กระเบื้องหลังคาแบบไหนกันความร้อนได้ดี

Skip to content

ข้อดี-ข้อเสีย หลังคากระเบื้องลอนคู่ กับ หลังคาเมทัลชีท

Home/Articles/ข้อดี-ข้อเสีย หลังคากระเบื้องลอนคู่ กับ หลังคาเมทัลชีท

ข้อดี-ข้อเสีย หลังคากระเบื้องลอนคู่ กับ หลังคาเมทัลชีท

  • View Larger Image
    กระเบื้องหลังคาแบบไหนกันความร้อนได้ดี

เมื่อพูดถึงการมุงหลังคา เรามักจะนึกถึงแผ่น หลังคากระเบื้องลอนคู่ ขึ้นมาเป็นอันดับแรก เนื่องจากเป็นแผ่นหลังคาที่ได้รับความนิยมสูง ราคาถูก และมีสีสันให้เลือกใช้งานหลากหลาย แต่ในยุคปัจจุบันมีวัสดุที่สามารถนำมาใช้มุงเป็นหลังคา เช่น หลังคาเมทัลชีท หลังคาไวนิล หลังคาโพลีคาร์บอเนต เป็นต้น ซึ่งมีข้อแตกต่างระหว่าง หลังคากระเบื้องลอนคู่กับหลังคาเมทัลชีท แบบไหนจะดีกว่ากัน? ทนทานกว่ากัน? และแบบไหนจะมีราคาถูกกว่ากัน?

วันนี้ KACHA จะพาไปวิเคราะห์ข้อแตกต่างของหลังคาทั้ง 2 ชนิดนี้กัน ตามไปดูเลย . . .

กระเบื้องหลังคาแบบไหนกันความร้อนได้ดี


# หลังคากระเบื้องลอนคู่
คือ หลังคาที่ผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์ เหมาะแก่การมุงหลังคาที่มีโครงสร้างทรงปั้นหยาหรือหน้าจั่ว รูปทรงบ้านตามต่างจังหวัดจะเน้นการมุงหลังคาเป็นกระเบื้องลอนคู่มากกว่าวัสดุชนิดอื่น ลักษณะของหลังคากระเบื้องลอนคู่ ทั่วไปจะมี 2 ลอนตาม ลอนที่มีอยู่บนผิวกระเบื้องเป็นตัวช่วยให้น้ำระบายจากหลังคาลงสู่พื้นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยท้องลอนที่ลึกและกว้าง

👉 หลังคาเหล็กเมทัลชีท (Metal Sheet) คืออะไร?

กระเบื้องหลังคาแบบไหนกันความร้อนได้ดี


# หลังคาเหล็กเมทัลชีท (Metal Sheet)
คือ หลังคาเหล็กแผ่นบาง เคลือบด้วยสารป้องกันสนิมนำมาขึ้นรูปลอน หลังคาเมทัลชีทสามารถนำมาใช้เป็นแผ่นหลังคาหรือกั้นเป็นผนังได้ ซึ่งหลังคาเมทัลชีทมีโครงเหล็กเป็นตัวยึด แต่งานกั้นผนังส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบผนังของโรงงาน ในส่วนของงานบ้านนั้นมักใช้เป็นงานหลังคา โดยรูปแบบหลังคาที่ใช้แผ่นเหล็กเมทัลชีท ที่นิยมใช้กันจะเป็นหลังคาเมทัลชีททรงเพิงหมาแหงน

นอกจากนี้หลังคาเหล็กเมทัลชีท มีรูปแบบโดดเด่นทันสมัย สวยงาม ทนทาน ติดตั้งได้ง่าย ราคาไม่แพงคุ้มค่าการลงทุน มีหลายความหนาให้เลือก เช่น 0.25, 0.28 0.33, 0.35, 0.47, 0.5 มิลิเมตร แผ่นเมทัลชีทนิยมใช้กันมากในงานโรงงาน หรือทำหลังคาโรงงานเนื่องจากว่าเป็นหลังคาที่ติดตั้งได้รวดเร็ว คงทน อายุการใช้งานยาวนานกว่าสังกะสี และแข็งแรงกว่ามาก มีหลากสีให้ลูกค้าได้เลือกใช้กัน ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไปตามความหนาของแผ่นเหล็กและสีที่ใช้อีกด้วย

👉 ความแตกต่างการมุงหลังคาด้วย หลังคากระเบื้องลอนคู่กับหลังคาเมทัลชีท

จะเห็นได้ว่าหลังคาทั้ง 2 ชนิดนั้น มีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย ดังนี้

กระเบื้องหลังคาแบบไหนกันความร้อนได้ดี


➧ ในด้านของการออกแบบและความสวยงาม
 

ถ้าเปรียบเทียบในเรื่องของการออกแบบและความสวยงามแล้ว หลังคาเมทัลชีทมีหลากหลายลอน และสามารถสั่งความยาวได้ตามความต้องการ ตัด และ ดัดโค้ง ดีไซด์ได้หลากหลาย ซึ่งจะแตกต่างจากหลังคากระเบื่องลอนคู่โดยสิ้นเชิง เนื่องจากแผ่นหลังคากระเบื้องลอนคู่ ต้องสั่งซื้อมาเป็นแผ่น ๆ ขนาดเท่า ๆ กัน และนำมาปูแบบทับซ้อนกัน ไม่สามารถดัดโค้งได้

➧ ในเรื่องของน้ำหนักและโครงสร้าง

เป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลังคาเมทัลชีทเข้ามาแทนที่หลังคากระเบื้องลอนคู่ เนื่องจากแผ่นเมทัลชีทมีน้ำหนักเบากว่าแผ่นกระเบื้องลอนคู่อยู่มาก ในเมื่อมีน้ำหนักที่เบากว่าจึงทำะทำให้ประหยัดโครงสร้างได้มากกว่า  ทำให้เจ้าของบ้านหรือเจ้าของงาน ประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย

➧ ความยากง่ายในการมุง 

การมุงหลังคาเมทัลชีทจะมีความง่ายและรวดเร็วกว่าการมุงหลังคากระเบื้องลอนคู่อยู่มาก เนื่องจากในขั้นตอนการผลิต แผ่นเมทัลชีทจะสามารถสั่งแผ่นยาวตามที่ต้องการได้เลย ทำให้ขั้นตอนของการมุงมีการทับซ้อนของแผ่นมีน้อย จึงทำให้การทำงานง่ายขึ้นนั่นเอง

กระเบื้องหลังคาแบบไหนกันความร้อนได้ดี


➧ เรื่องการรั่วซึม
 

เรื่องนี้หลังคาเมทัลชีทชนะขาด เพราะว่าหลังคาเมทัลชีทนั้นมีรอยต่อแผ่นน้อยหรือไม่มีเลย จึงทำให้โอกาสรั่วซึมน้อยมาก และในลอนหลังคาบางชนิด ยังติดตั้งด้วยระบบคลิ๊ปล็อค ซึ่งหลีกเลี่ยงการยิงสกรูจึงทำให้ไม่มีโอกาสรั่วซึมได้เลย

➧ อายุการใช้งานและความทนทาน 

อายุการใช้งานหลังคากระเบื้องลอนคู่จะมีอายุการใช้งานที่นานกว่า ในกรณีที่ไม่มีสิ่งของตกใส่หรือคนขึ้นไปเหยียบ ซึ่งอาจจะแตกได้ง่าย ในส่วนของหลังคาเมทัลชีท อายุการใช้งานจะขึ้นอยู่ กับสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าอยู่แถวบริเวณริมทะเล หลังคาเมทัลชีทจะผุกร่อนได้ง่ายกว่า บริเวณที่ไม่มีน้ำทะเล และอายุการใช้งาน ยังขึ้นอยู่กับความหนาและชนิดของชั้นเคลือบอีกด้วย

➧ การป้องกันความร้อน 

ถ้าเปรียบเทียบกัน แผ่นหลังคาเมทัลชีทกับแผ่นกระเบื้องลอนคู่ ในขณะที่ไม่ได้ติดตั้งฉนวนกันความร้อน แผ่นกระเบื้องลอนคู่จะป้องกันความร้อนได้มากกว่าแผ่นเมทัลชีท เนื่องจากแผ่นกระเบื้องลอนคู่จะเก็บความร้อนไว้ที่ตัวกระเบื้อง ส่วนแผ่นเมทัลชีทจะใช้การสะท้อนความร้อน แต่ในปัจจุบันมีฉนวนกันความร้อนหลากหลายชนิดเข้ามาช่วยป้องกันความร้อน เช่น ฉนวน PE , ฉนวน PU ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี

➧ เสียงเวลาฝนตก 

ในเวลาฝนตก หลังคาเมทัลชีทจะมีเสียงดังมากกว่าหลังคากระเบื้องลอนคู่ แต่สามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนช่วยดูดซับเสียงได้

➧ การทำสโลป

แผ่นหลังคากระเบื้องลอนคู่จะต้องทำสโลปไม่น้อยกว่า 15 องศา ถ้าทำสโลปน้อยกว่าจะทำให้เกิดปัญหาน้ำไหลย้อน ในส่วนของหลังคาเมทัลชีทสามารถทำสโลปได้ที่ 5 องศา ทำให้การออกแบบ ดีไซด์ได้หลากหลาย

กระเบื้องหลังคาแบบไหนกันความร้อนได้ดี


➧ ราคา
 

ถ้าคิดเฉพาะแผ่นหลังคาในตารางเมตรที่เท่ากัน แผ่นหลังคากระเบื้องลอนคู่จะมีราคาถูกกว่าแผ่นหลังคาเมทัลชีท แต่ถ้าคำนึงถึงโครงสร้างและ ค่าแรงติดตั้งแล้วรวม ๆ แล้วจะมีราคาพอ ๆ กัน เพราะเนื่องจากแผ่นหลังคาเมทัลชีท น้ำหนักเบาทำให้ประหยัดโครงสร้างและติดตั้งง่าย

กระเบื้องลอนคู่ จะเหมาะกับหลังคาทรงปั้นหยา ทรงจั่วมากกว่า เพราะจะดูหรูหราสวยงาม
หลังคาเมทัลชีท จะเหมาะกับทรงโมเดิร์นมากกว่า เพราะสามารถมุงหลังคาที่มีความชันน้อยแล้วไม่รั่วซึมได้

👉 มาดู ข้อดี-ข้อเสียของหลังคากระเบื้องลอนคู่  เป็นอย่างไร?

กระเบื้องลอนคู่เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่คู่บ้านคนไทยมานานกว่า 50 ปี เป็นผลิตภัณฑ์ที่เคยผลิตจากสารแอสเบสตอส (ซึ่งเป็นสารแร่ใยหิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ในระยะยาว) ต่อมาในปัจจุบัน ผลิตจากวัตถุดิบประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีความยืดหยุ่น คงทนมากขึ้น

ข้อดีข้อเสีย
► แข็งแรง คงทน อยู่คู่บ้านนานแสนนาน
► ได้มาตรฐานการผลิต
► เสียงไม่ดังรำคาญเมื่อฝนตก หรือมีลมกรรโชกแรงพัดผ่าน
► สามารถซ่อมแซมได้ง่าย เวลามีปัญหารั่วซึม เพียงแค่เปลี่ยนแผ่นนั้น ๆ หรือบริเวณนั้น ๆ
►  ต้นทุนการติดตั้งสูง เปลืองวัสดุประเภท แปเหล็ก (เพราะต้องติดที่ระยะห่าง 1 ม.)
► ในขณะที่เมทัลชีท จะเบากว่าและประหยัดค่าแปเหล็กนี้ได้
► ระยะแผ่นแคบ เปลืองวัสดุเวลาติดตั้ง


▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾

ตารางเปรียบเทียบ หลังคากระเบื้องลอนคู่กับหลังคาเมทัลชีท

หลังคากระเบื้องลอนคู่หลังคาเมทัลชีท
วัสดุ กระเบื้องคอนกรีต, กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน แผ่นเหล็กรีดลอนเคลือบสังกะสี หรืออลูซิงค์
น้ำหนัก/ แผ่น กระเบื่องลอนคู่มีน้ำหนักประมาณ 6-7 kg/แผ่น มีน้ำหนักเบา
ความรวดเร็วในการมุงหลังคา ใช้เวลามากกว่าเพราะปูทีละแผ่นซ้อนกัน รวดเร็วกว่า มุงตามความยาวของหลังคาได้
การรั่วซึมของหลังคา การรั่วซึมมีสูงกว่า ปูซ้อนกันเป็นแผ่น ๆ รอยต่อมีเยอะกว่า การรั่วซึมน้อยกว่า เพราะมีรอยต่อน้อยกว่า
การป้องกันความร้อน กันได้ดีกว่า กันได้น้อยกว่า ต้องเพิ่มฉนวนกันความร้อน
เสียงเวาลฝนตก เสียงไม่ดังมาก มีเสียงดังกว่า
อายุการใช้งาน ประมาณ 20-30 ปี ประมาณ 10-15 ปี
ราคารวมค่าแรงค่าวัสดุ  ราคา  1,200-1,400 บาท/ตรม. ราคา  1,100-1,300 บาท/ตรม.


จะเห็นได้ว่า
หลังคากระเบื้องลอนคู่ กับ หลังคาเมทัลชีท มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการออกแบบและการเลือกใช้งาน ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุหลังคา จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์หาข้อมูลความต้องการอย่างละเอียด เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบ้านของเรานั่นเอง 🥰

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

Share This Post With Others!

Title

Page load link

Go to Top