การประกันภัยเป็นการผลิตในขั้นใด

กิจกรรมทางด้านศรษฐศาสตร์

1. การผลิต (Production) เป็นการสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น ประโยชน์จากรูปร่าง ประโยชน์จากสถานที่ ประโยชน์จากเวลา ประโยชน์จากกรรมสิทธิ์
2.ปัจจัยการผลิต
-ที่ดิน หมายถึงที่ดินและทรัพยากรที่อยู่ในดินและเหนือพื้นดิน ค่าตอบแทนคือ ค่าเช่า 

-แรงงาน หมายถึง แรงงานที่เกิดจากกำลังกายและสติปัญญาของมนุษย์ ค่าตอบแทนคือ ค่าจ้าง หรือเงินเดือน
-ทุน หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับแรงงาน เช่น เครื่องจักร ค่าตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
-ผู้ประกอบการ ผู้ที่นำเอาปัจจัยการผลิต มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนคือ กำไร
3.ขั้นการผลิต
-การผลิตขั้นปฐมภูมิ เป็นการผลิตขั้นแรกโดยนำทรัพยากรธรรมชาติ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แรงงาน เช่น การประมง การเกษตร
-การผลิตชั้นทุติยภูมิ เป็นการนำเอาผลผลิตขั้นต้น มาแปรสภาพเป็นสินค้าได้แก่ หัตถกรรม และอุตสาหกรรม
-การผลิตชั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตในรูปบริการ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว การประกันภัย
4.การกำหนดราคาและปริมาณการผลิต ผู้ผลิต อาจคาดคะเนผลผลิตจากการคาดคะเนอุปสงค์และอุปทานของสินค้าในตลาด
- อุปสงค์ (Demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ขึ้นกับราคาสินค้ากฎทั่วไปของอุปสงค์ คือ อุปสงค์แปรผันโดยอ้อมหรือผูกพันกับราคาสินค้าและบริการ

- อุปทาน (Supply) เป็นปริมาณความต้องการที่จะขายสินค้าและบริการ ซึ่งจะขึ้นกับราคาของสินค้าและบริการกฎทั่วไปของอุปทาน คือ อุปทานจะแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้าและบริการ
5.ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ
-ราคาสินค้าแพงนั้น เกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์มากกว่าอุปทาน (ภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน)
-ราคาสินค้าถูกลง   เกิดขึ้นเมื่อ อุปทานมากกว่าอุปสงค์ (ภาวะอุปทานส่วนเกิน)
6.การบริโภค (Consumption) หมายถึงการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการชนิดของการบริโภค
-สินค้าคงทน ได้แก่ สินค้าที่เก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี เข่น ปากกา นาฬิกา กระเป๋า
-สินค้าไม่คงทน ได้แก่ สินค้าที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปภายใน 1 ปี เช่น อาหาร น้ำมัน เชื้อเพลิง กระดาษ
ถ้ารายได้ต่ำ ความสามารถในการบริโภคจะถูกจำกัดลง และถ้ามีรายได้สูง ความสามารถในการบริโภคจะสูงขึ้น
7.การกระจาย (Distribution) หมายถึงการจำนวนจ่ายแจกสินค้าและบริการ แบ่งเป็น
-การกระจายสินค้าและบริการ ไปสู่ผู้บริโภค
-การกระจายรายได้ เป็นการกระจายผลตอบแทนไปสู่ปัจจัยการผลิต
8.การแลกเปลี่ยน (Exchange) หมายถึง การนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่น หรือแลกเปลี่ยนกับสื่อกลาง จึงแบ่งออกเป็น
-การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า
-การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อเงินตราหรือใช้สื่อกลาง
-การแลกเปลี่ยนแบบใช้สินเชื่อ เช่น เช็ค ตั๋วแลกเงิน ดราฟท์

การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์

การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ (Product Liability Insurance) การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ผลิต ผู้บรรจุ**บห่อ ผู้นำเข้า/ส่งออก ผู้ขายส่งหรือขายปลีก ซึ่งมีความรับผิดต่อสินค้าที่จำหน่ายไป หากทำให้ผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการบริโภคหรือใช้สินค้านั้น รวมทั้งผู้ผลิตผสมหรือปรุงผิดสัดส่วน ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้การประกันภัยความรับผิดประเภทนี้จะไม่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค หรือการใช้ในร้านหรือสำนักงานของผู้เอาประกันภัย หรือความบาดเจ็บที่เกิดแก่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย

วัตถุที่เอาประกัน คือ ตัวผลิตภัณฑ์ (Product) เป็นสิ่งที่ถูกผลิต (manufactured) ยกตั้ง (erected) ติดตั้ง (installed) ซ่อมแซม (repaired) ให้บริการ (serviced) ดูแลรักษา (treated) ขาย (sold) หรือกระจายการจำหน่าย (distributed) โดยผู้เอาประกันภัย (รวมถึง**บห่อของสิ่งเหล่านั้นด้วย) ภายหลังจากที่ออกจากสถานประกอบการและไม่อยู่ในการครอบครองหรือควบคุมของผู้เอาประกันภัยแล้ว

ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ของเล่นเด็ก ชิ้นส่วนของเครื่องบิน เครื่องมือทางการแพทย์ ยา สารเคมี เฟอร์นิเจอร์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และสินค้าที่มีอายุใช้งานนาน เป็นต้น

ความคุ้มครองเบื้องต้น

-

การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ ให้ความคุ้มครองสำหรับการบาดเจ็บทางร่างกาย (Bodily Injury) หรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน (Property Damage) ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมาย โดยการบาดเจ็บทางร่างกายหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินนั้นต้องเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ และเกิดขึ้นภายในอาณาเขตความคุ้มครองของกรมธรรม์

 

  1. ให้ความคุ้มครองการบาดเจ็บทางร่างกายหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาเอาประกันภัยนั้น (Occurrence Coverage Trigger) แม้การเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอาจเกิดขึ้นหลังจากที่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นหมดอายุแล้ว
  2. ให้ความคุ้มครองการบาดเจ็บทางร่างกายหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกิดขึ้นครั้งแรกภายในระยะเวลาเอาประกันภัยนั้น (Claim-made Trigger) แม้การบาดเจ็บทางร่างกายหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องดังกล่าวอาจเกิดขึ้นก่อนระยะเวลาเอาประกันภัยนั้นก็ตาม

 

ในการพิสูจน์ความคุ้มครอง ผู้ที่บาดเจ็บหรือได้รับความเสียหาย ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้ได้ว่าการบาดเจ็บหรือเสียหายดังกล่าวเกิดจากหรือเป็นผลมาจากความบกพร่องในตัวผลิตภัณฑ์ของผู้เอาประกันภัย

ข้อยกเว้น

-

  1. ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่ตัวผลิตภัณฑ์ (Physical Damage to The Product) ข้อยกเว้นนี้มีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับประกันภัยต้องมาชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมแซมหรือจัดหาผลิตภัณฑ์ทดแทน อันเนื่องมาจากการออกแบบ หรือการผลิต หรือการทำงานที่ผิดพลาดของผู้เอาประกันภัยเอง
  2. ค่าใช้จ่ายในการเรียกผลิตภัณฑ์นั้นคืน (Recall expenses) ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ได้จำหน่ายออกไปแล้วมีข้อบกพร่องเกิดขึ้น อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ ผู้ผลิตมักเรียกผลิตภัณฑ์เหล่านั้นคืน เพื่อแก้ไขหรือซ่อมแซมข้อบกพร่องดังกล่าว โดยการเรียกคืนนั้นอาจกระทำโดยความสมัครใจของผู้ผลิตเอง หรือโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาจสูงมาก เนื่องจากการประกันภัยความรับจากผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีความตั้งใจจะให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายชนิดนี้ จึงได้ระบุยกเว้นไว้ชัดเจนในกรมธรรม์
  3. การรับประกันคุณภาพหรือสัญญาที่ผู้เอาประกันภัยได้ให้ไว้กับผู้บริโภค รวมถึงการที่ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถใช้งานได้ถึงระดับหรือในแบบที่ผู้เอาประกันภัยอ้าง
  4. ความเสียหายที่เกิดจากความบกพร่องของผลิตภัณฑ์ที่ผู้เอาประกันภัยทราบอยู่ก่อนจะมีการเอาประกันภัยขึ้น ข้อยกเว้นนี้มีขึ้นเพื่อป้องกันการทุจริตของผู้เอาประกันภัย เพราะหากผู้เอาประกันภัยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าผลิตภัณฑ์ที่จะเอาประกันภัยมีข้อบกพร่องที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียหายแก่ผู้บริโภค จึงตัดสินใจทำประกันภัย การบาดเจ็บหรือเสียหายที่เกิดขึ้นก็ไม่ถือเป็นอุบัติเหตุ ไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้

ความแตกต่างระหว่าง Product Liability Insurance กับ Public Liability Insurance

-

Public Liability Insurance เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความรับผิดที่เกิดขึ้นภายในสถานประกอบการหรือเนื่องจากการดำเนินงานของผู้เอาประกันภัย แต่ Product Liability Insurance เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความรับผิดเนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์ หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ได้ออกจากสถานประกอบการไปแล้วและอยู่ภายใต้การควบคุมหรือการใช้ของบุคคลอื่น (ที่มิใช่ผู้เอาประกันภัย)

การผลิตในขั้นที่ 3 คือข้อใด

3. การผลิตขั้นที่สามหรือขั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตในลักษณะของการบริการ เช่น การขนส่งการค้าส่ง การค้าปลีก การธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผลผลิตมีการ เคลื่อนย้ายจากการผลิต ขั้นที่หนึ่งไปขั้นที่สอง และไปสู่ผู้บริโภคมีความสะดวกรวดเร็วมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ

การผลิตในขั้นที่ 2 คือข้อใด

2. การผลิตขั้นที่สองหรือขั้นทุติยภูมิ (secondary production) เป็นการผลิตที่ต้อง อาศัยผลผลิตอื่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต กรรมวิธีการผลิตมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบการผลิตมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการผลิตในด้านอุตสาหกรรม เช่น การผลิต อาหารกระป๋องต่างๆ การผลิตเหล็กเส้น เหล็กแผ่น การต่อเรือ ...

ขั้นตอนการผลิตมีอะไรบ้าง

ปัจจุบันเราสามารถแบ่งลาดับขั้นในการผลิตออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ(primary production) 2. การผลิตขั้นที่สองหรือขั้นทุติยภูมิ(secondary production) 3. การผลิตขั้นที่สามหรือขั้นตติยภูมิ(tertiary production) Page 7 Page 8 1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ

การผลิตขั้นสุดท้ายคืออะไร

3. ผลผลิต (Output/Product) หมายถึง ผลลัพธ์จากกระบวนการแปรสภาพ หรือผลลัพธ์สุดท้ายที่เราต้องการจากระบบการผลิต ซึ่งก็คือ ผลิตภัณฑ์ (Products) ในระบบการผลิตจะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไปไม่ได้ เพราะจะส่งผลให้ระบบไม่สมบูรณ์ และไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ออกมาให้ได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita