ค่า ใช้ จ่าย งาน แต่งงาน มี อะไร บ้าง

          การจัดพิธีมงคลสมรสช่วงเช้าให้ออกมาสมบูรณ์แบบและราบรื่นมากที่สุดนั้นเรียกได้ว่าจะต้องจัดการวางแผนการเงินและทำงบประมาณตั้งแต่เนิ่นๆ เลยนะคะ เพราะนอกจากเรื่องของฤกษ์ยาม สถานที่จัดงาน อาหาร จำนวนแขก และชุดบ่าวสาวแล้ว ยังมีรายละเอียดยิบย่อยอื่น ๆ อีกมาก วันนี้เราจึงคำนวณค่าใช้จ่ายงานแต่งงานตอนเช้าแบบคร่าวๆ ให้ทุกคนได้เตรียมตัวเก็บเงินล่วงหน้ากัน จะได้ไม่ต้องมีปัญหางบบานปลายในภายหลัง ซึ่งค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยค่ะ

1. ค่าพิธีการ สถานที่ และสายกั้นประตู 

          เริ่มต้นกันด้วยค่าพิธีการและสถานที่สำหรับจัดงานเช้ากันนะคะ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นพิธีหมั้นสวมแหวน พิธีสงฆ์ รดน้ำสังข์ หรือยกน้ำชา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทางโรงแรมจะจัดเป็นแพ็คเกจให้ทางบ่าวสาวได้เลือกขึ้นอยู่กับความต้องการค่ะ โดยค่าใช้จ่ายโดยประมาณจะอยู่ที่ 55,000 บาท ซึ่งราคานี้สำหรับงานหมั้นจะรวมค่าอุปกรณ์ เช่น พานแหวน และสายกั้นประตูให้ด้วย แต่บางโรงแรมก็อาจคิดค่าสายกั้นประตูเพิ่มเติม ประมาณเส้นละ 500 บาท ค่ะ 

2. ค่าอาหารว่างสำหรับงานเช้า 

          งบสำหรับค่าอาหารว่างสำหรับงานเช้า ในกรณีที่เป็นโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ที่รวมทั้งชา กาแฟ ข้าวต้ม ติ่มซำ น้ำเต้าหู้ ผลไม้ และของหวาน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ หัวละ 900 บาท ถ้าเชิญแขกมาร่วมงานประมาณ 80 คน ก็จะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมประมาณ 72,000 บาท ค่ะ 

3. ค่าตกแต่งสถานที่ 

          การจัดตกแต่งสถานที่ด้วยดอกไม้สดหรูหราสำหรับโรงแรมระดับ 5 ดาว จะเริ่มที่ 20,000 บาท ค่ะ แต่ถ้าหากบ่าวสาวเลือกใช้ดอกไม้ประดิษฐ์แทนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จะถูกลงมาค่ะ 

4. ค่าจ้างคนรันคิว พิธีกร ดูแลงาน 

          แน่นอนว่าในส่วนของงานตอนเช้าลำดับพิธีการจะต้องมีความเป๊ะนะคะ ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับทีมรันคิว พิธีกรดำเนินงาน และสตาฟที่ดูแลความเรียบร้อยของงานจะมีราคาเริ่มต้นประมาณ 15,000 บาท 

5. ค่าช่างแต่งหน้า 

          สำหรับราคาแต่งหน้านั้นก็มีเรทราคาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของช่าง ซึ่งสำหรับช่างที่มีชื่อเสียงระดับหนึ่งจะมีราคาเริ่มต้นประมาณ 25,000 บาท ค่ะ โดยราคานี้ก็จะรวมทั้งค่าแต่งหน้าของทั้งเจ้าสาวและเจ้าบ่าวเลย 

6. ค่าทำผม

          เรื่องผมก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญไม่แพ้หน้าเลยนะคะ โดยช่างทำผมเก่งๆ หรือช่างดังๆ ของดาราจะคิดค่าทำผมรอบละประมาณ 25,000 บาท รวมทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวค่ะ 

7. ค่าชุดสูทเจ้าบ่าวแบบสั่งตัด 

          ในส่วนของชุดสูทเจ้าบ่าวนั้นราคาจะหลากหลายมากค่ะ แต่โดยทั่วไปแล้วการสั่งตัดสูทแบบวัดสัดส่วนพร้อมรวมเสื้อเชิ้ตจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 10,000 บาท 

8. ค่าชุดเจ้าสาวแบบเช่า 

          ส่วนใหญ่แล้วในงานพิธีเช้าเจ้าสาวจะเลือกใส่เป็นชุดไทย ชุดจีน หรือชุดลายลูกไม้สีขาวที่เน้นความคล่องตัวนะคะ เนื่องจากต้องมีการก้มกราบและรับไหว้ตลอดงาน ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไปตามแบบดีไซน์และวัสดุเนื้อผ้า โดยราคาเช่าชุดลูกไม้จะอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท

9. ค่าช่างภาพ + ถ่ายวิดีโอ 

          สำหรับคู่บ่าวสาวที่ต้องการเก็บภาพในวันงานเป็นความทรงจำ เราขอแนะนำให้เลือกช่างภาพมืออาชีพที่เคยมีประสบการณ์การถ่ายภาพงานแต่งมาก่อนนะคะ เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะได้รูปที่สวยงาม ภาพออกมาดูดี ซึ่งราคาสำหรับทีมงาน 3 คนจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท โดยเรทราคานี้จะได้ภาพที่แต่งสวยๆ มาเรียบร้อยแล้วประมาณ 100 รูป 

10. ค่าอุปกรณ์ขันหมาก 

          ปิดท้ายด้วยค่าอุปกรณ์ขันหมากสำหรับพิธีไทยที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องเตรียมการเองนะคะ เนื่องจากโรงแรมส่วนใหญ่จะไม่รวมชุดขันหมากอยู่ในแพ็คเกจ ซึ่งถ้ารวมค่าพาน ดอกไม้ต่างๆ ต้นกล้วย และขนมมงคลนานาชนิด จะมีราคาคร่าวๆ ประมาณ 10,000 บาท ค่ะ 

          และทั้งหมดนี้คือภาพรวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณของงานแต่งงานตอนเช้านะคะ ซึ่งหากรวมรายละเอียดทั้งหมดจะมีค่าใช้จ่ายคร่าวๆ อยู่ที่ 272,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนเงินท่ีไม่น้อยเลยนะคะ ดังนั้น คู่บ่าวสาวจะต้องวางแผนการใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุด 

          นอกจากงบสำหรับการจัดงานแต่งงานแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลย ก็คือ “แหวนแต่งงาน” นั่นเองค่ะ โดยแหวนเพชรขนาด 1 กะรัตขึ้นไปที่ถูกเจียระไนอย่างสวยงามจะมีราคาเริ่มตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป หากว่าที่คู่บ่าวสาวสนใจอยากจะขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกแหวนแต่งงานหรือแหวนเพชรสามารถแวะมาที่หน้าร้าน Pattana Gems ดิโอลด์สยามพลาซ่า ชั้น 1 ห้อง E112 ได้นะคะ เพราะเรามีเพชรเกรดคุณภาพ หลากหลายดีไซน์ ราคาจากผู้ผลิต ให้คุณได้เลือก รับรองว่าได้แหวนแต่งงานที่เปี่ยมไปด้วยความหมายและถูกใจคุณทั้งสองอย่างแน่นอนค่ะ 

ความรักอาจไม่ใช่เรื่องของเงินทอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแต่งงานและการสร้างครอบครัวนั้นต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยเลยล่ะครับ การวางแผนแต่งงานและการตั้งงบแต่งงานจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคู่รักทุกคู่ที่ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะทุกขั้นตอนล้วนมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมให้พร้อม โดยเริ่มจากการตั้งงบก่อนแต่งงาน ทั้งค่าใช้จ่ายระยะสั้นอย่างการจัดงานแต่งงาน และค่าใช้จ่ายระยะยาวหลังจากเป็นครอบครัวเดียวกัน

แต่วันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่ค่าใช้จ่ายระยะสั้นหรือให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การตั้งงบแต่งงานนั่นเองล่ะครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่อาจต้องใช้เวลาเก็บออมกันล่วงหน้าหลายปีเลยทีเดียว

1. ตั้งงบแต่งงานไว้ บนความต้องการที่เป็นไปได้

การแต่งงาน ไม่ว่าจะงานเล็กหรืองานใหญ่ก็ต้องมีการ “ตั้งงบแต่งงาน” ไว้ก่อนเพื่อให้เราได้วางแผนล่วงหน้าซึ่งจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้บานปลาย และทำให้เรารู้ตัวว่าแต่ละเดือนทั้งคู่ต้องเก็บเงินเท่าไหร่เพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้น ต้องใช้เวลาเก็บเงินกี่ปี โดยแนะนำว่าในขั้นตอนนี้ควรคุยกันเพื่อให้ทราบความต้องการและ “ความคาดหวัง” ของกันและกันว่าจะต้องตั้งงบแต่งงานเท่าไร จึงจะพอสำหรับคุณทั้งคู่

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราได้คุยกันเรื่องความคาดหวังของแต่ละฝ่ายแล้ว จึงตั้งงบแต่งงาน กางแผนค่าใช้จ่ายและรายได้ออกมา เช่น เราตั้งงบแต่งงานไว้ว่า จะจัดงานที่เชิญแขกไม่เกิน 200 คน ไม่ใช้ออแกไนเซอร์ มีเงินช่วยเหลือสมทบจากผู้ใหญ่บ้าง แผนค่าใช้จ่ายในงานแต่งที่ได้หน้าตาจะออกมาประมาณนี้ครับ

  Estimated Actual
รายได้    
เงินที่ทั้งคู่ตั้งใจจะเก็บ/ เดือน ฿ 10,000  
เงินสมทบจากผู้ใหญ่ (ถ้ามี) ฿ 100,000  
คำนวณระยะเวลาที่ต้องเก็บเงิน 3.3 ปี  
รวมรายได้ 500,000  
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด    
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 500,000  
การแต่งกายตามธรรมเนียม    
แหวนแต่งงาน 50,000  
ชุดพิธีหมั้น เจ้าสาว เจ้าบ่าว 15,000  
ชุดงานแต่ง เจ้าสาว เจ้าบ่าว 15,000  
ชุดเพื่อนเจ้าสาว เพื่อนเจ้าบ่าว 10,000  
ของประดับตกแต่งเจ้าสาว อื่น ๆ 5,000  
เครื่องประดับ -  
ช่างแต่งหน้า 10,000  
ช่างทำผม 10,000  
Other    
Total Apparel ฿ 115,000  
 
ค่าจัดงาน    
ค่าออแกไนเซอร์ -  
ของประดับตกแต่งงาน (ไม่รวมดอกไม้) 30,000  
การ์ดเชิญ 10,000  
ค่าดีไซน์การ์ดเชิญ -  
ค่าเช่าสถานที่ และอาหารในงาน 100,000  
เค้กงานแต่ง 5,000  
ค่าที่พักให้แขกผู้ใหญ่ 1 คืน x 20 คน 30,000  
ค่าของชำร่วยแจกแขก 200 คน 35,000  
ค่าช่างภาพ (pre-wedding/ on set) 30,000  
ค่าตัดต่อวิดีโองานแต่ง 5,000  
ค่าของรับไหว้ งานเช้า 5,000  
ค่าดอกไม้และจัดดอกไม้ในงาน 30,000  
ค่าดนตรี นักร้อง 30,000  
ค่าช่างเสียง อุปกรณ์เสียง 25,000  
เงินสำรอง 50,000  
Total Decorations ฿ 385,000  

จะเห็นได้ว่า เมื่อตั้งงบแต่งงานไว้แล้ว ทั้งคู่ต้องใช้เวลาเก็บเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในงานแต่งประมาณ 3.3 ปี โดยเก็บเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 10,000 บาท (เท่ากับเก็บเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือน) ซึ่งในแผนนี้ ในช่องค่าใช้จ่ายควรมีค่าใช้จ่ายสำรองด้วย เผื่อไว้ในยามฉุกเฉินหน้างาน ซึ่ง Template นี้จะมีช่อง Estimated คือการประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เพื่อบริหารเงินไม่ให้งบแต่งงานเกินจากที่ตั้งไว้ และมีช่อง Actual ให้เราได้กรอก คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงครับ ซึ่งช่องรายได้ใน Template นี้จะยังไม่ใส่รายได้จากค่าซองงานแต่งและรายจ่ายที่เป็นค่าสินสอดครับ

สามารถดาวน์โหลดไฟล์ Template การตั้งงบแต่งงานและวางแผนค่าใช้จ่ายงานแต่ง ได้ง่าย ๆ และนำไฟล์มาปรับแต่งรายละเอียดให้เข้ากับงานของคุณบนโปรแกรม Microsoft Excel ได้ครับ

ส่วนใครที่มีความจำเป็นต้องเร่งให้การแต่งงานเร็วขึ้น บางคนอาจมองหาสินเชื่อส่วนบุคคล แนะนำให้ยื่นกู้กับสินเชื่อที่ได้ดอกเบี้ยต่ำ และไม่ยุ่งยากในการสมัครครับ เช่น สินเชื่อ Krungsri iFIN ที่สามารถยื่นกู้ได้ง่ายผ่านมือถือ และได้วงเงินสูงสุดถึง 5 เท่าของรายได้

2. ควรมีบัญชีเก็บเงินงานแต่งโดยเฉพาะ

เมื่อตั้งงบแต่งงานแล้ว การเก็บเงินคือขั้นตอนสำคัญที่สุดที่จะทำให้งานแต่งเป็นไปได้ ช่องทางการเก็บเงินเป็นงบงานแต่งจึงควรแยกบัญชีออกมาต่างหาก อาจเป็นบัญชีออมทรัพย์ เพราะมีสภาพคล่องมากกว่า เผื่อเบิกถอนออกมาจ่ายค่ามัดจำต่าง ๆ ในงานแต่ง และควรเป็นบัญชีที่ต้องใช้ลายเซ็นทั้งคู่ในการถอนเงินครับ

3. คอนเนคชั่น = สปอนเซอร์

หลายคนพบว่า คอนเนคชั่นเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน หรือช่วยทำให้งานออกมาตรงตามความต้องการมากขึ้น เช่น การมีเพื่อนเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ ที่สามารถช่วยออกแบบการ์ดเชิญให้ในราคาประหยัด การมีเพื่อนรู้จักช่างภาพเวดดิ้งที่มีฝีมือและคุณภาพสมราคา การมีเพื่อนรู้จักออแกไนเซอร์ที่รับจัดงานเล็ก ๆ หรือจัดดอกไม้งานแต่ง หรือการที่เรารู้จักช่างแต่งหน้าทำผมฝีมือดี เป็นต้น

ค่า ใช้ จ่าย งาน แต่งงาน มี อะไร บ้าง

4. แยกงานผู้ใหญ่ กับงานเด็ก

ต้องยอมรับครับว่า งานแต่งงานเป็นความคาดหวังของคนหลายฝ่าย ไม่ใช่แต่เฉพาะเจ้าบ่าวเจ้าสาวอย่างเดียว การตั้งงบแต่งงานจึงต้องคิดถึงความต้องการของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายด้วย ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้อาจทำให้งบงานแต่งงานบานปลาย จึงเริ่มมีคนนิยม “จัดงานหมั้นเช้า จัดงานแต่งบ่าย” เพื่อแยกกลุ่มแขกเหรื่อในงาน ให้งานเช้าเป็นงานที่ให้เกียรติผู้ใหญ่ให้มาเป็นสักขีพยาน ส่วนงานบ่ายก็เป็นงานที่เพื่อนของคู่บ่าวสาวได้ปาร์ตี้กันไป ด้วยบรรยากาศที่เรียบง่ายแต่เป็นกันเอง ซึ่งหลายครั้งจะพบว่าการจัดงานแนวนี้ช่วยประหยัดงบในการแต่งงานไปเยอะเลยครับ

5. เซฟค่าอาหารในงาน อย่ามองผ่าน ‘สตรีทฟู้ด’

สตรีทฟู้ดบ้านเราบางร้านเป็นระดับมิชลินสตาร์ แถมได้รับการยกย่องจากต่างชาติว่าเด็ดสุด ๆ การจัดงานแต่งแบบเน้นสตรีทฟู้ด ช่วยให้เราได้คัดสรรอาหารจากร้านที่น่าทานและรสชาติดีจริง ๆ รวมกันสักไม่เกินสิบร้านก็น่าจะสร้างความพึงพอใจให้แขกในงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในงานแต่งได้มากกว่าโต๊ะจีนครับ

6. งานเล็กหรือใหญ่ ก็ทำให้ ‘ประทับใจ’ ได้

สังเกตไหมครับ ความเล็กหรือใหญ่ของงาน ไม่ได้เป็นตัววัดความประทับใจที่เรามีต่องานนั้น ๆ เสมอไป บางครั้งเราไปงานแต่งเพื่อนที่จัดขึ้นเล็ก ๆ แต่บรรยากาศเป็นงานแต่งในฟาร์มสเตย์เก๋อย่าบอกใคร มีแขกไม่เกินสามสิบคน แต่ก็จัดออกมาให้ดูอบอุ่นประทับใจจนอยากบอกต่อ หากเราเน้นจัดงานเล็ก อาจทำให้ควบคุมบรรยากาศของงานและตั้งงบแต่งงานได้ง่ายกว่า โดยอาจจะไม่ต้องอาศัยวิดีโอพรีเซนเทชั่นใด ๆ เลยก็ได้

ค่า ใช้ จ่าย งาน แต่งงาน มี อะไร บ้าง

สำหรับคู่รักที่กังวลว่า จัดงานแต่งงานต้องใช้งบเท่าไหร่ และควรจะตั้งงบแต่งงานอย่างไรจึงจะครอบคลุม เพราะคุณอาจมีงบในส่วนนี้ไม่มากนัก อาจต้องลดค่าใช้จ่ายในบางส่วนที่สามารถประหยัดได้ เช่น การเลือกสถานที่จัดงานในสวนหรือร้านอาหาร แทนการจัดงานในโรงแรมที่มีราคาสูง วางแผนล่วงหน้าเพื่อจัดงานด้วยตนเองโดยไม่ต้องจ้างออแกไนเซอร์ เน้นเชิญครอบครัวและเพื่อนสนิทมาร่วมงาน อย่านำเงินก้อนไปทุ่มเทกับการจัดงานแต่งงานครั้งเดียวจนหมด

เพราะแม้ว่าการแต่งงานจะเป็นวาระสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ที่สำคัญกว่าคือภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวหลังการแต่งงาน

เมื่อคู่รักกลายเป็นครอบครัว ยิ่งถ้ามีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มขึ้นมาด้วยแล้ว นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในทุกส่วน นอกจากจะตั้งงบแต่งงานแล้วก็ต้องไม่ลืมที่จะวางแผนการเงินให้รอบคอบตั้งแต่ก่อนแต่ง เพราะในระยะยาวยังต้องมีค่ารถคันใหม่หรือบ้านหลังใหม่ ค่าเทอมของลูกที่เพิ่มเข้ามา รวมถึงค่ารักษาพยาบาลเมื่อลูกเจ็บป่วยครับ

Credit: decor.mthai, the money case by the money coach, wedding-campus