โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565


โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ป.4-6 โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต จึงขอระดมทุนการศึกษาเพื่อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ในการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น และมีคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 สามารถนำองค์ความรู้และทักษะไปใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพได้

โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565

โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโรงเรียนขนาดกลาง จัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 500 ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 32 คน เป็นโรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนจัดการเรียนรู้ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการกับกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน  ได้รับรางวัลสูงสุดระดับประเทศ เป็นสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ และเป็นโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความขาดแคลนสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งโรงเรียนไม่มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้นักเรียนเรียนรู้

จากเหตุผลดังกล่าวทางโรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต  จึงได้จัดทำโครงการบริจาคเพื่อการศึกษา โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นเด็กดี  เด็กเก่งมีทักษะอาชีพสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และบริบทของท้องถิ่นมีทักษะด้าน Digital Literacyและสามารถเข้าสู่โลกของการเรียนรู้และสร้างโอกาสให้ชีวิตอีกทั้งสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ ทำให้การเรียนการสอน และระบบการศึกษาทั่วโลกต้องปรับตัว เปลี่ยนการศึกษาจาก “ออฟไลน์”มาเป็น “ออนไลน์”อย่างเต็มรูปแบบเป็นการเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อยอดความรู้เดิมและประยุกต์ใช้ความรู้นำไปพัฒนาต่อยอดสร้างทักษะอาชีพต่อไปในอนาคตได้

โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้น ป.4 - ป.6 ในปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งหมด 197 คน ให้มีระดับผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

1. นักเรียนป.5 จำนวน 31 คน

รายละเอียดโครงการ

  1. ปรับปรุง พัฒนา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  2. จัดหาคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กสำหรับนักเรียน
  3. ออกแบบและกำหนดรูปแบบการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  4. พัฒนาครูและบุคลากรในการสร้างสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. ส่งเสริมครูผู้สอนผลิตสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพ
  6. ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้สอนโดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT Based Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษาป.4-6 โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพให้สามารถจัดการเรียนรู้“ตลอดเวลา" (Anytime) เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้“ทุกหนแห่ง” (Anywhere) และทุกคน (Anyone) ได้เรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพตามฐานการเรียนรู้โดยจัดการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานตามฐานการรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  7. ติดตั้งและวางระบบห้องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - ประถมศึกษาปีที่ 6  ซึ่งมีจำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2565 ดังนี้
    *ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รวม  80 คน
      - ประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน  27 คน
      - ประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน  27 คน
      - ประถมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน  26 คน
    *ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รวม  61 คน
      - ประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน  31 คน
      - ประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน  30 คน
    *ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม  56 คน
      - ประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน  30 คน
      - ประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน  26 คน
  8. จัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - ประถมศึกษาปีที่ 6  ในปีการศึกษา 2565
  9. นิเทศติดตาม สนับสนุนการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง
  10. ผู้บริหารและครูผู้สอนร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ PLC ทั้งภายในภายนอกโรงเรียนเพื่อแบ่งปันวิธีการ ที่แปลกใหม่และหลากหลายในการพัฒนาผู้เรียน

ประเมินผล สรุปรายงานโครงการ

***แผนการดำเนินงานของโครงการ***
1.วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (17 พฤษภาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564)

      - ศึกษาและวิเคราะห์เหตุผล ความจำเป็นและสภาพปัญหาในการจัดทำโครงการ (นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์)

2.จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณและขออนุมัติ  (1 มิถุนายน 2564 - 30 มิถุนายน 2564)

      - ครูผู้รับผิดชอบจัดทำโครงการและเสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อตรวจสอบ (นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์)

      - ส่งโครงการเพื่อขออนุมัติจากทาง Connext ED (นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์)
 3.ปรับปรุง พัฒนา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (1 กรกฎาคม 2564 - 30 กรกฎาคม 2564)

      - ดำเนินการจัดสร้างห้องเพื่อใช้รองรับเป็นห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์และฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา (ฝ่ายอาคาร           สถานที่)

      - ทำความสะอาดเตรียมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเตรียมระบบไฟฟ้า (ฝ่ายอาคารสถานที่)

4.ออกแบบและกำหนดรูปแบบการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (2 สิงหาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564)

      - ประชุมครูแต่ละวิชาเพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบหน่วยการเรียนรู้ (นางจิราพร ทองยอด)

      - ออกแบบและกำหนดรูปแบบของหน่วยการเรียนรู้ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (นางจิราพร ทองยอด)

5. พัฒนาครูและบุคลากรในการสร้างสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (2 สิงหาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564)

      - จัดอบรมการใช้สื่อเทคโนโลยีให้แก่ครูและบุคลากรในโรงเรียน อาทิ การใช้ OBS และ Live Worksheet (นางจิราพร ทองยอด)
6. ส่งเสริมครูผู้สอนผลิตสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพ (1 กันยายน 2564 - 8 ตุลาคม 2564)
      - จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาการผลิตสื่อนวัตกรรมให้แก่ครูในโรงเรียน ได้แก่ การจัดทำสื่อวีดีโอ การสร้างชุดกิจกรรม/ใบงาน Active Learning ด้วย Liveworksheets / Kahoot / การใช้เทคโนโลยี AR (นางจิราพร ทองยอด)

      - จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนเพื่อเรียนรู้การใช้สื่อ Coding ต่างๆ เช่น การใช้ Scrath , code.org ในการนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้ (นางจิราพร ทองยอด)

7. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กให้แก่นักเรียน (4 มกราคม 2565 - 28 กุมภาพันธ์ 2565)

      - เมื่อทาง Connext Ed ปิดระบบการระดมทุน ทางโรงเรียนให้ครูผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการนำงบประมาณที่ได้รับไปจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กและอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต ตามที่วางงบประมาณไว้ (นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์)

      - ครูผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก และวางระบบในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้แล้วเสร็จ (นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์)

8. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT Based Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษและสังคมศึกษา ป.4-6 โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพ (16 พฤษภาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566)

      - ครูผู้สอนประจำวิชานำสื่อเทคโนโลยีและแผนการจัดการเรียนรู้ไปดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้เรียน ตลอดช่วงปีการศึกษา 2565 (นางจิราพร ทองยอด)

9. วัดและประเมินผลการเรียนรู้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในปีการศึกษา 2565 (1 มีนาคม 2566 - 31 มีนาคม 2566)

      - ดำเนินการวัดและประเมินผลโดยครูประจำวิชาในช่วงสิ้นปีการศึกษา 2565 และดำเนินการพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการเรียนรู้

10.นิเทศติดตาม สนับสนุนการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง (2 สิงหาคม 2564 - 31 มีนาคม 2566)

      - ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ลงนิเทศติดตามการดำเนินงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือ แก้ไข และให้ข้อเสนอแนะแก่ครูผู้สอนตลอดช่วงการดำเนินโครงการ (ผู้อำนวยการโรงเรียน)

11.ผู้บริหารและครูผู้สอนร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ PLC ทั้งภายในภายนอกโรงเรียนเพื่อแบ่งปันวิธีการ ที่แปลกใหม่และหลากหลายในการพัฒนาผู้เรียน(2 สิงหาคม 2564 - 31 มีนาคม 2566)

      - ผู้บริหารและคณะครูร่วมกัน PLC เพื่อปรึกษาและแนะนำการดำเนินงานทุกๆสิ้นเดือน (ผู้อำนวยการโรงเรียน)

      - ผู้บริหารพบปะหัวหน้าฝ่ายงานและครูผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อติดตามการดำเนินงานและให้คำแนะนำทุกวันศุกร์ประจำสัปดาห์ (ผู้อำนวยการโรงเรียน)

12. ประเมินผล สรุปรายงานโครงการ (30 มีนาคม 2566 - 31 มีนาคม 2566)

      - ครูผู้รับผิดชอบโครงการสรุปผลการดำเนินโครงการจากนั้นนำเสนอผู้อำนวยการ เพื่อให้ประเมินโครงการ ให้คำแนะนำ และเสนอแนะข้อปรับปรุงพัฒนา (นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์)

      - ครูผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอผลการดำเนินโครงการต่อทาง Connext ED (นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์)

โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2565

แผนการดำเนินงาน

1.วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พฤษภาคม 2564
2.จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณและขออนุมัติ มิถุนายน 2564
3. ปรับปรุง พัฒนา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กรกฎาคม 2564
4. ออกแบบและกำหนดรูปแบบการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สิงหาคม 2564
5. พัฒนาครูและบุคลากรในการสร้างสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สิงหาคม 2564
6. ส่งเสริมครูผู้สอนผลิตสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพ กันยายน 2564
7. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กให้แก่นักเรียน มกราคม 2565
8. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT Based Learning)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ป.4-6 โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพ พฤษภาคม 2565
9. วัดและประเมินผลการเรียนรู้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในปีการศึกษา 2565 มีนาคม 2566
10.นิเทศติดตาม สนับสนุนการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง สิงหาคม 2564
11.ผู้บริหารและครูผู้สอนร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ PLC ทั้งภายในภายนอกโรงเรียนเพื่อแบ่งปันวิธีการ ที่แปลกใหม่และหลากหลายในการพัฒนาผู้เรียน สิงหาคม 2564
12. ประเมินผล สรุปรายงานโครงการ มีนาคม 2566

การประเมินผล

1. ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติของผู้เรียน มีพัฒนาการสูงขึ้น หรือมีผลคะแนนทุกกลุ่มสาระเท่ากับหรือสูงกว่าระดับชาติ/สพฐ.

2. ผู้เรียนระดับประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทุกวิชา ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป

3. ผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป

4. ผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป

5. ผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป

6. ผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระภาษาไทย ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป

7. ผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป

8. ผู้เรียนระดับชั้น ป. 6 ที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ในระดับดีขึ้นไป

9. ผู้เรียนระดับชั้น ป. 6 ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไป

10. ผู้เรียนระดับชั้น ป. 6 ที่มีเจตคติในระดับดีขึ้นไป

11. ผลการประเมินสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา

12. โครงการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาบรรลุผลตามเป้าหมาย

13. ผู้สอนระดับประถมศึกษาที่มีผลการประเมินสมรรถนะในระดับดีขึ้นไป

14. ผู้สอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป

15. ผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป

16. ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป

17. ผู้สอนกลุ่มสาระภาษาไทยระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป

18. ผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษาระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป

19. ผู้สอนระดับประถมศึกษาที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในระดับดีขึ้นไป

20. ผู้สอนระดับประถมศึกษาที่มีความสามารถและประยุกต์ใช้ไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป

21. ผู้สอนระดับประถมศึกษาที่มีกระบวนการพัฒนาตนเองที่มีประสิทธิภาพในระดับดีขึ้นไป

22. สถานศึกษามีบุคลากรด้านไอซีที

23. สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ระดับชั้นระดับประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับปัญหาหรือบริบทของท้องถิ่น

24. สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาแบบ Active Learning

25. ผู้สอนระดับชั้นระดับประถมศึกษาตอนปลายใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย

26. สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ทำให้ผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายค้นพบความถนัด รู้จักอาชีพและแนวทางการศึกษาต่อ

27. สถานศึกษามีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

28. สถานศึกษามีห้องเรียนที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้

29. สถานศึกษามีสื่อการสอนที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้

30. ห้องคอมพิวเตอร์มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้เพียงพอต่อนักเรียนทุกคน

31. ห้องเรียนทุกห้องสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

32. ห้องเรียนทุกห้องมีอุปกรณ์ ICT เพื่อการศึกษา

33. สถานศึกษามีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือแท๊บเล็ตให้ผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้และเข้าถึงแหล่งความรู้ออนไลน์

34. สถานศึกษาเปิดเผยข้อมูลสถานศึกษาสู่สาธารณะ

35. ร้อยละของความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา

36. ผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับข่าวสารจากสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ

งบประมาณ

ลำดับ รายการ จำนวน ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน
1 Asus L1400CDA-EK0657T 31 31 15,900.00 492,900.00
2 Xiaomi AX6000 AloT Router WiFi 6/4K QAM 1 1 5,000.00 5,000.00
3 Access Point MikroTik (RB952Ui-5ac2nD-TC) Wireless AC650 Dual Band Gugabit 1 1 2,100.00 2,100.00
รวม 500,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์

นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์

นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์

นางจิราพร ทองยอด

นางจิราพร ทองยอด

นางจิราพร ทองยอด

นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์

นางจิราพร ทองยอด

นางจิราพร ทองยอด

ดร.อาภรณ์ อ่อนคง

ดร.อาภรณ์ อ่อนคง

นายชนินทร์ พิมพ์อาภรณ์