ฎีกา ค่าธรรมเนียม ถอนการ ยึดทรัพย์

นอกจาก กรมบังคับคดี จะสามารถทำ “การงดการบังคับคดี” ได้แล้ว ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังอาจตกลงถอนการบังคับคดีได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็อาจถอดถอนการบังคับคดีได้ ด้วยเหตุตามกฎหมายและตามคำสั่งศาลซึ่งจะเกิดค่าธรรมเนียม ในกรณีที่เจ้าหนี้ประสงค์จะถอนการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหนี้จะต้องวางค่าธรรมเนียมถอนการบังคับคดี(ถอนการยึดทรัพย์) ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อน 28 กรกฎาคม 2548 ในอัตราร้อยละ 3.5 บาท ของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด หากเป็นการยึดเงิน จะคิดค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 1 บาท ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด ส่วนคดีที่ฟ้องตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป หากเป็นการยึดทรัพย์สิน ซึ่งมิใช่ตัวเงินเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดในอัตราร้อยละ 2 บาท ของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด สำหรับการยึดเงิน อัตราร้อยละ 1 บาท สำหรับคดีใดที่ไม่มีการยึดทรัพย์ แต่โจทย์ประสงค์จะขอถอนการบังคับคดี ก็จะมีเฉพาะค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีเท่านั้น

ข้อกฎหมาย กรมบังคับคดี ในการถอนการบังคับคดี

ฎีกา ค่าธรรมเนียม ถอนการ ยึดทรัพย์
ตามมาตรา 292 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีดังต่อไปนี้

  1. เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีเนื่องจากลูกหนี้ตามคําพิพากษายื่นอุทธรณ์หรือฎีกาและได้วางเงินต่อศาลเป็นจํานวนพอชําระหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี หรือได้หาประกํนมาให้ จนเป็นที่พอใจของศาลสําหรับจํานวนเงินเช่นว่านี้
  2. เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีเนื่องจากคําพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับหรือถูกยก หรือหมายบังคับคดีได้ถูกเพิกถอน แต่ถ้าคําพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้นได้ถูกกลับแต่เพียงบางส่วน การบังคับคดีอาจดําเนินการต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชําระแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
  3. เมื่อศาลได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลมีคําสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 199 เบญจ วรรคสาม หรือมาตรา 207
  4. เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีตามมาตรา 293
  5. เมื่อลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้วางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อเป็นการชําระหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี
  6. เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดี ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษานั้นจะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาสําหรับหนี้นั้นอีกมิได
  7. เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนขอถอนการบังคับคดี

มาตรา 293 ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยไม่ดําเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสีย

มาตรา 294 ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงิน หรือในกรณียึดหรืออายัดเงิน หรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่ายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเองหรือถอนโดยคําสั่งศาล และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี

ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีนั้น และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีได้เอง โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวง

ฎีกา ค่าธรรมเนียม ถอนการ ยึดทรัพย์
มาตรา 295 และ 295 ทวิ บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีต่อไปนี้

  1. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินหรือหาประกัน

มาตรา 295 (1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดี หรือถอนโดยคำสั่งศาลแล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีหรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีหรือหาประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับจำนวนเงินที่จะต้องชำระ เพราะความมุ่งหมายในการบังคับคดีก็เพื่อบังคับเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษานำเงินมาวางจนครบถ้วน หรือหาประกันมาจนเป็นที่พอใจของศาลและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว การดำเนินการบังคับคดีต่อไปก็หมดความจำเป็น

  1. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสละสิทธิในการบังคับคดี

มาตรา 295 (2) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดี เพราะการบังคับคดีเป็นเรื่องของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากไม่ประสงค์จะบังคับคดีก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

  1. คำพิพากษาถูกกลับหรือหมายบังคับคดีถูกยกเลิก

มาตรา 295 (3) ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย เมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้นได้ถูกกลับเพียงบางส่วน การบังคับคดีอาจดำเนินอยู่ต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

  1. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี

มาตรา 295 ทวิ บัญญัติว่า “ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสีย” มาตรา 295 ทวิ เป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เหตุที่ต้องบัญญัติเช่นนี้ เนื่องจากเดิมในกรณีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ไม่มีบทบัญญัติให้ถอนการบังคับคดี แม้กรณีเช่นนี้จะเข้าหลักเกณฑ์การงดการบังคับคดีตามมาตรา 292 แต่การงดการบังคับคดีไม่ทำให้เรื่องเสร็จสิ้นไป และจะถอนการบังคับคดีตามมาตรา 295 ก็ไม่ได้ การบังคับคดีจึงตกค้างอยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถปิดสำนวนการบังคับคดีได้ มาตรา 295 ทวิ จึงเป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่

  • TAGS
  • กรมบังคับคดี
  • การงดการบังคับคดี
  • การถอนการบังคับคดี
  • การยึดทรัพย์สิน

Previous articleSerio สุขุมวิท 50 คอนโดใกล้รถไฟฟ้า Modern Minimal Style

Next articleดูดวงวันนี้ วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ.2561 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3

About the author

ฎีกา ค่าธรรมเนียม ถอนการ ยึดทรัพย์

Dot Property News

Stay up to date with the latest property news, ideas and tips! Want more information or have views to share? Contact [email protected]