วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระประกอบด้วยอะไรบ้าง

เอเอ็ม ออดิท กรุ๊ป 

บริษัท เอเอ็ม ออดิท แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด

จันทร์-ศุกร์ 8:00-17:00 น โทร 0 2277-0405 ถึง 10 
เสาร์-อาทิตย์ หรือ นอกเวลาทำการ โทร 086 341 5173
อีเมล info@amauditgroup.com

สาขารัชดา (สำนักงานใหญ่) กรุงเทพฯ

129/1 อาคารรัชดาออร์คิด ซอยหัสดิเสวี

ถนนสุทธิสาร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยหวาง

กรุงเทพมหานคร 10310

สาขาบางเขน กรุงเทพฯ

อาคารเดอะแพลททินั่ม เพลส  

เลขที่ 21, 21/1, 21/2 ถนนวัชรพล บางเขน

กรุงเทพมหานคร 10230

หลักฐานการสอบบัญชีและการตรวจสอบ

หลักฐานการสอบบัญชี(Audit Evidence) หมายถึง ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่ผู้สอบบัญชีได้รับหรือรวบรวมจากการใช้วิธีการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใช้สนับสนุนข้อสรุปผลการตรวจสอบ
ประเภทของหลักฐานการสอบบัญชีตามเกณฑ์วิธีการตรวจสอบที่ใช้มีดังนี้
1. หลักฐานจากการตรวจ (Inspection Evidence) หลักฐานที่ได้มาโดยใช้วิธีการตรวจสอบ
- หลักฐานจากการตรวจสอบบันทึกทางบัญชี
- หลักฐานจาการตรวจทางกายภาพของสินทรัพย์ที่มีตัวตน(Physical Evidence)หลักฐานที่ได้จากการตรวจนับ(Counting)
2. หลักฐานจากการสังเกตการณ์(Observation Evidence)
คุณลักษณะของหลักฐานการสอบบัญชี
- ความเพียงพอของหลักฐานการสอบบัญชี
- ความเหมาะสมของหลักฐานการสอบบัญชี
- ความเกี่ยวพันของหลักฐานการสอบบัญชี
- แหล่งที่มาของหลักฐานการสอบบัญชี
- เวลาตรวจสอบ
การตัดสินใจเกี่ยวกับหลักฐานการสอบบัญชี
- วิธีการตรวจสอบ
- ขนาดของตัวอย่าง
- รายการที่เลือกมาตรวจสอบ
- ช่วงเวลาที่ตรวจสอบ
ความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์การตรวจสอบกับหลักฐานการสอบบัญชี
การตรวจสอบ การทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี เพื่อสนับสนุนสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน
ประเภทของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน
- ความมีอยู่จริง (Existence)
- สิทธิและภาระผูกพัน (Rights and Obligations)
- เกิดขึ้นจริง (Occurrence)
- ความครบถ้วน (Completeness)
- การแสดงมูลค่าหรือการตีราคา (Valuation)
- การวัดมูลค่า (Measurement)
- การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล(Presentation and Disclosure)

วิธีการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี
1.การตรวจ อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย การตรวจสินทรัพย์ที่มีตัวตน(Physical Examination)และ การตรวจบันทึกทางการบัญชีและเอกสาร(Documentation)

หลักฐานการสอบบัญชีในรูปของเอกสารอาจแบ่งเป็น
1.1 เอกสารภายใน (Internal Document)หมายถึง เอกสารมีการจัดทำ ใช้และเก็บรักษาไว้โดยกิจการ เช่น บัตรลงเวลาการทำงานของพนักงานใบรับสินค้า เป็นต้น
1.2 เอกสารภายนอก (External Document)หมายถึง เอกสารที่บุคคลภายนอกจัดทำขึ้น แต่เก็บรักษาไว้โดยกิจการ

2.การสังเกตการณ์ (Observation) หมายถึง การดูขั้นตอนหรือวิธีการปฎิบัติงานโดยบุคคลอื่นซึ่งอาจจะไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้ตรวจสอบ
3.การสอบถาม (Inquiry ) หมายถึง การหาข้อมูลจากบุคคลที่มีความรู้ทั้งภายในและภายนอกกิจการ อาจเป็นการสอบถามด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
4.การขอคำยืนยัน (Confirmation) หมายถึง การหาคำตอบจากข้อสอบถามเพื่อยืนยันข้อมูลที่มีอยู่ในบันทึกทางการบัญชี
- การส่งหนังสือขอคำยืนยันยอดบัญชีลูกหนี้ จากลูกหนี้ของกิจการ
- การขอข้อมูลจากธนาคาร
- การขอข้อมูลเกี่ยวกับคดีความฟ้องร้องจากทนายความของกิจการ
- การส่งหนังขอคำยืนยันยอดบัญชีสินค้าฝากขายกับผู้รับฝากขาย
5.การคำนวณ (Computation) หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขในเชิงคำนวณในเอกสาร เบื้องต้น และยันทึกทางการบัญชี หรือการทดสอบการคำนวณโดยอิสระของผู้สอบบัญชี
6.การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Procedure) หมายถึง การวิเคราะห์อัตราส่วนและแนวโน้มที่สำคัญ รวมทั้งการเปรียบเทียบความสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามความคาดหมายหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นหรือไม่

ประเภทของการตรวจสอบ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
1. การทดสอบควบคุม
2.การตรวจสอบเนื้อหาสาระ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
- การทดสอบรายละเอียดของรายการแลยอดคงเหลือ
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การทดสอบการควบคุม (Test of control)
การทดสอบการควบคุม ประกอบด้วย วิธีการตรวจสอบต่อไปนี้
- การทดสอบรายการบัญชี (Test of Transaction)
- การสอบถามและการสังเกตการณ์เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน
- การปฎิบัติซ้ำเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
- การตรวจสอบเนื้อหาสาระ

เทคนิคการตรวจสอบ

Audit Technique

เมื่อกล่าวถึงคำว่า เทคนิค มักหมายถึง วิธีการที่ผู้ทำงานนำมาใช้เพื่อให้งานนั้นได้

ผลสำเร็จเมื่อนำคำว่าเทคนิคมาใช้กับการตรวจสอบหรือเรียกว่า เทคนิคการตรวจสอบ ก็หมายถึง วิธีการ

ตรวจสอบที่ดีที่ผู้ตรวจสอบนำมาใช้ เพื่อให้งานตรวจสอบนั้นได้ผลสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับขอ

ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเทคนิคการตรวจสอบที่ดีจะประกอบด้วยวิธีการตรวจสอบตามหลักการ และการนำ

หลักมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์ใช้พร้อมกับวิธีการตรวจสอบตามหลักการนั้น ในทุกระยะขั้นตอนของ

กระบวนการตรวจสอบ

เทคนิคการตรวจสอบ

( Audit Technique )

-

วิธีการตรวจสอบสำคัญที่ผู้ตรวจสอบเลือกใช้ในการรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ

-

เพื่อให้ได้หลักฐานที่ดีและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

-

โดยการตรวจเป็นไปตามวัตถุประสงค์การตรวจสอบและแผนการตรวจสอบที่กำหนด

ขึ้น

ประเภทของเทคนิคการตรวจสอบภายใน แบ่งเป็น

2 ประเภท

1.

เทคนิคด้านมนุษย์สัมพันธ์และการสื่อสาร

2.

เทคนิคการรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบ

ปัจจุบันนิยมนำเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตรวจสอบด้วยเทคนิคด้านมนุษย์

สัมพันธ์และการสื่อสาร มาตรฐาน การตรวจสอบภายในหมวด

260 เน้นความสำคัญของการมีทักษะใน

การติดต่อสื่อสารและ มนุษย์สัมพันธ์ เพื่อประโยชน์ในการประสานงานและจูงใจผลงานตรวจสอบ

เทคนิคการสื่อสารสำคัญที่ผู้ตรวจสอบควรฝึกหัด

1.

เทคนิคการสัมภาษณ์

2.

เทคนิคการสอบถาม

3.

เทคนิคการประชุม

4.

เทคนิคการนำเสนอ

5.

เทคนิคการเขียนรายงาน

เทคนิคการสัมภาษณ์

( Interview)

ลักษณะคำถาม

1.

คำถามเปิด

2.

คำถามที่ให้แสดงความคิดเห็นส่วนตัว

3.

คำถามหนักๆที่ให้สะท้อนภาพเหตุการณ์

4.

คำถามเกี่ยวกับคุณภาพ

5.

คำถามเปิดประเด็น - เป็นคำถามที่นำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องที่ต้องการ

สิ่งสำคัญที่ทำให้เทคนิคการตรวจสอบประสบความสำเร็จ คือการรู้จักนำเทคนิคด้านมนุษย์สัมพันธ์มาใช้

เช่น

-

การนำใจเขามาใส่ใจเรา

-

การรู้จักให้เกียรติ

-

การรับฟังความคิดเห็น

-

การปฏิบัติงานด้วยความเป็นกลาง ปราศจากอคติลำเอียง ความตั้งใจที่ร่วมกันแก้ไข

ปัญหา

เทคนิคการรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบ

1.

เทคนิคการตรวจสอบทั่วไป

2.

เทคนิคในการประเมินผลการควบคุมภายใน

3.

การวิเคราะห์เปรียบเทียบ

4.

การประเมินความเสี่ยง

เทคนิคการตรวจสอบทั่วไป

เทคนิคการตรวจสอบที่ใช้กันโดยทั่วไป และทุกระยะในการปฏิบัติงานตรวจสอบ ได้แก่

1.

การตรวจสอบของจริง

2.

การสังเกตการณ์ข้อเท็จจริง

3.

การสอบถาม

4.

การคำนวณ

5.

การสุ่มตัวอย่าง

การตรวจสอบของจริง

-

การตรวจสอบข้อมูล เอกสาร หรือสินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น การตรวจนับ การสอบ

ทาน เอกสาร

-

ให้หลักฐานที่เชื่อถือในเรื่องการเกิดขึ้นจริง แต่ ไม่ให้หลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือ

มูลค่าของสิ่งนั้นการสังเกตการณ์ข้อเท็จจริง

-

เป็นการสังเกตการณ์ดำเนินงานหรือวิธีการปฏิบัติงาน

-

ให้หลักฐานเกี่ยวกับสภาพ วิธีการปฏิบัติงาน ของผู้ปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อม

สถานที่ทำงาน รวมถึงข้อมูลทางภาษากายที่แสดงถึงความพอใจหรือไม่พอใจในการ

ปฏิบัติงาน

ข้อจำกัด คือ ได้ข้อมูลเฉพาะในเวลาที่สังเกตการณ์นั้น ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับ

การปฏิบัติงานปกติก็ได้

การสอบถาม

( Inquiry)

-

เป็นการหาข้อมูลจากบุคคลที่มีความรู้ทั้งภายในและภายนอก

-

อาจจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้

-

ระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ความ

เป็นอิสระ และความซื่อสัตย์ของบุคคลนั้นๆ

การคำนวณ

( Computation)

-

เป็นการทดสอบความถูกต้องของการคำนวณตัวเลขในการบันทึกบัญชี

การสุ่มตัวอย่าง

( Sampling)

-

เป็นการเลือกตัวอย่างขึ้นมาเพื่อตรวจแทนการตรวจในรายละเอียดทั้งหมด

เทคนิคในการประเมินผลการควบคุมภายใน

เทคนิคการตรวจสอบที่ใช้ในการประเมินผลการควบคุมภายใน เช่น

1.

การทำแผนภาพระบบงานและจุดควบคุม

2.

การทำแบบสอบถามการควบคุม

3.

การสัมภาษณ์การควบคุมภายใน

การวิเคราะห์เปรียบเทียบ

เป็นเทคนิคที่สำคัญที่

SIAS ฉบับที่ 8 ได้กำหนดรายละเอียด โดยสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

-

เป็นการศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ ของข้อมูลสถิติที่สำคัญทั้งทางการเงินและ

ผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการระบุความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ความผิดปกติ และการกระทำผิด

กฎหมาย

ข้อดี

-

เป็นวิธีทีให้เบาะแสประเด็นปัญหาสำคัญในการตรวจสอบ

-

ใช้เวลาน้อย

ข้อจำกัด

-

ความเชื่อถือได้และการได้มาซึ่งข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์

การประเมินความเสี่ยง

( Risk Assessment)

SIAS

ฉบับที่ 9 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับการประเมิน ดังนี้

1

ผู้ตรวจสอบภายในสามารถใช้กระบวนการประเมินความเสี่ยงเป็นแนวทางในการ

วางแผนทั้งประจำปี และแต่ละงานที่จะตรวจสอบ

2.

เพื่อช่วยให้การกำหนดตารางเวลาการปฏิบัติงานและการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม

และมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

COSO

ให้ความสำคัญการประเมินความเสี่ยง

1.

กำหนดวัตถุประสงค์

2.

การระบุปัจจัยเสี่ยง

3.

การวิเคราะห์ความเสี่ยง และ

4.

การบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยงในการตรวจสอบ

( Audit Risk )

ความสำคัญ

-

เพื่อลดความเสี่ยงในการตรวจสอบให้อยู่ในระดับที่ผู้ตรวจสอบยอมรับได้

-

ทำให้ผลงานของผู้ตรวจสอบเป็นที่ยอมรับ

-

ช่วยในการจัดสรรเวลาและทรัพยากรในการตรวจในเรื่องที่มีสาระสำคัญ

-

เพื่อค้นพบสัญญาณความเสี่ยงจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาดสำคัญที่องค์กรควรทราบ

และป้องกันไว้ล่วงหน้า

ประเภทของความเสี่ยงในการตรวจสอบ

1.

ปัจจัยความเสี่ยงที่แฝงอยู่ (Inherent Risk; IR)

2.

ปัจจัยความเสี่ยงจากการควบคุม ( Control Risk ; CR )

3.

ปัจจัยความเสี่ยงจากวิธีการตรวจสอบ ( Detective Risk ; DR )

ความเสี่ยงที่แฝงอยู่

เสี่ยงที่แฝงหรืออาจเกิดขึ้นกับกิจการหรือในเรื่องที่จะตรวจสอบ ทำให้การดำเนินงานไม่

เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยยังไม่คำนึงถึงการควบคุมภายในที่กิจการมี แบ่งเป็น

2 ประเภท

1.

ปัจจัยความเสี่ยงแฝงที่มีลักษณะแพร่กระจาย ( Pervasive Inherent Risk )

2.

ปัจจัยความเสี่ยงที่มีลักษณะแฝงเฉพาะ ( Specific Inherent Risk )

Pervasive Inherent Risk

-

เป็นปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั่วไปในองค์กร ระบบงาน กระบวนการ หรือ

หน่วยงาน

-

ผลเสียหายที่เกิดขึ้น ได้แก่ ข้อผิดพลาด ความหลงลืม ความล่าช้า และการทุจริต

ตัวอย่างเช่น

: สภาพแวดล้อมภายนอก

ความซับซ้อนของโครงสร้างองค์กร

Specific Inherent Risk

-

เป็นปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะ ระบบงาน กระบวนการ หรือหน่วยงานใด

หน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้ระบบงาน กระบวนการ หรือหน่วยงาน ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น

:

การหาตลาดใหม่ไม่ได้ การผลิตสินค้าไม่ตรงความต้องการของตลาด

Control Risk

ปัจจัยความเสี่ยงเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการควบคุมของกิจการที่ไม่เพียงพอ ทำให้

ไม่อาจป้องกัน ค้นพบหรือแก้ไขความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการหรือกับทรัพย์สินที่ควบคุม

ได้อย่างทันกาล

Detective Risk

ความเสี่ยงที่เกิดจากวิธีการตรวจสอบที่ใช้

:

-

ไม่สามารถค้นพบเหตุการณ์หรือรายการค้าที่ทำให้การบันทึกรายการผิดพลาดที่มี

สาระสำคัญ

-

ทำให้สรุปผลผิดพลาด

-

ตรวจในเรื่องนั้นผิดอย่างมีสาระสำคัญ

-

เป็นความเสี่ยงที่ผู้ตรวจสอบควบคุมได้ ตัวอย่างเช่น – การสุ่มตัวอย่างผิด

-

การไม่รายงานหรือรายงานไม่ตรงกับหลักฐานที่พบ

การประเมินความเสี่ยงในการวางแผนการตรวจ แบ่งได้เป็น

2 ระดับ

1.

การวางแผนการตรวจประจำปี

2.

การวางแผนการตรวจเฉพาะงานตรวจแต่ละงาน

ขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยง

1.

การกำหนดวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่จะตรวจ

2.

การระบุความเสี่ยงซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่จะตรวจสอบ

3.

การวิเคราะห์และกำหนดระดับความเสี่ยง

4.

การบริหารหรือนำผลการประเมินความเสี่ยงไปใช้งาน

การกำหนดวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่จะตรวจสอบ

Auditable Activities

กิจกรรมที่จะตรวจสอบ หมายถึง หน่วยงาน ระบบ กระบวนการปฏิบัติงาน ที่อยู่ใน

ขอบเขตความรับผิดชอบ และสามารถตรวจสอบได้ รวมไปทั้งเอกสารที่สำคัญต่างๆ เช่น นโยบาย งบ

การเงินสัญญาและแผนงานสำคัญต่างๆ

การระบุความเสี่ยง

Identification of Risk factors

ปัจจัยความเสี่ยงที่นิยมพิจารณาในการจัดลำดับการตรวจสอบ

1.

วันที่และผลในการตรวจครั้งสุดท้าย

2.

สาระสำคัญหรือผลกระทบทางการเงิน

3.

โอกาสที่จะเกิดความสูญเสียหรือทุจริต

4.

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการปฏิบัติงาน หรือโปรแกรมหรือระบบงานหรือระบบ

ควบคุม

5.

การตรวจตามคำสั่งฝ่ายบริหาร

6.

ความสำคัญของเรื่องที่มีต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

Risk Analysis

การวิเคราะห์ความเสี่ยง นิยมพิจารณา จาก

1.

การประมาณความมีสาระสำคัญหรือผลกระทบ ( Significant or Impact )

-

พิจารณาผลกระทบทั้งด้านตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน

-

อาจกำหนดเป็นค่าคะแนน เช่น 3-1 หรือ เป็นอักษร H M L

2.

การประเมินโอกาสที่น่าจะเกิดหรือความถี่ (Likelihood or Frequency ) พิจารณาจาก

-

ระบบการควบคุมภายใน

-

ความยุ่งยากซับซ้อนของเทคโนโลยีที่นำมาใช้

-

ความสามารถและความน่าเชื่อถือของฝ่ายบริหาร

-

คุณภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

-

ความผิดพลาดที่พบในการตรวจ

-

ระยะห่างจากการตรวจครั้งก่อน

ทั้งนี้ อาจกำหนดเป็นค่าคะแนน หรือเป็นอักษรก็ได้

Risk Prioritization

พิจารณาจากภาพรวมของความเสี่ยง เช่น

-

การหาค่าเฉลี่ยทางตรงของปัจจัยเสี่ยงที่เลือกทุกตัว

-

การหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของปัจจัยเสี่ยงที่เห็นว่าสำคัญ

-

การจัดลำดับความสัมพันธ์ เช่น การใช้ตารางจัดลำดับที่พิจารณาจากความสัมพันธ์

จากผลกระทบและความน่าจะเกิด

Risk Management

จุดใดที่มีความเสี่ยงสูง ผู้บริหารต้องหาวิธีบริหารลดความเสี่ยงลง เพื่อให้ผลเสียหายและ

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เช่น

-

การแบ่งความเสี่ยง

-

การกำหนดแผนสำรองฉุกเฉิน

แหล่งข้อมูลในการประเมินความเสี่ยง

-

การปรึกษากับคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายจัดการ ภายในแผนกตรวจสอบ ผู้สอบบัญชี

-

การพิจารณาข้อกำหนดทางกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ

-

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานและงบการเงิน

-

การสอบทานผลการตรวจสอบครั้งก่อนๆ

สรุปเทคนิคที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนการตรวจสอบ

กระบวนการตรวจสอบทุกงานแบ่งเป็น

4 ขั้นตอน

1.

การวางแผนการตรวจสอบ

2.

การปฏิบัติงานตรวจสอบ

3.

การรายงานผลการตรวจสอบ

4.

การติดตามผลการตรวจสอบ

เทคนิคในการวางแผนการตรวจสอบ

ควรเป็นเทคนิคที่ทำให้สามารถระบุขอบเขตปัญหาหรือได้ข้อมูลที่แสดงเบาะแสและ

สัญญาณเตือนภัยโดยเร็วที่สุด

-

วิเคราะห์เปรียบเทียบ

-

การประเมินความเสี่ยง

-

การประเมินผลการควบคุมภายใน

เทคนิคในการปฏิบัติงานตรวจสอบในการปฏิบัติงาน

-

เทคนิคด้านการสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์

-

เทคนิคในการตรวจสอบทั่วไป

การสรุปผล

-

ใช้เทคนิคเดียวกับการวางแผน แต่จะเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของกิจกรรมที่เป็น

ประเด็นสำคัญไม่ใช่ภาพรวม

เทคนิคในการรายงานผลการตรวจสอบ

-

เทคนิคในการนำเสนอ

-

เทคนิคในการรับฟังความคิดเห็น

-

เทคนิคการขจัดความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหา

-

เทคนิคการเขียน

เทคนิคในการติดตามผล

-

ใช้เทคนิคการตรวจสอบทั่วไป

-

เทคนิคในการรับฟังความคิดเห็น

-

เทคนิคการร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นทีม

เพื่อให้การแก้ไขปัญหาตรงประเด็น ปฏิบัติได้และมีแผนงาน

สรุป

ความสำเร็จและประสิทธิผลของงานตรวจสอบมักวัดจากความยอมรับข้อเสนอแนะใน

รายงานการตรวจสอบ แต่ความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเทคนิคและทักษะหลายประการ

โดยเฉพาะการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ การสื่อสารให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับจากผู้ได้รับการตรวจ

รวมทั้งหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลเท็จจริงอื่นการประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบมีขั้นตอนคล้ายกับการ

ประเมินความเสี่ยงในโครงสร้างการควบคุม เพียงแต่ผู้ตรวจสอบควรเลือกปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการ

ตรวจสอบให้เหมาะสมในแต่ละงานตรวจ ซึ่งนิยมให้มีจำนวน ห้าบวกลบสอง ส่วนการวิเคราะห์และจัด

ระดับความเสี่ยงอาจใช้วิธีการคำนวณทางสถิติ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดระดับระดับและการ

กำหนดเป็นโมเดลต่างๆ

ที่มา

: //coursewares.mju.ac.th/section2/ac321/Documents/doc/ch06.pdf

การตรวจสอบเนื้อหาสาระ มีอะไรบ้าง

(ก) วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระ หมายถึง วิธีการตรวจสอบที่ถูกออกแบบเพื่อตรวจจับ การแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญในระดับที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหาร ได้ให้การรับรองไว้ วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระประกอบด้วย (1) การทดสอบรายละเอียด (ของประเภทของรายการ ยอดคงเหลือทางบัญชี และ การเปิดเผยข้อมูล) และ (2) วิธีการ ...

การทดสอบการควบคุมและวิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระต่างกันยังไง

การทดสอบการควบคุม และการตรวจสอบเนื้อหาสาระการทดสอบการควบคุมเป็นการ ทดสอบเพื่อให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับความเหมาะสมของการออกแบบ และการ ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผลของระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน ส่วนการตรวจสอบ เนื้อหาสาระเป็นการทดสอบ เพื่อให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่ทําให้ตรวจพบการแสดงข้อมูลที่ขัด ต่อข้อเท็จจริง ...

การตรวจสอบรายได้มีอะไรบ้าง

วิธีการตรวจสอบรายได้ 1. วิเคราะห์เปรียบเทียบรายได้จากการขายปีปัจจุบันกับปีก่อน 2. ตรวจสอบสมุดรายวันขาย 3. ตรวจสอบความถูกต้องของรายการขาย 4. ตรวจสอบการรับคืนและส่วนลด 5. ตรวจสอบตัดยอดขาย

การตรวจนับทรัพย์สินเป็นการพิสูจน์ความถูกต้องด้านใด

การตรวจนับ (Counting) - เป็นการพิสูจน์ปริมาณและคุณภาพของสิ่งที่ต้องการตรวจว่ามีอยู่จริง ครบถ้วนตามที่บันทึกไว้โดยตรงให้เห็นด้วยตาตนเอง สภาพของสินทรัพย์(ชำรุด / เสียหาย) การเก็บดูแลรักษา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita