การบอกตําแหน่งบนทรงกลมฟ้า สรุป

ด.ช. สหชัย คืนตัก ชั้น ม .3/2 เลขที่ 10 and ด.ช. เจษฎากร ศรีเกตุ ชั้น ม. 3/2 เลขที่ 4 พูดว่า:

การบอกตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า

เนื่องจากเทหวัตถุบนท้องฟ้ามีมากมายนับล้านล้าน ไม่ว่าจะเป็น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ดาวหาง เนบิวลา หรือ กาแล็กซี่ ในการบอกตำแหน่งที่แน่นอนของวัตถุนั้นเราจะต้องมีระบบการบอกตำแหน่งของเทหวัตถุบนท้องฟ้า
ตามแบบที่นิยมใช้กันซึ่งในปัจจุบันมี 2 ระบบ คือ
1.ระบบขอบฟ้า (The Horizontal system) หรือ บางทีเรียกว่าระบบอัลติจูดและอะซิมุท (Altitude and Azimuth system)
อัลติจูด (Altitude) หรือ มุมเงย เป็นมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้า คือ 0 องศา ขี้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ Zenith คือ 90 องศา
อะซิมุท (Azimuth) เป็นทิศทางตามแนวเส้นขอบฟ้า Horizontal Line เริ่มต้นจากทิศเหนือ 0 องศา ไปตามแนวทิศ ตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก กลับมาที่ทิศเหนือ ครบรอบ 360 องศา
การบอกตำแหน่งด้วยวิธีนี้ จะบอกเป็นค่ามุมเงย และ มุมอะซิมุท พร้อมกัน มีหน่วยเป็นองศา และการบอกตำแหน่งระบบนี้ จะใช้ได้กับผู้สังเกตุที่อยู่บนเส้นละติจูดเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ( ลองจิจูดเดียวกัน) เท่านั้น เช่นขณะนี้ดาวหางอยู่ที่ตำแหน่ง มุมอัลติจูด 45 องศา มุมอะซิมุท 270 องศา เป็นต้น
2. ระบบศูนย์สูตร (Equatorial System) เป็นระบบที่จำลองมาจากการบอกตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยเส้น ละติจูด และ ลองจิจูด โดยที่บนท้องฟ้าเราจะบอกตำแหน่งเป็นค่า เดคลิเนชั่น (Declination- Dec) และ ไรท์แอสเซนชั่น (Right Ascension- R.A)
เดคลิเนชั่น (Declination- Dec) เปรียบได้กับละติจูด มีหน่วยเป็นองศา ใช้บอกระยะเชิงมุมของดาวว่าอยู่ห่างจาก เส้นศูนย์สูตรฟ้า ( 0 องศา) ไปทางทิศเหนือ ระหว่าง 0 ถึง +90 องศา หรือ ไปทางทิศใต้ ระหว่าง 0 ถึง –90 องศา เป็นมุมเท่าใด
ไรท์แอสเซนชั่น (Right Ascension- R.A) เปรียบได้กับ ลองจิจูด ที่บอกหน่วยเป็น เวลา ชั่วโมง:นาที:วินาที โดยที่ 360 องศามีค่าเท่ากับ 24 ชั่วโมง หรือ 15 องศา มีค่าเท่ากับ 1 ชั่วโมง ในทำนองเดียวกันกับเส้นลองจิจูด จุดเริ่มต้น 0 องศาหรือ 0 ชั่วโมง อยู่ที่เมืองกรีนิช ในประเทศอังกฤษ สำหรับ R.A ค่า 0 องศาหรือ 0 ชั่วโมงจะเริ่มที่จุดอ้างอิง Vernal Equinox (เวอร์นัล อิควินอค) คือจุดที่แนวเส้นEcliptic ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า พอดี ในวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน ตรงตำแหน่งกลุ่มดาวปลา (PISCES) แล้วนับไปทางขวามือ (Right) เป็นชั่วโมง นาที วินาที หรือถ้าเราหันหน้า เข้าหาทิศเหนือให้นับไปทางทิศตะวันออก แต่เนื่องจากกลุ่มดาวปลา ไม่ค่อยสว่างบนท้องฟ้าจึงสังเกตลำบาก เราอาจจะให้กลุ่มดาวค้างคาวหาตำแหน่งที่ RA เท่ากับศูนย์ได้เช่นกัน

ด.ญ.กชกร กำไรรักษา พูดว่า:

เนื่องจากเทหวัตถุบนท้องฟ้ามีมากมายนับล้านล้าน ไม่ว่าจะเป็น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ดาวหาง เนบิวลา หรือ กาแล็กซี่ ในการบอกตำแหน่งที่แน่นอนของวัตถุนั้นเราจะต้องมีระบบการบอกตำแหน่งของเทหวัตถุบนท้องฟ้า
ตามแบบที่นิยมใช้กันซึ่งในปัจจุบันมี 2 ระบบ คือ
1.ระบบขอบฟ้า (The Horizontal system) หรือ บางทีเรียกว่าระบบอัลติจูดและอะซิมุท (Altitude and Azimuth system)
อัลติจูด (Altitude) หรือ มุมเงย เป็นมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้า คือ 0 องศา ขี้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ Zenith คือ 90 องศา
อะซิมุท (Azimuth) เป็นทิศทางตามแนวเส้นขอบฟ้า Horizontal Line เริ่มต้นจากทิศเหนือ 0 องศา ไปตามแนวทิศ ตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก กลับมาที่ทิศเหนือ ครบรอบ 360 องศา
การบอกตำแหน่งด้วยวิธีนี้ จะบอกเป็นค่ามุมเงย และ มุมอะซิมุท พร้อมกัน มีหน่วยเป็นองศา และการบอกตำแหน่งระบบนี้ จะใช้ได้กับผู้สังเกตุที่อยู่บนเส้นละติจูดเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ( ลองจิจูดเดียวกัน) เท่านั้น เช่นขณะนี้ดาวหางอยู่ที่ตำแหน่ง มุมอัลติจูด 45 องศา มุมอะซิมุท 270 องศา เป็นต้น
2. ระบบศูนย์สูตร (Equatorial System) เป็นระบบที่จำลองมาจากการบอกตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยเส้น ละติจูด และ ลองจิจูด โดยที่บนท้องฟ้าเราจะบอกตำแหน่งเป็นค่า เดคลิเนชั่น (Declination- Dec) และ ไรท์แอสเซนชั่น (Right Ascension- R.A)
เดคลิเนชั่น (Declination- Dec) เปรียบได้กับละติจูด มีหน่วยเป็นองศา ใช้บอกระยะเชิงมุมของดาวว่าอยู่ห่างจาก เส้นศูนย์สูตรฟ้า ( 0 องศา) ไปทางทิศเหนือ ระหว่าง 0 ถึง +90 องศา หรือ ไปทางทิศใต้ ระหว่าง 0 ถึง –90 องศา เป็นมุมเท่าใด
ไรท์แอสเซนชั่น (Right Ascension- R.A) เปรียบได้กับ ลองจิจูด ที่บอกหน่วยเป็น เวลา ชั่วโมง:นาที:วินาที โดยที่ 360 องศามีค่าเท่ากับ 24 ชั่วโมง หรือ 15 องศา มีค่าเท่ากับ 1 ชั่วโมง ในทำนองเดียวกันกับเส้นลองจิจูด จุดเริ่มต้น 0 องศาหรือ 0 ชั่วโมง อยู่ที่เมืองกรีนิช ในประเทศอังกฤษ สำหรับ R.A ค่า 0 องศาหรือ 0 ชั่วโมงจะเริ่มที่จุดอ้างอิง Vernal Equinox (เวอร์นัล อิควินอค) คือจุดที่แนวเส้นEcliptic ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า พอดี ในวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน ตรงตำแหน่งกลุ่มดาวปลา (PISCES) แล้วนับไปทางขวามือ (Right) เป็นชั่วโมง นาที วินาที หรือถ้าเราหันหน้า เข้าหาทิศเหนือให้นับไปทางทิศตะวันออก แต่เนื่องจากกลุ่มดาวปลา ไม่ค่อยสว่างบนท้องฟ้าจึงสังเกตลำบาก เราอาจจะให้กลุ่มดาวค้างคาวหาตำแหน่งที่ RA เท่ากับศูนย์ได้เช่นกัน

คีย์เวิร์ดยอดนิยมของ มัธยมปลาย

ค้นหาเนื้อหาที่ต้องการไม่เจอเหรอ? ลองค้นหาใน Q&A ดูสิ!

คำสำคัญ: การบอกตำแหน่งบนทรงกลมฟ้า

・ตรวจสอบความถูกต้องของการสะกดคำ
・ลองใช้คีย์เวิร์ดอื่น
・ค้นหาจากประเภทของสมุดโน้ตที่เผยแพร่ในหน้าบนสุด หรือจากอันดับรายสัปดาห์

พบ - เนื้อหาที่ตรงกันบน Q&A