อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คืออะไร

หลักการอ่านคำในภาษาไทย

            การอ่านออกเสียงคำให้ถูกต้อง ทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจความหมายขอคำและสามารถสื่อสารได้ข้าซึ่งกันและกัน  

การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการอ่านคำตามอักขรวิธีอย่างถ่องแท้ จะช่วยให้การสื่อสารบรรลุประสิทธิผลตาเจตนาของผู้ส่งสาร

        1. การอ่านคำสมาส มีวิธีการอ่าน ดังนี้

            1.1 คำหน้าพยัญชนะเขียนเรียงพยางค์ให้อ่านเรียงพยางค์ต่อกับคำหลัง เช่น พลศึกษา อ่าน พะ-ละ-สึก-สา ,อารยธรรม อ่าน

อา-ระ-ยะ-ทำ ศากยวงศ์ อ่าน สา-กะ-ยะ-วง

            1.2 พยัญชนะสุดท้ายของคำหน้าเป็นตัวสะกด ให้อ่านออกเสียง 2 ครั้ง คือ อ่านเป็นตัวสะกดและอ่านซ้ำตามสระที่ปรากฏ

เช่น รัชกาล อ่าน รัด-ชะ-กาน,กิจกรรม อ่าน กิด-จะ-กำ ศักราช อ่าน สัก-กะ-หราด

            1.3 คำหน้ามีตัวสะกดและตัวตามอ่านออกเสียงตัวสะกดซ้ำและตัวตามอ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียง เช่น สัตวแพทย์ อ่าน     

สัด-ตะ-วะ-แพด,อิสรภาพ อ่าน อิด-สะ-หระ-พาบ,ทิพยอาสน์ อ่าน ทิบ-พะ-ยะ-อาด

            1.4 พยัญชนะตัวสะกดของคำหน้าเป็นอักษรควบแท้ อ่านออกเสียงควบกล้ำ เช่น มาตราน อ่าน มาด-ตระ-ถาน,จักรวาล อ่าน จัก-กระ-วาน

            1.5 คำสมาสบางคำที่ไม่ออกเสียงแบบสมาส เช่น ชลบุรี อ่าน ชน-บุ-รี ,เพชรบุรี อ่าน เพ็ด-บุ-รี

ข้อสังเกต คำไทยบางคำไม่ใช่คำสมาส แต่นิยมอ่านออกเสียงแบบสมาส เช่น ผลไม้ อ่าน ผน-ละ-ไม้ ราชวัง อ่าน ราด-ชะ-วัง เทพเจ้า

อ่าน เทบ-พะ-เจ้า พลความ อ่าน พน-ละ-ความ พลเมือง อ่าน พน-ละ-เมือง

        2. การอ่านคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต มีวิธีการอ่านดังนี้

                  2.1 พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดตัวตาม ไม่ต้องอ่านเสียงตัวสะกดนั้น เช่น มัจฉา อ่าน มัด-ฉา ,วิตถาร อ่าน               

วิด-ถาน , อาชญา อ่าน  ปรัด-ยา,สัปตสก อ่าน สั-ตะ-สก

            2.2 คำที่ในภาษาเดิมออกเสียง อะ เรียงพยางค์ อ่านเป็น อะ เช่น กรณี อ่าน กะ-ระ-นี กรกฎาคม อ่าน กะ-ระ-กะ-ดา-คม

ธนบัตร อ่าน ทะ-นะ-บัด สมณะ อ่าน สะ-มะ-นะ

            2.3 คำที่อ่านออกเสียง ออ ตามหลักภาษาไทย เช่น ธรณี อ่าน ทะ-ระ-นี มรณา อ่าน มอ-ระ-นา บวร อ่าน บอ-วอน ,วรกาย

อ่าน วอ-ระ-กาย มรดก อ่าน มอ-ระ-ดก

            2.4 คำบางคำอ่านได้ 2 แบบคืออ่านเรียงพยางค์กับไม่เรียงพยางค์ เช่น กรณี คมนาคม ปรปักษ์ เทศนา

            2.5 คำที่ ย ล ร ว เป็นตัวสะกดหรือเป็นตัวตาม ต้องออกเสียงตัวสะกดด้วย เช่น กัลบก อ่าน กัน-ละ-บก อัยการ อ่าน          

ไอ-ยะ-กาน วัชรา อ่าน วัด-ชะ-รา วิทยา อ่าน วิด-ทะ-ยา จัตวา อ่าน จัด-ตะ-วา

            2.6 คำบางคำอ่านแบบอักษรนำหรืออักษรควบ เช่น อาขยาน อ่าน อา-ขะ-หยาน ,

        3. การอ่านอักษรนำ มีวิธีการดังนี้

            3.1 พยัญชนะตัวที่นำ เป็นอักษรกลางหรืออักษรสูงและตัวที่ถูกนำมาเป็นอักษรต่ำเดี่ยวให้อ่านตามเสียงวรรณยุกต์ของตัวนำ

หรือมีเสียงวรรณยุกต์ของตัวนำ หรือมีเสียง ห ที่พยางค์หลัง เช่น กนก อ่าน กะ-หนก ขยาย อ่าน ขะ-หยาย

            3.2 ห นำ อักษรต่ำเดี่ยวให้อ่านเสียงตัว ห กลมกลืนกัอักษรต่ำเดี่ยวและอ่านออกเสียงพยางค์เดียว เช่น หมู หมา หนู หรูหรา

ไหล ใหล ไหน หมอ เหงา หงอย

            3.3 นำอักษรต่ำเดี่ยว ย ให้อ่านกลมกลืนเสียง ย และออกเสียงพยางค์เดียวได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก

มีคำบางคำไม่อ่านตามกฎเกณฑ์ จะอ่านตามความนิยม เช่น สมาคม ขมา ไผท ผจง ขจร

        4. การอ่านอักษรควบกล้ำ

            4.1 การอ่านอักษรควบแท้ โดยการอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำกับพยัญชนะ ร ล ว พร้อมกัน เช่น กลอง ครอบ พราย

ตรวจ เปลี่ยน ผลาญ ไขว่ ครัว

            4.2 การอ่านอักษรควบกล้าไม่แท้ โดยอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำตัวหน้าเพียงเสียงเดียว คือ ทร สร ศร ออกเสียงเป็น ซ

เช่น ทราย เทริด ไทร ทรุด ทราม ทราบ ทรวง พุททรา อินทรี ทรวดทรง สร้อย เสริม สร้าง แสร้ง เศร้า ศรี จริง

        5. การอ่านคำแผลง มีวิธีการอ่านดังนี้

            5.1 คำเดิมที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียว เมื่อแผลงเป็น 2 พยางค์ ให้ออกเสียงตามคำที่แผลงใหม่ เช่น แจก แผลงเป็น จำแนก อ่าน

จำ-แนก ,อวย แผลงเป็น อำนวย อ่าน อำ-นวย , อาจ แผลงเป็น อำนาจ อ่าน อำ-นาด ,

            5.2 คำเดิมที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรควบเมื่อแผลงเป็น 2 พยางค์ ให้อ่านออกเสียงพยางค์ท้าย(เสียงวรรณยุกต์) ให้เหมือนคำ

เดิม เช่น กราบ แผลงเป็น กำราบ อ่าน กำ-หราบ ,ตรวจ แผลงเป็น ตำรวจ อ่าน ตำ-หรวด , ตริ แผลงเป็น ดำริ อ่าน ดำ-หริ ปราบ

แผลงเป็น บำราบ อ่าน บำ-หราบ ปราศ แผลงเป็น บำราศ อ่าน บำ-ราด(ยกเว้น)

            5.3 คำเดิมเป็นอักษรกลาง แผลงเป็นอักษรสูงออกเสียงเป็นอักษรนำ เช่น บัง แผลงเป็น ผนัง อ่าน ผะ-หนัง บวช แผลเป็น

ผนวช อ่าน ผะ-หนวด ,บวก แผลงเป็น ผนวก อ่าน ผะ-หนวก

        6. การอ่านคำพ้อง

            6.1 คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านออกเสียงต่างกัน เช่น พลี (พะ-ลี,พลี) สระ(สะ-สะ-หร) กรี(กะ-รี,กรี)ปรัก(ปะ

-หรัก,ปรัก) ปรามาส(ปะ-รา-มาด,ปรา-มาด)

            6.2 คำพ้องเสียง คือ คำที่เขียนต่างกันแต่อ่านออกเสียงเหมือนกัน เช่น การ กานต์ กานท์ การณ์ กาน กาล

            6.2 จันทร์ จันทน์ จัน จัณฑ์

        7. การอ่านพยัญชนะ ฑ มีวิธีการดังนี้

            7.1 ออกเสียง ต เช่น มณฑป อ่าน มน-ดบ ,บัณเฑาะก์ อ่าน บัน-เดาะ , บัณฑุ อ่าน บัน-ดุ , ปานฑพ อ่าน ปาน-ดบ , บุณฑริก

อ่าน บุน-ดะ-ริก ,บัณฑิต อ่าน บัน-ดิด

            7.2 อ่านออกเสียง ท เช่น มณฑก อ่าน มน-ทก , มณฑล อ่าน มน-ทน , ขัณฑสีมา อ่าน ขัน-ทะสี-มา , ขันฑสกร อ่าน ขัน-ทด

-สะ-กอน มณโฑ อ่าน มน-โท , บัณฑิก อ่าน บัน-ทิก

        8. การอ่านพยัญชนะ ฤ ตัว ฤ เป็นสระในภาษาสันสกฤษ เดิมอ่าน ริ อย่างเดียว แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยสามารถอ่าน

ได้ 3 เสียง คือ ริ รึ เรอ มีวิธีการอ่านดังนี้

            8.1 การออกเสียง (ริ)

                8.1.1 เมื่อ ฤ ตามหลังพยัญชนะ ก ต ท ป ศ ส เช่น กฤตยา กฤษฎีกา ตฤนมัย ทฤษฎี ปฤจฉา ปฤษฎางค์ ศฤงคาร สฤษฏ์ กฤษณา ตฤป

                8.1.2 เมื่อเป็นพยางค์หน้าของคำและมีตัวสะกด เช่น ฤทธิ์ ฤณ(หนี้) ฤทธา ฤษยา

            8.2 การอ่านออกเสียง (รึ)

                8.2.1 เมื่อเป็นพยางค์หน้าของคำ ละมีตัวสะกด เช่น ฤดู ฤทัย ฤษภ(วัยตัวผู้) ฤษี ฤชา ฤดี ฤช ฆคเวท ฤกษณะ(การมองเห็น)

                8.2.2 เมื่อ ฤ ตามหลังพยัญชนะ ค น ม พ ห เช่น คฤหบดี คฤหาสน์ นฤบดี พฤศจิกายน หฤทัย นฤมล มฤตยู มฤค หฤโหด พฤนท์ มฤตก พฤกษ์

                8.2.3 เมื่ออยู่โดดๆ เช่น ฤ

            8.3 การอ่านออกเสียง (เรอ) ได้แก่ คำว่า ฤกษ์(เริก)

        ข้อควรสังเกต ยกเว้นบางคำที่อ่านอกเสียงได้ทั้ง ริ และ รึ เช่น พฤนท์ อมฤต

        9. การอ่านตัวเลข มีหลักเกณฑ์ดังนี้

            9.1 จำนวนเลขตั้งแต่ 2 หลักขึ้นไป ถ้าตัวเลขตัวท้ายเป็นเลข 1 ให้ออกเสียงเอ็ด

            9.2 ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม

                9.2.1 ตัวหน้าจุดทศนิยม ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยม ให้อ่านเรียงตัว

                9.2.2 ตัวเลขที่เป็นเงินตราหรือหน่วยนับ ให้อ่านตามหน่วยเงิน หรือหน่วยนับนั้นๆ

            9.3 การอ่านตัวเลขบอกเวลา

                9.3.1 การอ่านชั่วโมงที่ไม่มีจำนวนนาที เช่น 05.00 อ่านว่า ห้า-นา-ลิ-กา

                9.3.2 การอ่านจำนวนชั่วโมง นาทีและวินาที อ่านจากหน่วยใหญ่ไปหน่วยย่อย

            9.4 การอ่านเวลาที่มีเศษของวินาที เช่น 2 : 03 : 47.80 อ่านว่า สอง-นา-ลิ-กา-สาม-นา-ที-สี่-สิบ-เจ็ด-จุด-แปด-สูน-วิ-นา-ที

            9.5 การอ่านตัวเลขที่แสดงมาตราส่วนหรืออัตราส่วน เช่น 1 : 200,000 อ่านว่า หนึ่ง-ต่อ-สอง-แสน

            9.6 การอ่านตัวเลขหนังสือราชการ นิยมอ่านแบบเรียงตัว เข่น หนังสือที่ ศธ 0030.01/605 ลว. 15 มกราคม 2553 อ่านว่า

หนังสือที่สอทอสูนสูนสามสูนจุดสูนหนึ่งทับหกสูนหนึ่ง ลงวันที่สิบห้ามะกะราคม พุดทะสักกะหราดสองพันห้าร้อยห้าสิบสาม

            9.7 การอ่านเลข ร.. ที่มีการเทียบเป็น พ.. กำกับ เช่น ร.. 112 (.. 2436) อ่านว่า รัดตะนะโกสินสกร้อยสิบสอง ตรงกับ

พุดทะสักกะหราดสองพันสี่ร้อยสามสิบหก

            9.8 การอ่านบ้านเลขที่

                9.8.1 การอ่านบ้านเลขที่ซึ่งตัวเลข 2 หลักให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ(/) ให้อ่านแบบเรียงตัว

เช่น บ้านเลขที่ 97/258 อ่านว่า บ้านเลขที่เก้าสิบเจ็ดทับสองห้าแปด

                9.8.2 การอ่านบ้านเลขที่ซึ่งมีตัวเลข 3 หลักขึ้นไป ให้อ่านแบบจำนวนเต็มหรือแบบเรียงตัวก็ได้ ส่วนตัวเลขหลังเครื่อง

หมายทับ (/) ให้อ่านแบบเรียงตัว

                9.8.3 การอ่านบ้านเลขที่กลุ่มตัวเลขที่มี 0 อยู่ข้างหน้า ให้อ่านเรียงตัวเสมอ

            9.9 การอ่านรหัสไปรษณีย์ ให้อ่านแบบเรียงตัว

            9.10 การอ่านหมายเลขทางหลวง ให้อ่านตัวเลขแบบเรียงตัว

        10. การอ่านเครื่องหมายต่างๆ มีหลักการอ่านดังนี้

            10.1 การอ่านคำหรือข้อความที่มีเครื่องหมายวงเล็บกำกับอยู่ ให้อ่านว่า วงเล็บเปิด...วงเล็บปิด

            10.2 การอ่านเครื่องหมายอัญประกาศ( “...” ) ให้อ่าน อัญประกาศเปิด....อัญประกาศปิด

            10.3 การอ่านเครื่องหมายไม้ยมก เช่น ให้อ่านซ้ำคำหรือข้อความ

            10.4 การอ่านเครื่องหมายไปยาลน้อยหรือเปยยาลน้อย เวลาอ่านต้องอ่านเต็มคำ

            10.5 การอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ หรือเปยยาลใหญ่ หากอยู่ท้ายข้อความให้อ่านว่าละ หรือ และอื่นๆ และเมื่ออยู่กลางข้อ

ความให้อ่านว่า ละถึง

            10.6 การอ่านเครื่องหมายไข่ปลาหรือจุดไข่ปลา ก่อนอ่านควรหยุดเล็กน้อย แล้วจึงอ่านว่า ละ ละ ละ แล้วจึงอ่านข้อความต่อ

ไป ตัวอย่างแบบทดสอบ

 

อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คืออะไร
อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คืออะไร