พุทธศักราชแบบพม่าเริ่มนับเมื่อใด

พุทธศักราช ย่อว่า พ.ศ. เป็นปฏิทินสุริยจันทรคติที่ใช้ในประเทศกัมพูชา ลาว พม่า อินเดีย ศรีลังกา และไทย ตลอดจนประชากรจีนในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามสำหรับโอกาสทางศาสนาหรือราชการอื่น แม้ศักราชนี้มีที่มาร่วมกัน แต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการทดปฏิทิน ชื่อเดือนและเรียงลำดับเดือน การใช้วัฏจักร ฯลฯ ในประเทศไทย พ.ศ. เป็นระบบการนับปีที่ใช้ในปฏิทินสุริยคติไทย

ส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ
พุทธศักราชแบบพม่าเริ่มนับเมื่อใด

ประวัติ

  • เส้นเวลา
  • พระโคตมพุทธเจ้า
  • พุทธศาสนาก่อนแบ่งนิกาย
  • การสังคายนา
  • การเผยแผ่ศาสนาพุทธผ่านเส้นทางสายไหม
  • การเสื่อมถอยในอนุทวีปอินเดีย
  • ชาวพุทธยุคหลัง
  • พุทธศาสนาสมัยใหม่

  • ธรรม
  • แนวคิด

  • อริยสัจ 4
  • มรรคมีองค์แปด
    • ธรรมจักร
  • ขันธ์ 5
  • อนิจจัง
  • ทุกข์
  • อนัตตา
  • ปฏิจจสมุปบาท
  • มัชฌิมาปฏิปทา
  • สุญตา
  • ศีลธรรม
  • กรรม
  • การเกิดใหม่
  • สังสารวัฏ
  • จักรวาลวิทยา

คัมภีร์

  • พุทธพจน์
  • ตำราพุทธศาสนาช่วงต้น
  • พระไตรปิฎก
  • พระสูตรมหายาน
  • ภาษาบาลี
  • ภาษาทิเบต
  • ภาษาจีน

การปฏิบัติ

  • ไตรสรณคมน์
  • เส้นทางสู่การปลดปล่อยในศาสนาพุทธ
  • เบญจศีล
  • บารมี
  • การทำสมาธิ
  • เหตุผลทางปรัชญา
  • การบูชา
  • การทำบุญ
  • อนุสสติ 10
  • การมีสติ
  • ปัญญา
  • พรหมวิหาร 4
  • โพธิปักขิยธรรม 37
  • อรัญวาสี
  • คฤหัสถ์
  • บทสวดมนต์
  • การแสวงบุญ
  • ลัทธิมังสวิรัติ

นิพพาน

  • การตรัสรู้
  • อริยบุคคล
  • พระอรหันต์
  • พระปัจเจกพุทธเจ้า
  • พระโพธิสัตว์
  • พระพุทธเจ้า

ธรรมเนียม

  • เถรวาท
  • พระบาลี
  • มหายาน
  • หีนยาน
  • แบบจีน
  • วัชรยาน
  • แบบทิเบต
  • นวยาน
  • แบบเนวาร

ศาสนาพุทธในแต่ละประเทศ

  • ภูฏาน
  • กัมพูชา
  • จีน
  • อินเดีย
  • ญี่ปุ่น
  • เกาหลี
  • ลาว
  • มองโกเลีย
  • พม่า
  • รัสเซีย
  • ศรีลังกา
  • ไต้หวัน
  • ไทย
  • ทิเบต
  • เวียดนาม

  • โครงเรื่อง
  • พุทธศักราชแบบพม่าเริ่มนับเมื่อใด
    สถานีย่อยศาสนา

นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "พุทธกาล" และ "พุทธสมัย" ใช้กล่าวถึงช่วงเวลาที่พระโคตมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ คือ ช่วงเวลา 80 ปีก่อนพุทธศักราช แต่บางทีก็ใช้คำเหล่านี้หมายถึง ช่วงเวลาที่เชื่อว่า พุทธศาสนาจะดำรงอยู่หลังการปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ฉะนั้น จึงมีการใช้ x ปีก่อนพุทธกาล เพื่อหมายถึง x ปีก่อนพุทธศักราช เป็นต้น

เรื่องที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆไม่สำคัญ แต่เมื่อใดที่ยกขึ้นมาเป็นประเด็น มักจะเกิดการถกเถียง      กันอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่บางส่วนไปเกี่ยวข้องกับศาสนา ที่ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับคำสอนหรือความเชื่อโดยตรงก็ตาม นั่นก็คือเรื่องการนับศักราชในแต่ละปีนั่นเอง แต่ผมคิดว่าน่าจะถึงเวลาแล้วที่เราควรที่จะพิจารณาร่วมกันได้แล้ว

1.พุทธศักราช (พ.ศ.- B.E.) เป็นศักราชทางพุทธศาสนา นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา จุดเริ่มต้นของการนับศักราชแบบพุทธศักราช คือ การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งตรงกันวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ในขณะที่ทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา ประเทศไทยรับเอาพุทธศักราชมาใช้อย่างแพร่หลายในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วิธีนับพุทธศักราชมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบไทยและแบบลังกา

แบบไทย เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี นับเป็น พ.ศ. 1 โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่า เดือน 6 และวันสิ้นปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ในเอกสารราชการจนถึง พ.ศ. 2484 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงได้มีการเปลี่ยนวันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นแบบสากล

แบบลังกา เริ่มนับเร็วกว่าแบบไทย 1 ปี คือ เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็น พ.ศ. 1 ซึ่งพม่า ลาวและกัมพูชาก็ใช้แบบนี้เช่นกัน

2.คริสตศักราช (ค.ศ.- A.D.หรือ C.E.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์เกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี ดังนั้นวันคริสต์มาสในปี 2021 จึงครบรอบวันสมภพ 2021 ปี โดยมีวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชเรียกว่าสมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสตกาล ใช้อักษรย่อว่าก่อน ค.ศ. (B.C.) ซึ่งในปัจจุบันมีผู้นิยมใช้และเผยแพร่ไปทั่วโลก

3.ฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.)เป็นศักราชทางศาสนาอิสลามใช้ในประเทศที่นับถือศาสนา อิสลามเป็นศาสนาประจาชาติ ฮิจเราะห์ศักราชที่ 1 หรือ ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 เป็นปีที่มี เหตุการณ์สำคัญทางศาสนาเกิดขึ้น คือ นบีมุฮัมมัด (ศาสดาของศาสนาอิสลาม) ทำฮิจเราะห์ (การอพยพโยกย้าย) จากเมืองเมกกะฮ์ไปอยู่ที่เมืองเมดินา การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราชในปัจจุบันต้องเอา 1122 ไปบวกหรือลบ

4.มหาศักราช (ม.ศ.) หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า ศกาพทะ หรือ ศาลิวาหนกาล แปลว่า ปีของชาวศกะ (Scythian) เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเจ้าศาลิวาหนะ หรือบางตำนานเรียกว่า พระเจ้ากนิษกะแห่งศกราชวงศ์ ทรงมีชัยชนะเหนือแคว้นโดยรอบ เป็นมหาศักราชที่ 1 มีวิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่คือวันที่ 1 เมษายนของทุกปี เกิดหลังพุทธศักราช 621 ปี

5.จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ซึ่งในสมัยโบราณถือตามสุริยคติใช้วันเถลิงศกเป็นวันปีใหม่ แต่เนื่องจากเดือน 5 ไทยเราตรงกับเดือนจิตรามาสอันเป็นเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติของชมพูทวีป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติและให้เป็นวันเปลี่ยนนักษัตรด้วย แต่ยังคงเปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก

6.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยถือเอาปีที่ตั้งกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงเป็นปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 และใช้อยู่จนถึง ร.ศ. 131 เป็น ร.ศ. สุดท้าย หรือเพียง 23 ปี ก็เลิกใช้ไป

ปัจจุบันมีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น ที่ใช้ปีพุทธศักราชในทางราชการและเป็นปีในทางศาสนาควบคู่ไปด้วย โดยเปลี่ยนพุทธศักราชในวันที่ 1 มกราคม

ศรีลังกาใช้ปีคริสตศักราชเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธศักราชเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชา

พม่าใช้ปีจุลศักราชหรือเมียนมาศักราชเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธศักราชเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชา แต่ในสื่อสิ่งพิมพ์และความนิยมของประชาชน จะใช้จุลศักราชควบคู่กับคริสตศักราช

ลาวใช้ปีคริสตศักราชเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธศักราชเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์

กัมพูชาใช้ปีคริสตศักราชเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธศักราชเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์

จีนใช้ ค.ศ.ในทางราชการมาตั้งแต่แรกสถาปนาประเทศในปี ค.ศ.1949

ไต้หวันจะใช้ ค.ศ.ควบคู่กับปีสาธารณรัฐศก ซึ่งพรรคก๊กมินตั๋งรับสืบทอดมาจากระบบปีรัชศกหรือ     ปีประจำรัชกาลจักรพรรดิของจีนโบราณ

ญี่ปุ่นใช้ ค.ศ.ควบคู่กับปีรัชศกประจำรัชกาลจักรพรรดิมาตั้งแต่สมัยเมจิจนถึงปัจจุบัน

หลักเกณฑ์การเทียบศักราชต่าง ๆ

  • ม.ศ. + 621 = พ.ศ. /จ.ศ. + 1181 = พ.ศ./ ร.ศ. + 2324 = พ.ศ./ ค.ศ.+543 = พ.ศ./ ฮ.ศ. + 1122 = พ.ศ.
  • พ.ศ. – 621 = ม.ศ. /พ.ศ. – 1181 = จ.ศ./ พ.ศ. – 2324 = ร.ศ. /พ.ศ. – 543 = ค.ศ./ พ.ศ. – 1122 = ฮ.ศ.

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าค่อนข้างจะยุ่งยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยเพราะเราใช้การเรียนการสอนเป็น พ.ศ. จึงยากต่อการเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของโลกที่ส่วนใหญ่แล้วจะบันทึกเป็น ค.ศ. หากจะแปลงจาก พ.ศ.เป็น ค.ศ.จะต้องเอา 543 มาลบออกหรือบวกเพิ่มในทำนองกลับกัน

ฉะนั้น จึงได้มีการเสนอให้เปลี่ยน”คริสตศักราช”หรือ ค.ศ.ซึ่งแต่เดิมใช้ตัวย่อ A.D.(Anno Domini)หรือC.E.(Christian Era) เป็น”สากลศักราช”หรือ Common Era (ส.ก.- C.E.) และ Before Common Era (ก่อน ส.ก.- B.C.E )แทน เพื่อให้เป็นสากล และขจัดกลิ่นทางชาตินิยมหรือทางศาสนา เพราะขนาดชาตินิยม แรง ๆ อย่างญี่ปุ่น และจีนยังใช้ C.E.เลย  ส่วนไทยเราผมก็เห็นควรอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนไปใช้” สากลศักราช”หรือ Common Era (ส.ก.- C.E.) เป็นปีราชการด้วยเช่นกัน