สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมคืออะไร

สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอยู่รอบตัวมนุษย์ และเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมยังเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมทั้งที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา เป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

ประเภทของสิ่งแวดล้อม

จากความหมายข้างต้น เราสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment)

1) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural environment) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวมนุษย์ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถแบ่งย่อยเป็น 2 ลักษณะ คือ

  • สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) ใช้ระยะเวลาสั้นในการเกิด และสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ ขณะเดียวกันก็สูญสิ้นไปได้หากเกิดการทำลายธรรมชาติให้เสียสมดุล ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ ทุ่งหญ้า เป็นต้น
  • สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ที่อาจมองเห็นได้หรือไม่ได้ เช่น อากาศ เสียง แร่ธาตุ เป็นต้น เป็นสิ่งแวดล้อมที่ธรรมชาติสรางขึ้น บางชนิดใช้เวลานานในการเกิดยาวนานจนไม่สามารถรอใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมได้ เช่นเชื้อเพลิง แร่ธาตุ ดิน หิน น้ำ อากาศ เป็นต้น

2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ได้ หรือมองเห็น จับต้องได้ หรือมองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตนเอง อันจะช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ลักษณะ  

  • สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical  Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นและจับต้องได้ มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกและสนองความต้องการขึ้นพื้นฐานของตนเอง ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เป็นต้น
  • สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social  Environment) มีลักษณะเป็นนามธรรม มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น ประเพณี กฎ ระเบียบข้อบังคับ กฎหมาย เป็นต้น นอกจากนี้ อาจหมายถึง ความเชื่อ ศาสนา พิธีกรรม เป็นต้น

คุณสมบัติของสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เพราะฉะนั้นการเข้าใจคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในด้านโครงสร้าง เช่น ขนาด รูปร่าง สี หรือกระบวนการสร้างขึ้น ทำให้สามารถระบุได้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นอะไร เช่น ป่าชายเลน ป่าสน ภูเขา พื้นที่เพาะปลูก เป็นต้น
  2. สิ่งแวดล้อมไม่มีความโดดเดี่ยว แต่จะมีสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อยู่ด้วยเสมอ เช่น ปลาต้องการน้ำ เพื่อการอยู่รอด สัตว์ป่าต้องการป่าไม้เพื่อเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย
  3. สิ่งแวดล้อมจะอยู่กันเป็นกลุ่ม เรียกว่าระบบนิเวศ ในระบบนิเวศมีองค์ประกอบหลายชนิด ที่มีหน้าที่เฉพาะ
  4. สิ่งแวดล้อมควบคุมกระบวนการต่าง ๆ และทำงานร่วมกัน มีความเกี่ยวโยงและสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่ เมื่อสิ่งแวดล้อมหนึ่งถูกทำลายย่อมส่งผลต่ออีกสิ่งหนึ่ง
  5. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีความทนทาน และมีความเปราะบางมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

เพราะฉะนั้นสิ่งแวดล้อมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงมีความสำคัญไม่เพียงแค่มนุษย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสิ่งต่าง ๆ บนโลกใบนี้อีกด้วย โดยผูกโยงสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่

สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

 2.2 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made environment) สิ่งแวดล้อมประเภทนี้มนุษย์อาจสร้างขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ มีทั้งสิ่งที่มองเห็นได้ จับต้องได้ และสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้หรือไม่สามารถจับต้องได้ เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตนเองหรืออาจสร้างขึ้นด้วยเหตุจำเป็นบางประการ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมีทั้งสิ่งที่ดีที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสุขสบาย ทำให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสิ่งที่ไม่ดีที่จะทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เลวลง ทำให้มนุษย์ได้รับความเดือดร้อน ต้องสูญเสียชีวิตหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย สุขภาพจิตเสื่อมโทรมลง สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้น สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ลักษณะ โดยพิจารณาจากความเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมของสิ่งนั้นๆ
2.2.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นได้ จับต้องได้ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการมีชีวิตอยู่ บางสิ่งที่มนุษย์สร้างก็เป็นไปเพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ได้แก่ ปัจจัยสี่ อันหมายถึง อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค แต่บางสิ่งก็สร้างเพื่อสนองความต้องการอันไร้ขอบเขตของตนเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างที่เกินความจำเป็น อันจะนำความเสียหายมาสู่สิ่งแวดล้อมและชีวิตมนุษย์เองได้เมื่อถึงระดับหนึ่ง สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมีทั้งสิ่งที่ดี มีคุณประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ เช่น บ้านเรือน เสื้อผ้า รถยนต์ ถนน เครื่องมือทางการแพทย์ โทรศัพท์ เป็นต้น และสิ่งที่ไม่ดี ทำให้คุณภาพชีวิตเลวลง เช่น น้ำเน่าเสีย สารพิษที่ใช้ในการเกษตร สารพิษที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
2.2.2 สิ่งแวดล้อมทางสังคม (social environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเป็นนามธรรม มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่นกฎหมาย ประเพณี ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นต้น บางสิ่งอาจสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เช่น ศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม เป็นต้น บางสิ่งอาจสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมความเจริญให้เกิดขึ้นแก่หมู่มวลมนุษย์ เช่น การศึกษา การวิจัย เป็นต้น บางสิ่งสร้างขึ้นโดยพฤติกรรม การแสดงออกทั้งในลักษณะที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่น การทะเลาะวิวาท การช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อน การติดยาหรือสารเสพย์ติด เป็นต้น

สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมคืออะไร

เขียนโดย Pannuark ที่23:45

สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมคืออะไร

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม คืออะไร

2) สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดมา จากความคิด และมีการแสดงออกมาให้รับรู้ได้โดยการกระทำหรือการประพฤติปฏิบัติ นับเป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อความเป็นระเบียบของการอยู่ ร่วมกันในสังคม ได้แก่ กฎหมาย ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ การเมือง ระบบเศรษฐกิจ ฯลฯ

ข้อใดเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม

- สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด - สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment) ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมายระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น

สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น รูปธรรม มีอะไรบ้าง

2) สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made environmental) เช่น เมือง บ้าน ถนน สะพาน โต๊ะ เก้าอี้ เรือ รถ เครื่องบิน วัด วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี

สภาพแวดล้อม มีอะไรบ้าง

สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม