ความต่างศักย์ไฟฟ้า มีหน่วยเป็น

ศักย์ไฟฟ้า หรือ ศักดาไฟฟ้า คือ ระดับของพลังงานศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใด ๆ ในสนามไฟฟ้า ซึ่งมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด คือ ศักย์ไฟฟ้าบวก เป็นศักย์ที่อยู่ในสนามประจุบวก และ ศักย์ไฟฟ้าลบ เป็นศักย์ที่อยู่ในสนามประจุลบ โดยที่ประจุลบจะเคลื่อนที่จากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำไปยังศักย์ไฟฟ้าสูง และประจุบวกจะเคลื่อนที่ จากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงไปสู่จุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ

ในการวัดศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใด ๆ วัดจากจำนวนพลังงานศักย์ไฟฟ้า ที่เกิดจากการเคลื่อนประจุทดสอบ +1 หน่วย จากระยะอนันต์ไปยังจุดนั้น ดังนั้น จึงให้นิยามของศักย์ไฟฟ้าได้ว่า ศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใด ๆ ในสนามไฟฟ้า คือ พลังงานที่สิ้นเปลืองไปในการเคลื่อนประจุ ทดสอบ +1 หน่วยประจุจาก infinity มายังจุดนั้น หรือจากจุดนั้นไปยัง infinity ทำให้ศักย์ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นจูลต่อคูลอมบ์ หรือ โวลต์ โดยมีวิธีคำนวนพลังงานศักย์ไฟฟ้าดังนี้

Ep = พลังงานศักย์ไฟฟ้า , q = ประจุไฟฟ้า มีหน่วยเป็น คูลอมบ์ ,V = ศักย์ไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์

ส่วนพลังงานในการเคลื่อนประจุจากจุด A ที่มีความต่างศักย์

ไฟฟ้า VA ไปยังจุด B ที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า VB จะเป็นดังนี้

W = พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนประจุ มีหน่วยเป็นจูล, q = ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนระหว่างจุด A กับ B, V = ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด A กับจุด B

V = Ed

ดังนั้น  W = qEd

d = ระยะระหว่างจุด 2 จุดในสนามไฟฟ้า

ศักย์ไฟฟ้าจะมีค่าเป็นบวกหรือลบขึ้นกับชนิดของประจุที่ทำให้เกิดสนาม เช่น ศักย์ไฟฟ้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ ในบริเวณที่เป็นสนามไฟฟ้าของประจุบวก ศักย์ไฟฟ้าจะมีค่าเป็นบวก และศักย์ไฟฟ้าที่เกิดจากประจุต้นกำเนิดลบ จะมีศักย์ไฟฟ้าเป็นลบ เมื่อมีประจุอยู่ในบริเวณหนึ่งหลายประจุ ย่อมมีค่าศักย์ไฟฟ้าจากแต่ละประจุต้นกำเนิด

          กระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้าล้วนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าจะเกิดขึ้นหรือไหลผ่านได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะตัวนำ ไฟฟ้าว่ามีคุณสมบัติเป็นอย่างไร

ความต่างศักย์ไฟฟ้า

        ความต่างศักย์ไฟฟ้า คือ ความแตกต่างของพลังงานไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุด ซึ่งทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีระดับพลังงานไฟฟ้าสูง (ศักย์ไฟฟ้าสูง) ไปยังจุดที่มีระดับพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า (ศักย์ไฟฟ้าต่ำ) และจะหยุดไหลเมื่อศักย์ไฟฟ้าทั้งสองจุดเท่ากัน

ข้อควรรู้

    – ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุดเปรียบได้กับการไหลของน้ำ ซึ่งจะไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำ และจะหยุดไหลเมื่อระดับน้ำเท่ากัน

    – เครื่องมือที่ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า เรียกว่า โวลต์มิเตอร์ (voltmeter) มีหน่วยการวัด คือ โวลต์ (volt) ใช้ตัวย่อแทนความต่างศักย์ว่า V

รูปแสดงลักษณะโวลต์มิเตอร์

** โวลต์มิเตอร์ที่ดีจะต้องมีความต้านทานสูงเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้น้อยที่สุด

 ข้อควรรู้

     – โวลต์ (volt) เป็นชื่อของ อาเลสซันโดร วอลตา (Alessandro Volta) ผู้ประดิษฐ์คิดค้นแบตเตอรี่เป็นคนแรก

     – เมื่อเราต้องการวัดความต่างศักย์ระหว่างจุด 2 จุดใดๆ ในวงจรไฟฟ้า สามารถทำได้โดยการนำโวลต์มิเตอร์ต่อคร่อมระหว่าง 2 จุดนั้น เราเรียกการต่อลักษณะนี้ว่า การต่อแบบขนาน ดังรูป

รูปแสดงการต่อโวลต์มิเตอร์ในวงจรไฟฟ้า

        การที่กระแสไฟฟ้าไหล เนื่องมาจากความต่างศักย์ไฟที่เกิดขึ้นที่ขั้วของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า และ ความต่างศักย์ไฟฟ้าของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแต่ละชนิดก็จะไม่เท่ากัน เช่น ถ่านไฟฉายมีความต่างศักย์ประมาณ 1.5 โวลต์ แบตเตอรี่รถยนต์มีความต่างศักย์ไฟฟ้าประมาณ 12 โวลต์ ส่วนสายไฟฟ้าภายในบ้านมีความต่างศักย์ไฟฟ้าประมาณ 220 โวลต์ ทั้งนี้ถ้าความต่างศักย์ไฟฟ้ามีค่ามากขึ้น ระดับพลังงานไฟฟ้าก็จะมากขึ้นด้วย ซึ่งจะมีผลและเกิดอันตรายได้ง่าย

กระแสไฟฟ้า

   กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากบริเวณ หนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่ง กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นได้หลายวิธี เช่น เกิดจากความแตกต่างของพลังงานสองบริเวณ เกิดจากปฏิกิริยาเคมี เกิดจากการเหนี่ยวนำของวัตถุ เป็นต้น

เครื่องมือที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า เรียกว่า แอมมิเตอร์ (ammeter) มีหน่วยการวัดคือ แอมแปร์ (ampere) ใช้ตัวย่อแทนกระแสไฟฟ้าว่า I

รูปแสดงลักษณะของแอมมิเตอร์

       แอมมิเตอร์ที่ดีต้องมีความต้านทานน้อย เพื่อให้กระแสไฟฟ้าในวงจรไหลผ่านตัวแอมมิเตอร์ให้มากที่สุด  การใช้แอมมิเตอร์วัดปริมาณกระแสไฟฟ้ามีลักษณะเช่นเดียวกับการใช้มาตราวัด ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านท่อประปา คือ ต้องต่อแอมมิเตอร์แทรกในวงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เรียงลำดับในวงจรไฟฟ้าเป็นการต่อแบบอนุกรม เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์เป็นค่าเดียวกับกระแสไฟฟ้าที่ไหล ผ่านวงจรนั้น ดังรูป

กระแสไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

     1. ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) เป็นกระแสไฟฟ้าที่ไหลในทิศทางเดียวกัน โดยปกติกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าไปยังจุดที่มีศักย์ ไฟฟ้าต่ำกว่า หรือจากขั้วบวกผ่านวงจรไปยังขั้วลบทางเดียวตลอดเวลา เช่น กระแสไฟฟ้าจากเซลล์ไฟฟ้า (ถ่านไฟฉาย) หรือจากแบตเตอรี่

     2. ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current : AC) เป็นกระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับทิศไปมา โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวกไปยังขั้วลบ และไหลจากขั้วลบไปยังขั้วบวกสลับกัน เช่น กระแสไฟฟ้าที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือน กระแสไฟฟ้าที่เกิดจากไดนาโม

          ความต้านทานไฟฟ้า  ความต้านทาน เป็นปริมาณอย่างหนึ่งที่ต้านการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ เช่น การไหลของน้ำผ่านท่อที่มีขนาดต่างกัน จะพบว่า ท่อเล็กมีความต้านทานมาก น้ำจึงไหลผ่านได้น้อยกว่าท่อใหญ่ในช่วงเวลาเท่ากัน จึงกล่าวได้ว่า ท่อเล็กมีความต้านทานมาก น้ำจึงไหลผ่านได้น้อย ส่วนท่อใหญ่มีความต้านทานน้อยน้ำจึงไหลผ่านได้มาก

         ความต้านไฟฟ้า (resistance) คือ สมบัติของตัวนำไฟฟ้า (conductor) ที่ยอมให้กระแสไหลผ่านได้มากหรือน้อย ซึ่งเป็นสมบัติเฉพาะตัวของตัวนำนั้นๆ จะมีค่าแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของตัวนำ กล่าวคือตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้มากจะมีความต้านทานน้อย ส่วนตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้น้อยจะมีความต้านทานมาก ความต้านทานไฟฟ้ามีหน่วยเป็น โอห์ม (ohm) ใช้สัญลักษณ์ Ω ตัวย่อที่ใช้แทนความต้านทานไฟฟ้า คือ R

ปัจจัยที่มีผลต่อความต้านทานของตัวนำไฟฟ้า มีดังนี้

    1) ชนิดของตัวนำ ตัวนำต่างชนิดกันมีความต้านทานไม่เท่ากัน

    2) ความยาวของตัวนำ ความยาวมากจะมีความต้านทานมาก และความยาวน้อยจะมีความต้านทานน้อย (ความต้านทานแปรผันโดยตรงกับความยาว)

        – ลวดตัวนำชนิดเดียวกัน ขนาดใหญ่เท่ากัน เส้นที่ยาวกว่าจะมีความต้านทานมากกว่า และจะยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อยกว่าเส้นที่สั้น

    3) พื้นที่หน้าตัดของตัวนำ พื้นที่หน้าตัดมาก (ขนาดใหญ่) จะมีความต้านทานน้อย และพื้นที่หน้าตัดน้อย (ขนาดเล็ก) จะมีความต้านทานมาก (ความต้านทานแปรผกผันกับพื้นที่หน้าตัด)

       – ลวดตัวนำชนิดเดียวกัน ยาวเท่ากัน เส้นที่มีขนาดเล็กกว่า หรือมีพื้นที่หน้าตัดน้อยกว่าจะมีความต้านทานมากกว่า และจะยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อยกว่าเส้นที่มีขนาดใหญ่และสั้น

    4) อุณหภูมิของตัวนำ อุณหภูมิสูงจะมีความต้านทานมาก และอุณหภูมิต่ำจะมีความต้านทานน้อย

       – ฉนวนไฟฟ้า (insulator) คือ สารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านหรือมีความต้านทานไฟฟ้าสูง ส่วนใหญ่เป็นพวกอโลหะ เช่น ยาง แก้ว ไม้ พลาสติก กระเบื้อง เป็นต้น

       – ตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด (superconductor) คือ ตัวนำไฟฟ้าที่ไม่มีความต้านทานไฟฟ้าเลย ทำได้โดยนำตัวนำไฟฟ้า เช่น ดีบุก ปรอท มาลดอุณหภูมิจนถึงระดับหนึ่ง คือประมาณ -25 องศาเซลเซียส ตัวนำไฟฟ้าก็จะหมดความต้านทานลง

       – ไฟฟ้าลัดวงจร (short circuit) เกิดจากลวดตัวนำในสายไฟแต่ละสายมาแตะกัน จึงทำให้มีกระแสไฟฟ้าปริมาณมากผ่านบริเวณที่สายไฟแตะกันทำให้เกิดความร้อน สูง ถ้าวงจรไม่ถูกตัดสายไฟอาจลุกไหม้และเกิดอัคคีภัยได้

ข้อควรรู้

เหตุที่นกเกาะสายไฟฟ้าแรงสูงที่ไม่มีฉนวนหุ้มได้ โดยไม่ถูกไฟดูดเป็นเพราะ

     – ขาของนกทั้ง 2 ข้างเกาะสายไฟเพียงเส้นเดียว จึงไม่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า

     – เท้าของนกเป็นเซลล์แห้ง มีความต้านทานไฟฟ้าสูง

     – ตัวนกไม่ได้ต่อกับพื้นดิน กระแสไฟฟ้าจึงไม่สามารถไหลผ่านตัวนกลงสู่พื้นดินได้

Cr. //sites.google.com/site/soweiyd263/khwam-tang-saky-fifa-krasae-fifa-laea-khwam-tanthan-fifa

ความต่างศักย์ไฟฟ้า หายังไง

ตัวอย่างเช่น ในการเลื่อนประจุไฟฟ้า q = 2 คูลอมบ์ จากจุด B ไปยัง A ปรากฏว่างานในการเลื่อนประจุนี้เท่ากับ W= 10 จูล แสดงว่า ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด A กับ B หาได้จาก V = W/q ดังนั้นความต่างศักย์ VAB = 5 จูล/คูลอมบ์ หรือ โวลต์ ความต่างศักย์ไฟฟ้าในบริเวณสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอ

ศักย์ไฟฟ้า มีอะไรบ้าง

ศักย์ไฟฟ้า หรือ ศักดาไฟฟ้า คือ ระดับของพลังงานศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใด ๆ ในสนามไฟฟ้า ซึ่งมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด คือ ศักย์ไฟฟ้าบวก เป็นศักย์ที่อยู่ในสนามประจุบวก และ ศักย์ไฟฟ้าลบ เป็นศักย์ที่อยู่ในสนามประจุลบ โดยที่ประจุลบจะเคลื่อนที่จากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำไปยังศักย์ไฟฟ้าสูง และประจุบวกจะเคลื่อนที่ จากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงไป ...

สัญลักษณ์ความต่างศักย์ไฟฟ้าคืออะไร

หน่วยของความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าคือ โวลต์ (Volt ใช้สัญลักษณ์ V) เช่น แรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านที่มีค่า 220 โวลต์ แรงดันไฟฟ้าของถ่านไฟฉายมีค่า 1.5 โวลต์ เป็นต้น แรงดันไฟฟ้าที่มีค่าสูงจะใช้หน่วยเป็นกิโลโวลต์ (kV) และที่มีค่าต่ำใช้หน่วยมิลลิโวลต์ (mV)

ความต่างศักย์ไฟฟ้าเปรียบได้กับอะไร

ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุดเปรียบได้กับการไหลของน้ำ ซึ่งจะไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำ และจะหยุดไหลเมื่อระดับน้ำเท่ากัน – เครื่องมือที่ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า เรียกว่า โวลต์มิเตอร์ (voltmeter) มีหน่วยการวัด คือ โวลต์ (volt) ใช้ตัวย่อแทนความต่างศักย์ว่า V.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita