ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ค่าส่งเสริมการขายถามวันที่ 5 ก.ย. 2559  .  ถามโดย joy.nalin1981  .  เข้าชม 23 ครั้ง

บริษัทฯ ประกอบกิจการจำหน่ายซอฟต์แวร์ ได้รับค่าส่งเสริมการขายเป็นแพ็คเกจทัวร์เกาหลี จาก บ.เอสวี มูลค่าตามหนังสือรับรองฯ 25,000.-บาท โดยบริษัทฯ ถูกหัก ณ ที่จ่ายค่าส่งเสริมการขายในอัตรา 3% บริษัทฯ ตอนรับค่าส่งเสริมขายได้บันทึกบัญชี D.สินทรัพย์อื่นๆ C.รายได้อื่น และได้มอบค่าส่งเสริมการขายนั้นให้กับพนักงานขายของบริษัทฯ เองโดยบันทึกบัญชี D.ค่าคอมมิชชั่น C.สินทรัพย์อื่น ขอเรียนสอบถามดังนี้
1.เมื่อได้รับมอบส่งเสริมการขายจากบริษัท เอสวี บริษัทฯ บันทึกเป็นรายได้อื่นมูลค่าตามหนังสือรับรอง โดยคำนวณเป็นรายได้อื่นในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ต้องนำส่ง Vat ถูกต้องหรือไม่
2.เมื่อบริษัทฯ มอบค่าส่งเสริมการขายที่ได้รับเป็นแพ็คเกจทัวร์เกาหลีให้กับพนักงานขาย บริษัทฯ ต้องออกใบกำกับภาษีขายมูลค่า 25,000.-บาท แล้วนำส่ง Vat และต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นค่าส่งเสริมการขายในอัตรา 3% ให้กับพนักงานและนำส่ง ภ.ง.ด.3 และต้องพนักงานขายต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถูกต้องหรือไม่
(ใช้ได้ทั้งกรณีที่บริษัทฯ กำหนดว่าค่าส่งเสริมการขายจะมอบให้กับพนักงานที่เป็นผู้ขายสินค้า หรือให้กับพนักงานคนอื่นๆ ทั่วไป ใช่ไหมคะ)
3.เมื่อบริษัทฯ มอบส่งเสริมการขายให้กับพนักงานขายแล้ว นำมาบันทึกเป็นรายจ่ายค่าคอมมิชชั่นของบริษัทฯ ได้หรือไม่
4.หากบริษัทฯ ออกภาษีแทนให้พนักงาน ภาษีที่ออกแทนนั้นมาเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ ได้หรือไม่


เรียน คุณ joy.nalin1981

กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการจำหน่ายซอฟต์แวร์ ได้รับค่าส่งเสริมการขายเป็นแพ็คเกจทัวร์เกาหลี จาก บ.เอสวี มูลค่าตามหนังสือรับรองฯ 25,000.-บาท โดยบริษัทฯ ถูกหัก ณ ที่จ่ายค่าส่งเสริมการขายในอัตรา 3%
เมื่อได้รับค่าส่งเสริมขายบริษัทฯ ได้บันทึกบัญชีโดย
Dr. สินทรัพย์อื่นๆ
Cr.รายได้อื่น
และเมื่อได้มอบค่าส่งเสริมการขายนั้นให้กับพนักงานขายของบริษัทฯ เอง บันทึกบัญชีโดย
Dr. ค่าคอมมิชชั่น
Cr.สินทรัพย์อื่น
นั้น
1. เมื่อได้รับมอบส่งเสริมการขายจากบริษัท เอสวี บริษัทฯ บันทึกเป็นรายได้อื่นมูลค่าตามหนังสือรับรอง โดยคำนวณเป็นรายได้อื่นในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ต้องนำส่ง VAT ถูกต้องแล้วครับ โปรดศึกษาเพิ่มเติมจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ x. 118/2545
2. เมื่อบริษัทฯ มอบค่าส่งเสริมการขายที่ได้รับเป็นแพ็คเกจทัวร์เกาหลีให้กับพนักงานขาย บริษัทฯ ต้องออกใบกำกับภาษีขายมูลค่า 25,000.-บาท แล้วนำส่ง VAT และต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นค่าส่งเสริมการขายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังเช่นกรณีค่านายหน้าที่จ่ายให้แก่พนักงาน และนำส่ง ภ.ง.ด.1 และพนักงานขายต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้วย ซึ่งปรับใช้ได้ทั้งกรณีที่บริษัทฯ กำหนดว่าค่าส่งเสริมการขายจะมอบให้กับพนักงานที่เป็นผู้ขายสินค้า หรือให้กับพนักงานคนอื่นๆ ทั่วไป
3. เมื่อบริษัทฯ มอบส่งเสริมการขายให้กับพนักงานขายแล้ว บริษัทฯ ย่อมนำมาบันทึกเป็นรายจ่ายค่าคอมมิชชั่นของบริษัทฯ ได้
4. หากบริษัทฯ ออกภาษีแทนให้พนักงาน ภาษีที่ออกแทนนั้นมาเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ ได้ หากมีข้อตกลงที่จะออกภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้แก่พนักงาน และพนักงานต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้วย

ตอบเมื่อ 9 ก.ย. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ

เกิดข้อผิดพลาด กรุณาลองใหม่อีกครั้งครับ ขอบคุณครับ

เกิดข้อผิดพลาด กรุณาลองใหม่อีกครั้งครับ ขอบคุณครับ

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานในการยินยอมให้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในข้อบังคับการทำงาน ระเบียบข้อบังคับการทํางาน 2563 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน บริษัท ปตท ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 2564 แบบฟอร์ม ตัวอย่าง กฎ ระเบียบบริษัท ตัวอย่างข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน 2564 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ภาษาอังกฤษ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน pdf ตัวอย่างข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน 2564 word

เลขที่หนังสือ: กค 0702/3314 วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (13 และมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อหารือ          บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทกิจการจัดการลงทุน บริษัทฯ มีรายได้จากค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือน ภาษีสิงหาคม 2535 เป็นต้นมา บริษัทฯ จะจัดโครงการส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่บริษัทฯ จัดการตาม เงื่อนไขที่กำหนด
          บริษัทฯ จะจัดส่งของกำนัลให้กับลูกค้าเมื่อสิ้นสุดระยะ เวลาจัดโครงการ บริษัทฯ จึงขอทราว่า
          1. บริษัทฯ มีสิทธิบันทึกค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปในโครงการ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่
          2. บริษัทฯ ต้องนำส่งภาษีขายหรือไม่ อย่างไร
          3. บริษัทฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร
          4. ลูกค้าผู้รับของกำนัลจะต้องนำมูลค่าของกำนัลที่ได้รับมา รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้หรือไม่ อย่างไร แนววินิจฉัย          1. กรณีบริษัทฯ มีรายจ่ายจากการให้ของกำนัลแก่ลูกค้าที่ ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่บริษัทฯ จัดการ ตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อเป็นการส่งเสริมการขาย รายจ่ายดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหา กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีการให้รางวัล หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่ง เสริมการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการ ของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ ตามข้อ 12/2 ของคำสั่งกรม สรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และของกำนัลดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากของ กำนัลที่ได้รับตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(6) และ (7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวล รัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
          3. กรณีของกำนัลที่ลูกค้าได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ลูกค้าต้องนำมูลค่าของกำนัลที่ได้รับดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร เลขตู้: 73/37281

ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย คืออะไร

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย ในความหมายของกรมสรรพากร คือ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด

ส่งเสริมการขายเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไหม

คือการแจกผลิตภัณฑ์ในปริมาณน้อยให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้สินค้าโดยตรง เป็นส่งเสริมทัศนคติในทางบวกและกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการซื้อสินค้า ๆ ต่อไป ซึ่งการแจกสินค้าเพื่อส่งเสริมการขายนั้นไม่ต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถนำต้นทุนของสินค้าที่แจกมาเป็น รายจ่ายใน การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ ...

ค่าส่งเสริมการขายต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

ข้อ 6 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นตามข้อ 1 ได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อดังต่อไปนี้ เมื่อผู้ขายสินค้าดังกล่าวจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ส่งเสริมการขายอยู่มาตราอะไร

เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (13 และมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร