ทักษะที่ครอบคลุมความสามารถด้าน digital literacy ประกอบด้วยกี่ด้าน อะไรบ้าง

“ความเร็ว” หนึ่งในกุญแจสำคัญของการทำงานภายใต้ยุคดิจิทัล และโลกแห่งการทำงานในอีก 10 ปีข้างหน้า ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความท้าทายใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมผู้คนที่เปลี่ยนไป หรือเทรนด์ใหม่ ๆ ที่ออกมาจนแทบตามไม่ทัน ทำให้ทั้งคนทำงานและองค์กรจำเป็นต้องเรียนรู้ และปรับตัวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านชีวิต และการทำงาน

ทักษะที่ครอบคลุมความสามารถด้าน digital literacy ประกอบด้วยกี่ด้าน อะไรบ้าง

ยิ่งในตอนนี้ เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อชีวิตในแทบทุกมิติ ตั้งแต่ลืมตาตื่นยันเข้านอนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งทำให้น่าคิดว่าในอีกหลายสิบปีข้างหน้าทุกอย่างจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน ดังนั้น การมีทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อปรับตัวสู่ Digital Transformation และรองรับความหลากหลายของเทคโนโลยีหรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยให้ใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างราบรื่นย่อมดีกว่าเป็นไหน ๆ ซึ่งทักษะพื้นฐานที่ว่านี้ก็คือ “การรู้ดิจิทัล” หรือที่เรียกว่า “Digital Literacy”

แล้วทักษะ “Digital Literacy” คืออะไร?

Digital Literacy คือ ความสามารถในการเข้าใจ เข้าถึง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรมี เพราะทักษะนี้เป็นตัวช่วยในการต่อยอดไปสู่ทักษะอื่น ๆ ที่เฉพาะเจาะจงกับสายอาชีพมากขึ้น

พูดง่าย ๆ ก็คือ การเข้าใจเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานที่ต้องใช้ในองค์กร และทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมนำเสนองาน การใช้ Zoom เพื่อทำงาน หรือประชุมออนไลน์ รวมถึงการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล เพราะเมื่อองค์กรปรับการทำงาน และนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อใด แต่พนักงานไม่เรียนรู้ และปรับตัวก็จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ยาก

หรือถ้าเป็นสายงานที่ต้องการทักษะเฉพาะทางขึ้นไปอีก เช่น Digital Marketing ก็ควรรู้ Tools พื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น การเก็บข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์ผ่าน Google Analytics การทำ SEM (Search Engine Marketing) ผ่าน Google Ads หรือมีความรู้ความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อสามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก หรือวางกลยุทธ์ต่อได้

ทักษะที่ครอบคลุมความสามารถด้าน digital literacy ประกอบด้วยกี่ด้าน อะไรบ้าง

และเมื่อพนักงานขาดทักษะ Digital Literacy ก็อาจส่งผลให้การทำงานติดขัด การประสานงานยากขึ้น จนสุดท้ายผลงานที่ออกมาหรือตัวองค์กรนั้นยังมีความ “ช้า” อยู่ แม้จะนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้แล้วก็ตาม และถ้าองค์กรไม่เตรียมความพร้อมให้พนักงานตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจทำให้พวกเขาประสบกับความยากลำบากที่ต้องมาทำความเข้าใจเทคโนโลยีภายหลัง จนนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน ที่สุดท้ายอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นที่พนักงานตัดสินใจลาออกได้

จึงเป็นคำตอบว่าทำไม Digital Literacy ถึงเป็นหนึ่งในทักษะที่ทุกคนในยุคนี้ควรมี โดยเฉพาะคนทำงาน ที่เป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อน และปรับองค์กรให้เข้ากับดิจิทัลได้ แล้วองค์กรจะช่วยพัฒนาทักษะนี้ให้พนักงานได้อย่างไร? ผมได้สรุป 4 คำแนะนำที่น่าสนใจจาก Builtin มาฝากกันครับ

1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน

ก่อนที่องค์กรจะผลักดันให้พนักงานพัฒนาทักษะ Digital Literacy ทั้งจากการสอนงาน การฝึกอบรม หรือไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรทำเป็นอันดับแรก คือ “การมีเป้าหมายที่ชัดเจน” เพื่อให้พนักงานรู้ว่ากำลังทำอะไรหรือทำไปเพื่ออะไร เช่น ทักษะนี้มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร? องค์กรคาดหวังให้พนักงานพัฒนาในทิศทางไหน? รวมถึงอาจเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานในรูปแบบรางวัลหรือโบนัสก็ได้

2. วางกลยุทธ์อย่างเหมาะสม

หลายองค์กรมักจะส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาทักษะก็ต่อเมื่อมีโปรเจกต์ใหญ่ ๆ เข้ามา มีเทคโนโลยีเกิดใหม่ หรือต้องร่วมงานกับพันธมิตรทางธุรกิจ ทำให้ทุกกระบวนการเรียนรู้ต้องเร่งรีบไปหมด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการพัฒนาที่ดีไม่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต้องค่อยเป็นค่อยไป ผสานกับการลงมือทำจริงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องวางแผนการพัฒนาทักษะอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่มาเร่งเมื่อจำเป็นทีเดียว

3. ปรับการเรียนรู้ให้หลากหลาย

การพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้ในปัจจุบันมีช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การอ่านหนังสือ การเรียนออนไลน์ การเรียนแบบตัวต่อตัว หรือการเรียนผ่านเทคโนโลยี VR ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า โดยองค์กรสามารถนำประโยชน์ของเทคโนโลยีเหล่านี้มาออกแบบและพัฒนาการเรียน เพื่อให้พนักงานมีทางเลือกในการพัฒนาตัวเองที่หลากหลาย เพราะบางคนชอบเรียนด้วยตัวเอง ส่วนบางคนชอบเรียนกับผู้สอนโดยตรง หากมีทางเลือกที่หลากหลายก็จะทำให้พนักงานสนุกกับการเรียนมากขึ้น

4. ประเมินผลการเรียนรู้

เมื่อพูดถึงการประเมินทีไร เชื่อว่าหลายคนคงเหนื่อยหน่ายไปตาม ๆ กัน แต่ก็ต้องบอกว่าการวัดผลนั้นสำคัญมากทีเดียวครับ เพราะทำให้รู้ว่าการพัฒนาทักษะดิจิทัลเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ สามารถนำมาใช้ได้จริงตามวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรประเมินทันทีหลังการเรียนหรือฝึกอบรมจบ เพราะพนักงานอาจยังไม่ได้นำทักษะดิจิทัลมาปรับใช้กับการทำงานได้อย่างเต็มที่ อาจประเมินโดยอิงจากรอบไตรมาสหรือตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ทักษะที่ครอบคลุมความสามารถด้าน digital literacy ประกอบด้วยกี่ด้าน อะไรบ้าง

ในอนาคตของการทำงานต่อไปนี้จะก้าวสู่โลกดิจิทัลอย่างรวดเร็ว “Digital Literacy” จึงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ไม่ควรมองข้ามเลย แม้หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อใดก็ตามที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ แล้วพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ยังคงขาดทักษะพื้นฐานทางดิจิทัลอยู่ ก็จะทำให้ยากที่จะปรับตัวให้ทัน รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานในภาพรวมขององค์กรอีกด้วย

เห็นไหมครับว่าการที่องค์กรจะปรับตัวและไปต่อได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน ทั้งผู้นำ คนในองค์กร รวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ เพราะหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็ยากที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทาย ยากที่จะไปต่อหรือปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลง

Reference:

  1. 4 Key Elements of Successful Digital Literacy in the Workplace
    https://bit.ly/39aYiZY

Digital Literacy มีกี่ระดับ

"การรู้ดิจิทัล" คือ ความหลากหลายของทักษะที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งทักษะเหล่านั้นอยู่ภายใต้ การรู้สื่อ (Media literacy) การรู้เทคโนโลยี (Technology literacy) การรู้สารสนเทศ (Information literacy) การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual literacy) การรู้การสื่อสาร (Communication literacy) และการรู้สังคม (Social literacy)

ทักษะดิจิทัลมีกี่ด้าน

ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) คือ ทักษะที่ใช้ในการทำงานในยุคปัจจุบันที่มนุษย์นั้นจำเป็นจะต้องพึ่งเทคโนโลยีในการทำงานในหลากหลายระดับ ซึ่งในยุคนี้มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีเติบโต และเข้ามามีบทบาทในการทำงานและวิถีชีวิตของทุกคน โดยทักษะด้านดิจิทัลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 6 ด้าน ดังนี้

ทักษะด้านดิจิทัล 8 ประการ ประกอบไปด้วยด้านใดบ้าง

จับตา 8 ทักษะดิจิทัล มาแรงรับปี 2017.
1. Digital skill Leadership. ... .
2. Digital skill Transformation. ... .
3. Digital skill Governance. ... .
4. Digital skill Project Management. ... .
5. Digital skill Technology. ... .
6. Digital Services Design & Assurance. ... .
7. Digital skill Compliance. ... .
8. Digital skill Literacy..

การพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)มีกี่ขั้นตอน

ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ •การใช้ (Use) เข้าใจ (Understand) •การสร้าง (create) •เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ