ยุคใดมีการเริ่มใช้บันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์

บันไดเสียงเมเจอร์ อาจอยู่ในบทเพลงที่คุณชอบเล่น ท่วงทำนองที่คุณชอบร้อง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ถูกสร้างมาจากบันไดเสียงทั้งนั้น  มันอาจจะเป็นสิ่งที่คุณคุ้นเคยที่สุดก็ได้ เพราะทุกคนต้องเคยฟังเพลง ทุกคนต้องเคยร้องเพลง เพียงแต่คุณอาจจะยังไม่รู้ว่าท่วงทำนองเหล่านั้น คือ ส่วนของบันไดเสียงที่ถูกนำมาร้อยเรียงกันให้เกิดเป็นความไพเราะงดงาม

ดังนั้นทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้นในบทเรียนนี้ จะเป็นการปูพื้นฐานเรื่องบันไดเสียงเบื้องต้น เพื่อทำให้คุณเข้าใจถึงโครงสร้างของบันไดเสียงที่ใช้กันส่วนมากในทางดนตรี

3 บันไดเสียง ที่นักดนตรีควรรู้

บันไดเสียง (Scale) คือ กลุ่มของตัวโน้ตตั้งแต่ 5 – 12 ตัว ที่เรียงกันเป็นขั้นๆ เหมือนขั้นบันได ไม่ว่าจะเป็นการเรียงโน้ตจากสูงไปต่ำหรือจากต่ำไปสูง ในทำนองเพลงป๊อปที่เราได้ยินและคุ้นเคย ส่วนมากจะใช้บันไดเสียง 3 บันไดเสียงนี้ คือ

  • บันไดเสียงเมเจอร์ (Major scale)
  • บันไดเสียงไมเนอร์ (Minor scale)
  • บันไดเสียงเพนทาโทนิก (Pentatonic scale)

บันไดเสียงเมเจอร์ Major Scale

“โด เร มี ฟา โซ ลา ที โด” คุ้นๆกันหรือไม่ครับ นี่แหละครับที่เขาเรียกว่า บันไดเสียง (Scale) ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน การไล่ Scale จะต้องเริ่มจากโน้ตตัวแรกและซ้ำที่โน้ตตัวแรกอีกครั้ง ดังนี้ C D E F G A B C เพื่อให้ครบ 1 ช่วงคู่แปด (Octave)

การพิจารณาว่าบันไดเสียงใดเป็นบันไดเสียงเมเจอร์นั้นต้องดูที่โครงสร้าง ของระยะห่างของโน้ตที่เรียงกัน ดังนี้

  • โน้ตลำดับที่ 3-4 และ โน้ตลำดับที่ 7-8 จะต้องมีระยะห่างกัน ครึ่งเสียง
  • โน้ตที่ไม่ได้อยู่ในลำดับที่ 3-4 และ 7-8 จะต้องมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม (เท่ากับ 2 ครึ่งเสียง)

ตัวอย่าง: บันไดเสียง C เมเจอร์

C _ D _ E ̬ F _ G _ A _ B ̬ C

ข้อสังเกต: โน้ต E-F และ B-C มีระยะห่างกันครึ่งเสียงเสมอ

ในตัวอย่างบันไดเสียง C เมเจอร์ โน้ตในลำดับที่ 3-4 และ 7-8 มีระยะห่างครึ่งเสียง ส่วนโน้ตลำดับอื่นมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม ตามโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์

ตัวอย่าง: บันไดเสียง G เมเจอร์

G _ A _ B ̬ C _ D _ E ̬ F _ G

ในตัวอย่างนี้จะเห็นว่าโน้ตในลำดับที่ 3-4 มีระยะห่างกันครึ่งเสียงถูกต้องแล้ว แต่โน้ตในลำดับที่ 7-8 ยังมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม และโน้ตในลำดับที่ 6-7 มีระยะห่างกันครึ่งเสียง

ตามโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์โน้ตลำดับที่ 3-4 และ 7-8 ต้องมีระยะห่างกันครึ่งเสียงเท่านั้น และโน้ตในลำดับอื่นๆจะต้องมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม

วิธีทำ: การปรับโครงสร้างของบันไดเสียงให้ตรงกับโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์นั้น จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายแปลงเสียงเข้ามาช่วย ในตัวอย่างบันไดเสียง G เมเจอร์นี้ เราจะต้องใส่เครื่องหมายชาร์ป ที่โน้ตตัว F เพื่อทำให้โน้ต F เสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง จะทำให้โน้ตในลำดับที่ 6-7 มีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็มพอดี และโน้ตในลำดับที่ 7-8 มีระยะห่างกัน ครึ่งเสียง ดังนี้

G _ A _ B ̬ C _ D _ E _ F♯ ̬ G

ตัวอย่าง: บันไดเสียง F เมเจอร์

F _ G _ A _ B ̬ C _ D _ E ̬ F

โน้ตในลำดับที่ 3-4 ต้องมีระยะห่างกัน ครึ่งเสียง และโน้ตในลำดับที่ 4-5 ต้องมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม

วิธีทำ: ใส่เครื่องหมายแฟล็ต ที่โน้ตตัว B เพื่อทำให้โน้ตลำดับที่ 3-4 มีระยะห่างกันครึ่งเสียง และโน้ตในลำดับที่ 4-5 มีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม ดังนี้

F _ G _ A ̬ B♭ _ C _ D _ E ̬ F

บันไดเสียงไมเนอร์ Minor Scale

บันไดเสียงไมเนอร์ มีความคล้ายกันกับบันไดเสียงเมเจอร์ เพียงแต่บันไดเสียงไมเนอร์จะให้ความรู้สึกเศร้ากว่าบันไดเสียงเมเจอร์ แน่นอนโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์ก็ต่างจากบันไดเสียงเมเจอร์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้บันไดเสียงไมเนอร์ยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้แต่งเพลง ที่จะเลือกใช้ ซึ่งได้แก่

  • บันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัล (Natural minor scale)
  • บันไดเสียงไมเนอร์แบบฮาร์โมนิก (Harmonic minor scale)
  • บันไดเสียงไมเนอร์แบบเมโลดิก (Melodic minor scale)

ทั้ง 3 บันไดเสียงนี้ อาจจะทำให้สับสนในบทเรียนทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้นนี้ เราจึงอยากให้ศึกษาบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัล (Natural minor scale) ก่อน เมื่อคล่องแล้วจึงค่อยศึกษาบันไดเสียงไมเนอร์ประเภทอื่นต่อในระดับที่สูงขึ้น

โครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนอเชอรัล

โครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัลต่างจากโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์ กล่าวคือ บันไดเสียงเมเจอร์โน้ตในลำดับ 3-4 และ  7-8 มีระยะห่างกันครึ่งเสียง

แต่สำหรับโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัลลำดับโน้ตที่มีระยะห่างกันครึ่งเสียงจะอยู่ในลำดับที่ 2-3 และ 5-6 ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง: บันไดเสียง A ไมเนอร์แบบเนเชอรัล

A _ B ̬ C _ D _ E ̬ F _ G _  A

โน้ตในลำดับที่ 2-3 และ 5-6 มีระยะห่างกันครึ่งเสียงตรงตามโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัล ดังนั้นจึงไม่ต้องใส่เครื่องหมายแปลงเสียง

ตัวอย่าง: บันไดเสียง E ไมเนอร์แบบเนเชอรัล

E ̬ F _ G _ A _ B ̬ C _ D _  E

โน้ตในลำดับที่ 2-3 มีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม แต่ในขณะที่โน้ตในลำดับที่ 1-2 มีระยะห่างกันครึ่งเสียง ในโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัลโน้ตในลำดับที่ 2-3 และ 5-6 ต้องมีระยะห่างครึ่งเสียง

วิธีทำ: ใส่เครื่องหมายชาร์ป ที่โน้ต F เพื่อทำให้ E-F♯ มีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม และ F♯-G มีระยะห่างกันครึ่งเสียง ตรงตามโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัล ดังนี้

E _F♯ ̬ G _ A _ B ̬ C _ D _  E

บันไดเสียงเพนทาโทนิก Pentatonic scale

บันไดเสียงเพนทาโทนิก เป็นบันไดเสียงที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการเพลงป๊อปปัจจุบัน เพราะ ง่ายต่อการนำไปใช้เนื่องจาก บันไดเสียงเพนทาโทนิก ได้ตัดเอาโน้ตที่มีระยะห่างกันครึ่งเสียงออกไป ทำให้บทเพลงมีอิสระมากขึ้น บันไดเสียงเพนทาโทนิกมี 2 ประเภท คือ

  • บันไดเสียงเมเจอร์เพนทาโทนิก (Major pentatonic scale)
  • บันไดเสียงไมเนอร์เพนทาโทนิก (Minor pentatonic scale)

บันไดเสียงเมจอร์เพนทาโทนิก VS บันไดเสียงเมเจอร์

บันไดเสียง C เมเจอร์:

C _ D _ E ̬ F _ G _ A _ B ̬ C

วิธีสร้างบันไดเสียง C เมเจอร์เพนทาโทนิก โดยการตัดโน้ตที่มีระยะห่างกันครึ่งเสียงออก ดังนี้

C _ D _ E ̬ F _ G _ A _ B ̬ C

บันไดเสียง C เมเจอร์เพนทาโทนิก

C _ D _ E ̬ _ G _ A _ ̬ C

บันไดเสียง G เมเจอร์:

G _ A _ B ̬ C _ D _ E _ F♯ ̬ G

วิธีสร้างบันไดเสียง G เมเจอร์เพนทาโทนิก โดยการตัดโน้ตที่มีระยะห่างกันครึ่งเสียงออก ดังนี้

G _ A _ B ̬ C _ D _ E _ F♯ ̬ G

บันไดเสียง G เมเจอร์เพนทาโทนิก

G _ A _ B ̬ _ D _ E _ ̬ G

บันไดเสียงไมเนอร์เพนทาโทนิก VS บันไดเสียงไมเนอร์

บันไดเสียง A ไมเนอร์:

A _ B ̬ C _ D _ E ̬ F _ G _  A

วิธีสร้างบันไดเสียง A ไมเนอร์เพนทาโทนิก โดยการตัดโน้ตที่มีระยะห่างกันครึ่งเสียงออก ดังนี้

A _ B ̬ C _ D _ E ̬ F _ G _  A

บันไดเสียง A ไมเนอร์เพนทาโทนิก

A _   ̬ C _ D _ E ̬ _ G _ A

บันไดเสียง E ไมเนอร์:

E _F♯ ̬ G _ A _ B ̬ C _ D _  E

วิธีสร้างบันไดเสียง E ไมเนอร์เพนทาโทนิก โดยการตัดโน้ตที่มีระยะห่างกันครึ่งเสียงออก ดังนี้

E _F♯ ̬ G _ A _ B ̬ C _ D _  E

บันไดเสียง E ไมเนอร์เพนทาโทนิก

E _   ̬ G _ A _ B ̬ _ D _ E

ทบทวนบทเรียน บันไดเสียงเบื้องต้น

  • โน้ต E-F และ B-C มีระยะห่างกันครึ่งเสียงเสมอ
  • ในบันไดเสียงเมเจอร์ โน้ตในลำดับที่ 3-4 และ 7-8 จะต้องมีระยะห่างกันครึ่งเสียง
  • ในบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัล โน้ตในลำดับที่ 2-3 และ 5-6 จะต้องมีระยะห่างกันครึ่งเสียง
  • ในการสร้างบันไดเสียงเพนทาโทนิกจะต้องตัดโน้ตที่มีระยะห่างกันครึ่งเสียงออกไป

สิ่งที่ต้องจำ:

ในการศึกษาเรื่องบันไดเสียงนั้น สิ่งที่จะต้องจดจำให้ดีคือ จดจำโครงสร้างของบันไดเสียงแต่ละประเภทให้ได้ เพื่อสามารถนำโครงสร้างนั้นมาสร้างบันไดเสียงต่างๆ ได้เอง

สิ่งที่จำเป็นที่ต้องรู้ก่อนการเรียนบันไดเสียง คือ การอ่านโน้ตด้วยระบบตัวอักษร และ เครื่องหมายแปลงเสียง

ในบทเรียนต่อไปคุณจะได้เรียนรู้เรื่อง ขั้นคู่เสียงเบื้องต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่นักดนตรีควรศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาทักษะในการเล่นเครื่องดนตรีต่อไป

ยุคสมัยใดมีการเริ่มใช้เสียงเมเจอร์ และ ไมเนอร์

เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว ค.ศ. 1600-1750) การสอดประสาน เป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุค ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะกำรใส่เสียงประสำน (Homophony)เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ แทนการใช้โหมดต่างๆ การประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ มีกำรใช้เสียงหลัก (Tonal canter) อัตราจังหวะเป็นสิ่งส าคัญ ของบทเพลง ...

การคิดค้นบันไดเสียงเกิดขึ้นในยุคใด

Percy A scholes (อ้างถึงใน นพพร ด่านสกุล,2541:10) ได้กล่าวถึงการก่อเกิดบันไดเสียงในดนตรีตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ สรุปความว่า ในราวประมาณ 550 ปีก่อนคริสตกาล Pythagoras ได้ค้นพบวิธีคิดการใช้มาตรวัดเชิงคณิตศาสตร์กับดนตรีได้เป็นคนแ รก โดยใช้เส้นลวดเป็นอุปกรณ์การทดลอง ซึ่งทำให้เขาพบว่าเสียงที่เกิดจากการดีดเส้นลวดจะทีการ ...

นักปราชญ์ทางดนตรีแบ่งดนตรีออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง

เรียนรู้เรื่องยุคสมัยของดนตรีสากล.
ยุคกลาง ... .
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ... .
ยุคบาโรก ... .
ยุคโรโคโค ... .
ยุคคลาสสิก ... .
ยุคโรแมนติก ... .
ยุคศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน.

ดนตรีที่มุ่งถ่ายทอดอารมณ์ของผู้ประพันธ์เป็นอย่างมาก คือ ยุคสมัยใด

สมัยโรแมนติก เป็นยุคของดนตรีคลาสสิกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1810–1910) ซึ่งเน้นอารมณ์ของดนตรีมากกว่าความสมดุลของบทตอน และเน้นความเป็นตัวตนของคีตกวีมากกว่ากฎเกณฑ์ทางดนตรีที่มีมาแต่เดิม