การ เข้าไป แทรกแซง ทาง ด้าน ราคา ของ รัฐ สามารถ ทำได้ ใน หลาย รูป แบบ ได้แก่ วิธี การ ใด บ้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระวังสับสนกับ การวางแผนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นกลไกการจัดสรรทรัพยากรแบบไม่พึ่งระบบตลาด

การ เข้าไป แทรกแซง ทาง ด้าน ราคา ของ รัฐ สามารถ ทำได้ ใน หลาย รูป แบบ ได้แก่ วิธี การ ใด บ้าง

ยุทธศาสตร์การแทรกแซงทางเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ ตามสถานการณ์

การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ (อังกฤษ: economic interventionism) หรือบ้างเรียก การแทรกแซงของรัฐ เป็นจุดยืนนโยบายเศรษฐกิจซึ่งสนับสนุนให้รัฐบาลแทรกแซงในกระบวนการตลาดเพื่อแก้ไขความล้มเหลวของตลาดและส่งเสริมสวัสดิการโดยทั่วไปของประชาชน การแทรกแซงทางเศรษฐกิจเป็นการกระทำของรัฐบาลหรือสถาบันระหว่างประเทศในเศรษฐกิจแบบตลาดเพื่อพยายามให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกินกว่าการวางระเบียบพื้นฐานซึ่งกลฉ้อฉล, การบังคับใช้สัญญา และการจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ[1][2] การแทรกแซงทางเศรษฐกิจอาจมีเป้าหมายเพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มค่าจ้าง เพิ่มหรือลดราคา ส่งเสริมความเสมอภาคทางรายได้ จัดการปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย เพิ่มกำไรหรือแก้ไขความล้มเหลวของตลาด

คำว่า "แทรกแซง" มักใช้โดยผู้สนับสนุนระบบปล่อยให้ทำไปและทุนนิยมแบบตลาดเสรี[3][4] และสันนิษฐานว่าในระดับปรัชญา รัฐและเศรษฐกิจในตัวควรแยกออกจากกัน และการกระทำของรัฐบาลนั้นอยู่ภายนอกเศรษฐกิจ[5] ประเทศเศรษฐกิจแบบตลาดทุนนิยมที่มีการแทรกแซงทางเศรษฐกิจสูงมักเรียกว่าเป็นเศรษฐกิจแบบผสม[6]

ผลลัพธ์[แก้]

ผลลัพธ์ของการแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐบาลมีการถกเถียงอย่างกว้างขวาง เจ้าหน้าที่วางระเบียบไม่ได้ปิดตลาดอยู่เสมอ แต่ตามที่เห็นในความพยายามเปิดเสรีทางเศรษฐกิจโดยรัฐและสถาบนต่าง ๆ ในละตินอเมริกา "การเปิดเสรีการเงินและการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชนเกิดพร้อมกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย"[7] การศึกษาหนึ่งเสนอว่าทศวรรษที่เสียไปหลังเกิด "การแพร่หลายของเจ้าหน้าที่วางระเบียบ" เพิ่มขึ้น[8] และตัวแสดงเหล่านี้เข้าร่วมในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในละตินอเมริกา ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1980 ละตินอเมริกาผ่านวิกฤตหนี้และอัตราเงินเฟ้อสูง (ระหว่าง ค.ศ. 1989 และ 1990) ผู้มีส่วนได้เสียระดับนานาชาติเหล่านี้จำกัดข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจของรัฐ และผูกมันไว้ในสัญญาให้ร่วมมือ[9] หลังมีโครงการต่าง ๆ และพยายามยินยอมอย่างล้มเหลวมาหลายปี รัฐอาร์เจนตินาดูจะยุติการรื้อฟื้นและการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการแทรกแซงสำคัญสองปัจจัยที่กระตุ้นความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในประเทศอาร์เจนตินาเพิ่มการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชนอย่างสำคัญ และตั้งคณะกรรมการเงินตรา เหตุการณ์นี้เป็นตัวอย่างแก่สถาบันโลก รวมทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ในการกระตุ้นและโฆษณาการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ละตินอเมริกา

ในประเทศตะวันตก ตามทฤษฎีข้าราชการชั่งน้ำหนักค่าใช้จ่ายกับประโยชน์สำหรับการแทรกแซงแก่ประชากร มิฉะนั้นจะตกอยู่ภายใต้การบีบบังคับจากเอกชนภายนอกและต้องดำเนินการ การแทรกแซงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจยังขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและประโยชน์ส่วนตนของผู้มีส่วนได้เสีย การตีความความก้าวหน้าที่หลากหลายและทฤษฎีการพัฒนา[10] โดยจะยกตัวอย่างรัฐบาลและสถาบันระหว่างประเทศมิได้รีบเข้าช่วยเหลือเลห์แมนบราเธอส์ในช่วงวิกฤตการณ์การเงิน ค.ศ. 2007–2008 จึงปล่อยให้บริษัทยื่นล้มละลาย ไม่กี่วันให้หลัง เมื่ออเมริกันอินเตอร์เนชันแนลกรุ๊ปมีท่าทีจะล้มเช่นเดียวกัน รัฐจึงใช้งบประมาณสาธารณะเพื่อเข้าไปอุ้ม[11] บริษัทเหล่านี้มีผลประโยชน์เชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้นสิ่งจูงใจของบริษัทคือการใช้อิทธิพลให้รัฐบาลกำหนดนโยบายวางระเบียบเพื่อจะไม่ยับยั้งการสะสมสินทรัพย์ของบริษัทเอง[12]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • สำนักอเมริกา (เศรษฐศาสตร์)
  • สำนักออสเตรีย
  • งบประมาณขาดดุล
  • นโยบายการคลัง
  • เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์
  • นโยบายการเงิน

อ้างอิง[แก้]

  1. Karagiannis, Nikolaos (2001). "Key Economic and Politico-Institutional Elements of Modern Interventionism". Social and Economic Studies. 50 (3/4): 17–47. JSTOR 27865245.
  2. von Mises, Ludwig (1998). Interventionism: An Economic Analysis (PDF). New York: The Foundation for Economic Education. pp. 10–12.
  3. von Mises, Ludwig (1998). Interventionism: An Economic Analysis (PDF). New York: The Foundation for Economic Education, Inc. pp. 10–12.
  4. Brown, Douglas (11 November 2011). Towards a Radical Democracy (Routledge Revivals): The Political Economy of the Budapest School. Routledge. pp. 10–11. ISBN 978-0415608794.
  5. Lu, Catherine. "Intervention". Encyclopedia of Political Theory. SAGE. สืบค้นเมื่อ 5 February 2012.[ลิงก์เสีย]
  6. Brown, Douglas (11 November 2011). Towards a Radical Democracy (Routledge Revivals): The Political Economy of the Budapest School. Routledge. pp. 10–11. ISBN 978-0415608794. The political definition refers to the degree of state intervention in what is basically a capitalist market economy. Thus this definition 'portray[s] the phenomenon in terms of state encroaching upon market and thereby suggest[s] that market is the natural or preferable mechanism.
  7. Karagiannis, Nikolaos (2001). "Key Economic and Politico-Institutional Elements of Modern Interventionism". Social and Economic Studies. 50 (3/4): 19–21. JSTOR 27865245.
  8. Jordana, Jacint; David Levi-Faur (Mar 2005). "The Diffusion of Regulatory Capitalism in Latin America: Sectoral and National Channels in the Making of a New Order". Annals of the American Academy of Political and Social Science. 598 (The Rise of Regulatory Capitalism: The Global Diffusion of a new Order): 102–24. doi:10.1177/0002716204272587. JSTOR 25046082.
  9. de Beaufort Wijnholds, J. Onno. "The Argentine Drama: A View from the IMF Board" (PDF). The Crisis That Was Not Prevented: Argentina, the IMF, and Globalisation. FONDAD. สืบค้นเมื่อ 2 February 2012.
  10. von Mises, Ludwig (1998). Interventionism: An Economic Analysis (PDF). New York: The Foundation for Economic Education, Inc. pp. 1–51.
  11. Lanchester, John (November 5, 2009). "Bankocracy". London Review of Books. 31 (21).
  12. Pierson, Chris (1999). Gamble; และคณะ (บ.ก.). Marxism and Social Science. Urbana and Chicago: University of Illinois Press. pp. 176–77. CiteSeerX 10.1.1.397.5282.