การนำ Digital Signature ไปใช้

Digital Signature คือ การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certificate) ที่ระบุตัวบุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อ เพื่อแสดงว่าบุคคล หรือองค์กร ดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเทคโนโลยี PKI ผ่านการใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certificate) นั้น เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นๆ เชื่อมั่นได้ว่าผู้ที่ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคโนโลยี PKI เป็นผู้ทำธุรกรรมหรือยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจริง และจะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดได้ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบได้ว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวถูกแก้ไขหลังจากที่มีการลงลายมือชื่อหรือไม่ ซึ่งสอดคล้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 9 และ 26

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. ได้มีบริการให้กับหน่วยงานภาครัฐที่สนใจใช้งานการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีขั้นตอนในการขอรับการสนับสนุนใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

การนำ Digital Signature ไปใช้
การนำ Digital Signature ไปใช้

https://www.etda.or.th/th/Our-Service/Digital-Trusted-services-Infrastructure/TEDA/Speed-up-e-Licensing/request_e-Licensing.aspx

กรณีที่ทางภาคเอกชนและในนามบุคคล ต้องการใช้งานการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์  นั้นจำเป็นที่จะต้องซื้อบริการการลงลายมือชื่อนี้กับหน่วยงานที่ให้บริการ ซึ่งในประเทศไทยตอนนี้ผู้ให้บริการคือ TDID   หรือ INET

โดยทาง TDID จะมีบริการให้ทดลองใช้งาน 1 ปี โดยสามารถสมัครเพื่อขอบัญชีในการทดลองใช้งานได้ที่เว็บไซต์ https://www.thaidigitalid.com/ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. สร้างใบคำขอใบรับรองฯ บนระบบ ASCH
  2. ส่งเอกสารตัวจริงมาที่ TDID
  3. รอรับรหัสอนุมัติ ทางอีเมล์
  4. นำรหัสอนุมัติมารับใบรับรองฯ บนระบบ WCE
  5. เปิดใช้งาน(Activate)ใบรับรองฯ ด้วยรหัส OTP
การนำ Digital Signature ไปใช้

หมายเหตุ กรณีจัดเก็บใบรับรองฯ ใน e-Token (ต้องการใบเสนอราคา e-Token)

ประโยชน์ของการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

การนำ Digital Signature ไปใช้

แนะนำการใช้งาน

สรุป หากหน่วยงานภาครัฐต้องการ CA สามารถทำเรื่องไปที่ ETDA :  https://www.etda.or.th/th/Our-Service/Digital-Trusted-services-Infrastructure/TEDA/Speed-up-e-Licensing/request_e-Licensing.aspx  แต่หากในนามบุคคลจะต้อง CA จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองผ่านผู้ให้บริการ ตอนนี้ผู้ให้บริการที่มีข้อมูลคือ https://www.thaidigitalid.com/

Number of View :8996

Categories:

#e-Signature#Document Management System#Tech & Legal

เมื่อองค์กรสนใจหันมาเซ็นเอกสารผ่านออนไลน์แทนกระดาษ เเต่มีหลายโซลูชั่นให้เลือก ตัดสินใจไม่ถูก ควรใช้แบบไหนดี?

บทความนี้สรุปให้ ทุกโซลูชั่นการเซ็นเอกสารออนไลน์ มีอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร แบบไหนเหมาะกับการใช้งานขององค์กรคุณ อ่านจบเลือกใช้ได้ทันที!

การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เเบ่งออกเป็น 2 อย่าง

1. การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป (Standard e-signature) เป็นลายมือชื่อที่มีความน่าเชื่อถือชื่อพอประมาณ ลายมือชื่อนี้ทำตามข้อกำหนด พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 9

2. การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ (Advanced e-signature/Digital Signature) เป็นลายมือชื่อจะน่าเชื่อถือมาก เพราะมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการยืนยันลายมือชื่อ ซึ่งจะกล่าวในลำดับถัดไป ลายมือชื่อนี้ทำตามข้อกำหนด พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 26 เเละ 28

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

(Standard e-Signature)

ลักษณะของการลงนาม

การลงนามเอกสารของลายเซ็นประเภทนี้ทำได้โดย การทำสัญลักษณ์หรือเซ็นลายมือชื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ยืนยันตัวตนหรือลงนามในเอกสาร โดยสัญลักษณ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ รูปภาพลายเซ็นที่เซ็นด้วยหมึกปากกาลงในกระดาษแล้วอัปโหลดเข้าสู่ระบบ, การใช้เมาส์ นิ้วมือ หรือ stylus วาดรูปลายเซ็นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์, ลายเซ็นที่แนบท้ายอีเมล์, การพิมพ์ชื่อด้วยคีย์บอร์ด, รูปภาพลายนิ้วมือ, การคลิก “ยอมรับ” ในฟอร์มต่างๆ เป็นต้น

การนำ Digital Signature ไปใช้

ตัวอย่างการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

ขอบคุณที่มารูปจาก Signinghub

ประสิทธิภาพของลายมือชื่อ

การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เป็นลายมือชื่อที่รองรับด้วยกฎหมาย แต่ไม่อาจประเมินด้านความน่าเชื่อถือเพราะที่มาของลายมือชื่อเป็นเพียงการอัปโหลดรูปเข้าระบบ หรือเซ็นชื่อลงบนอุปกรณ์ ด้วยวิธีการเช่นนี้ส่งผลให้การยืนยันตัวตนของลายมือชื่อต่อเจ้าของลายมือ เเละอาจเกิดการปลอมแปลงลายมือชื่อได้ง่าย  

การนำไปใช้งาน

เนื่องจากหลักฐานเเละความรัดกุมของการยืนยันตัวตนลายมือชื่อประเภทนี้มีไม่มาก จึงเหมาะต่อการนำไปใช้กับการเซ็นหรือลงนามเอกสารไม่สำคัญมากเเละมีความเสี่ยงไม่สูง อย่างเอกสารที่ใช้ภายในองค์กร เช่น ใบลางาน, การอนุมัติงานภายใน, ใบเบิกจ่าย, เเละใบขอใช้ทรัพย์สินในองค์กร เป็นต้น

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

(Advanced e-signature/Digital Signature)

ลักษณะของการลงนาม

การลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นตัวอย่างหนึ่งของการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเป็นลายเซ็นที่อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ เเละได้เพิ่มเติมคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเข้าไป เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือของลายมือชื่อมากยิ่งขึ้น โดยความปลอดภัยดังกล่าวประกอบด้วย

1. การเข้ารหัสลับลายมือชื่อ (Signature Encryption) ลายมือชื่อได้มาจากกระบวนการเข้ารหัสลับ ทำให้ลายมือชื่อมีความปลอดภัยสูง เพราะทุกลายมือชื่อที่ลงบนเอกสารจะถูกตรรวจสอบว่าตรงกับรหัสที่เก็บไว้ไหม ถ้าไม่ตรงกันระบบจะถือว่าไม่ใช่ลายมือชื่อจริง อ่านต่อที่ การเข้ารหัสลายมือชื่อ

2. การรับรองลายมือชื่อ (Certify Signature) ลายมือชื่อได้รับการรับรองว่าเชื่อถือได้ จากผู้ที่รับรองลายมือชื่อ โดยผู้รับรองเป็นได้ทั้ง องค์กรรับรองลายมือชื่อนั้นเอง หรือได้จากผู้ให้บริการรับรองลายมือชื่อโดยตรงที่รัฐจัดตั้งขึ้น

โดยลายมือชื่อที่ถูกเข้ารหัสเเละได้รับการรับรอง จะถูกเก็บไว้ 2 ที่

  • ระบบลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Memo)โดยเมื่อผู้ใช้งานสร้างเอกสาร เเละลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์บนระบบนี้ ลายมือชื่อที่ลงไปจะมาจากลายมือชื่อที่ถูกเก็บ    
  • ฮาร์ดเเวร์ที่เก็บลายมือชื่อโดยเฉพาะ (Hardware security module : HSM) ระบบ e-Memo ส่งลายมือชื่อที่ถูกลงนามมารับรองลายมือชื่อที่ HSM หากลายมือชื่อตรงกันจะถือว่าลายมือชื่อนี้มีความน่าเชื่อถือตามกฎหมาย

3. การปิดเอกสาร (Document Integrity) เมื่อการลงลายมือชื่อเสร็จสิ้น ระบบจะดำเนินการปิดเอกสารหรือสัญญา ไม่ให้สามารถลงลายมือชื่อต่อ เเละเปลี่ยนแปลงเอกสารที่ได้ทำการบันทึกไว้

การนำ Digital Signature ไปใช้

ตัวอย่างการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

ประสิทธิภาพของลายมือชื่อ

การลงลายมือชื่อประเภทนี้ถือว่ามีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากวิธีการที่ได้มาของลายมือชื่อเเละเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ มีคุณสมบัติครอบคลุมใช้เป็นหลักฐานการตรวจสอบเเละข้อพิสูจน์ทางกฎหมายได้ โดยคุณสมบัติดังกล่าวประกอบด้วย

1. การยืนยันตัวตนผู้ลงลายมือชื่อ (Signer Authentication) ความสามารถในการพิสูจน์ว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อเอกสาร ลายมือชื่อสามาถเชื่อมโยงไปยังบุคคลที่ลงชื่อเอกสารได้

2. การตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ (Data Integrity) ความสามารถในการตรวจสอบ หรือพิสูจน์ได้ว่ามีการแก้ไขเอกสารหลังจากการลงลายมือชื่อเสร็จสิ้น

3. ความไม่สามารถปฏิเสธ (Non-repudiation) การไม่สามารถบอกปัดความรับผิดได้ เนื่องจากลายมือชื่อที่สร้างขึ้นมีเอกลักษณ์ สามารถพิสูจน์ในชั้นศาลได้ว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อเอกสาร  

โดยผู้ใช้งานสามารถมั่นใจได้ว่าเอกสารได้รับการรับรองลงลายมือชื่อ จากการเปิดเอกสารผ่านโปรแกรม Adobe Reader จะเห็นข้อความที่ขึ้นว่า “Certified by...” หรือ “ได้รับการรับรองจาก...”  

การนำ Digital Signature ไปใช้

ตัวอย่างเอกสารที่ได้รับการรับรองลายมือชื่อ

ขอบคุณที่มารูปจาก Signinghub

การนำไปใช้งาน

หลักฐานเเละความรัดกุมของการยืนยันตัวตนลายมือชื่อประเภทนี้มีสูง เหมาะต่อการนำไปใช้กับ การเซ็นหรือลงนามเอกสารสำคัญเเละเอกสารที่มีความเสี่ยงสูง อย่างเอกสารภายในองค์กรที่เกี่ยวกับการเงิน, สัญญาระหว่างพนักงานกับบริษัท หรือเอกสารที่ส่งออกให้ภายนอกองค์กร เช่น ใบสั่งซื้อ, ใบเสนอราคา, ใบกำกับภาษี, เเละสัญญาคู่ค้า เป็นต้น

เปรียบเทียบความต่างของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

แบบทั่วไป vs แบบเชื่อถือได้

การนำ Digital Signature ไปใช้

ความเเตกต่างทางกฎหมายเเละเอกสารที่ใช้

การนำ Digital Signature ไปใช้

ความเเตกต่างของเทคโนโลยีเเละฟังก์ชั่นการใช้งานระบบ

เพราะการเซ็นอนุมัติเอกสาร ทำสัญญากับคู่ค้า เป็นเรื่องสำคัญเเละละเอียดอ่อน องค์กรควรเลือกอย่างพินิจ ให้มั่นใจว่าตอบโจทย์การใช้งาน ถูกกฎหมายไทย เเละปลอดภัยสูงสุด CODIUM พร้อมให้คำปรึกษา เปลี่ยนการทำงานขององค์กรสู่ดิจิทัล ติดต่อได้ที่

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก