้นำไปบรรจุในพระสถูปเรียกว่า ตุมพสถูป

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ที่ใด

          http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/html_1-40/SC_40.html

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ที่ใด

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สถานที่ใด

กุสินาราเป็นหนุึ่งในพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งที่นี่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา กุสินาราเป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถาน

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันปรินิพพานใต้ต้นอะไร

พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพมีขึ้นในวันที่ 8 หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 โดยพวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด 7 วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร ...

เจ้าชายสิทธัตถะปรินิพพานที่ไหน

แม้เวลาล่วงมาถึงศตวรรษที่ ๒๕ แล้ว นับตั้งแต่พระองค์ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และเสด็จดับขันธปรินิพพานที่นอกเมืองกุสินาราในประเทสอินเดีย แต่คำสั่งสอนอันประเสริฐของพระองค์หาได้ล่วงลับไปด้วยไม่ คำสั่งสอนเหล่านั้นยังคงอยู่ เป็นเครื่องนำบุคคลให้ข้ามพ้นจากความมีชีวิต ขึ้นไปสู่ซึ่งคุณค่ายิ่งกว่าชีวิต คือการพ้นจาก ...