ระบบธุรกรรมออนไลน์เป็นอย่างไร

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ปัจจุบันยุคของอินเทอร์เน็ตทำให้พฤติกรรมการใช้จ่ายเริ่มเปลี่ยนไป การซื้อของหรือจ่ายบิลด้วยเงินสดอาจลดน้อยลง และหันไปพึ่งระบบการจ่ายเงินแบบออนไลน์มากขึ้น เพราะทำได้สะดวกรวดเร็วและสามารถทำจากที่ไหนก็ได้

หลายคนที่กำลังตัดสินใจมาใช้ระบบ E-payment หรือระบบทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต ก็อาจมีข้อกังวลใจถึงความปลอดภัยในการใช้งาน ทำให้รู้สึกกังวลใจเมื่อต้องทำเรื่องจ่ายเงินบนช่องทางออนไลน์

แต่จริงๆ แล้วระบบ E-payment นั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะผู้ให้บริการได้สร้างระบบการจ่ายเงินออนไลน์ที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานเอาไว้ ในบทความนี้มาดูกันว่าจะทำธุรกรรมออนไลน์อย่างไรให้ปลอดภัย และธุรกรรมแบบไหนบ้างที่รองรับการจ่ายเงินออนไลน์

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับ E-payment

  • E-payment (Electronic Payment System) : ระบบการชำระเงินและทำธุรกรรมบนระบบออนไลน์ เช่น อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน
  • Internet Banking : ช่องทางการทำธุรกรรมการเงินบนออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง ให้บริการโดยธนาคารที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งทำได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์หรือบนแอพพลิเคชั่น
  • Mobile Banking : ช่องทางการทำธุรกรรมต่างๆ ที่สามารถทำผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคารบนสมาร์ทโฟน
  • OTP (One Time Password) : รหัสแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งระบบการทำธุรกรรมมักจะขอเลข OTP เมื่อมีการกรอกบัตรจ่ายเงินออนไลน์ โดยรหัสจะเข้ามาทางเบอร์โทรศัพท์ที่เชื่อมกับบัตรใบนั้น
  • Debit Cards : บัตรที่ออกโดยธนาคารที่ผูกไว้กับบัญชีเงินฝาก โดยสามารถใช้กดเงินสดหรือทำธุรกรรมออนไลน์ได้ การใช้จ่ายผ่านบัตรจะหักเงินออกจากบัญชีเงินฝากโดยตรง
  • Credit Cards : เป็นบัตรสินเชื่อบุคคลธรรมดาที่สามารถนำมาใช้จ่ายออนไลน์ได้ โดยธนาคารที่ออกบัตรจะเป็นผู้กำหนดวงเงินการใช้งาน เมื่อนำบัตรไปใช้จ่ายเท่าไหร่ต้องจ่ายคืนตามจำนวนแก่ธนาคารในระยะเวลาที่กำหนด
  • CVV : รหัส 3 ตัวบนบัตรเครดิตและเดบิท ใช้สำหรับยืนยันตัวตนของเจ้าของบัตรเมื่อทำธุรกรรมออนไลน์
  • Payment Gateway : ช่องทางการชำระเงินออนไลน์ที่คุณสามารถชำระค่าบริการ หรือจ่ายเงินซื้อของได้อย่างรวดเร็ว โดยมีช่องทางให้เลือกทั้งผ่านธนาคารโดยตรงและตัวกลางชำระเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

จะใช้งาน E-payment อย่างไรให้ปลอดภัย

การใช้บริการธุรกรรมออนไลน์หรือ E-payment ให้ปลอดภัยมีข้อสังเกตและวิธีปฏิบัติดังนี้

ระบบธุรกรรมออนไลน์เป็นอย่างไร

ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ดี
เมื่อต้องทำธุรกรรมออนไลน์บนมือถือ (Mobile Banking) การเชื่อมต่อ Wifi สาธารณะนั้นมีความปลอดภัยน้อยมาก โดยเฉพาะ Wifi ที่ปล่อยให้คนเข้าใช้งานได้ฟรีหลายคนอาจถูกมิจฉาชีพขโมยข้อมูลบนบัตรไปใช้งาน ทางที่ดีควรใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นเครือข่ายมือถือจะปลอดภัยกว่า

อีเมลเรียกเก็บเงินอาจมีหลุมพลางซ่อนอยู่
หลายคนที่มีอีเมลส่วนตัวจะพบว่ามีอีเมลหลายฉบับที่ไม่รู้จักส่งเข้ามาทางกล่องรับจดหมาย หลายคนเลือกที่จะมองข้ามแล้วลบทิ้งไป แต่บางคนอาจเปิดเข้าไปดูแล้วพบว่ามีการเรียกเก็บเงินจากธนาคารหรือจากแอพพลิเคชั่นต่างๆ

สิ่งที่ต้องทำคือตรวจสอบที่มาให้ชัดเจนว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

  • ผู้ส่งมาเป็นใคร
  • อีเมลของผู้ส่งน่าเชื่อถือหรือไม่
  • การสะกดคำในอีเมลน่าเชื่อถือหรือไม่
  • คุณเคยทำธุรกรรมหรือซื้อขายอะไรกับผู้ส่งอีเมลหรือไม่ ถ้าไม่เคยก็ควรกดลบทิ้งได้เลย

ทางที่ดีควรโทรตรวจสอบกับทางธนาคารที่ส่งมาโดยตรง หรือเอาชื่ออีเมลที่ส่งเข้ามานี้ค้นหาบน Google ซึ่งถ้าเป็นมิจฉาชีพก็จะต้องมีคนพูดถึงอย่างแน่นอน

รหัสผ่านสำคัญมาก
รหัสผ่านเข้าใช้งาน Internet Banking ควรเก็บเป็นความลับ รวมถึงข้อมูลบัตรที่ใช้จ่ายต่างๆ ก็ไม่ควรกรอกหรือส่งให้ใครถ้าไม่ใช่บนเว็บไซต์ทำธุรกรรม นอกจากนี้การใช้งานแบบเข้ารหัส OTP ก็ช่วยให้มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น หากมีคนนำข้อมูลบัตรของคุณไปใช้งาน จะไม่สามารถใช้ได้เพราะรหัสนั้นส่งเข้าทางเบอร์มือถือของคุณเท่านั้น

บริการที่สามารถทำได้ด้วยธุรกรรมออนไลน์

ข้อดีของการใช้งาน E-payment ช่วยให้คุณสะดวกสบายในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น เพราะไม่ต้องไปกดเงินสดแล้วนำไปชำระที่เคาร์เตอร์บริการให้ยุ่งยาก โดยสามารถใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ได้เลย ซึ่งระบบรองรับการจ่ายได้ทั้ง

  • Debit Cards
  • Credit Cards
  • Internet Banking ที่เชื่อมกับแอพพลิเคชั่นโดยตรงกับธนาคาร
ระบบธุรกรรมออนไลน์เป็นอย่างไร

บริการ 3 รูปแบบที่คุณสามารถทำได้เลยบนออนไลน์

  1. ซื้อของออนไลน์จากทั่วโลก

    ใช้สำหรับซื้อสินค้าออนไลน์ทั้งจากในไทยและต่างประเทศผ่านระบบ Payment Gateway แบ่งเป็น
    - Payment Gateway Bank : บริการชำระโดยตรงผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร
    - Payment Gateway Non Bank : บริการชำระผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคารโดยตรง เช่น
    • PayPal
    • Amazon Payments
    • Alipay
  2. บิลค่าสาธารณูปโภค

    จ่ายบิลรายเดือนผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร หรือแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการโดยตรง เช่น
    • ค่าน้ำ
    • ค่าไฟ
    • ค่าโทรศัพท์
    • ค่าอินเทอร์เน็ต
  3. ผ่อนชำระสินเชื่อและบัตรเครดิต

    ผ่อนชำระสินเชื่อและบัตรเครดิตได้ง่ายๆ เพียงใช้แอพพลิเคชั่นของธนาคารที่คุณผูกบัญชีเงินฝากเอาไว้ ให้ตัดยอดเงินผ่อนชำระได้ผ่านระบบออนไลน์
    • ผ่อนสินเชื่อบ้าน
    • ค่าบัตรเครดิต
    • ผ่อนสินเชื่อรถและเบี้ยประกัน

หลายคนอาจจะเริ่มรู้สึกไว้วางใจการชำระเงินผ่านระบบ E-payment หรือช่องทางออนไลน์มากขึ้น หากเราใช้อย่างระมัดระวัง ก็จะทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น

สำหรับลูกค้าของเงินติดล้อที่ไม่สะดวกเดินทางไปชำระเงินสินเชื่อและเบี้ยประกันที่สาขา ทางเงินติดล้อมีบริการสำหรับชำระสินเชื่อรถยนต์และเบี้ยประกันผ่านระบบออนไลน์แล้ว

โดยคุณสามารถชำระง่ายๆ ผ่านระบบ Mobile Banking ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียง Add LINE : @Tidlor ของเงินติดล้อ เพื่อขอบาร์โค้ดชำระเงินและนำไปชำระบนแอพพลิเคชั่นของธนาคาร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่