ค่า ft แปรผันตามปัจจัยอะไร

จากการที่รัฐบาลมีมาตรการลดภาระค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 โดยให้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ นั้น ทาง กกพ. ได้ออกมาตรการเร่งด่วนหลายมาตรการ ทั้งการให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 3% การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า การให้ใช้ไฟฟรีแก่ผู้ใช้บางประเภทที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รวมถึงการตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ ค่า Ft รอบเดือน พ.ค. – ส.ค. 2563 ไว้ที่ -11.60 สตางค์ต่อหน่วย (0.1160 บาทต่อหน่วย) เท่ากับในรอบก่อนหน้า (ม.ค. – เม.ย. 2563) ซึ่งการตรึงค่า Ft ดังกล่าว จะทำให้ค่าไฟฟ้าที่ประชาชนผู้ใช้ไฟต้องจ่ายในงวดเดือน พ.ค. ถึงเดือน ส.ค. ลดลงจากเดิม

ค่า Ft หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าที่หน่วยงานการไฟฟ้าคิดคำนวณตามสูตรเพื่อเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยค่าไฟฟ้าฐาน เป็นค่าไฟฟ้าที่สะท้อนรายจ่ายของ 3 การไฟฟ้า ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ใน 3 ส่วนหลักๆ คือ ต้นทุนทางการเงินที่การไฟฟ้าใช้ในการก่อสร้างขยายระบบผลิต ระบบส่งและระบบจำหน่ายในอนาคต ต้นทุนในการดำเนินงานและการบริหารจัดการ และต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า (ตัวเลขคาดการณ์ ณ วันที่ประกาศอัตราค่าไฟฟ้า) โดยอัตราค่าไฟฟ้าจะประกาศใช้รอบละ 3-5 ปี หลังจากนั้นจึงจะมีการปรับโครงสร้างค่าไฟกันอีกครั้ง

ส่วนค่า Ft เป็นกลไกกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ที่ปรับทุก 4 เดือน เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาค่าเชื้อเพลิง (ณ เวลาที่คำนวณอัตราค่า Ft) อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ค่าซื้อไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ  

ประโยชน์ของค่า Ft คือ หากในการคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าได้คาดการณ์ราคาเชื้อเพลิงไว้สูง (บนพื้นฐานราคา ณ วันที่ประกาศอัตราค่าไฟฟ้า) แต่ 4 เดือนต่อมาราคาค่าเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง หากไม่มีค่า Ft มาสะท้อนต้นทุนที่ลดลงนั้น ประชาชนก็อาจเสียประโยชน์เพราะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพง แต่ในทางกลับกัน หากคาดการณ์ค่าเชื้อเพลิงไว้ต่ำเกินไป และต่อมาราคาค่าเชื้อเพลิงปรับขึ้น หากไม่มีค่า Ft มาช่วย ก็อาจกระทบต่อรายได้ของการไฟฟ้าและการลงทุนเพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตและความมั่นคงทางไฟฟ้าของประเทศ

* ค่า Ft จึงเป็นตัวสะท้อนต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ผลิตไฟฟ้า ถือเป็นกลไกที่สร้างความเป็นธรรมให้ทั้งสองฝ่าย *

อย่างที่ทราบกันว่า เชื้อเพลิงเป็นต้นทุนสำคัญของการผลิตไฟฟ้า คือ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70-80% ของค่าไฟฟ้า ดังนั้น การปรับขึ้น-ลงของค่าเชื้อเพลิง โดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า จะมีผลอย่างมากต่อค่าไฟฟ้า ดังนั้น การนำปัจจัยค่าเชื้อเพลิงมาคำนวณผ่านกลไกสูตร Ft ทุกๆ รอบ 4 เดือน จึงทำให้เกิดความคล่องตัวในการปรับราคาค่าไฟฟ้า เป็นการสะท้อนต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยสะท้อนราคาค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมและเป็นธรรมทั้งสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในบิลค่าไฟ มีการระบุอัตราค่า Ft ไว้อย่างชัดเจน (ดังภาพ) ซึ่งหากค่า Ft ลด ก็หมายความว่าค่าไฟฟ้าก็จะลดลง แต่หากค่า Ft ปรับขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าก็ต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละงวดด้วย โดยหากใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าๆ เดิม ค่า Ft ที่ลดลง ย่อมหมายความว่าผู้ใช้ไฟฟ้าก็จะเสียค่าไฟน้อยลงด้วย

ค่า ft แปรผันตามปัจจัยอะไร

จะสังเกตเห็นได้ว่าตัวเลขค่า Ft ในรอบปัจจุบันนี้ เป็นตัวเลขติดลบ นั่นหมายความว่า การไฟฟ้าจะนำตัวเลขค่า Ft ไปหักจากค่าไฟฐาน ทำให้ค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้ต้องจ่ายจะลดลง แต่หากเมื่อใดที่ค่า Ft เป็นปรับสูงขึ้นตามต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จนเป็นบวก นั่นหมายความว่าต้องบวกค่า Ft เข้าไปกับค่าไฟฐาน ผู้ใช้ไฟฟ้าก็ต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้น

และจากมาตรการที่ กกพ. ประกาศตรึงค่า Ft งวดปัจจุบันไว้ที่อัตรา -11.60 สตางค์ต่อหน่วยนั้น คาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ 5,120 ล้านบาท ซึ่ง กกพ. มีเงินสำหรับบริหารจัดการค่าไฟฟ้ารวมอยู่ประมาณ 24,000 ล้านบาท จึงทำให้สามารถนำบางส่วนมาใช้สนับสนุนมาตรการตรึงค่า Ft และมาตรการอื่นๆ เพื่อเยียวยาให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วงโควิด-19 ตามนโยบายของรัฐบาลได้

อย่างไรก็ตาม ในปีหน้า 2564 ถึงวาระที่ กกพ. จะต้องปรับอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ ซึ่งค่าไฟฟ้าฐานก็จะสะท้อนต้นทุนที่เหมาะสมมากขึ้น รวมถึงมีแนวคิดที่จะนำปัจจัยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกิจการไฟฟ้าในประเทศไทย ที่ปัจจุบันผู้ใช้ไฟฟ้าหันมาเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เองและจำหน่ายด้วย หรือ ที่เรียกว่า prosumer ซึ่งทำให้อัตราค่าไฟฟ้าตามโครงสร้างราคาใหม่จะครอบคลุมกลุ่ม prosumer ด้วย และจะสะท้อนราคาที่เป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น

          ในช่วงวิกฤตราคาพลังงานขาขึ้นนำมาซึ่งปัญหาการจัดการไม่เพียงแค่หน่วยงาน แต่ยังสะเทือนไปถึงกระเป๋าตังค์ประชาชนทุกคน ในเมื่อยังไม่สามารถพึ่งการจัดการได้เพียงพอ เห็นทีคงต้องหันมาปรับ ปิดไฟในบ้านเองเพื่อลดค่าไฟ รวมถึงไปหันมาใช้เตามหาเศรษฐี เผื่อวันนึงจะได้กลับมาเป็นเศรษฐีเหมือนเดิมได้อีกครั้งละมั้ง

ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)

     ความหมายเดิมของค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เรียกย่อว่า Ft มาจากคำว่า Float time อันมีความหมายในทางการไฟฟ้าว่า การลอยค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ และ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการคำนวณ แต่ในเดือนตุลาคม 2548 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณสูตรค่า Ft ให้คงเหลือเพียง ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้นที่ กฟผ. ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงเปลี่ยนคำย่อของค่า Ft ให้สอดคล้องกับสูตรปัจจุบันคือ ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) หมายถึง Fuel Adjustment Charge (at the given time) ปัจจุบันค่า Ft จะทำการปรับ 4 เดือนต่อครั้ง โดยคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กกพ. ทั้งนี้ค่าไฟฟ้าผันแปรจะแสดงในช่อง Ft ส่วนเพิ่ม/ส่วนลด ในใบเสร็จค่าไฟฟ้าหรือใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า

ที่มาข้อมูล  http://www.eppo.go.th/power/ft.html

http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=364&catid=38&Itemid=323

ผู้เขียน : เปรมชัย  บุญเรือง

บรรณาธิการ (วิชาการ) : นางสาวพีรนุช กัณหดิลก
บรรณาธิการ (ภาษา) : นายอานุภาพ สกุลงาม
ผู้อนุมัติเผยแพร่ : นางสาวพีรนุช กัณหดิลก (รก.ผอ.พวท.)

ค่า Ft มีผลอย่างไร

อัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เป็นส่วนที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือ การควบคุมของผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า โดยจะมีการคำนวณการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ทุก 4 เดือน และ เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าทุกเดือน รายละเอียดการคำนวณ มีดังนี้ Ft = FACtG + Aft-1G.

FT ขึ้นเพราะอะไร

สาเหตุที่ต้องปรับขึ้นค่า Ft ตามคำชี้แจ้งของ กกพ. สาเหตุหลักมาจากราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นตามราคาพลังงานในตลาดโลก โดยเฉพาะสัดส่วน การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีราคาสูง รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้ม อ่อนค่าลง จึงส่งผลให้ค่า Ft เพิ่มสูงขึ้นมาก

ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในใบค่าไฟหมายถึงอะไร

จากความหมายดั้งเดิม Ft ย่อมาจากคำว่า Float time มีความหมายว่า การลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการคำนวณ

ค่า FT เพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าค่า Ft ครั้งนี้ปรับขึ้นจาก 24.77 สตางค์/หน่วย เป็น 93.43 สตางค์/หน่วย ซึ่งขยับขึ้นถึง 68.66 สตางค์/หน่วย หรือคิดเป็น 377 เปอร์เซ็นต์ในครั้งเดียว ทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แตกต่างจากปกติแล้วมักจะขยับตัวเพิ่มขึ้นครั้งละประมาณ 10 – 20 สตางค์/หน่วย ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่แตะ 90 สตางค์/หน่วย ...