นวัตกรรมทางการเงินในปัจจุบัน

นายอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (บลจ.วี) เปิดเผยว่า การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหมๆ กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของสังคมเมืองและขยายตัวของธุรกิจต่างๆ

        ทั้งนี้ กองทุนเปิด TFINTECH อาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในต่างประเทศ จึงมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม ผู้สนใจลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนรวม โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนที่ได้เปิดเผยไว้ที่ www.tiscoasset.com และสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ทิสโก้ หรือ ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ TISCO Contact Center โทร. 0 2633 6000 กด 4, 0 2080 6000 กด 4 และ www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.ทิสโก้ หรือ TISCO Contact Center โทร. 0 2633 6000 กด 4, 0 2080 6000 กด 4 และ www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds

ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่า น่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์ แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏ อยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว

รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารการมองภาพภาคการเงินไทยท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งทิศทางหรือแนวนโยบายที่จะปรับโครงสร้างของภาคการเงินไทยให้เข้มแข็ง และสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้ดี โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้นำมุมมอง การวิเคราะห์ และทิศทางนโยบายที่จะนำมาใช้ ไปหารือในเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้กำกับดูแล เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะแนวนโยบายที่ดีที่สุดเพื่อรับมือกับโอกาสและความท้าทายใหม่

‘Consultation Paper’ ฉบับนี้จึงเป็นเสมือนแผนที่นำทางที่คอยบอกหลักการและทิศทางของภาคการเงินไทยในอนาคต รวมทั้งสิ่งที่ ธปท. ตั้งใจจะดำเนินการต่อไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบการวางแผนการเดินทางไปในอนาคตได้ชัดเจนและเห็นภาพครบถ้วน

Q1: อะไรคือความท้าทายสำคัญของเศรษฐกิจการเงินไทย

ระบบเศรษฐกิจการเงินในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยต้องเผชิญกับความท้าทายที่จะกระทบอนาคตของภาคการเงินไทย อย่างน้อย 3 ประการ

ประการแรก การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (digital transformation) ด้วยอัตราเร่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นทั้ง ‘โอกาส’ และ ‘ความเสี่ยง’ ต่อภาคการเงินไทย

  • ในด้านโอกาส เทคโนโลยีดิจิทัลไม่เพียงแต่ช่วยทำให้ ‘คุณภาพ’ ของบริการทางการเงินดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้คนส่วนใหญ่สามารถ ‘เข้าถึง’ บริการทางการเงินได้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังเปิดโอกาสให้มี ‘ผู้ให้บริการหน้าใหม่’ ทั้งที่อยู่ในและนอกภาคการเงิน เข้ามาแข่งขันกันได้มากขึ้น เกิดการพัฒนาหรือปรับปรุงบริการทางการเงินให้สะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์ และเข้าถึงลูกค้าได้ดีขึ้น
  • ในด้านความเสี่ยง การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วนี้ อาจทำให้คนที่ปรับตัวไม่ทันต้องตกขบวน ซึ่งในระยะยาวจะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจ และซ้ำเติมให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำยิ่งรุนแรงขึ้น อีกทั้งการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ก็ย่อมตามมาด้วยความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ อาทิ การโจรกรรมข้อมูลรูปแบบใหม่ การคุกคามและภัยไซเบอร์ในหลายรูปแบบ หรือความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลหากไม่รู้เท่าทัน เป็นต้น

ประการที่สอง ความยั่งยืน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรวดเร็วและรุนแรงขึ้นกว่าที่เคยคาดไว้ เห็นได้จากภัยแล้งและอุทกภัยที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น อีกทั้งสินค้าและบริการที่ผลิตโดยไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังจะแข่งขันในตลาดโลกได้ลำบาก เพราะหลายประเทศเริ่มมี ‘มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ สถานการณ์เช่นนี้จึงกลายเป็นแรงกดดันที่ทำให้สังคมเศรษฐกิจไทย และภาคการเงิน ต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด

ประการที่สาม ความเหลื่อมล้ำ ภาคเศรษฐกิจการเงินไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำสูงมานาน จากข้อมูลพบว่า ผู้ประกอบการ SMEs มากกว่าร้อยละ 60 เข้าไม่ถึงสินเชื่อ เนื่องจากไม่มีข้อมูลในระบบหรือมีประวัติทางการเงินไม่มากพอ (information asymmetry) ในขณะเดียวกัน สังคมไทยยังต้องเจอกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ล่าสุดสูงถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ หรือ GDP ซึ่งนอกจากจะเป็นอัตราที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ข้อมูลยังชี้ด้วยว่าผู้มีภาระหนี้สูงส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย

Q2: การระบาดของโควิด 19 ส่งผลอย่างไรกับความท้าทายข้างต้น

วิกฤตโควิด 19 ทำให้ความท้าทายทั้ง 3 ด้านชัดเจนและเร่งด่วนมากขึ้น เพราะเป็นตัวเร่งให้ภาคการเงินเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเร็วขึ้นมาก เห็นได้จากมูลค่าและจำนวนผู้ใช้ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์เร่งขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยคนไทยมีจำนวนบัญชี Internet และ Mobile banking เพิ่มกว่า 3 เท่า และโอนเงินผ่านบัญชีดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่า 18 เท่าตัว โควิด 19 ยังส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาคธุรกิจและแรงงาน ส่งผลซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำของ SMEs และครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้น้อย และสร้างความกังวลในความไม่แน่นอนและปัจจัยภายนอก เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

Q3: ภาคการเงินในอนาคตมีหน้าตาเป็นอย่างไร

ภาคการเงินในอนาคตจะต้อง ‘เปิดกว้าง’ มากขึ้น โดยการกำกับดูแลจะต้องเพิ่มความ ‘ยืดหยุ่น’ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมและการปรับตัวของทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการทางการเงิน ในขณะเดียวกันก็ต้องวิ่งตามให้ทันความเสี่ยงใหม่ ๆ ด้วย ที่สำคัญคือ ภาคการเงินต้องสามารถสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริง (Real sector) ให้ได้มากขึ้นและช่วยให้เศรษฐกิจและภาคธุรกิจสามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น สิ่งที่เราต้องการเห็นจากภาคการเงินในอนาคต มีอยู่ 3 เรื่อง

  1. ภาคการเงินนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม
  2. ภาคการเงินช่วยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนสามารถปรับตัวสู่ระบบเศรษฐกิจการเงินดิจิทัลและรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
  3. ภาคการเงินสามารถรับมือกับความเสี่ยงสำคัญ รวมถึงความเสี่ยงในรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างเท่าทันและเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง โดยการกำกับดูแลต้องยืดหยุ่นขึ้น และไม่สร้างภาระแก่ผู้ให้บริการทางการเงินมากจนเกินจำเป็น

Q4: ภาคการเงินไทยควรต้องปรับอย่างไร เพื่อให้พร้อมเดินหน้าสู่อนาคต

การปรับตัวของภาคการเงินไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่

  1. การพัฒนานวัตกรรมทางการเงินในระบบการเงินที่เปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและการใช้เทคโนโลยีและข้อมูล
  2. การให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและความเหลื่อมล้ำ และ
  3. การกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น และสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและการป้องกันความเสี่ยง

พัฒนานวัตกรรมทางการเงินในระบบการเงินที่เปิดกว้าง

Q5: โจทย์สำคัญของการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินคืออะไรบ้าง

ธปท. มองว่า ภาคการเงินจะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเงินและลดช่องว่างการเหลื่อมล้ำได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่ออยู่ภายใต้ ‘ระบบการเงินที่เปิดกว้าง’ ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ เปิดกว้างในการแข่งขัน (Open Competition) เปิดกว้างให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน (Open Infrastructure) และเปิดกว้างให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Open Data)

Q6: ‘การเปิดกว้างในการแข่งขัน’ คืออะไร และมีนโยบายที่เป็นรูปธรรมอย่างไร

การเปิดกว้างในการแข่งขัน คือ การส่งเสริมให้ผู้ให้บริการทั้งรายเดิมและรายใหม่เข้ามาแข่งขันให้บริการและพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเข้าถึงคนในวงกว้างขึ้น โดยหัวใจของการเปิดกว้างในการแข่งขัน คือ การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินที่ทำธุรกิจแบบเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอื้อให้เกิดการผูกขาดหรือการใช้อำนาจตลาดอย่างไม่เป็นธรรม และต้องคำนึงถึงความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ผู้ฝากเงิน หรือผู้บริโภคในวงกว้าง นโยบายที่เป็นรูปธรรมสำหรับการเปิดกว้างในการแข่งขัน อาทิ

  1. การเปิดให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัล (virtual bank) ที่คล่องตัวกว่าและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม (traditional bank)
  2. การอนุญาตให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่ไม่รวมสินทรัพย์ดิจิทัล ได้ไม่จำกัด เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้ธนาคารพาณิชย์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ แต่ต้องไม่กระทบผู้ฝากเงินและต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเหมาะสม
  3. การสนับสนุนการเรียนรู้ ทดสอบ และลงทุนในเทคโนโลยีใหม่เพื่อพัฒนาบริการทางการเงิน อาทิ การนำสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (เช่น blockchain) มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการในภาคการเงินและภาคธุรกิจ และ
  4. การให้ non-bank ทำธุรกิจได้หลากหลายขึ้นและสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินด้วยต้นทุนที่เหมาะสม เพื่อให้เข้ามาแข่งขันได้เต็มที่ ภายใต้การกำกับดูแลตามระดับความเสี่ยง เพื่อให้เท่าเทียมกับผู้เล่นอื่น

Q7: ทำไม ‘การเปิดกว้างให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน’ จึงเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญของระบบการเงิน

การเปิดให้ผู้ให้บริการหลากหลายสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อใช้ประโยชน์ด้วยราคาที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยส่งเสริมการแข่งขันกันในการให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจและประชาชนแล้ว ยังช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมทางการเงินโดยเฉลี่ยมีต้นทุนต่ำลง เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และช่วยเร่งให้ภาคการเงินไทยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัลได้เร็วขึ้น

ในทางตรงข้าม หากการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินกระจุกตัวอยู่ที่คนบางกลุ่ม ทำให้ต้นทุนการเข้าถึงไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง จะลดทอนประสิทธิภาพการให้บริการและสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการแข่งขันเพื่อพัฒนานวัตกรรมและการให้บริการทางการเงิน ทำให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคธุรกิจและประชาชนเสียประโยชน์

ดังนั้น ในการเปิดกว้างให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานจะรวมถึง

  1. การให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและนำไปใช้ต่อยอดการพัฒนาเป็นวงกว้างขึ้น
  2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลและช่วยเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยต้นทุนที่สะท้อนความเสี่ยงตามจริงมากขึ้น เช่น โครงสร้างพื้นฐานรองรับธุรกรรมการค้าและการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจ (Smart Financial and Payment Infrastructure for Business) การพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชนที่ออกโดยธนาคารกลาง (Retail CBDC) และกลไกการค้ำประกันความเสี่ยงที่รองรับความต้องการเงินทุนหลากหลายรูปแบบ เป็นต้น และ
  3. การเร่งลดการใช้เงินสดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งลดการใช้เช็คกระดาษ และทบทวนการตั้งราคาสำหรับบริการชำระเงินให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

Q8: ‘การเปิดกว้างให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล’ จะช่วยทำให้เกิดระบบการเงินที่เปิดกว้างได้อย่างไร

การเปิดกว้างให้เกิดการเชื่อมต่อของข้อมูล จะช่วยให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปพัฒนาต่อยอดบริการทางการเงินได้เต็มที่ยิ่งขึ้น แข่งขันได้เท่าเทียมขึ้น ในขณะที่ผู้ใช้บริการทางการเงินจะมีโอกาสเลือกใช้บริการหรือเลือกผู้ให้บริการได้หลากหลาย และมีโอกาสได้รับบริการที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ได้ดีกว่าเดิมด้วยต้นทุนที่ถูกลง

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญมีอยู่ 2 ประการ

  1. การผลักดันกลไกเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการทางการเงิน โดยหากผู้ให้บริการ (ในฐานะผู้ถือข้อมูล) สามารถเชื่อมต่อเพื่อแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันได้ ผู้ใช้บริการ (ในฐานะเจ้าของข้อมูล) ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของตัวเองได้อย่างเต็มที่ และยังสามารถเลือกผู้ให้บริการต่าง ๆ ได้โดยสะดวกด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
  2. การมีหลักธรรมาภิบาลการใช้ข้อมูลให้เหมาะสม ปกป้องสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล มีกลไกป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้โดยมิชอบ ที่สำคัญ การเปิดเผยข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนเสมอ

การเปิดกว้างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลจะสามารถดำเนินการได้ผ่าน

  1. การผลักดันนโยบาย Open Banking ที่เอื้อให้ผู้ใช้บริการสามารถส่งข้อมูลของตนให้แก่ผู้ให้บริการต่าง ๆ ได้สะดวกและมีต้นทุนที่เหมาะสม โดยสร้างกลไกให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิอนุญาตให้ผู้ให้บริการทางการเงิน เปิดเผยและส่งข้อมูลของตนแก่ผู้ให้บริการบุคคลที่สาม (consent management) และผลักดันให้มีมาตรฐาน API (Application Programming Interface) และมาตรฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน
  2. การสนับสนุนการเชื่อมต่อและนำฐานข้อมูลระดับธุรกรรม หรือระดับจุลภาค (micro-level data) ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ลึกซึ้งและแม่นยำกว่าการใช้ข้อมูลภาพรวม (high-level data)

สู่ระบบการเงินที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

Q9: ทำไมภาคการเงินต้องใส่ใจกับความยั่งยืน

บทบาทสำคัญของภาคการเงิน คือ การทำหน้าที่จัดสรรเงินทุนในระบบเศรษฐกิจจากผู้ฝากกระจายไปยังผู้กู้ โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังนั้น การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากภาคการเงินไม่มีนโยบายที่จะขยับเงินทุนไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นอกจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ภาคการเงินต้องตระหนักและปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงทั้งกับธุรกิจในภาคการเงินเองและภาคเศรษฐกิจจริงแล้ว ภาคการเงินยังมีศักยภาพที่จะช่วยบรรเทา หรือกระทั่งลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่กำลังกัดกินสังคมไทย โดยโจทย์ที่ท้าทายของภาคการเงินไทยในเรื่องนี้คือ การช่วยให้ครัวเรือนหรือกลุ่มเปราะบางอยู่รอด สามารถจัดการหนี้สินและปรับตัวสู่โลกใหม่ได้อย่างยั่งยืน

Q10: ภาคการเงินที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีหน้าตาเป็นอย่างไร

ธปท. พยายามผลักดันให้ภาคการเงินไทยนำเอาโอกาสและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานและการตัดสินใจทางธุรกิจ เพื่อช่วยสนับสนุน หรือกระตุ้นให้ภาคเศรษฐกิจจริงเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น โดยที่ไม่สร้างภาระหรือต้นทุนแก่ภาคธุรกิจเกินไป

หรืออาจกล่าวได้ว่า ภาคการเงินที่คำนึงถึงความยั่งยืน ก็จะมองเห็นโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจปรับตัวและเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ ในขณะเดียวกัน ภาคการเงินก็จะต้องระวัง และไม่ประเมินโอกาสและความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมสูงเกินไป จนทำให้เกิดฟองสบู่สีเขียว (green bubble) เพราะไปส่งเสริมธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบางประเภทมากจนเกินไป โดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานหรือข้อจำกัดทางเศรษฐกิจที่มี ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ตัดขาดธุรกิจที่อยู่ระหว่างการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่าน จนทำให้ธุรกิจปรับตัวไม่ทัน

Q11: ธปท. มีแนวนโยบายอย่างไร ที่จะสนับสนุนให้ภาคการเงินไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ธปท. ให้ความสำคัญกับการวางรากฐานให้กับระบบนิเวศของเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสนับสนุนบทบาทของภาคการเงินด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ โดยมีแนวนโยบายที่สำคัญ ได้แก่

  1. การกำหนดนิยามและจัดกลุ่มกิจกรรมที่นับอยู่ในเศรษฐกิจสีเขียว (taxonomy) ให้เป็นระบบ เหมาะกับบริบทของไทย และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงในการจัดสรรเงินทุนไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียวได้ชัดเจน
  2. การกำหนดมาตรฐานในการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน (disclosure) เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมได้ชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  3. การผลักดันให้มีบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ภาคธุรกิจปรับตัวและลดกิจกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในการทำธุรกิจอย่างจริงจังและเป็นระบบ และสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียวที่สะท้อนความเสี่ยงดังกล่าว
  4. สร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม (incentive structure) ให้สถาบันการเงินและภาคธุรกิจ เพื่อเร่งให้เกิดการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มโอกาสให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และ
  5. การสร้างองค์ความรู้และศักยภาพบุคลากรภาคการเงิน เพื่อให้บุคลากรในภาคการเงินสามารถประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำไปออกแบบผลิตภัณฑ์และการให้บริการได้อย่างเหมาะสม

Q12: อะไรเป็นจุดแข็งของภาคการเงินในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพื่อสร้างภาคการเงินที่ยั่งยืน

หากครัวเรือนไทยสามารถเข้าถึงบริการภาคการเงินได้อย่างทั่วถึง ภายใต้ต้นทุนทางการเงินที่ไม่สูงนักและสอดคล้องกับความเสี่ยงของตน รวมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับการเงินที่เพียงพอ ก็จะสามารถปรับตัวและอยู่รอดในโลกใหม่ได้ ในส่วนของครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ภาคการเงินก็สามารถออกแบบกลไกช่วยให้ปรับตัวได้โดยไม่กลับมาเป็นหนี้อีก

แนวนโยบายสำคัญที่จะช่วยให้ภาคการเงินมีส่วนในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ได้แก่

  1. การยกระดับการให้ความรู้และทักษะทางการเงินและการเงินดิจิทัล (financial/digital literacy) ทั้งในด้านการสื่อสารความรู้ให้เข้าถึงง่าย เท่าทันต่อภัยคุกคามใหม่ ๆ และด้านการเพิ่มบทบาทและเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการทางการเงินได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้เกิดพฤติกรรมการเงินที่ดี (เช่น การออมเพื่อเกษียณ)
  2. การผลักดันการให้สินเชื่อรายย่อยอย่างรับผิดชอบ (responsible lending) โดยต้องเหมาะสมกับความสามารถใน การชำระหนี้ เพื่อให้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่ออย่างเหมาะสมและป้องกันการก่อหนี้จนเกินตัว
  3. การผลักดันกลไกการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างครบวงจรจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ครัวเรือนที่มีหนี้ล้นพ้นตัวปรับตัวได้โดยไม่กลับมามีหนี้ล้นพ้นตัวอีก และ
  4. การจัดเก็บข้อมูลภาระหนี้ครัวเรือนอย่างครอบคลุมเป็นระบบ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนให้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างเหมาะสมด้วยราคาที่สอดคล้องกับความเสี่ยง และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาหนี้ระยะยาวได้

ปรับการกำกับดูแลให้มีความยืดหยุ่น หาสมดุลระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและการป้องกันความเสี่ยง

Q13: ทำไมความยืดหยุ่นของการกำกับดูแลจึงสำคัญกับภาคการเงินและ ธปท. เป็นพิเศษ

ธนาคารกลางทั่วโลกมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพ ลดความเสี่ยงของระบบการเงิน และกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินอย่างเข้มงวด ในหลายครั้ง ธนาคารกลางจึงถูกมองว่าเป็น ‘ผู้คุมกฎ’ มากกว่าที่จะเป็น ‘ผู้อำนวยความสะดวก’

ในภาวะแวดล้อมที่ภาคการเงินต้องปรับตัว ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อแข่งขันและตอบโจทย์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทิศทางการกำกับดูแลจึงต้องยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อผู้ให้บริการทางการเงินในการพัฒนานวัตกรรม ขณะที่สามารถดูแลให้ภาคการเงินรับมือกับความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างเท่าทัน

การปรับการดูแลจากการรักษาเสถียรภาพให้ภาคการเงินมีความมั่นคง ไม่ผันผวน มาเป็นการดูแลอย่างยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อสร้าง ‘ความทนทาน’ ของภาคการเงินต่อความเสี่ยง ในภาษาอังกฤษ เราใช้คำว่า ‘From Stability to Resiliency’ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดและวิธีทำงานในการกำกับดูแลได้ค่อนข้างชัดเจน

Q14: ในการพัฒนานวัตกรรมและการป้องกันความเสี่ยง เราจะสร้างสมดุลอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

ในเบื้องต้น ธปท. ได้ปรับแนวทางกำกับดูแล 2 ด้าน ด้านแรก คือ การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินที่มีหลากหลายขึ้นให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มผู้ให้บริการ รวมทั้งทบทวนและปรับลดกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ให้บริการทางการเงินกลุ่มต่าง ๆ ด้านที่สอง คือ การยกระดับการกำกับดูแลความเสี่ยงสำคัญภายใต้โลกการเงินใหม่ เพื่อลดโอกาสการเกิดความเสียหายที่จะลุกลามส่งผลต่อเศรษฐกิจผู้ฝากเงิน และผู้บริโภคเป็นวงกว้าง

อาจกล่าวได้ว่า การวางแนวทางกำกับดูแลของ ธปท. มีทั้งมิติของการผ่อนปรนและเข้มงวดขึ้นควบคู่กันไปเพื่อให้ภาคการเงินสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจในโลกใหม่ได้

Q15: ในการปรับทิศทางการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินให้ ‘เหมาะสม’ และ ‘ยืดหยุ่น’ ธปท. มีหลักอย่างไร

การปรับให้การกำกับดูแลมีความยืดหยุ่น ยิ่งทำให้การกำกับดูแลต้องอยู่บนหลักการที่ชัดเจน เข้าใจความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของการกำกับดูแล เพื่อที่จะลดอุปสรรคให้เหลือเฉพาะแต่การกำกับเท่าที่จำเป็น

ตัวอย่างเช่น การกำกับดูแลผู้ให้บริการโดยใช้หลักการเป็นที่ตั้ง หรือ principle-based และกำกับตามระดับความเสี่ยง ผสมผสานด้วยมาตรฐานหรือเกณฑ์ขั้นต่ำที่บังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน โดยให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถใช้แนวทางหรือวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับลักษณะและระดับความเสี่ยงของตนได้

นอกจากนี้ ธปท. ยังมีกลไกให้ผู้ให้บริการทางการเงินที่ประสบปัญหาและไม่สามารถปรับตัว เลิกประกอบกิจการได้ โดยไม่ทำให้ระบบการเงินหยุดชะงัก โดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้เลิกกิจการได้อย่างราบรื่นและไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง

ในส่วนของการทบทวนกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคของผู้ให้บริการทางการเงิน ธปท. จะผลักดันการทบทวนการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อให้คิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของผู้กู้ หรือ risk-based pricing ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าเพดานได้รับดอกเบี้ยต่ำลง และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าเพดานมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น นอกจากนี้ ธปท. ยังปรับปรุงกระบวนการทำ Regulatory Sandbox เพื่อเพิ่มความชัดเจน ความรวดเร็ว และลดภาระของผู้ให้บริการ

Q16: ในการยกระดับการกำกับดูแลความเสี่ยงในโลกการเงินใหม่ มีตัวอย่างในการดำเนินการอย่างไร

ในการดูแลความเสี่ยงในโลกใหม่ ธปท. ยังคงให้ความสำคัญกับ ‘ความเสี่ยงเชิงระบบ’ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือความเสียหายที่ลุกลาม ไปยังระบบเศรษฐกิจการเงิน ส่งผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน และผู้บริโภคในวงกว้าง

ตัวอย่างที่สะท้อนวิธีคิด เช่น การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการแทนเงินบาท (means of payment: MOP) จะส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจการเงินภาพรวม หรือการปรับการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการขยายไปสู่ธุรกิจ FinTech และ e-commerce ที่เป็นรูปแบบใหม่ของการให้บริการทางการเงินที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงที่กว้างขึ้น หรือการยกระดับการกำกับดูแลการให้บริการทางการเงินของกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank FIs) ทั้งในด้านขนาดและความเชื่อมโยงที่จะส่งผ่านความเสี่ยงไปยังส่วนอื่น ๆ ของระบบการเงิน ซึ่งล้วนแต่เป็นการปรับทิศทางการกำกับดูแลภายใต้กรอบและทิศทางที่ได้กล่าวไปแล้วทั้งสิ้น

Q17: อะไรคือความเสี่ยงของการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็น MOP

ประการแรก สินทรัพย์ดิจิทัลยังมีปัญหาด้านต้นทุนและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เนื่องจากราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง และยังไม่มีผู้ดูแลมาตรฐานความปลอดภัย รวมถึงอาจถูกใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงิน

ประการที่สอง การใช้สื่อกลางในการชำระเงินรูปแบบอื่น อาจทำให้เกิดระบบการชำระเงินที่กระจายตัว (fragmentation) และซ้ำซ้อน ทำให้ต้องแลกเปลี่ยนไป-มา ซึ่งจะลดทอนประสิทธิภาพของระบบและทำให้ต้นทุนการชำระเงินของประเทศสูงขึ้น

ประการที่สาม การใช้เงินดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ หากแพร่หลาย จะกระทบเสถียรภาพการเงินและความสามารถในการดูแลภาวะการเงินในประเทศ เช่น ยังไม่มีองค์กรที่จะปล่อยสภาพคล่องในรูปสกุลเงินดิจิทัลให้กับระบบการเงินหากเกิดวิกฤต หรือนโยบายการเงินไม่สามารถดูแลกำลังซื้อของประชาชนในภาพรวมให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจได้ หากประชาชนไม่ได้ใช้เพียงเงินบาทเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เป็นต้น

Q18: สามารถพูดได้ไหมว่า ธปท. ปฏิเสธสินทรัพย์ดิจิทัลโดยสิ้นเชิงเลย

ธปท. ไม่ได้ปฏิเสธสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมด โดยสินทรัพย์ดิจิทัลยังสามารถใช้เพื่อการลงทุนได้ ขณะที่กรณีการนำมาใช้เป็น MOP หากมีสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงินและการต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน ธปท. ก็พร้อมจะพิจารณาแนวทางการกำกับดูแลการให้บริการที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการและป้องกันความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบการชำระเงิน

ตัวอย่างของบริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะพิจารณากำกับดูแล อาทิ การออกและใช้สินทรัพย์ดิจิทัลที่หนุนหลังด้วยเงินบาท (Thai Baht-backed stablecoin) โดยจะดูแลขอบเขตการให้บริการ และความมั่นคงปลอดภัยของระบบและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

Q19: ธปท. มองการเข้าไปลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์อย่างไร และจะมีแนวทางในการกำกับดูแลหรือไม่ อย่างไร

ธปท. เปิดกว้างให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี ด้วยเห็นประโยชน์ในการเพิ่มความยืดหยุ่นของธนาคารพาณิชย์ในการพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงิน เช่น ธุรกิจ Fintech หรือ e-commerce platform สิ่งสำคัญ คือ ธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างเท่าทัน โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาหรือความเสียหายต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ผู้ฝากเงิน และผู้บริโภคในวงกว้าง

ในการนี้ ธปท. จะยกระดับการกำกับดูแลด้านธรรมาภิบาล การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน และ การบริหารความเสี่ยง ให้สอดคล้องตามความสำคัญที่มีต่อกลุ่มธุรกิจฯ โดยเฉพาะความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ ที่อาจเกิดจากเทคโนโลยีหรือภัยไซเบอร์ รวมถึงจะกำกับดูแลธุรกรรมที่มีความเชื่อมโยงกันในกลุ่มธุรกิจฯ เช่น การให้กู้ยืมระหว่างกัน การใช้ช่องทางให้บริการ หรือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลลูกค้าร่วมกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการส่งผ่านความเสี่ยงระหว่างกันในกลุ่มธุรกิจฯ จนอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ที่รับฝากเงินจากประชาชนและฐานะการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจฯ ในภาพรวมได้ในอนาคต

Q20: ธปท. มีแนวทางในการกำกับดูแลกลุ่ม non-bank FIs ที่กำลังเข้ามาให้บริการทางการเงินมากขึ้นต่อเนื่องอย่างไร

ธปท. จะเพิ่มการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินกลุ่ม non-bank FIs โดยจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงและความสำคัญเชิงระบบของ non-bank FIs และกลุ่มธุรกิจ non-bank FIs ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นขนาด การส่งผ่านความเสี่ยงไปยังระบบ การใช้อำนาจตลาดอย่างไม่เป็นธรรม ฯลฯ ทั้งนี้ การกำกับดูแล non-bank FIs ที่มีความสำคัญเชิงระบบจะเข้มขึ้น โดยเฉพาะในมิติความมั่นคง อาทิ ธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยงและการดำรงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง รวมทั้งแนวทางป้องกันและเตรียมการรองรับกรณีเกิดปัญหา เพื่อลดโอกาสที่จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบการเงินและผู้บริโภค

Q21: ถึงที่สุดแล้ว โลกการเงินก็คงจะเปลี่ยนและวิวัฒน์ต่อไปอีกในอนาคต การกำกับดูแลของ ธปท. ก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปอีกหรือไม่

ธปท. ตระหนักดีว่า การกำกับดูแลภายใต้โลกการเงินใหม่ ไม่มีนโยบายใดที่เป็นสูตรสำเร็จ และจะใช้ได้ตลอดไป ในฐานะธนาคารกลาง ธปท. จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เมื่อใดที่สถานการณ์เปลี่ยน ความรู้เปลี่ยน และข้อมูลเปลี่ยน การกำกับดูแลก็ต้องปรับให้เหมาะสมตามบริบทที่เปลี่ยนไป

ดังนั้น นอกจากงานด้านนโยบายการเงินแล้ว ในการเตรียมความพร้อมรับมือพัฒนาการด้านเทคโนโลยี ธปท. ยังส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้าน IT/cyber ของประเทศด้วย โดยต่อยอดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคการเงินที่สำคัญ อาทิ ศูนย์ประสานงานความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (Thailand Banking Sector CERT: TB-CERT) สำนักงาน ก.ล.ต. คปภ. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการสร้างความตระหนักรู้เรื่อง IT/cyber risk แก่คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน และขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงานระดับประเทศ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในการยกระดับความรู้ความสามารถเชิงลึกด้าน IT/cyber แก่เจ้าหน้าที่ภาคการเงิน และการรับพนักงานใหม่ด้าน IT/cyber เข้าสู่ภาคการเงินของประเทศ

Q22: ประชาชนทั่วไปจะมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางภาคการเงินไทยแห่งอนาคตหรือไม่

ธปท. พร้อมเปิดกว้างให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้มั่นใจว่านโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาจะตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการทางการเงินได้ตรงจุดที่สุด

ธปท. จึงขอเชิญชวนท่านที่สนใจอ่านรายงาน เรื่อง “ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและ การเติบโตอย่างยั่งยืน” (‘Consultation Paper’) ฉบับเต็ม และร่วมเสนอแนะเกี่ยวกับแนวนโยบายการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย ทั้งในส่วนของเนื้อหาโดยทั่วไปและประเด็นเฉพาะเรื่องที่ระบุเป็นคำถามไว้ในส่วนท้ายของแต่ละหัวข้อ โดยท่านสามารถส่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปยัง ธปท. ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่าน 2 ช่องทาง คือ ผ่านทางเว็บไซต์นี้ หรือผ่านทางอีเมล [email protected]

นวัตกรรมทางการเงิน มีอะไรบ้าง

10 นวัตกรรมการเงินเด็ดปี'62.
เรื่อง ทีมข่าวโพสต์ทูเดย์ ... .
การระดมทุนผ่าน ICO (Initial Coin Offering) ... .
การปล่อยสินเชื่อผ่านมือถือ Digital Lending. ... .
การปล่อยกู้ระหว่างบุคคลกับบุคคล P2P Lending. ... .
ปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) ... .
แชตบอต Chat Bot. ... .
บล็อกเชน Blockchain. ... .
Biometric & Digital ID..

นวัตกรรมทางการเงิน คืออะไร

นวัตกรรมทางการเงินเป็นกลไกการระดมเงินทุนที่แตกต่างจากรูปแบบการเงินแบบดั้งเดิม โดยอำนวยให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีความสนใจในการให้เงินทุนเพื่อการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น และสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ เพื่อการพัฒนา

ผลสําเร็จของ FinTech มีอะไรบ้าง

ความสำเร็จของ FinTech อาจจะวัดได้จากหลายด้าน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การมุ่งที่จะแก้ปัญหาให้กับลูกค้า สามารถเป็นคำตอบในระยะยาวให้กับลูกค้าได้ โดยที่ลูกค้าไม่เลิกหรือเปลี่ยนไปใช้บริการเจ้าอื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

ตัวอย่างฟินเทค มีอะไรบ้าง

ในเบื้องต้น FinTech (ฟินเทค) ถ้าหากนำมาจัดหมวดหมู่ง่าย ๆ จะสามารถแบ่งประเภทได้ 7 ประเภทตามหมวดหมู่ของธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน ได้แก่ ธนาคาร, สินเชื่อ, การจ่ายเงิน, การโอนเงินระหว่างประเทศ, การประกันภัย, การลงทุน, และ Cryptocurrency.