สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ริเริ่มในห่วงโซ่อาหารเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด

สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ริเริ่มในห่วงโซ่อาหารเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ริเริ่มในห่วงโซ่อาหารเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด

โซ่อาหารในทะเลสาบสวีเดนแห่งหนึ่ง เหยี่ยวออสเปรกินปลาไพก์เหนือ (northern pike) ปลาไพก์เหนือกินเพิร์ช (perch) เพิร์ชกินบลีก (bleak) บลีกกินกุ้งน้ำจืดตามลำดับ

โซ่อาหาร[1] (อังกฤษ: food chain) เป็นลำดับเชื่อมโยงเส้นตรงและกลมในสายใยอาหารโดยเริ่มจากพืชและต่อด้วยสัตว์กินพืชจากนั้นจะเกิดการกินเป็นทอดๆ โซ่อาหารแตกต่างจากสายใยอาหาร เพราะสายใยมีเครือข่ายความสัมพันธ์การกินที่ซับซ้อน แต่โซ่อาหารมีเส้นทางการกินเป็นเส้นตรงและรูปทรงวงกลมเท่านั้น ตัววัดทั่วไปที่ใช้บอกจำนวนโครงสร้างเชิงอาหารของสายใยอาหารคือ ความยาวโซ่อาหาร ในรูปแบบง่ายที่สุด ความยาวของโซ่อาหาร คือ จำนวนเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับฐานของสายใย และความยาวโซ่เฉลี่ยของสายใยทั้งหมด คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความยาวโซ่ทั้งหมดในสายใยอาหาร[2][3][4]

โซ่อาหารปรากฏครั้งแรกในหนังสือตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1927 โดย ชาร์ลส์ เอลตัน ผู้เดียวกับที่นำเสนอแนวคิดห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหาร[5][6][7]

ดูเพิ่ม

  • อันตรกิริยาชีวภาพ

อ้างอิง

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  2. Briand, F.; Cohen, J. E. (1987). "Environmental correlates of food chain length" (PDF). Science (4829): 956–960. doi:10.1126/science.3672136. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
  3. Post, D. M.; Pace, M. L.; Hariston, N. G. "Ecosystem size determines food-chain length in lakes" (PDF). Nature. 405 (6790): 1047–1049. doi:10.1038/35016565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
  4. lafferty, K. D.; Dobson, A. P.; Kuris, A. M. (2006). "Parasites dominate food web links". Proceedings of the National Academy of Science. 103 (30): 11211–11216. doi:10.1073/pnas.0604755103. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-18. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
  5. Elton, C. S. (1927). Animal Ecology. London, UK.: Sidgwick and Jackson. ISBN 0226206394.
  6. Allesina, S.; Alonso, D.; Pascual, M. "A general model for food web structure" (PDF). Science. 320 (5876): 658–661. doi:10.1126/science.1156269. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
  7. Egerton, F. N. (2007). "Understanding food chains and food webs, 1700-1970". Bulletin of the Ecological Society of America. 88: 50–69. doi:10.1890/0012-9623(2007)88[50:UFCAFW]2.0.CO;2.

ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ (Food chain)

เมื่อสิ่งมีชีวิตหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตหนึ่งเป็นอาหารแล้ว ก็อาจถูกสัตว์อื่นๆ กินเป็นอาหารต่อไปอีก ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงาน จากธาตุอาหาร ผ่านจากชีวิตหนึ่ง ไปสู่อีกชีวิตหนึ่ง การถ่ายทอดนี้ก็คือ ระบบของห่วงโซ่อาหาร ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดพลังงาน และการหมุนเวียนธาตุอาหาร ไปตามลำดับ ขั้นตอนของการบริโภค

ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศนั้นแบ่งออกได้เป็น ๓ รูปแบบด้วยกัน คือ

๑. โซ่อาหารแบบการล่าเหยื่อ

เป็น ขั้นตอนของโซ่อาหารจากพืชต่ำสุด และจากสัตว์เล็กไปยังสัตว์ที่ใหญ่กว่า เป็นลักษณะของผู้บริโภคที่เป็นสัตว์กินเหยื่อแบบกัดกิน หรือฆ่ากิน ซึ่งผู้ล่าจะมีขนาดใหญ่กว่าเหยื่อเสมอ และหากผู้ล่าเหยื่อมีขนาดเล็กกว่า เหยื่อก็จะมีเขี้ยวเล็บแหลมคม ที่ช่วยให้มีความสามารถในการตะปบ กัด หรือออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่ม

สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ริเริ่มในห่วงโซ่อาหารเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด

๒. โซ่อาหารแบบปรสิต

เป็นโซ่อาหาร ที่เริ่มต้นจากสัตว์ใหญ่ไปหาสัตว์เล็กตามลำดับ

สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ริเริ่มในห่วงโซ่อาหารเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด

๓. โซ่อาหารแบบซากอินทรีย์

เป็นโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากซากชีวิตที่ตายแล้ว ไปยังสิ่งมีชีวิตเล็กๆ

สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ริเริ่มในห่วงโซ่อาหารเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด

แต่เนื่องจากในระบบของห่วงโซ่อาหาร ในระบบของการถ่ายทอด จะถ่ายทอดโดยตรง จากชีวิตหนึ่งไปสู่อีกชีวิตหนึ่ง เนื่องจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจกินอาหารหลายชนิด หลายระดับ และเหยื่อชนิดเดียวกัน ก็อาจถูกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดกิน จนไม่อยู่ในลำดับ และขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร ลักษณะดังกล่าว โดยที่ได้เกิดความซับซ้อนกันในระบบของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเรียกว่า สายใยของห่วงโซ่อาหาร (Food web) ซึ่งสายใยของห่วงโซ่อาหาร จะประกอบด้วย ห่วงโซ่อาหารหลายสายที่เชื่อมโยงกัน อันแสดงถึงความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิต ในชุมชนของระบบนิเวศ ซึ่งยิ่งสายใยของห่วงโซ่อาหารมีความสลับซ้บซ้อนมากเพียง ใด ก็ได้แสดงให้เห็นถึงระบบนิเวศ ที่มีระบบความสมดุลสูง อันเนื่องมาจากมีความหลากหลายของชีวิตในระบบ