ความหลากหลายทางชีวภาพ องค์ประกอบ

ความหลากหลายทางชีวภาพ องค์ประกอบ

ประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญๆอยู่ 3 ประเภท คือ ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ความหลากหลายทางพันธุกรรม และความหลากหลายของระบบนิเวศ
1.ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (species diversity) หมายถึง ความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในพื้นมี่หนึ่งๆตั้งแต่บริเวณที่แคบๆไปจนถึงบริเวณที่ๆกว้างขึ้น จนกระทั่งถึงทั่วโลก นักชีววิทยาวัดความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่หนึ่งๆ โดยดูจากความมากชนิด (species richness) และความสม่ำเสมอของชนิด (species evenness) ของสิ่งมีชีวิต ดังนี้
1.1 ความมากชนิด คือ จำนวนชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่ เช่น ป่าประเทศเมืองหนาวในพื้นที่หนึ่งๆมีต้นไม้อยู่ประมาณ 1 ถึง 5 ชนิด .ขณะที่ป่าในประเทศเขตร้อนในพื้นที่เท่าๆกัน มีต้นไม้อยู่นับร้อยชนิด เป็นต้น
1.2 ความสม่ำเสมอของชนิด คือ สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆที่มีอยู่ในบริเวณนั้น เช่น มีพื้นที่ป่าอยู่ 2 แห่ง แต่ละแห่งมีจำนวนต้นไม้อยู่1000 ต้นนี้ แบ่งเป็นต้นไม้ชนิดต่างๆได้ 10 ชนิด เท่าๆกัน แต่ป่าแห่งแรกต้นไม้แต่ละชนิดมีชนิดละ 100 ต้น เท่ากันหมด ส่วนป่าแห่งที่สองมีต้นไม้ชนิดหนึ่งจำนวนมากถึง 820 ต้น ต้นไม้อีก 9 ชนิดที่เหลือมีอยู่อย่างละ 20 ต้น จะเห็นว่า แม้ว่าป่าทั้งสองแห่งนี้จะมีจำนวนต้นไม้และชนิดของต้นไม้เท่ากัน แต่ถ้าเราเดินเข้าไปในป่าแห่งแรก เราจะรู้สึกได้ว่าเราพบต้นไม้หลากหลายชนิดมากกว่าป่าแห่งที่สอง นั่นแสดงว่าป่าแห่งแรกมีความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าป่าแห่งที่สอง
2.ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) หมายถึง ความหลากหลายของจีนและแอลลีลในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะร่วมและลักษณะที่แตกต่างกันอย่างหลากหลายในสายพันธุ์ เช่น ข้าวมีสายพันธุ์นับพันชนิด ซึ่งจะมีลักษณะร่วมและลักษณะที่แตกต่างในสายพันธุ์อย่างหลากหลาย แต่จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด พริก หรือพืชอาหารชนิดอื่น เป็นต้น
ความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นรากฐานสำคัญของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด กล่าวคือ ในธรรมชาติสิ่งมีชีวิตย่อมต้องมีการสืบพันธุ์เพื่อสืบทอดลูกหลานภายในกลุ่มเผ่าพันธุ์ตัวเอง ทำให้มีการถ่ายทอดสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตสายพันธ์เดียวกัน ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่สืบทอดจากต้นตระกูลเดียวกันจึงมีความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรมมากกว่าสิ่งมีชีวิตที่สืบทอดมาจากต่างสายพันธุ์ เนื่องจากถูกกำหนดลักษณะเฉพาะจากสารพันธุกรรมภายในเผ่าพันธุ์เดียวกัน และนอกจากสารพันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตแล้ว สารพันธุกรรมยังเป็นตัวกำหนดอีกว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการดำรงชีวิตในสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ได้หรือไม่ โดยมีกลไกการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อการอยู่รอด เช่น พืชป่าจะมีวิวัฒนาการในการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและปรับตัวเพื่อต่อสู้กับสัตว์ป่าซึ่งเป็นศัตรูในการดำรงชีวิต ในขณะเดียวกันสัตว์ป่าก็มีวิวัฒนาการในการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและปรับตัวเพื่อเอาชนะพืชเช่นกัน จึงเกิดกระบวนการในการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น สิ่งมีชีวิตชนิดใดที่เปลี่ยนแปลงและปรับตัวเพื่อเอาชนะสิ่งแวดล้อมได้ดี จะถูกธรรมชาติคัดเลือกให้มีชีวิตรอด และสามารถสืบพันธุ์เพื่อถ่ายทอดลักษณะที่ปรับตัวได้นั้นไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
ด้วยเหตุผลนี้สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจึงเกิดมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการในการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรมทีละเล็กละน้อย เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมรอบๆตัวที่อาศัยอยู่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่น ก่อให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมในเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
การที่โลกของเรามีความหลากหลาย ทางพันธุกรรมของพืชและสัตว์ ทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์เนื่องจากได้พันธุ์พืชและสัตว์ที่มีลักษณะแข็งแรงและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากประโยชน์ดังกล่าวมนุษย์จึงได้นำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ในการผสมข้ามพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง
ปัจจุบันพบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมกำลังจะถูกทำลายลงเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ที่มุ่งหวังแต่เพียงผลผลิตที่สูงขึ้น โดยการนำเอาสายพันธุ์ของพืชและสัตว์ที่พัฒนาขึ้นมาใช้แทนพันธุ์พื้นเมือง ทำให้พันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมถูกละเลยและสูญพันธุ์ไปในที่สุด ภาวะของการที่จำนวนสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ลงนี้ มีผลทำให้ความหลากหลายลดลงด้วยเช่นกัน จึงอาจกล่าวได้ว่าภาวะที่เกิดขึ้นถือเป็นการทำลายความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์
3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecosystem diverslty) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งไม่มีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งจัดเป็นปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ดิน และน้ำ เป็นต้น
เนื่องจากบนพื้นโลกเรานี้มีทั้งสภาวะที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ จึงมีความหลากหลายของระบบนิเวศมากมาย โดยสามารถจำแนกความหลากหลายของระบบนิเวศตามลักษณะที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตออกได้เป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่ ป่าดิบชื้น ทุ่งหญ้า พื้นที่ชุ่มน้ำ แนวปะการัง และป่าชายเลน
สิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศต่างก็มีบทบาทร่วมกัน สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีวิวัฒนาการในการปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยได้ดี ในขณะที่สิ่งมีชีวิตบางชนิดสามารถอาศัยอยู่ได้ในระบบนิเวศเฉพาะท้องถิ่นเท่านั้น ดังนั้น ในแหล่งที่อยู่อาศัยหนึ่ง ๆ จะมีชนิดและจำนวนของสิ่งมีชีวิตแตกต่างกัน ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอยู่ร่วมกัน และแต่ละชนิดก็จะมีจำนวนแตกต่างกันออกไป

องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพมีอะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เเบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) เป็นความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน 2.ความหลากหลายทางชนิด (species diversity) เป็นความแปรผันที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิต

ความหลากหลายทางชีวภาพหมายถึงอะไรและมีองค์ประกอบกี่ประการ

ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ระดับ 1. ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetics Diversity ) 2. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ ( Species Diversity ) 3. ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ( Ecological Diversity )

ความสําคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ มีอะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) หมายถึง การมีพันธุ์พืชและสัตว์นานาชนิด รวมถึงระบบนิเวศ และแหล่งพันธุกรรมที่แตกต่างหลากหลาย ความหลากหลายทางชีวภาพนับว่าเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยเปรียบเสมือนระบบผลิตสินค้าและบริการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งอาหาร แหล่งพันธุกรรมเพื่อผลิตยารักษาโรค รวมถึงเป็นแหล่งดูดซับแก๊ส ...