อ่านคิดวิเคราะห์ 5 ข้อมีอะไรบ้าง

การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓

Show

ขอบเขตการประเมิน
การอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์ และหรือสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ให้ความเพลิดเพลิน ความรู้ ประสบการณ์และมีประเด็นให้คิด และเขียนบรรยายถ่ายทอดประเด็นที่คิดด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น อ่านนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยายปรัมปรา

ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ

๑. สามารถอ่านและหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย

๒. สามารถจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน

๓. สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ไม่เหมาะสม

๔. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ

๕. สามารถถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้สึกจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖

ขอบเขตการประเมิน
การอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์ และหรือสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ ประสบการณ์ที่เอื้อให้ผู้อ่านนำไปคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ แก้ปัญหา และถ่ายทอดโดยการเขียนเป็นความเรียงเชิงสร้างสรรค์ด้วยถ้อยคำภาษาที่ถูกต้องชัดเจน เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือเรียน บทความ สุนทรพจน์ คำแนะนำ คำเตือน

ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ

๑. สามารถอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศเสริมประสบการณ์จากสื่อประเภทต่าง ๆ

๒. สามารถจับประเด็นสำคัญ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลจากเรื่องที่อ่าน

๓. สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เหตุการณ์ของเรื่องที่อ่าน

๔. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านโดยมีเหตุผลสนับสนุน

๕. สามารถถ่ายทอดความเข้าใจ ความคิดเห็น คุณค่าจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน 

อ่านคิดวิเคราะห์ 5 ข้อมีอะไรบ้าง


แนวทางการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน 

ตามตัวชี้วัด ม.ต้น, ม.ปลาย

     จากหนังสือแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หน้า ๔๔

แนวทางการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน โรงเรียนสระบรีวิทยาคม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓

ขอบเขตการประเมิน

การอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศ ข้อคิด ความรู้เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้อ่านนำไปคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สรุปแนวคิด คุณค่าที่ได้ นำไปประยุกต์ใช้ด้วยวิจารณญาณ และถ่ายทอดเป็นข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์ หรือรายงานด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือเรียน บทความ สุนทรพจน์ คำแนะนำ คำเตือน แผนภูมิ ตาราง แผนที่

ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓

๑. สามารถคัดสรรสื่อที่ต้องการอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์ สามารถสร้างความเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้จากการอ่าน

๒. สามารถจับประเด็นสำคัญและประเด็นสนับสนุน โต้แย้ง

๓. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ความสมเหตุสมผล ความน่าเชื่อถือ ลำดับความและความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน

๔. สามารถสรุปคุณค่า แนวคิด แง่คิดที่ได้จากการอ่าน

๕. สามารถสรุป อภิปราย ขยายความ แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง สนับสนุน โน้มน้าว โดยการเขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น ผังความคิด เป็นต้น

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖

ขอบเขตการประเมิน

การอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็คทรอนิคส์ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ ประสบการณ์ แนวคิด ทฤษฎี รวมทั้งความงดงามทางภาษาที่เอื้อให้ผู้อ่านวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น โต้แย้งหรือสนับสนุน ทำนาย คาดการณ์ ตลอดจนประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และถ่ายทอดเป็นข้อเขียน เชิงสร้างสรรค์ รายงาน บทความทางวิชาการอย่างถูกต้องตามหลักวิชา เช่น อ่านบทความวิชาการ วรรณกรรมประเภทต่างๆ

ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖

๑. สามารถอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

๒. สามารถจับประเด็นสำคัญ ลำดับเหตุการณ์จากการอ่านสื่อที่มีความซับซ้อน

๓. สามารถวิเคราะห์สิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารกับผู้อ่าน และสามารถวิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะในแง่มุมต่างๆ

                   ในกรณีที่ผู้เรียนมีผลการประเมินอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน อยู่ในระดับไม่ผ่านครูผู้สอนและคณะกรรมการประเมินควรเร่งดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในตัวชี้วัดที่มีจุดบกพร่อง สมควรได้รับการแก้ไขในระยะเวลาพอสมควรที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้และสร้างผลงานที่สะท้อนความสามารถในตัวชี้วัดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขได้อย่างแท้จริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น มอบหมายงานให้ผู้เรียนได้อ่าน ได้คิดวิเคราะห์จากเรื่องที่อ่าน และสามารถสื่อสารสาระสำคัญจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วนำผลงานไปเทียบกับแนวการให้คะแนนและเกณฑ์ การตัดสินที่โรงเรียนกำหนดตั้งแต่ระดับ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน  

รู้จัก "โรคซึมเศร้า" มีอาการอย่างไร และวิธีการดูแล ฟื้นฟู จิตใจ

17 ต.ค. 65 (12:45 น.)ความคิดเห็น 27

กก

Add @Sanook.com

อ่านคิดวิเคราะห์ 5 ข้อมีอะไรบ้าง

อ่านคิดวิเคราะห์ 5 ข้อมีอะไรบ้าง

สนับสนุนเนื้อหา

"โรคซึมเศร้า" เป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเป็น "โรคซึมเศร้า" ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

“ซึมเศร้า” ทางการแพทย์ หรือ Clinical depression หมายถึง ภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า และเป็นพยาธิสภาพแบบหนึ่งที่พบได้ในหลายๆ โรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคทางอารมณ์ คือ โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder หรือ Depressive Episode) และ โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) โรคทางอายุรกรรมบางโรค สารยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าที่รุนแรงได้

สาเหตุของ "โรคซึมเศร้า" ที่พบบ่อย

สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยก็คือ การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม, ทางสภาพจิตใจ, ประจวบกับการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย

  1. โรคซึมเศร้าเกิดจากความเครียด

    แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์
  2. สภาพทางจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู

    ก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่งต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเองและโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น
  3. การเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย

    เช่น หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้

อาการเบื้องต้นของโรคซึมเศร้า

  1. มีอาการรู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ (บางคนอาจจะมีอาการหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย)
  2. ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต หรือ ไม่มีความสุขกับการทำกิจกรรมต่างๆ
  3. น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป
  4. นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ
  5. คนที่เป็นโรคซึมเศร้า จะรู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
  6. ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง
  7. อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
  8. กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ
  9. มีความคิดความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย คิดทำร้ายตัวเอง

หากสงสัยว่าตัวเอง หรือ คนรอบข้างว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่นั้น ให้สังเกตุตัวเอง หรือคนรอบข้าง หากมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 5 ข้อ ติดต้อกันเป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ คุณอาจจะกำลังเป็น "โรคซึมเศร้า" 

วิธีรักษาโรคซึมเศร้า มี 2 วิธีดังนี้

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างไร เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น

  1. การรักษาทางจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

    มีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นการ ”พูดคุย” กับจิตแพทย์ 10 ถึง 20 ครั้ง อันจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจกับสาเหตุของปัญหา และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยการเปลี่ยนมุมมองกับแพทย์ การรักษาทางพฤติกรรมจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีที่จะได้รับความพอใจ หรือความสุขจากการกระทำของเขา และพบวิธีที่จะหยุดพฤติกรรมที่ อาจนำไปสู่ความซึมเศร้าด้วย

    การรักษาอีก 2 รูปแบบต่อไปที่มีการศึกษาแล้วว่า สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี คือ การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม โดยการรักษารูปแบบแรกมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาระหว่าง ผู้ป่วยกับคนรอบข้างที่อาจ เป็นสาเหตุและกระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า ส่วนการรักษาแบบหลังจะช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมในแง่ลบกับตนเอง

    ส่วนการรักษาโดยอาศัยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ก็นำมารักษาโรคนี้ โดยช่วยผู้ป่วยค้นหาปัญหาข้อขัดแย้งภายในจิตใจผู้ป่วย ซึ่งอาจมีรากฐานมาจากประสบการณ์ตั้งแต่เด็ก โดยทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง มีอาการกำเริบซ้ำๆ จะต้องการการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจควบคู่กัน เพื่อผลการรักษาในระยะยาวที่ดีที่สุด
  2. รักษาโรคซึมเศร้าด้วยการใช้ยา

    ในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ คือ
    • กลุ่ม tricyclic (คือยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสามวง)
    • กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors เรียกย่อๆ ว่า MAOI
    • กลุ่ม SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor)

    ซึ่งแต่ละกลุ่มมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แต่ประสิทธิภาพการรักษาเท่าเทียมกัน แพทย์อาจเริ่มจ่ายยากลุ่มใดแก่ผู้ป่วย ก่อนก็ได้เพื่อดูผลตอบสนอง เนื่องจากเราไม่อาจทราบก่อนได้เลยว่า ผู้ป่วยคนใดจะ”ถูก”กับยาชนิดใด แล้วแพทย์จะค่อยๆปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับอาการต่อไป

    ยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์โดยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล เป็นการรักษาโรคโดยตรง มิใช่เป็นเพียงยาที่ทำให้ง่วงหลับ จะได้ไม่ต้องคิดมากเช่นที่คนมักเข้าใจผิดกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักต้องการหยุดกินยาเร็วกว่าที่ควรเป็น ข้อสำคัญและพึงปฏิบัติที่สุดก็คือ การกินยาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะบอกให้ท่านหยุด ถึงแม้ว่าจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตามยาบางตัวต้องค่อยๆลดขนาดลง เพื่อให้โอกาสร่างกายปรับตัว ไม่ต้องกังวลว่า ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่กินแล้วติดหยุดยาไม่ได้อย่างไรก็ตาม ก็เช่นเดียวกับการรักษาโรคอื่นๆ แพทย์อาจให้ตรวจวัดระดับยาให้ถูกต้องกับอาการเป็นระยะๆ

    สิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงก็คือ การซื้อยากินเองจากร้านขายยา ยืมยาจากเพื่อน หรือกินยาจากแพทย์ท่านอื่นปนกับโรคซึมเศร้า โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน เช่นเดียวกับแพทย์คนอื่นหรือหมอฟันด้วยว่า ท่านกำลังกินยารักษาโรคซึมเศร้าอยู่ อย่าวางใจว่า เป็นแค่ยาพื้นบ้านธรรมดา คงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอะไรร้ายแรง การดื่มแอลกอฮอล์จากเหล้า เบียร์ หรือไวน์ จะลดประสิทธิภาพของยาลง

    ยานอนหลับหรือยาลดความกังวล ไม่ใช่ยาที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้โดยลำพัง อย่างที่กล่าวแล้ว แม้ว่าบางครั้งแพทย์จะสั่งใช้ยาชนิดนี้ควบคู่ไปกับยารักษาโรคซึมเศร้า เพื่อบรรเทาอาการกังวลในระยะต้นของการรักษา และไม่ควรใช้ยากระตุ้นประสาทหรือยาม้าเพื่อหวังผลให้หายเพลียเพียงชั่วครั้งชั่วคราว

    ***ควรถามแพทย์ทุกครั้งที่ท่านมีปัญหาที่เกิดจากยา หรือเกิดปัญหาที่คิดว่าอาจเกิดจากยา 

ผลข้างเคียงของยารักษาโรคซึมเศร้า

ยารักษาโรคซึมเศร้า มีผลข้างเคียงอยู่บ้างกับผู้ใช้บางคนอันอาจก่อความรำคาญ แต่ไม่อันตราย อย่างไรก็ตามเมื่อรู้สึกว่ามีผลข้างเคียงของยาเกิดขึ้น กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบ ผลข้างเคียงต่อไปนี้มักเกิดจากกลุ่มยา tricyclics ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ถูกสั่งใช้บ่อยที่สุด และเราได้แนะนำวิธีบรรเทาผลข้างเคียงไว้ท้ายข้อแล้วดังนี้

  1. ปากแห้งคอแห้ง - ดื่มน้ำบ่อยๆ เคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล รักษาสุขภาพช่องปากให้ดี
  2. ท้องผูก - กินอาหารที่มีกาก หรือมีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ ผักผลไม้ เช่น ส้มโอ มะขาม มะละกอ
  3. ปัญหาการถ่ายปัสสาวะ - อาจมีการถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่งเช่นเคย อาจใช้มือกอหน้าท้องช่วยและปรึกษาแพทย์
  4. ปัญหาทางเพศ - อาจมีปัญหาขณะร่วมเพศได้บ้าง ซึ่งปรึกษาแพทย์ได้
  5. ตาพร่ามัว - อาการนี้จะหายไปอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องตัดแว่นใหม่
  6. เวียนศีรษะ - ลุกจากเก้าอี้ หรือเตียงช้าๆ ดื่มน้ำมากขึ้น
  7. ง่วงนอน - อาการอาจหายไปเอง อย่าพยายามขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักร หากง่วงมากในช่วงเช้าให้เลื่อนยามื้อก่อนนอนมากินหัวค่ำกว่าเดิม

สำหรับกลุ่ม SSRI อาจมีผลข้างเคียงที่ต่างออกไป ดังต่อไปนี้

  1. ปวดศีรษะ - อาจมีอาการสักช่วงหนึ่ง แล้วจะหายไป
  2. คลื่นไส้ - มักเป็นเพียงชั่วคราว
  3. นอนไม่หลับหรือกระวนกระวาย - พบได้ในช่วง 2 ถึง 3 สัปดาห์แรก ของการกินยา หากคงอยู่นานควรปรึกษาแพทย์ 

การเตรียมตัวรับมือกับโรคซึมเศร้า

  • โดยปกติเท่าที่มีการพบข้อมูลขณะทำการรักษา พบว่า ผู้ที่มีเกณฑ์จะเป็นโรคซึมเศร้ามักจะเริ่มเป็นตอนช่วงอายุ 25 ปี หลังจากนั้นก็จะเกิดอาการซึมเศร้าต่อเนื่องไปเป็นระยะยาว ถึงแม้ว่าจะมีการเข้ารับการรักษาแล้ว แต่ก็ยังต้องเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด การเป็นโรคซึมเศร้าก็จะมีความคล้ายคลึงการเป็นโรคเบาหวาน หรือโรคความดัน ที่ถึงแม้จะไม่มีอาการให้เห็นแล้ว แต่ก็ต้องทานยาควบคุมไม่อาการกำเริบได้

  • แต่ข้อดีของการรักษาคนที่เป็นโรคซึมเศร้าอยู่ตรงที่เมื่อเข้ารับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ บางคนมีสติปัญญาที่ดีขึ้น เป็นคนเก่ง ในบางรายสามารถเรียนได้ถึงในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก บางรายก็เป็นผู้บริหารระดับสูง เป็นคนที่สามารถประสบความสำเร็จในสังคมได้

  • ฉะนั้น เมื่อพูดถึงการรักษาโรคซึมเศร้า หากผู้ป่วยรับประทานยาจนครบแล้ว แพทย์ที่ทำการรักษาก็จะให้หยุดยา และยังต้องคอยเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากว่ามันอาจจะกลับเป็นซ้ำอีกได้ อย่าง โรคมะเร็ง ที่เมื่อได้ฆ่าเชื้อมะเร็งให้หมดไปแล้ว แต่ก็ต้องเฝ้าดูว่าจะกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำอีกได้รึเปล่า โรคซึมเศร้าก็เช่นกัน

วิธีป้องกันโรคซึมเศร้า

  1. อย่านำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน
  2. อย่าตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก หรือเข้าไปแบกความรับผิดชอบมากๆ
  3. พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นงานเล็ก เลือกทำที่สำคัญกว่าก่อน แล้วทำให้เต็มที่เท่าที่จะเป็นไปได้
  4. อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป เพราะนั่นคือ คุณกำลังสร้างความล้มเหลว
  5. ร่วมกิจกรรมที่คุณอาจเพลินใจ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ดูกีฬา เข้ากิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม แต่อย่าหักโหมหรือหงุดหงิด ถ้ามันไม่ช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นอย่างทันใจ เพราะอาจใช้เวลาบ้าง
  6. อย่าด่วนตัดสินใจกับเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต เช่น ลาออก เปลี่ยนงาน แต่งงาน หรือหย่า โดยไม่ปรึกษาคนอื่นที่รู้จักคุณดีและ มีมุมมองที่เป็นกลางต่อปัญหาพอ ไม่ว่าด้วยเหตุใด พยายามเลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อนจนกว่าอาการป่วยของคุณจะดีขึ้น
  7. อย่าหวังว่าจะหายจากอาการซึมเศร้าแบบ “ลัดนิ้วมือเดียว” เพราะเป็นไปได้ยาก จงพยายามช่วยตนเองให้มากที่สุด โดยไม่โทษตนเองว่า ที่ไม่หายเพราะตนเองไม่พยายามหรือไม่ดีพอ
  8. พึงระลึกว่า จะไม่ยอมรับความคิดในแง่ร้าย บอกตนเองว่ามันเป็นสวนหนึ่งของอาการของโรค และจะหายไปเมื่ออาการของโรคดีขึ้น

รู้จักโรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละกลุ่ม มี 4 กลุ่มคือ

  1. โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในผู้ชาย

    ว่ากันว่าจำนวนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เป็นผู้ชายจะพบได้น้อยกว่าผู้หญิง แต่น่าแปลกที่อัตราการฆ่าตัวตายในผู้ชายมีมากกว่า ซึ่งเมื่อเพศชายป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจก็มีสูงมาก ส่วนใหญ่มักใช้ยาเสพติดและเครื่องที่มีแอลกอฮอล์เป็นตัวช่วยแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้านั้น บางรายก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงานให้หนัก ถึงแม้จะหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย แต่ก็ไม่เคยท้อแท้ หรือสิ้นหวังเลยแม้แต่น้อย จึงเป็นการยากที่แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้ได้ ทั้งที่รู้กันอยู่แล้วว่าผู้ป่วยมักจะปฏิเสธการรักษาอยู่เสมอ
  2. โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในผู้หญิง

    จากตรวจพบก็ทำให้รู้ว่าในผู้หญิงนั้นเป็นโรคซึมเศร้าในจำนวนที่มากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน อาทิ มีประจำเดือน , การตั้งครรภ์ , ภาวะหลังคลอด หรือการเข้าสู่วัยทอง อีกทั้งในชีวิตของพวกเขายังจะต้องรับผิดชอบในหลายๆ อย่าง ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ทำให้เกิดความเครียด ในการรักษาก็ทำได้แค่ให้เข้ากำลังใจและทำความเข้าใจกับผู้ป่วยให้มากที่สุด
  3. โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในเด็ก

    ไม่ใช่แค่วัยผู้ใหญ่เท่านั้นที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า แต่ในเด็กโอกาสที่จะเกิดโรคนี้ก็มีเช่นกัน อาการที่สังเกตเห็นได้ในเด็กเล็ก อาทิ ไม่ไปโรงเรียน , แกล้งทำเป็นป่วย , ติดพ่อแม่ หรือเป็นกังวลกลัวว่าพ่อแม่จะเสียชีวิต ส่วนในเด็กโตก็จะมีอาการเงียบ ไม่ยอมพูดยอมจา , มักมีปัญหาที่โรงเรียน , มองโลกในแง่ร้าย

    ซึ่งการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าในเด็กนี้ก็ทำได้ยากเช่นเดียวกัน เนื่องจากอารมณ์ของเด็กมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ฉะนั้น พ่อแม่ที่อยู่ใกล้ชิดต้องคอยเป็นผู้สังเกตว่าพฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปหรือไม่ ถ้าเกิดมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและเป็นไปตามอาการของโรคซึมเศ้รา ก็ควรจะเดินทางไปพบกุมารแพทย์เพื่อคำปรึกษาและส่งตัวเด็กเข้ารับพิจารณาการรักษา
  4. โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ

    แล้วการเข้าสู่วัยทองนั้นมักทำให้อารมณ์ผกผันไม่เป็นปกติ ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนวัยนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับไม่ใช่เสียทั้งหมด เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแสดงอาการออกทางกายซะมาก โดยตัวยาที่ใช้ก็จะมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน หากส่งตัวเข้ารับการวินิจฉัยและรักษา ก็จะทำให้การใช้ชีวิตของผู้ป่วยในวัยนี้มีความสุขอย่างแน่นอน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "โรคซึมเศร้า"

  • แบบทดสอบคุณเสี่ยงโรคซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการคิดฆ่าตัวตายหรือไม่

โหลดเพิ่ม

ขอขอบคุณ

ภาพ :iStockphoto.com

อ่านคิดวิเคราะห์ 5 ข้อมีอะไรบ้าง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

โรคซึมเศร้าอาการของโรคซึมเศร้าวิธีป้องกันโรคซึมเศร้าไบโพล่าร์สุขภาพใจ-สมองเศร้าดูแลจิตใจสุขภาพจิตใจจิตใจhowtoซึมเศร้ารู้ทันโรคโรคอื่นๆ

การอ่านคิดวิเคราะห์ มีอะไรบ้าง

การอ่านคิดวิเคราะห์ คือ การอ่านที่สามารถแยกแยะเรื่องราวโดยการคิดใคร่ครวญ อย่างละเอียด รอบคอบ โดยใช้ความรู้ ความคิดในการแก้ปัญหาและน าไปสู่ข้อสรุปเพื่อตัดสินใจ อย่างมีเหตุผลถูกต้อง น่าเชื่อถือและน าความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได้อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด จุดประสงค์กำรเรียนรู้

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ มีกี่ข้อ

การประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนกำหนดเกณฑ์การตัดสินคุณภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็น 4 ระดับ คือ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ ดี หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์

ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน มีกี่ระดับ

3.1. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน มีลักษณะเป็นแบบประเมิน เกณฑ์คุณภาพ (Rubric) โดยเกณฑ์การประเมินในแต่ละตัวชี้วัดจะมีลักษณะเป็นเกณฑ์แบบแยก ส่วน (Analytic Criteria) ซึ่งแบ่งคุณภาพออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับดีเยี่ยม ระดับดี ระดับผ่าน และระดับปรับปรุงหรือไม่ผ่านเกณฑ์ ...

การอ่านคิดวิเคราะห์มีประโยชน์อย่างไร

การอ่านวิเคราะห์ช่วยให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน ฝึกให้อ่านอย่างรอบคอบ ช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นอย่างแท้จริง ช่วยพัฒนาสติปัญญาเพราะต้องใช้เหตุผลในการอธิบายแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งทักษะในการอ่านนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และจะนำไปใช้ในการอ่านประเมินค่าต่อไป