ตํา แห น่ ง ผู้ช่วยผู้ อำนวยการ โรงเรียน

ตํา แห น่ ง ผู้ช่วยผู้ อำนวยการ โรงเรียน
จาก”ผู้อำนวยการ” สู่ตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา” เปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร?

สวัสดีค่ะ วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีบทความที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้อำนวยการ มาเป็น หัวหน้าสถานศึกษา ที่กำลังพูดถึงมากในขณะนี้มาฝากกันค่ะ โดยเป็นบทความของท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก

มีเนื้อหาดังนี้

จาก”ผู้อำนวยการ” สู่ตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา” เปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร?

รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

ผมขอวิเคราะห์ ร่างฯ ที่ผ่านการตรวจพิจารณาของ คกก. พิเศษ แล้วเมื่อ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔
บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….
หลักการ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ดังนี้

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“หัวหน้าสถานศึกษา” หมายความว่า ครูซึ่งเป็นหัวหน้าในสถานศึกษาของ รัฐที่จัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีหน้าที่และ ความรับผิดชอบหลักในการบริหารสถานศึกษาและเป็นผู้บังคับบัญชาของครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาดังกล่าว ? (ลองไปเปลี่ยนเป็นผู้อํานวยการ ดูว่า ต้องแก้มากไหม)

ตํา แห น่ ง ผู้ช่วยผู้ อำนวยการ โรงเรียน

-ตำแหน่งใหม่คือ”หัวหน้าสถานศึกษา” แปลงกายมาจาก(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ฉบับเดิม คือ”ครูใหญ่” โดยครั้งนั้นอ้างเหตุผลที่เปลี่ยนจาก “ผู้อำนวยการ” ว่าเปลี่ยนตำแหน่งเรียก ”ครูใหญ่”เพื่อจะได้มีความหมายที่ใกล้ชิดกับครูยิ่งขึ้น และจะไม่รู้สึกเหินห่างจากครูเหมือนตำแหน่ง”ผู้อำนวยการ”

ผมนึกไม่ออกว่า การเปลี่ยนแปลง(ร่าง)ครั้งใหม่ จะทำให้ ครูและนักเรียนรวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะรู้สึกใกล้ชิด หรือจะรู้สึกประดักประเดิด? กับการเรียกตำแหน่งใหม่ คือต้องเรียก “หัวหน้า” แทนเรียก “ผอ.(ผู้อำนวยการ)” ตามเดิม

โชคดีที่พระราชบัญญัติการศึกษาฉบับใหม่ นี้ จะประกาศใช้หลังจากผมไม่ได้เป็นนักเรียนและเป็นครูมานานมากกว่าหกสิบปีแล้ว
สมัยผมเรียนชั้นมัธยมและเป็นครูในโรงเรียนมัธยมมา 20 ปี มีการเรียกตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน ดังต่อไปนี้ครับ

พ.ศ.2494 ผมเข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนสวรรควิทยา ผมมี”ครูใหญ่ (Head Master)”ชื่อ สุด สุวรรณนาคินทร์
พ.ศ.2504 ผมเป็นครูครั้งแรก ที่โรงเรียนสวรรควิทยา ผมทำงานกับ”ครูใหญ่ (Head Master)”ชื่อ สุด สุวรรณนาคินทร์
พ.ศ.2512 ผมเป็น”ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่” ทำงานกับ”อาจารย์ใหญ่ (Principal)” ชื่อ ฉลวย บุญครอบ
พ.ศ.2519 ผมเป็น”ผู้ช่วยผู้อำนวยการ” ทำงานกับ “ผู้อำนวยการ (Director)” ชื่อ ฉลวย บุญครอบ
พ.ศ.2525 ผมโอนไปอยู่ มศว.พิษณุโลก โดยมีตำแหน่งสุดท้าย คือ”ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน (Assistant Director of School)”

ตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนในอดีต เรียกชื่อตำแหน่ง ตามขนาดของโรงเรียน โดยมีจำนวนนักเรียนที่ต้องรับผิดชอบ เป็นตัวกำหนดตำแหน่ง

โรงเรียนขนาดเล็ก เรียก”ครูใหญ่ (Head Master)” ผู้บริหารเป็นชั้นโท เทียบ ซี3-4
โรงเรียนขนาดกลาง เรียก ”อาจารย์ใหญ่ (Principal)” ผู้บริหารเป็นชั้นเอก เทียบ ซี 5
โรงเรียนขนาดใหญ่ เรียก “ผู้อำนวยการ (Director)”ผู้บริหารเป็นชั้นพิเศษ เทียบ ซี 7

ต่อมานักเรียนลดลง ผู้บริหารโรงเรียนไม่สามารถขยับ ซี ได้ เงินเดือนตัน จึงสุดท้ายผู้บริหารโรงเรียนทุกคน ได้เป็น “ผู้อำนวยการ (Director)”

หลักการที่ระบุไว้ใน (ร่าง) กฎหมาย คือ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ผมมีความเชื่อตามพจนานุกรมมาตลอดว่า คำว่า”ปรับปรุง” คือ แก้ไขให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น เปลี่ยนแปลงจากเดิมแล้วจะทำให้ดีขึ้น

ผมจึงมีความสงสัยว่า การปรับปรุง “ร่าง”พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….ฉบับนี้ ใน มาตรา 4 นิยามคำเรียกตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน จาก”ผู้อำนวยการ” เป็น “หัวหน้าสถานศึกษา” ดีขึ้นตรงไหน?

1.ถ้าจะว่า “ชื่อเรียกเป็นสากล” ผมก็ไม่เคยได้ยินว่ามีประเทศไหนกำหนดตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ว่า “หัวหน้าสถานศึกษา (Head of School/Chief of School)”
2.ถ้าจะว่า “ เรียกหัวหน้า” แล้วครูจะรู้สึกคุ้นเคยก็คงไม่ใช่ ยิ่งนักเรียน เรียก”หัวหน้า”ด้วย คงจะแปลกๆ ส่วนผู้ปกครองก็คงยิ่งแล้วใหญ่ เป็น”หัวหน้า”ผู้ปกครองตรงไหน?
3.ถ้าจะว่า “เรียกหัวหน้า” แล้วคุณภาพการบริหารโรงเรียนจะเพิ่มขึ้น ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะคุณภาพต้องมาจากการบริหารโรงเรียน ไม่ใช่มาจากการเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง

ที่สำคัญต่อไปนี้ เวลานิสิตนักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ นักวิชาการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ต้องเขียน Abstract (บทคัดย่อ) เป็นภาษาอังกฤษ คนอ่านงานวิจัยโดยเฉพาะชาวต่างชาติคงจะงุนงงมิใช่น้อยว่า เมืองไทยมีตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา (Head of School/Chief of School)”

###หรือจะเป็นว่า “นี่เป็นนวัตกรรมในการออกกฎหมายการศึกษา?”
ประเด็นนี้ผมขอสารภาพว่า “ความรู้ผมไปไม่ถึงครับ”

#ผมลองย้อนกลับไปอ่าน(ร่าง) มาตรา 4 ตามที่นำมาอ้างในข้อเขียนข้างต้น
ตอนท้ายของวรรคนี้เขียนไว้ว่า
(ลองไปเปลี่ยนเป็นผู้อํานวยการ ดูว่า ต้องแก้มากไหม)

##ถ้าให้ผมตอบคำถามนี้ ผมจะตอบว่า “แก้ไม่มากหรอกครับ แก้เท่ากับแก้ จากคำว่า “ครูใหญ่” เป็น “หัวหน้าสถานศึกษา” ครับ เท่ากันเดี๊ยะเลย”

เมื่อตอบว่าแก้ไม่มาก ก็ขอเชียร์ให้แก้เถอะครับ “อย่าทำเรื่องไม่เป็นเรื่อง” เลยครับ

ตํา แห น่ ง ผู้ช่วยผู้ อำนวยการ โรงเรียน
จาก”ผู้อำนวยการ” สู่ตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา” เปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร?

ขอขอบคุณบทความจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

ตํา แห น่ ง ผู้ช่วยผู้ อำนวยการ โรงเรียน