สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ppt

งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็กๆเรียกว่า เซลล์ 1.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยีสต์ 2.สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็กๆเรียกว่า เซลล์ 1.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยีสต์ 2.สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น 2.1 เม็ดเลือดแดงของคน 2.2 สัตว์ เช่น ไฮดรา

2

3 แพร่ O2 เข้า และ ขับ CO2 ออกทาง เยื่อหุ้มเซลล์
Ameba paramecium แพร่ O2 เข้า และ ขับ CO2 ออกทาง เยื่อหุ้มเซลล์

4 เซลล์สัตว์

5 เยื่อหุ้มเซลล์

6 เซนทริโอล

7 นิวเคลียส

8 เยื่อหุ้มนิวเคลียส

9 โครโมโซม

10 DNA

11 โครโมโซมเพศชาย

12 ไมโตคอนเดรีย

13 ไรโบโซม

14 เอ็นโดพลาสมิก เรติคิวลัม ER
(RER) (SER)

15 กอนจิบอดี

16 การทำงาน

17 ไลโซโซม

18 การทำงาน

19 เซลล์พืช

20 คลอโรพลาสต์

21 ผนังเซลล์

22 แวคิวโอล

23 เปรียบเทียบระหว่างเซลล์สัตว์และเซลล์พืช

24 การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้จำเป็นต้องได้รับอาหารและออกซิเจนจากภายนอกเซลล์และต้องกำจัดสารหรือของเสียออกจากเซลล์ ก่อนจะศึกษาการเคลื่อนที่ของสารต่าง ๆ เข้าและออกจากเซลล์มาศึกษาก่อนว่า อนุภาคของสารเคลื่อนที่ได้อย่างไร (การเคลื่อนที่ของหยดหมึก)

25 การแพร่ ตัวทำละลาย ตัวละลาย การเคลื่อนที่ของอนุภาค ของสารจากบริเวณที่มี ความเข้มข้นของอนุภาค ของสารมากไปสู่บริเวณที่ มีความเข้มข้นของ อนุภาคของสารน้อยกว่า

26 ออสโมซีส กระบวนการแพร่ของ น้ำจากบริเวณที่มี อนุภาคของน้ำมากไป สู่บริเวณที่มีอนุภาค ของน้ำน้อยกว่า ผ่าน เยื่อเลือกผ่าน ออสโมซีส

27 เปรียบเทียบการแพร่และการออสโมซีส
การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของอนุภาคของสารมากไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของอนุภาคของสารน้อยกว่า กระบวนการแพร่ของน้ำจากบริเวณที่มีอนุภาคของน้ำมากไป สู่บริเวณที่มีอนุภาคของน้ำน้อยกว่า ผ่านเยื่อเลือกผ่าน

28 การออสโมซีสของเม็ดเลือดแดง
Hypertonic solution ความเข้มข้น ของสาร สูง(น้ำน้อย) ความเข้มข้น ของสาร ต่ำ(น้ำมาก)

29 การออสโมซีสของเม็ดเลือดแดง
Hyp0tonic solution ความเข้มข้น ของสาร ต่ำ(น้ำมาก) ความเข้มข้น ของสาร สูง(น้ำน้อย)

30 การออสโมซีสของเม็ดเลือดแดง
Isotonic solution ความเข้มข้น ของสาร เท่ากัน ความเข้มข้น ของสาร เท่ากัน

31 สารละลายที่เป็นไอโซทอนิกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงคือน้ำเกลือ0.85 %

32 ตัวอย่างการออสโมซีส เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis

33

34 Plasmoplysis plasmolysis

35 ตัวอย่างการออสโมซีส

36 การออสโมซีสในใบพืช

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

เมื่อ :

วันอังคาร, 26 พฤษภาคม 2563

          สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้มีจำนวนมากมาย หลากหลายสายพันธุ์ทั้งสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช สัตว์และอื่น ๆ มีทั้งขนาดเล็กมาก จนไม่สามาถมองเห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยในการศึกษาลักษณะต่างๆ ในบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นประกอบด้วยหน่วยต้นเกิดสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า เซลล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต เซลล์ของสิ่งมีชีวิตอาจมีรูปร่างและส่วนประกอบที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมกับหน้าที่การงาน สิ่งมีชีวิตมีทั้งที่กำเนิดมาจากเซลล์เพียงเซลล์เดียวจนกระทั่งจำนวนล้านเซลล์ ถ้านำสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมาจัดเป็นกลุ่มโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ในการจำแนก สามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ แต่ถ้าใช้จำนวนเซลล์เป็นเกณฑ์ในการจำแนก จะจำแนกได้เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ โดยในบทเรียนนี้จะเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวดังนี้

  1. ลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

          สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (Unicellular organism) มีลักษณะที่สำคัญ คือ ทั้งร่างกายจะประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว เป็นเซลล์เดี่ยวที่มีนิวเคลียส โดยสารในนิวเคลียสจะกระจายอยู่ทั่วเซลล์ โครงสร้างภายในเป็นแบบง่ายๆ พบได้ทั้งในน้ำและบนบก ดำรงชีวิตอย่างอิสระ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต เช่น การกินอาหาร การย่อยอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ และกิจกรรมอื่น ๆ จะเกิดขึ้นภายในเซลล์เพียงเซลล์เดียว ส่วนมากนิวเคลียสมีเยื่อหุ้ม สามารถดำรงชีวิตตอยู่เป็นอิสระได้ ตัวอย่างเช่น สาหร่ายเซลล์เดียว อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา ยีสต์ ไดอะตอม เป็นต้น บางชนิดนิวเคลียสไม่มีเยื่อหุ้ม เช่น แบคทีเรีย ดังนั้น DNA (Deoxyibonucleic acid) จะกระจายอยู่ในไซโทพลาซึม ทำให้ไม่มีนิวเคลียสเป็นก้อนเหมือนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ

  1. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

           2.1 การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาซึม ซึ่งไซโทพลาซึม (Cytoplasm) หมายถึง ส่วนของโพรโทพลาซึมภายในเซลล์ทั้งหมด การเคลื่อนไหวโดยใช้ไซโทพลาซึมนี้ จะเคลื่อนไหวโดยการยืดส่วนของ ไซโทพลาซึมออกจากเซลล์ เช่น การเคลื่อนไหวของราเมือก อะมีบา เป็นต้น 

           2.2 การเคลื่อนไหวโดยอาศัยเฟลกเจลลัมหรือซีเลีย เฟลกเจลลัมหรือซีเลียเป็นโครงสร้างเล็กๆที่ยื่นออกมาจากเซลล์สามารถโบกพัดไปมาได้ ทำให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนที่ได้  โดยเฟลกเจลลัมมีลักษณะเป็นเส้นยาวๆ คล้ายหนวดยาวกว่าซีเลีย

  1. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่นักเรียนควรรู้จัก

        อะมีบา (Amoeba) มีรูปร่างไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อะมีบาเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวประเภทโปรโตซัว มีลักษณะเฉพาะคือการ ใช้ส่วนของไซโทพลาซึม (cytoplasm) เป็นอวัยวะที่ช่วยในการเคลื่อนไหว หรือที่เรียกว่า ขาเทียม (pseudopodia) อะมีบาสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง อะมีบาบางชนิดก่อให้เกิดโรคในคนได้ อะมีบาอาศัยอยู่อย่างอิสระในธรรมชาติตามแหล่ง น้ำ ดิน โคลน เลน เป็นต้น

       พารามีเซียม (Paramecium) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กประเภทโปรโตซัว สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำจืดในธรรมชาติ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีลักษณะรูปร่างคล้าย รองเท้าแตะ ทุกระบบการทำงานของพารามีเซียมจะเกิดขึ้นได้ในเซลล์เดียว มีขนสั้นๆ รอบตัวที่เรียกว่า ซีเลีย ที่ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ และช่วยในการกินอาหาร อาหารของพารามีเซียม คือ แบคทีเรียและเศษเนื้อเยื่อต่างๆ ของสัตว์ และประโยชน์อีกด้านของพารามีเซียมที่สำคัญต่อระบบนิเวศ คือ ช่วยควบคุมจำนวนแบคทีเรียให้สมดุลในธรรมชาติอีกด้วย

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ppt

ภาพพารามีเซียม (Paramecium) สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กประเภทโปรโตซัว
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/File:Paramecium.jpg , Barfooz

       ยูกลีนา (Euglena) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขยายพันธุ์โดยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ใช้วิธีแบ่งเซลล์ มีลักษณะเป็นรูปกระสวย หน้าป้าน ท้ายเรียว ตัวของยูกลีนาเป็นสีเขียว เนื่องจากมีคลอโรพลาสต์กระจาย อยู่ในไซโทพลาซึม ยูกลีนาจะสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เนื่องจากเกิดการกลายพันธุ์ การเคลื่อนที่ของยูกลีนาจะใช้แฟลกเจลลัม เส้นยาวพัดโบกไปมาเหมือนการว่ายน้ำ ถ้าในสภาพไม่มีน้ำจะยืดหดตัวให้เกิดคลื่นในลำไส้ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้

       ยีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกเห็ด รา (Fungi) แต่มีการดำรงชีวิตในสภาพเซลล์เดียวแทนการเจริญแบบเส้นใยเหมือนเชื้อราทั่วไป  ปกติยีสต์เพิ่มจำนวนและแบ่งเซลล์โดยการแตกหน่อเซลล์ของยีสต์จะมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรีย มีนิวเคลียสที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมสี  ภายในเซลล์มักจะเห็นแวคิวโอล (vacuole) ขนาดใหญ่ ยีสต์ไม่มีรงควัตถุ และไม่เคลื่อนที่  แต่มีการเคลื่อนไหวแบบบราวเนียน ยีสต์ มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่ออาหาร 

       ไดอะตอม เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตโดยลอยอยู่เป็นอิสระตามผิวน้ำ สามารถพบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ลักษณะทั่วไปของไดอะตอมคือ เป็นเซลล์เดียวที่ประกอบด้วยฝา 2 ฝาครอบกันสนิทและมีรูปร่างหลายแบบ โครงสร้างของไดอะตอมประกอบด้วย ซิลิกา ห่อหุ้มไซโทพลาซึม ซึ่งเป็นที่เก็บออร์แกเนลล์ทั้งหมด ไดอะตอมมีประมาณ 10,000 ชนิด แต่ละชนิดก็จะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน มีการขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ ในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม ประโยชน์ของไดอะตอมในแหล่งน้ำตามธรรมชาติสามารถเป็นอาหารของปลา หอย สัตว์น้ำต่างๆได้ ไดอะตอมมีหลายประการต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มนุษย์นำไดอะตอมมาใช้ขัดโลหะ ใช้เป็นฉนวนของเตาไฟ เครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ

แหล่งที่มา

โรจน์รวี   ชัยรัตน์. (2550 , มิถุนายน).  การจำแนกสิ่งมีชีวิต.  สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561, จาก

http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p6.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว , การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ,การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันเสาร์, 13 ตุลาคม 2561

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ชีววิทยา

ช่วงชั้น

ประถมศึกษาตอนปลาย

ดูเพิ่มเติม