ทฤษฎีการกําเนิดรัฐ

พระเจ้าเป็นผู้ให้กำเนิดและสร้างรัฐ เช่นในตะวันออกไกลเชื่อว่าผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้า พวกฮิบรูเชื่อว่าพระเจ้าสร้างรัฐขึ้นมาเพื่อปกครองมนุษย์ เพื่อลงโทษบาปที่มนุษย์ได้กระทำไว้

ในสมัยกลางยังยอมรับลัทธิเทวสิทธิ์นี้อยู่ แต่ผู้ปกครองต้องได้รับอำนาจผ่านทางศาสนจักร

สมัยต่อมาพวกโปรเตสแตนท์อ้างว่า กษัตริย์ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ซึ่งไม่ใช่เฉพาะอำนาจการปกครองเท่านั้น แต่กษัตริย์ได้รับอำนาจนี้จากพระกรุณาของพระเจ้าด้วย ซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีอำนาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์

ต่อมาเมื่อมีชนชั้นกลางเกิดขึ้น ได้เกิดความคืดเรื่องอธิปไตยของปวงชนขยายตัวกว้างขวางออกไป เห็นได้ว่าการปฏิวัติในศตวรรษที่ ๑๗ และ ๑๘ นั้นได้มีการกล่าวอ้างนามของประชาชนต่อต้านอำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์

๒  ทฤษฎีสัญญาประชาคม

เนื่องจากทฤษฎีประชาคมเป็นเจ้าของอธิปไตยได้รับความนิยมสูง ทำให้ลัทธิเทวสิทธิ์หมดความสำคัญลงไป ซึ่งทฤษฎีใหม่นี้มีแนวคิดว่า มนุษย์เป็นผู้เริ่มก่อตั้งรัฐ โดยวิธีการที่ปัจเจกชนยินยอมพร้อมใจกันทำสัญญาประชาคม แต่มีการแปลความหมายแตกต่างกันไปตามนักทฤษฎีต่างๆในช่วงเวลาของการปฏิวัติของประชาชนในอังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกา

       ๒.๑  ธอมัส ฮอบส์

มีแนวคิดส่งเสริมอำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์ และมุ่งให้รัฐบาลมีอำนาจโดยสมบูรณ์ ซึ่งก็คือสมบูรณาญาสิทธิราช เนื่องจากเชื่อว่าเป็นระบอบที่มีความมั่นคงและมีความเป็นระเบียบที่สุด

เชื่อว่าเริ่มแรกมนุษย์ยังไม่เป็นสังคม แต่แยกกันอยู่ในสภาพธรรมชาติ ซึ่งโดดเดี่ยว ยากจน น่าเกลียด โหดร้าย และสั้น ซึ่งสภาพแบบนี้ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีความยุติธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของคนที่แสวงหามาได้ เป็นสงครามที่มนุษย์ทุกคนต้องกระทำเพื่อความอยู่รอดของตน ซึ่งไม่ผิดอะไรกับคนป่าเถื่อน

ตามความเชื่อของฮอบส์ มนุษย์จึงตกลงทำสัญญาประชาคมภายใต้องค์อธิปัตย์

องค์อธิปัตย์ไม่ใช่คู่สัญญา เพราะไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย ประชาชนเป็นผู้มอบอำนาจให้องค์อธิปัตย์ปกครองโดยความสมัครใจของตนเอง

สัญญาประชาคมมีลักษณะถาวรและเรียกคืนไม่ได้ และบอกเลิกไม่ได้

ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากสัญญาควรจะเป็นองค์อธิปัตย์ และสนับสนุนอำนาจสูงสุดของสภานิติบัญญัติ

๒.๒  จอห์น ล็อค

ล็อคคิดเห็นตรงกับล็อคในเรื่องสภาพธรรมชาติ

อธิบายให้เห็นถึงสภาพธรรมชาติกับสภาพของสังคมที่มีการจัดระเบียบดีแล้ว โดยชี้ให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์ของสภาพธรรมชาติ

ในสภาพธรรมชาติ มนุษย์เป็นผู้ตัดสินคดีในกรณีที่มีความผิด แต่มีข้อบกพร่องคือ คำพิพากษาอาจไม่มีความยุติธรรมเพียงพอ ไม่มีกำลังเพียงพอที่จะบังคับคดี และบางคดีที่คล้ายกัน โทษที่ได้รับอาจแตกต่างกัน 

มีวิธี ๓ ประการคือ การจัดตั้งศาล เพื่อตีความกฎหมายอย่างยุติธรรม การจัดตั้งฝ่ายบริหาร เพื่อรักษากฎหมาย และการจัดตั้งฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิพากษาคดีต่างๆ

มนุษย์จำเป็นต้องสละสิทธิให้องค์กรที่จัดตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่แทนทุกคน ทั้งนี้ต้องให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่สังคม ขั้นตอนทั้งหมดนี้กล่าวได้ว่าเป็นสัญญา

คัดค้านการมีอำนาจสูงสุดของสภานิติบัญญัติ รัฐสภาต้องใช้อำนาจอย่างจำกัดเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคม อำนาจของรัฐสภาเป็นเพียงอำนาจที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น อำนาจสูงสุดยังเป็นของประชาชน ซึ่งสามารถยุบสภาได้

สนับสนุนให้เอกชนมีสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเป็นการปกป้องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล

สังคมเกิดมาได้โดยการยินยอมสมัครใจของสมาชิกสังคม ซึ่งปกครองโดยเสียงข้างมาก

๒.๓  ฌอง ฌาคส์ รุสโซ

ยอมรับความคิดของล็อคในเรื่องสภาพธรรมชาติและอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ

ในสภาพธรรมชาติ มนุษย์เป็นคนดี มีความเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ยากของผู้อื่น

มนุษย์โดยสภาพธรรมชาติมีความรู้สึกอยากอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยเหตุนี้สังคมมีเจตนารมณ์ทั่วไป ซึ่งเป็นการพิทักษ์รักษา และให้สวัสดิการแก่ส่วนรวม และเป็นแหล่งที่มาของกฎหมายทั้งมวล และเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคม

เจตนารมณ์เกิดขึ้นภายหลังจากการรวมเป็นสังคม และเป็นสิ่งสูงสุดภายในรัฐ โดยรัฐเป็นเพียงตัวแทนของเจตนารมณ์ ซึ่งเจตนารมณ์ก็คืออำนาจอธิปไตยนั่นเอง

รัฐบาลสมควรให้เอกชนมีสิทธิเสรีภาพตามสมควรภายใต้กรอบกฎหมาย รัฐต้องมีหน้าที่ปกป้องเสรีภาพของประชาชน นอกเหนือจากปกครองและรักษากฎหมาย

สิ่งที่ถูกต้องคือสิ่งที่กระทำโดยเจตนารมณ์ทั่วไป สิ่งใดผิดจึงไม่ใช่เจตนารมณ์ทั่วไป

ข้อบกพร่องของหฤษฎีสัญญาประชาคม

มนุษย์ทำสัญญากันเพื่อก่อตั้งรัฐ แต่สมัยก่อนมนุษย์ไม่น่ามีความรู้และความชำนาญเรื่องการปกครองเลย

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนกับรัฐนั้นไม่ใช่สัญญาด้วยความสมัครใจ เพราะมนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากการควบคุมของรัฐได้

หากพิจารณาจากสัญญา สัญญาจะผูกพันเฉพาะบุคคลที่เซ็นสัญญาเท่านั้น รัฐจะมีสภาพต่อไปต้องมีการทำสัญญากันต่อไปอีก

เป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์ในสมัยโบราณไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการอยู่รวมกันตามที่กล่าวอ้าง

๓  ทฤษฎีแสนยานุภาพ

การปกครองเกิดขึ้นจากการยึดครองและการบังคับ

รากฐานของรัฐคือความอยุติธรรมและความชั่วร้าย และได้สร้างกฎเกณฑ์เสมือนว่าชอบด้วยกฎหมายในการจำกัดสิทธิของบุคคลอื่น

ศาสนจักรในสมัยกลางเห็นว่าอาณาจักรโรมันก่อตั้งขึ้นมาโดยแสนยานุภาพ และเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง

ในปลายศตวรรษที่ เห็นว่าแสนยานุภาพของรัฐเป็นสิ่งจำเป็นและมีความชอบธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากลัทธิอาณานิคม

๔  ทฤษฎีธรรมชาติ

ชาวกรีกโบราณเชื่อว่ามนุษย์ไม่สามารถแยกตัวจากรัฐได้

อริสโตเติลกล่าวว่ามนุษย์โดยธรรมชาตินั้นเป็นสัตว์การเมืองผู้ซึ่งสามารถสร้างความสำเร็จให้กับตนเอง มนุษย์ที่ไม่ได้อาศัยในรัฐจะเป็นพระเจ้าหรือสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่ง

กิจกรรมการเมืองของมนุษย์เป็นเรื่องธรรมชาติ และมนุษย์กับการเมืองเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก

รัฐเป็นธรรมชาติมีการเจริญเติบโตซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ และรัฐเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง สะท้อนให้เห็นได้ในปลายศตวรรษที่  จากลัทธิอาณานิคม

๕ กำเนิดในอัคคัญญสูตร

ในอัคคัญญสูตร  ได้พูดถึงการวิวัฒนาการแห่งรัฐที่เป็นขั้นตอน  เริ่มจากการเกิดปัญหาขึ้นในสังคม  เป้าหมายและวิธีการแก้ปัญหา  และเกิดเป็นสัญญาประชาคมขึ้น  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่เป้าหมายที่มีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน

๕.๑.พัฒนาการของสังคมมนุษย์  (ครอบครัว/หมู่บ้าน/รัฐ)

แนวคิดของพระพุทธศาสนา มนุษย์มีจิตบริสุทธิ์มาแต่เดิมคือมาจากอาภัสสรพรหม  แต่กระนั้นก็ตาม มนุษย์เมื่อถูกสภาพแวดล้อมและความไม่พอใจในสภาพเป็นอยู่ของตนเอง  จึงมีการลิ้มลองของแปลกใหม่  จึงทดลองและละเมิดกฏเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของสังคม  จึงเกิดความทะยานอยากก่อให้เกิดปัญหา  ไม่มีที่สิ้นสุด  ท้ายที่สุดก็มีการสร้างครอบครัวขึ้นมา

 “วาเสฏฐะและภารทวาชะ  สมัยนั้น  การเสพเมถุนธรรมอันเป็นเหตุให้ถูกขว้างฝุ่นใส่เป็นต้นนั้นถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี  สมัยนั้นเหล่าสัตว์ผู้เสพเมถุนธรรม  ไม่ได้เข้าไปยังหมู่บ้าน หรือนิคมตลอด  ๑  เดือนบ้าง  ๒  เดือนบ้าง  เนื่องจากสัตว์เหล่านั้นต้องการเสพอสัทธรรมเกินเวลา  ต่อมาจึงพากันสร้างเรือนขึ้น  เพื่อปกปิดอสัทธรรมนั้น[1]

แม้ข้อความตอนนี้จะบ่งบอกถึงการอยู่รวมกันเป็นชุมชน  หรือหมู่บ้านกันมาก่อน  แต่การอยู่รวมกันเป็นครอบครัว หรือการสร้างบ้านเป็นหลัง ๆ พึ่งเกิดหลังจากคนในชุมชนจับคู่กันเป็นครอบครัวขึ้น  เมื่อมีการจับคู่และสร้างบ้านเรือนมากขึ้น ๆ ก็พัฒนาการเป็นหมู่บ้าน  และรัฐขึ้นในที่สุด เนื่องจากมีการกักตุนอาหารเพื่อวันข้างหน้าและมีการเข้าไปจับจองปักเขตแดนเพื่อทำการเกษตรกันขึ้น

 “เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ  ข้าวสาลีของพวกเราจึงมีรำห่อเมล็ดบ้าง

มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง  ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก  ความพร่อง

ได้ปรากฏให้เห็นจึงได้มีข้าวสาลีเป็นหย่อม ๆ ทางที่ดี  เราควรแบ่งข้าวสาลี

และปักปันเขตแดนกันเถิด  ครั้นนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกัน[2]

๕.๒. กำเนิดแห่งรัฐ  (Origin  of  the  State)

เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันมากขึ้น มักเกิดปัญหาทางสังคม เหตุเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพและชีวิตของมนุษย์ในการอยู่รวมกัน การที่มนุษย์มีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน มนุษย์จะต้องรู้ว่าตนมีสิทธิและหน้าที่อย่างใดบ้างต่อสังคม[3] ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมชุมชนทำให้มีการพัฒนาการของรัฐ ซึ่งพอที่จะประมวลมาได้ดังนี้

๑) การเหยียดผิวพรรณ (Apartheid)

มีการดูถูกและการไม่เคารพสิทธิของกันและกัน  จนทำให้ความดีงามร่วมกันหายไป มนุษย์เดิมมีปีติเป็นภักษา (อาหาร) ต่อมาจึงมีความติดใจในรสของง้วนดิน จึงกินเข้าไปทำให้กายหยาบขึ้น จึงทำให้บางจำพวกผิวพรรณดีงาม บางจำพวกผิวพรรณงาม บางจำพวกผิวพรรณไม่งามจึงทำให้เกิดปัญหาข้อนี้ขึ้นจึงก่อให้เกิดมานะถือตัวขึ้นมา จากนั้นง้วนดินที่เคยมีก็หายไป เกิดมีสะเก็ดดินขึ้นแทน ร่างกายก็หยาบขึ้นอีกสะเก็ดดินก็หายไป-จึงเกิดเครือดินขึ้นมาแทน ร่างกายก็หยาบขึ้นมีการดูถูกกันขึ้นอีก เครือดินก็หายไป ในที่สุดก็เกิดมีข้าวสาลีขึ้นมาแทน

วิถีชีวิตช่วงนี้จะเป็นการหากินแบบสัตว์ทั่ว ๆ ไป คือไม่มีการสะสมอาหาร เมื่อมีความต้องการอาหารตอนเช้าก็ไปเก็บข้าวสาลีมากิน พอตกตอนเย็นก็ไปเก็บข้าวสาลีมากินใหม่  ณ  จุดนี้เองจึงทำให้มนุษย์มีอวัยวะเพศปรากฏที่แตกต่างกัน กล่าวคือปรากฏว่ามีเพศชาย-หญิงขึ้นมา ต่างฝ่ายต่างเพ่งกันในที่สุดจึงเกิดมีการเสพเมถุนกันขึ้น

๒)  ผลประโยชน์  (Benifit)

เมื่อมนุษย์มีความต้องการที่จะสะดวกสบาย หรือมีความเห็นแก่ตัวและมีความโลภเกิดขึ้น จึงคิดที่จะสะสมอาหารโดยการออกไปเพียงครั้งเดียวแต่เก็บข้าวสาลีมาทั้งตอนเช้าและเย็น จึงเป็นที่มาของผลประโยชน์  ซึ่งเรื่องของ ผลประโยชน์นี้เองนักวิชาการบางท่านที่มองพัฒนาการทางการเมืองว่าเป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างชนชั้น  นั้นมีแนวโน้มว่าจะตีความหมายของคำว่า ชนชั้นในแง่เป็นสถานภาพทางเศษรษฐกิจ และตีความหมายของคำว่า ผลประโยชน์ในแง่ที่เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ[4] ในที่สุดก็มีการเอาอย่างและเกิดการแข่งขันกันขึ้นจากการที่ออกไปหาอาหารครั้งเดียวสามารถบริโภคได้ ๑ วันก็เป็น ๒, , , , , ๗ วันตามลำดับจนข้าวสาลีที่เกิดเป็นเองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสมบัติของส่วนรวมเมื่อมนุษย์ต้องการบริโภคจึงไปเก็บเอามากินตามความต้องการ  ไม่มีการแย่งชิงกัน  เมื่อมีบุคคลที่เก็บงำของส่วนกลางไว้ส่วนตนมากเกินไปจึงเกิดปัญหาขาดแคลน  มนุษย์จึงมีพันธสัญญาต่อกันที่จะกำหนดเขตแดนพร้อมกับตกลงกันว่าผืนดินแห่งนี้เป็นของใครและมีการปักเขตแดนกันขึ้น

๓)  การลักขโมย (Larceny)

เมื่อมนุษย์เริ่มการแบ่งเขตแดนกัน และมีการเพราะปลูก เริ่มมีคนที่ขี้เกียจ เก็บงำของตนไว้แต่ลักขโมยของผู้อื่นเมื่อมีการจับตัวผู้กระทำความผิดได้  ก็มีการลงโทษ  ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้หากแต่มนุษย์ทุกคนเข้าใจถึงสภาวะของกิเลสมนุษย์แล้ว  ความจริงก็คือมนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาจากพฤติกรรมของตนเอง ทั้งสิ้นเมื่อมีการทำผิดกันซ้ำ ๆ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะคอยจับคนผิดมาลงโทษจึงทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและมีมติที่จะสรรหาผู้ที่ทำหน้าที่แทนขึ้น

๔) เป้าหมายแห่งรัฐ (State target)

เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในสังคม  ประชาชนหวังความสันติสุขขึ้นในชุมชนจึงได้แต่งตั้งผู้ทำหน้าที่ในด้านการดูแล  รักษาทรัพย์สินและพิจารณา  ตำหนิ และขับไล่บุคคลผู้ทำผิดก่อน หากมองในทัศนะปรัชญาการเมืองตะวันตกอย่างอริสโตเติล ถือว่า รัฐเป็นสิ่งสูงสุดสำหรับสังคมมนุษย์  แม้ว่าเขาจะยอมรับว่ามีอย่างอื่นอีกนอกจากรัฐก็ตาม  แต่เขาเห็นว่าสำหรับมนุษย์แล้วการรวมตัวกันขึ้นนั้น  สิ่งสำคัญอันดับแรก คือครอบครัว หรือวงศ์ตระกูล ถัดมาจากนั้นก็หมู่บ้านแล้วรวมตัวกันจนเป็นรัฐ[5] ขณะเดียวกันก็แบ่งปันข้าวสาลีให้ ในพระสูตรระบุเอาไว้ว่า

 “วาเสฏฐะและภารทวาชะ  ครั้นนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงได้ประชุมกันปรับทุกข์กันว่าท่านผู้เจริญ  บาปธรรมปรากฏในหมู่สัตว์แล้ว คือการถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ  การครหาหลักปรากฏ  การพูดเท็จจักปรากฏ  การถือทัณฑาวุธจักปรากฏ ทางที่ดีพวกเราควรสมมต (แต่งตั้ง)  สัตว์ผู้หนึ่ง  ซึ่งจะว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวติเตียนผู้ที่ควรติเตียน  ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบ  พวกเราจักแบ่งปันข้าวสาลีให้แก่สัตว์ผู้นั้น [6]

จะเห็นว่าการที่มหาชนได้ปรึกษาหารือกันนั้นแสวงหาเป้าหมายของรัฐ  หรือสังคม  หรือหน่วยงาน  บุคคล  คณะบุคคล  หรือองค์กรที่จะมาขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้น  อาจกล่าวได้ว่าการรวมตัวกันของครอบครัวและหมู่บ้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อคุณธรรมด้วยการมุ่งผลบั้นปลายเพื่อให้บังเกิดความสมบูรณ์ (absolute)  และดำรงอยู่ได้อย่างพึ่งตัวเองได้โดยตลอด  (self  sufficiency)[7]ซึ่งจุดประสงค์สุดท้ายของการสร้างรัฐตามพระสูตรนั้นมีเหตุผลอยู่  ๒  ประการคือผู้ปกครองชุมชนจะต้องมีหน้าที่ในการดูแลนาข้าวสาลีคือใครต้องการข้าวสาลี ขัตติยะ(ผู้ปกครอง)ก็จะเป็นผู้อนุญาต หรือใครแอบขโมย  ขัตติยะจะเป็นผู้จับกุมผู้นั้นมาลงโทษ  ประการที่สองคือสร้างความสุข  ความยินดีให้กับผู้อยู่ใต้ปกครองอันเนื่องมาจากการแก้ปัญหาข้อแรกได้สำเร็จ นี้คือวัตถุประสงค์เริ่มแรกของการสร้างระบบการปกครองของชุมชนโบราณ[8]ในที่นี้คือการแต่งตั้งประมุข หรือผู้นำขึ้น

๕) วิธีการสรรหา  (Recruitment) การเลือกผู้แทน  หรือบุคคลผู้จัดการปัญหาในสมัยนั้นใช้วิธีการสรรหาเพื่อแต่งตั้ง โดยเลือกเอาจากบุคคลผู้มีรูปร่างดี  พฤติกรรมดี  เข้าสู่ระบบ

 “ ครั้นแล้ว  สัตว์เหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านที่มีรูปงดงามกว่า  น่าดูกว่า

น่าเลื่อมใสกว่า  น่าเกรงขามกว่า  แล้วจึงได้กล่าวดังนี้ว่า มาเถิด ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียน  จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบเถิดและพวกเราจักแบ่งปันข้าวสาลีให้แก่ท่าน”[9]

๖) องค์ประกอบแห่งรัฐ (State  Organization)

รัฐตามแนวคิดปรัชญาการเมืององค์ประกอบแห่งรัฐถือว่ามีความสำคัญอยู่มิใช่น้อย หากพิจารณา ถึงองค์ประกอบของรัฐ ตามคติของชาวตะวันตกจะพบคำว่า  รัฐ หรือ ประเทศ  นั้นมีอยู่ถึง  ๔ ประการ คือ[10]

                ๑. ประชากร  (Population)

                ๒. ดินแดน  (Territory)

                ๓. รัฐบาล   (Government)

                ๔. อำนาจอธิปไตย  (Sovereignty)

เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบแห่งรัฐจะเห็นว่ารัฐในอัคคัญสูตร  เปรียบเทียบกับองค์ประกอบแห่งรัฐในทฤษฎีตะวันตก และพอจะประมวลได้ ดังนี้

๑.ประชากร  (Population) แม้อัคคัญสูตรจะไม่ได้ระบุจำนวนประชากรที่ชัดเจนว่ามีอยู่จำนวนเท่าใด  แต่หากพิจารณาจาก  ข้อความดังต่อไปนี้ คือ  สัตว์เหล่านั้น” , “ สัตว์ทั้งหลาย” , “หมู่บ้าน” , “นิคม” , “พวกเราเป็นต้น ก็จะเห็นร่องรอยของการมีประชากรที่มีจำนวนมากอยู่มิใช่น้อย ประชากรดังกล่าวนี้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม  เป็นชุมชน

๒.ดินแดน   (Territory)   ในพระสูตรไม่ได้ระบุสถานที่ หรือแผนที่ว่าคือจุดไหน ส่วนไหนของโลก หรือเป็นชมพูทวีปแต่อย่างใด เพียงแต่เรียกรวม ๆ ว่าโลกนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตามประชากรได้อพยพมาจากที่อื่น (พรหมโลก) แล้วเข้ามาตั้งถิ่นฐานขึ้นที่แน่นอน  มีการสร้างบ้านเรือน, นิคมขึ้นและที่สำคัญมีการปักเขตแดนพื้นที่การทำมาหากินกันอยู่

๓.รัฐบาล  (Government) คือผู้ได้รับมอบอำนาจในการบริหารจัดการบ้านเมืองให้ความสงบเรียบร้อย ในพระสูตรได้ระบุชัดเจนว่ามีการสรรหาบุคคลผู้เป็นผู้นำ หรือต่อมาเรียกว่ากษัตริย์ หรือ มหาสมมต หรือ ราชา ขึ้นมาเพื่อปกครองคุ้มครองรักษาโดยประชาชนได้จ่ายภาษีที่เรียกว่าส่วนแบ่ง คือข้าวสาลีให้  ทั้งนี้รัฐบาลมีหน้าที่กำหนดนโยบายของรัฐและต้องดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จตามนโยบายที่วางเอาไว้ รัฐบาลต้องสามารถปกครองดินแดนทุกส่วนของรัฐ  อาณาเขต  ประชาชนและรัฐบาลจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่แฟ้นความสัมพันธ์นี้ในแต่ละรัฐจะแตกต่างกันไป  มีลักษณะเฉพาะของตนเองซึ่งทำให้รัฐแต่ละรัฐไม่เหมือนกัน[11]

๓.๑.ที่มาของอำนาจ  (Power)การได้มาซึ่งอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองแม้จะไม่มีการเลือกตั้ง  หรือมีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมือง เข้ามาเสนอตัวเพื่อทำงานให้กับสังคมก็ตาม  แต่วิธีการสรรหาก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดของระบอบการเมืองการปกครองที่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนยังไม่มากเท่าใดนัก ดังปรากฏในพระสูตรว่า

 “วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่สัตว์นั้นอันมหาชนสมมต (แต่งตั้ง)ฉะนั้น คำแรกว่า มหาสมมต  มหาสมมต”  จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่สัตว์นั้นเป็นใหญ่แห่งที่นาทั้งหลาย  ฉะนั้น คำที่ ๒ ว่า กษัตริย์  กษัตริย์จึงเกิดขึ้นเพราะเหตุที่สัตว์นั้นให้ชนเหล่าอื่นยินดีได้โดยชอบธรรม ฉะนั้น คำที่  ๓ ว่า  ราชา  ราชา”  จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้  จึงได้เกิดมีแวดวงกษัตริย์ขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น [12]

๓.๒. การใช้อำนาจ  (Exercise  of  Power)การใช้อำนาจในระยะเริ่มต้นไม่มีอะไรยุ่งยากและซับซ้อนเพราะการบัญญัติกฎหมายหรือ

นิติบัญญัติ มหาชนเป็นผู้ร่วมกันตราขึ้น  ส่วนอำนาจทางการบริหาร และตุลาการเป็นหน้าที่ของกษัตริย์ หรือผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง ทั้งนี้เมื่อประชาชนพร้อมใจกันแต่งตั้งอำนาจหน้าที่ให้แล้วผู้ปกครองย่อมจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด จึงทำให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญของอำนาจหน้าที่  ๒  ประการ  คือ  ตำแหน่ง (Position)  ที่ได้รับมอบหมาย  และบทบาท (Role) ของบุคคลผู้ใช้อำนาจนั้น[13]

๔. อธิปไตย   (Sovereignty) คือความเป็นใหญ่ในการจัดการบริหารบ้านเมือง  เมื่อประชาชนแต่งตั้งขึ้นให้อยู่ในตำแหน่งก็ย่อมจะมอบอำนาจและสิทธิ์บางส่วนให้กับผู้นำ แม้ผู้นำ หรือกษัตริย์ ในยุคแรกจะไม่มีความชัดเจนเท่าปัจจุบันก็จริง  แต่รัฐบาลก็มีเสถียรภาพอยู่มาก อำนาจอธิปไตย  พระพุทธเจ้าไม่ได้มองเป็นประเด็นสำคัญ ไม่ได้ตรัสความหมายของรัฐเอาไว้โดยตรง แต่เท่าที่ได้ประมวลจากบริบทของคำสอน ทำให้พอสรุปได้ว่า  รัฐ”  ในทัศนะของพระพุทธเจ้าไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าสถานที่ค้นหาสัจจะธรรมและการอยู่ดีกินดีของประชาชน   ทั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงมุ่งถึงเป้าหมายทางสังคมเป็นสำคัญมากกว่ารูปแบบของรัฐหรือการปกครอง

๕.๓ รูปแบบแห่งรัฐ  (Forms  of  States)

ในพระสูตรไม่ได้ระบุรูปแบบของรัฐเอาไว้ว่าเป็นแบบไหน  หากแต่ระบุถึงความเป็นมาโดยภาพรวมของรัฐเท่านั้น  เมื่อจะอนุมานหรือเทียบเคียงได้  ดังนี้

ก.รัฐเดี่ยว  เป็นการปกครองที่มีผู้นำสูงสุดอยู่ที่พระมหากษัตริย์หรือรัฐบาลกลาง  โดยมีเสนาอำมาตย์และปุโรหิตเป็นผู้คอยช่วยเหลือในการบริหารบ้านเมืองเป็นลำดับชั้น ลงมา

ข.ระบอบราชาธิปไตย  ผู้นำในยุคนั้นสมัยนั้นมีผู้นำที่เรียกว่าราชา  ที่มีการสืบทอดอำนาจทางการเมืองโดยกลุ่มคนในวรรณะเดียวกัน หรือครอบครัวเดียวกัน

๕.๔. ระบบกฏหมาย และการลงโทษ

โทษหรืออาญานั้นในพระสูตรได้ทำเป็นขั้นเป็นตอนจากโทษเบาหรือลหุโทษ ก่อนแล้วเพิ่มเป็นโทษหนักขึ้น ๆ เป็นครุโทษตามลำดับ เมื่อมีการจับตัวผู้กระทำความผิดได้  ก็มีการลงโทษ  การจับคุมและการลงโทษในครั้งนั้นไม่มีกระบวนการที่ซับซ้อน แต่เป็นการจับและพิจารณาโดยชุมชนที่ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งมีลำดับถึง  ๓  ขั้นตอนด้วยกันคือ  ครั้งที่หนึ่ง ตักเตือน สั่งสอนกก่อน  ครั้งที่สอง  เรียกมาทำทัณฑ์บน  ครั้งที่สาม ลงทัณฑ์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นมติของชุมชนที่ใช้ร่วมกันจึงเป็นการลงโทษตามความผิด  การลงโทษครั้งที่  ๑,๒  เป็นลหุโทษ  ส่วนครั้งที่  ๓  เป็นครุโทษที่มีความชัดเจนในวิธีการ

 “  แม้ครั้งที่  ๓  คนทั้งหลายได้จับเขาแล้วกล่าวว่า คุณ  คุณ

ทำกรรมชั่วที่รักษาส่วนตนไว้แล้วถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ให้

มาบริโภคคุณอย่าได้ทำอย่างนี้อีก  คนเหล่าอื่นใช้ฝ่ามือบ้าง

ก้อนดินบ้าง  ท่อนไม้บ้างทำร้าย  วาเสฏฐะและภารทวาชะ

ในเพราะเรื่องนั้นเป็นเหตุ  การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา

ไม่ได้ให้ปรากฏการครหาจึงปรากฏ  การพูดเท็จจึงปรากฏ

การถือทัณฑาวุธจึงปรากฏ  [14]

ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ปรีชา  ช้างขวัญยืน  กล่าวว่ากฎหมายตรงนี้ไม่ชัดเจน กล่าวคืออัตตาทำให้เกิดการพิพาท  การลงโทษและความไม่เป็นธรรมคนจึงแก้ไขข้อบกพร่องนี้โดยการตัดอัตตา  วิธีหนึ่งก็คือหาความถูกต้องหรือธรรม  มาเป็นหลักข้อนี้จะเป็นที่มาของสถาบันที่สำคัญอีกสถาบันหนึ่งคือกฎหมาย ซึ่งจะทำให้รัฐเป็นรัฐที่สมบูรณ์แต่กฎหมายก็ยังไม่ปรากฏชัดเจนในตอนนี้  ยังคงต้องอาศัยความสามรถของบุคคลซึ่งส่วนรวมยอมรับคือมหาชนสมมต ซึ่งเป็นที่มาของสถาบันกษัตริย์หรือผู้ปกครองรัฐกระบวนการทางการเมืองซึ่งปรากฏในตอนนี้ก็คือการมีผู้ปกครองซึ่งมาจากการเลือกตั้ง[15]

รัฐศาสตร์ในอัคคัญสูตรนี้  ถือว่าเป็นสูตรที่ว่าด้วยการกำเนิดแห่งรัฐที่พระพุทธเจ้าทรงได้ชี้ให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นและพัฒนาการ  จากสัตว์ผู้ประเสริฐจากอาภัสสรพรหมสู่สามัญด้วยกระบวนการของการกระทำที่ลองผิดลองถูกด้วยอำนาจของกิเลสในที่สุดก็พัฒนาเป็นบ้านเรือน  ชุมชน  เมือง  จนมีรูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชและที่สำคัญมีระบบกฎหมายและการลงโทษที่เหมาะสำหรับคนที่มีจำนวนน้อย  และพระสูตรนี้เองเป็นการลมล้างความเชื่อในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ที่มีมาก่อนพระพุทธเจ้าถึงพันปี.

๖ การกำเนิดรัฐตามจักกวัตติสูตร : สูตรว่าด้วยอุดมรัฐ

 เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า ทรงประทับอยู่    เมืองมาตุลา  แคว้นมคธ พระองค์ทรงปรารภกับเหล่าพระภิกษุถึงสิ่งต่าง ๆ  แล้วตรัสว่า เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ  มีตนเป็นที่พึ่ง  ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง  จงมีธรรมเป็นเกาะ  มีธรรมเป็นที่พึ่ง  ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

เธอจงประพฤติธรรมอันเป็นโคจร (อารมณ์กัมมัฏฐาน)  ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบเนื่องมาจากบิดาของตน เมื่อเธอทั้งหลายประพฤติแล้วมารจะไม่ได้โอกาส  จะไม่ได้อารมณ์  ภิกษุทั้งหลาย  บุญนี้ย่อมเจริญขึ้นได้อย่างนี้เพราะการสมาทานกุศลธรรมเป็นเหตุ

เรื่องเคยมีมาแล้ว  ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า ทัฬหเนมิ  ผู้ทรงธรรม  ครองราชย์โดยธรรม  ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต  ทรงได้รับชัยชนะมีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว    ประการ  ได้แก่  (๑) จักรแก้ว  (๒) ช้างแก้ว  (๓) ม้าแก้ว  (๔) มณีแก้ว  (๕) นางแก้ว  (๖) คหบดีแก้ว  (๗) ปรินายกแก้ว  มีพระราชโอรสมากกว่า  ,๐๐๐  องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ  มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์  สามารถย่ำยีราชศัตรูได้  พระองค์ทรงชนะโดยธรรม  ไม่ต้องใช้อาชญา  ไม่ต้องใช้ศัสตรา  ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต

เมื่อเวลาล่วงไปหลายปี  หลายร้อยปี  หลายพันปี  ทรงตรัสสั่งว่า  ถ้าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ตั้ง  พึงบอกแก่เราทันที่  เมื่อเวลาล่วงเลยไปราชบุรุษกราบทูลเรื่องจักรแก้วเคลื่อนถอยจากที่ตั้ง พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระกุมาร ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่มาตรัสว่า  ลูกเอ๋ย ทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ  พระองค์ได้ถอยเคลื่อนจากที่ตั้ง จะทรงพระชนม์อยู่ไม่นาน  กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์พ่อก็บริโภคแล้ว  บัดนี้เป็นเวลาที่พ่อจะแสวงหากามทั้งหลาย  อันเป็นทิพย์ลูกจงปกครองแผ่นดิน  ส่วนพ่อจะโกนผมและหนวด  นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์  ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต (ดาบส) หลังจากนั้นพระองค์จึงตรัสสอนพระราชโอรส ในการให้ได้มาซึ่งจักรแก้วอันเป็นทิพย์  โดยการอาศัยธรรม   สักการะธรรม   เคารพธรรม  นับถือธรรม  บูชาธรรม  นอบน้อมธรรม  มีธรรมเป็นธงชัย  มีธรรมเป็นยอด  มีธรรมเป็นใหญ่  และเมื่อกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว  ทรงประพฤติจักรวรรดิวัตรอันประเสริฐอยู่  สนานพระเศียรในวันอุโบสถ  ๑๕  ค่ำ  รักษาอุโบสถศีล

เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์ปรากฏ  ก็ทรงตามจักรแก้วอันเป็นทิพย์หมุนไปในทิศต่าง ๆ พระราชาน้อยใหญ่ต่างเข้ามาสวามิภักดิ ทรงปราบแผ่นดินโดยมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต

แม้พระเจ้าจักรพรรดิองค์ที่  , , , , , ,   ก็ทรงกระทำตามเช่นนั้น  แต่ทรงทำบางประการ  และทรงละเลยบางประการ จนเกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายตามมา  เช่น  ทรงประพฤติธรรมแต่ไม่สงเคราะห์ประชาชนด้วยทรัพย์  จึงเกิดความขัดสนเกิดขึ้น ต่อมาจึงเกิดอทินนาทาน (การลักขโมย), ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์), มุสาวาท (พูดเท็จ), ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด), กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม), ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ), สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ), อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา), พยาบาท (ความคิดร้าย), มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ก็เกิดขึ้น  เมื่อมากขึ้น  อายุคนก็สั้นลง ๆ ตามลำดับ

เมื่อมนุษย์เหล่านั้นปรึกษากัน  แล้วพากันละชั่วประพฤติดี  โลกจึงเจริญขึ้นอีกครั้งแล้วจึงถึงยุคของพระศรีอริยเมตไตรยเหตุที่พระพุทธองค์ทรงตรัสปรารภในเรื่องนี้ทรงเห็นถึงความไม่แน่นอนของชีวิตแม้จะมั่งมี หรือยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตาม หากไม่พึ่งตนเองเสียแล้วก็ไม่ประสบผลสำเร็จได้  จึงทรงยกประเด็นของพระเจ้าจักรพรรดิ์มาตรัสวินิจฉัย

๖.๑ ธรรมราชา

๑. ความหมายของคำว่าจักรพรรดิ์

คำว่า พระเจ้าจักรพรรดิ  สามารถแยกได้เป็น    คำ คือ พระเจ้า หมายถึงพระมหากษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชที่ได้รับการยกย่องเทียบกับเทพเจ้า  ส่วนคำว่า  จักรพรรดิ  นั้นในพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ๒๕๔๒ ระบุว่า พระราชาธิราช, ประมุขของจักรวรรดิ, สมัยโบราณเขียนเป็นจักรพัตราธิราช[16]  นั้นก็หมายความว่าพระเจ้าจักรพรรดิ์ (อ่านว่า  พระ-เจ้า-จัก-กระ-พัด)  นอกจากพระองค์จะเป็นมหาอำนาจทางด้านกำลังที่มีพระราชอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลโดยมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขตแล้ว พระองค์ยังเป็นธรรมราชาคือปกครองโดยธรรม หรือพระองค์ทรงมีธรรมเป็นพลังอำนาจที่แคว้นใหญ่น้อยทั้งหลายเข้ามาสวามิภักดิ์อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์  โดยเรียกการปกครองของพระองค์ว่าจักรวรรดิ  (อ่านว่า จัก-กระ-หวัด) อันเป็นระบอบการปกครองที่นาน ๆ ครั้งจะมีปรากฏ

๒. องค์ประกอบของพระเจ้าจักรพรรดิ

ในอดีตพระเจ้าจักรพรรดิ์พระนามว่า  ทัฬหเนมิ  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระองค์ทรงคุณลักษณะหรือเครื่องหมายของความเป็นจักรพรรดิ์ที่สำคัญ    ประการ  ดังนี้

                ๑) ทรงธรรม

                ๒) ครองราชย์โดยธรรม

                ๓) มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต

                ๔) ราชอาณาจักรมั่นคง โดยมีรัตนะ    ประการคือเครื่องหมาย  ซึ่งประกอบไปด้วย

                ก) จักรแก้ว     แสนยานุภาพอันเป็นสัญญาลักษณ์ขององค์จักรพรรดิ์

                ข) ช้างแก้ว     เป็นพาหนะคู่บารมี

                ค) ม้าแก้ว        เป็นพาหนะคู่บารมี

              ง) มณีแก้ว      คือทรัพย์สินที่เป็นต้นทุนของจักรพรรดิ์ที่มีขึ้นเกิดขึ้นด้วยพระบารมีที่ทรงประพฤติปฏิบัติด้วยพระองค์

           จ) นางแก้ว  หมายถึงมเหสีผู้พร้อมไปด้วยความงดงามทางกาย-วาจา-ใจ และสามารถพูดโน้มน้าวจิตใจผู้คนได้ เป็นเหมือนน้ำเย็นที่คอยดับความกระหายและฉลาดในการเจรจาความ

             ฉ) คหบดีแก้ว  หมายถึงคหบดี พ่อค้า  นายทุน ที่สร้างความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ และเสียภาษีให้กับรัฐเป็นผู้มั่งคั่งและสมบูรณ์แบบ

           ช) ปริณายกแก้ว             เสนาอำมาตย์ที่มีความรู้ความสามารถสูงเป็นทหารคู่ใจคู่ราชย์บัลลังค์ได้

ทวี  ผลสมภพ  ได้อธิบายรัตนทั้ง    ว่า  จักรแก้ว  มีลักษณะคล้ายวงล้อ  มีกง  มีดุม  มีซี่หนึ่งพันซี่  เวลาถูกลมพัดจะบังเกิดเสียงดนตรีไพเราะยวนใจ  เมื่อพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองราชสมบัติอยู่ในราชธานีจะได้เสวยความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ขึ้น  จักรแก้วจะปรากฏขึ้นทางทิศตะวันออกของราชธานี  มีความสูงประมาณยอดไม้  มีแสงสว่างพวยพุ่งออกจากจักรแก้วประมาณหนึ่งโยชน์  โคจรมุ่งหน้าไปยังราชธานี ชาวเมืองเห็นจักรแก้วนั้นแล้วคิดว่าเป็นดวงจันทร์ดวงที่สองปรากฏ เพราะจักรแก้วจะปรากฏในวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เมื่อจักรแก้วโคจรถึงพระนคร  จะเวียนรอบพระนคร    รอบแล้วหยุดอยู่ที่ด้านทิศเหนือของพระราชวังลอยอยู่สูงประมาณกำแพงเมือง[17]  , ช้างแก้ว  เรียกว่าหัตถีรัตนะจะเกิดขึ้นเป็นช้างคู่บุญของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นช้างมาจากตระกูลอุโบสถ  มีร่างกายขาวปลอด  คอและปากมีสีแดงอ่อน ๆ นมเล็บและปลายงวงมีสีแดงแย้ม  สามารถเหาะไปในอากาศได้  พระเจ้าจักรพรรดิทรงใช้ช้างเผือกคู่บุญนี้ตรวจดูโลกได้ทั่วถึงภายในอาหารเช้า,  ม้าแก้ว  เรียกว่าอัสสรัตนะ  เป็นม้ามาจากตระกูลสินธพ มีนามว่า วลาหกอัศวราช  ร่างกายขาวล้วน  ศรีษะดำ เท้าแดง กลีบเท้าแดง มีผมเป็นพวงดุจหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะไปในอากาศได้ พระเจ้าจักรพรรดทรงใช้อัศวราชตัวนี้ตรวจดูความเรียบร้อยของโลกได้ทั่วถึงภายในอาหารเช้า คือ เสด็จออกตอนเช้าตรู่เสร็จสิ้นการตรวจตราแล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเช้าได้ทัน,  แก้วมณี  เป็นแก้วประเภทแก้วไพฑูรย์เกิดเอง ยาว    ศอก    เหลี่ยม  สุกใส แวววาว แสงสว่างของแก้วทำให้บริเวณภายในหนึ่งโยชน์มีแสงสว่างเหมือนกลางวัน[18],   นางแก้ว เรียกว่าอิตถีรัตนะ เป็นสตรีรูปร่างงาม  ชวนมอง ชวนชม ผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก  ไม่สูง-ไม่ต่ำ-ไม่ผอม-ไม่ดำ-ไม่ขาวเกินไป ไม่มีหญิงมนุษย์ใดเทียมเท่า  แต่ไม่เสมอกับความงามของพวกทิพย์ ผิวกายละเอียดอ่อนเหมือนปุยนุ่น กายเปลี่ยนไปตามฤดูคือฤดูหน้ากายจะอบอุ่น ฤดูร้อนกายจะเย็น กลิ่นตัวหอมเหมือนกลิ่นจันทร์ กลิ่นปากเหมือนกลิ่นดอกบัว ทรงตื่นก่อนนอนทีหลังพระสวามี,  ขุนคลังแก้ว เรียกว่าคหบดีรัตนะ เกิดมาเพื่อหาทรัพย์สมบัติให้พระเจ้าจักรพรรดิโดยมีตาทิพย์สามารถมองเห็นทรัพย์สมบัติที่ฝังอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วแผ่นดินได้ และ ปริณายกแก้ว  เรียกว่าปริณายกรัตนะ คือผู้ปกครองบ้านเมืองตามพระราชโองการ ท่านผู้นี้จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนแทนพระเจ้าจักรพรรดิโดยความเที่ยงธรรม เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ประชาชนจะประสบความสุขกันทั่วหน้า[19]

๓. รูปแบบการสืบทอดอำนาจทางการเมือง

การปกครองในจักรวัติสูตรมีความชัดเจนมาก    ในเรื่องของรูปแบบการปกครองอย่าง    สมบูรณาญาสิทธิราช  พระมหากษัตริย์เมื่อถึงเวลาต้องสละราชสมบัติ ในพระสูตรนี้ระบุว่าเมื่อจักรแก้วเคลื่อนที่ไป  นั้นก็เป็นสัญญาณที่พระเจ้าจักรพรรดิ์จะต้องหมดวาระการดำรงตำแหน่ง หรือหมดอายุขัย โดยเรียกพระราชโอรสองค์ใหญ่แล้วตรัสมอบให้เป็นแบบธรรมราชา ในพระสูตรระบุเอาไว้ว่าลำดับนั้น  ท้าวเธอรับสั่งเรียกพระกุมารผู้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่มาตรัสว่าลูกเอ๋ย  ทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่ตั้งแล้ว ก็พ่อได้ยินมาว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ใดถอยเคลื่อนจากที่ตั้ง    บัดนี้  พระเจ้าจักรพรรดิของพระองค์นั้นจะทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน ”   กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์พ่อก็ได้บริโภคแล้ว  บัดนี้เป็นเวลาที่พ่อจะแสวงหากามทั้งหลายอันเป็นทิพย์  มาเถิดลูกเอย  ลูกจงปกครองแผ่นดินอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขตนี้  ส่วนพ่อจะโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต [20]

๔.พระราชสมบัติที่ไม่สามารถถ่ายโอนให้กันได้

แม้การปกครองจะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราช  อำนาจโอนจากพ่อสู่ลูก  แต่กระนั้นรัตนทั้ง    ประการมิได้โอนมาด้วย การจะให้บังเกิดคงอยู่ต่อไปต้องสร้างเอง  โดยคำแนะนำของกษัตริย์พระองค์ก่อน

 “ ลูกเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว  เจ้าอย่าเสียใจและอย่าแสดงความเสียใจให้ปรากฏเลย  ด้วยว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ หาใช่เป็นทรัพย์สมบัติที่เป็นมรดกสืบมาจากบิดาของเจ้าไม่ขอให้ลูกประพฤติจักรวรรดิวัตรอันประเสริฐเถิด  ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีผลได้แล  คือ  เมื่อลูกประพฤติจัรวรรดิวัตรอันประเสริฐสนานพระเศียรในวันอุโบสถ  ๑๕  ค่ำ รักษาอุโบสถ  ประทับอยู่ชั้นบนปราสาทหลังงาม  จักปรากฏจักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำ ,๐๐๐  ซี่ มีกง  มีดุม  และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง เมื่อได้เป็นจักรพรรดิ์แล้ว ความเป็นจักรพรรดิ์ จะคงอยู่ได้ก็ด้วยการที่พระมหากษัตริย์ได้ กระทำการดังต่อไปนี้ คือ

๑.ให้อาศัยธรรม  สักการะธรรม  เคารพธรรม  นับถือธรรม  บูชาธรรม  นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย  มีธรรมเป็นยอด  มีธรรมเป็นใหญ่

๒.ให้จัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครองชนภายใน (หมายถึงพระมเหสี  พระราชโอรส  พระราชธิดา), กำลังพล, กษัตริย์  ที่ตามเสด็จ(รับใช้), พราหมณ์ และคหบดี, ชาวนิคมและชนบท,สมณะพราหมณ์, สัตว์จำพวกเนื้อและนกโดยธรรม

๓.ห้ามไม่ให้ทำผิดแบบแผน  (จารีตประเพณี)

๔.สงเคราะห์ผู้คนที่ขาดทุนทรัพย์

๕.ให้เข้าหาสมณะพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

๖.๒ ธรรมรัฐ (Good  Governance)

๑. การสร้างธรรมบารมี การใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศนั้นเป็นการถ่ายทอดคุณธรรมที่มีอยู่ในตัวผู้นำสู่วิธีการบริหารจัดการประเทศนั้นทางพระพุทธศาสนาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บารมี  และคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเรื่องของบารมี  (Charisma)  มีความเกี่ยงข้องสัมพันธ์กันอยู่ไม่น้อยกับการเมืองซึ่งเป็นเรื่องของอำนาจ  นักการเมืองบางคนไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญด้วยเหตุผลว่าบารมียังไม่ถึง[21]แม้แต่นักวิชาการอย่าง  แมกซ์   เวเบอร์ ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของบารมี  บารมีเป็นแหล่งที่มาของลัทธิอำนาจ  หรือ อาณา (Authority) อย่างหนึ่งและบารมีทำให้เกิดผู้นำขึ้นประเภทหนึ่งคือ ผู้นำเชิงบารมี (Charismatic  Leader) พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญเรื่องบารมีโดยถือธรรมสำหรับผู้ที่จะบรรลุจุดหมายสูงสุด คือบำเพ็ญทศบารมี หรือ บารมี  ๓๐  ทัศ[22]

๖.๓. การแผ่พระราชอำนาจด้วยธรรมบารมี

การชนะที่ยิ่งใหญ่มิใช่ด้วยกำลังอาวุธ  และกองทหารที่เข้มแข็งแต่เป็นการใช้ธรรม หรือคุณธรรมเข้าไปชนะจิตใจของเจ้าผู้ครองนครอื่น ๆ เป็นการชนะอย่างเด็ดขาด ผู้แพ้ก็ไม่กลับมาต่อสู้เพื่อเข้าแย่งชิงอำนาจกลับคืนไปอีก ในพระสูตรระบุเอาไว้ว่า

 “ ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงลุกจากที่ประทับ  ทรงพระภูษาเฉวียงบ่าพระหัตถ์ซ้ายทรงจับพระเต้าทอง  พระหัตถ์ขวาทรงชูจักรแก้วขึ้นแล้วตรัสว่า

 “จักรแก้วอันประเสริฐจงหมุนไป  จงได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ทันใดนั้น

จักรแก้วหมุนไปทางทิศตะวันออกท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา (กองทัพ) ได้เสด็จตามไปเสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาในประเทศที่จักรแก้วอันเป็นทิพย์หยุดอยู่พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก(ทิศอื่น ๆ ตามลำดับ) พากันเสด็จมาเฝ้าแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะมหาราชเจ้าพระองค์โปรดเสด็จมาเถิด  ขอรับเสด็จพระองค์ ราชสมบัติของหม่อมฉันเป็นของพระองค์  โปรดประทานพระราโชวาทเถิดพระเจ้าข้า  ”[23]

      การปกครองแบบนี้  จึงมีจุดเด่นอยู่ที่  การถือธรรมเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองและการปกครอง  รวมทั้งการใช้ความถูกต้องในการบริหารตน 

 ๖.๔.การบันทอนพระราชอำนาจ

การประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสายจากพระเจ้าจักรพรรดิ์พระนามว่าทัฬหเนมิปฐมกษัตริย์ผ่านมาสู่ลูกหลานถึงรุ่นที่ ๗ พระเจ้าจักรพรรดิ์ก็ทรงทำตามราชประเพณีคือการประพฤติธรรม  แต่พระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ที่  ๘ ทรงละเลยและบกพร่องต่อแนวทางประพฤติและหน้าที่จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ   ดังนี้

ปัญหาที่    ขาดการเอาใจใส่ในราชกิจจักรแก้วหายไป  จักรพรรดิ์องค์ที่    ก็ไม่ใส่พระทัยและยังคงปกครองตามมติ  (ความคิด)ของพระองค์เอง  ประชาราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไปเหมือนเก่าก่อน  เหมือนกษัตริย์พระองค์ก่อน    ซึ่งได้ทรงประพฤติจักรวรรดิวัตรอันประเสริฐ

ปัญหาที่    ไม่สงเคราะห์ทรงแก้ปัญหาด้วยการถามข้าราชการ  ข้าราชบริพาร  โหราจารย์ และมหาอำมาตย์  แม่ทัพนายกอง  ราชองครักษ์  องคมนตรี แล้วจึงปฏิบัติตาม และทรงจัดการรักษา  ป้องกันและคุ้มครองโดยชอบธรรม  แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์จึงเกิดความขัดสนขึ้น  และมีการขโมยเกิดขึ้นอีก 

ปัญหาที่    การลักขโมยเมื่อจับคนขโมยทรัพย์สินได้  จึงตรัสถามได้ความว่าขโมยจริงเพราะไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ  จึงพระราชทานทรัพย์ให้แล้วกำชับว่า  ให้เลี้ยงชีพ  เลี้ยงบิดามารดา  บุตรธิดา  ประกอบอาชีพด้วยทรัพย์นี้เถิด จึงมีผู้คนพากันลักขโมยเพราะคิดว่าเป็นการร่ำรวยทางลัดดีกว่าไปประกอบอาชีพอย่างอื่น  ในเรื่องดังกล่าวนี้ทำให้เกิดปัญหาลุกลามใหญ่โตขึ้นมาดังปรากฏว่า

 “  ท่านผู้เจริญทั้งหลาย  ได้ทราบว่าคนถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย  พระเจ้าแผ่นดินยังพระราชทานทรัพย์ให้อีก 

จึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า  ทางที่ดี แม้พวกเราก็ควรถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่น

ไม่ได้ให้โดยอาการขโมยบ้าง  ”[24]

 ปัญหาที่    การปล้นฆ่าพระองค์ทรงดำริว่า  ถ้าให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยทรัพย์ผู้อื่นแล้วอทินนาทาน  จักแพร่หลายด้วยประการอย่างนี้  ทางที่ดีเราควรให้คุมตัวบุรุษผู้นี้อย่างแข็งขันแล้วตัดต้นคอ  ตัดศรีษะของบุรุษนั้นเสีย

เมื่อเป็นเช่นนี้  ปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้นคือ จัดทำอาวุธศัสตราอย่างคมเข้าปล้นและฆ่าเจ้าของทรัพย์เสีย  ปาณาติบาต  (การฆ่าสัตว์)  จึงแพร่กระจายมากขึ้น

 ปัญหาที่    ความเสื่อมทรามทางศีลธรรมเมื่อจับโจรได้แล้ว  โจรก็พยายามเอาตัวรอดด้วยการพูดเท็จ  จึงเกิดมุสาวาท (การพูดเท็จ)แพร่หลาย  อายุก็เสื่อมถอย  วรรณะ  ก็เสื่อมถอย,   เริ่มมาจากปาณาติบาต  (ปัญหาข้อที่  ๔) พูดส่อเสียด  (ปิสุณาวาจา)  ก็แพร่หลาย,   การประพฤติผิดในกาม  (กาเมสุมิจฉาจาร)  ก็แพร่หลายการพูดคำหยาบ  (ผรุสวาจา)  ก็แพร่หลาย,   (สัมผัปปลาปะ)  การพูดเพ้อเจ้อ  ก็แพร่หลาย,   ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา  (อภิชฌา)  และความคิดร้าย (พยาบาท)  ก็แพร่หลาย, ความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ) ก็แพร่หลายความกำหนัดที่ผิดธรรม  (อธัมมราคะ)  คือกำหนัดในบุคคลที่ไม่สมควรกำหนัด  เช่น  พ่อแม่ความโลภจัด (วิสมโลภะ) หมายถึงความโลภที่รุนแรงในฐานะแม้ที่ควรจะได้ ,   ความกำหนัดผิดธรรมชาติ  (มิจฉาธรรม) คือชายที่มีต่อชาย  หญิงที่มีต่อหญิง

ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย  ๒๕๐  ปี ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่เกื้อกูลบิดา  มารดา  สมณะพราหมณ์  และการไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล  ก็แพร่หลาย

 ปัญหาทั้ง    กลุ่มดังกล่าวที่เกิดขึ้นมีผลต่อสังคมการเมืองในยุคนั้นสมัยนั้นอย่างมาก เพราะเกิดขึ้นมาพร้อมกับความเสื่อมเสียทางศีลธรรม และอายุขัยของมนุษย์และที่สำคัญก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัดเจน  คือผู้ปกครองไม่สงเคราะห์ผู้ใต้ปกครองจึงเกิดโจรกรรม  อาชญากรรม  เต็มบ้านเต็มเมือง

ปรีชา  ช้างขวัญยืน  ได้ให้ทัศนะไว้ว่า “ คำสอนในจักกวัตติสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าลำพังการรักษาความสงบของสังคมอันเป็นหน้าที่ของมหาชนสมมตซึ่งปรากฏในอัคคัญญสูตรนั้นไม่เพียงพอเพราะในที่สุดจะรักษาความสงบนั้นไว้ไม่ได้  ต้องทำหน้าที่ทำนุบำรุงประชาชนมิให้อดอยาก เรื่องการเลี้ยงชีพ  หรือเศรษฐกิจเป็นเรื่องหลักที่ผู้ปกครองจะต้องจัดการให้ดี หากทำเรื่องนี้ไม่ดีแล้วศีลธรรมซึ่งเป็นหลักสำคัญแห่งชีวิตของมนุษย์ก็พลอยเสื่อมสลายไปด้วย  กล่าวคือ เศรษฐกิจไม่ใช่จุดหมายที่สูงสูดของชีวิต ศีลธรรม (ต่างหาก)  เป็นจุดหมาย  แต่ถ้าขาดการจัดการทางเศรษฐกิจที่ดีแล้ว รัฐก็พาคนไปถึงจุดหมายของชีวิตไม่ได้  ”[25]

ความเจริญและความเสื่อมแห่งรัฐในธรรมนองนี้นั้น  โสคราตีส  ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับรัฐหรือสังคมการเมืองที่ไม่ดีที่ไม่ยุติธรรมถึง    รูปแบบซึ่งเป็นการค่อย ๆ เสื่อมลงเรื่อย ๆ (gradual  degeneration) ของรัฐที่ยุติธรรมและคนที่ยุติธรรม ชุมพร  สังขปรีชา  ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า          

นครรัฐ หรืออาณาจักรที่ยุติธรรมจะเสื่อมลงสืบเนื่องมาจากความเสื่อมโทรมตกต่ำ (decay) เป็นชะตากรรมหรือวัฏสังขารของสรรพสิ่งอันเป็นอมตะเป็นนิรันดรทั้งหลายทั้งปวงแต่เหตุผลเฉพาะของความเสื่อมโทรมเช่นนั้นก็มิอาจอธิบายให้ทราบแน่ชัดได้เพียงแต่จะสามารถแสดงให้เห็นเป็นความเชื่อถือในรูปของจำนวนเชิงเรขาคณิต  คือ 

๑) ขั้นตอนแรกของความเสื่อมโทรมคือ รัฐที่ถือเอาเกียรติยศ  ศักดิ์ศรี และความรุ่งโรจน์เป็นที่ตั้งเป็นจุดมุ่งหมาย (timocracy)   โดยมีสปาร์ต้าเป็นตัวอย่าง 

๒) ขั้นตอนที่สองหรือ รัฐที่กำลังเสื่อมโทรมลงคือ รัฐคณาธิปไตย (oligarchy)  เป็นรัฐที่อำนาจเป็นของคนกลุ่มน้อยไม่กี่คน 

๓) ขั้นที่สาม คือรัฐประชาธิปไตย  (democracy) คือการปกครองของประชาชนโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง ที่แปรเปลี่ยนไปเป็นฝูงชนหมู่มากที่ไร้เหตุผล