หัวใจเต้นเร็ว 130 ครั้งต่อนาที

หน้ามืดตาลาย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หรือรุนแรงถึงขั้นเป็นลมหมดสติ อย่ามองข้าม เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ที่จริงอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ”และส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ความเครียด และการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายคนจะไม่รู้ตัวเลย เนื่องจากมีอาการที่แตกต่างกันออกไป คิดว่าอาการเล็กน้อย บางคนอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใดๆ แต่บางคนอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น นั่นหมายความว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยจะแสดงอาการออกมาดังนี้

- อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที อาจจะส่งผลให้มีอาการมึนงง ใจหวิว ระดับความดันโลหิตต่ำลง และอาจทำให้เป็นลมหมดสติ

- อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่า 120 ครั้งต่อนาที อาจจะส่งผลให้มีอาการเหนื่อยง่ายเจ็บหน้าอก เสี่ยงภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตเฉียบพลัน

ทำอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การที่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะที่ยากจะควบคุม ต้องพบปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย และการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจสอบสมรรถภาพของหัวใจ หรือปัจจัยที่จะไปกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถตรวจได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram :ECG)

- การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise stress test :EST)

- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram :Echo)

- การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งมีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือความผิดปกติแต่กำเนิดหรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความเครียด

ซึ่งที่โรงพยาบาลยันฮี เราพร้อมให้การบริการแก่ผู้เข้ารับการรักษา ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

การที่ชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับหัวใจที่เต้นเร็ว เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะให้ทั่วร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เตือนว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในทางกลับกัน หากชีพจรเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด หมดสติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตต่ำได้

วัดชีพจรอย่างไร

ก่อนที่จะวัดชีพจรต้องงดทำกิจกรรมเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง ขึ้นบันได ยกของหนัก หรือการทำงานหนักที่หัวใจเต้นเร็วแรงขึ้น ดังนั้น ควรวัดชีพจรตอนที่นั่งพักเฉย ๆ มาสักระยะแล้วอย่างน้อย 5-10 นาที รวมถึงการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มมาแล้วควรเว้นระยะก่อนวัดชีพจร 1 ชั่วโมงขึ้นไป

วิธีการวัดชีพจรง่าย ๆ ทำได้โดยการวางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนข้อมือ กดลงไปเบา ๆ จะรับรู้ได้ถึงสัญญาณชีพที่เต้นตุ้บ ๆ อยู่ ให้จับเวลา 30 วินาทีแล้วนับว่าหัวใจเต้นไปกี่ครั้ง จากนั้นนำตัวเลขที่วัดได้มาคูณสอง (x2) ผลลัพธ์ที่ออกมาคือจำนวนการเต้นหัวใจภายใน 1 นาที และเพื่อความแม่นยำแนะนำให้ทำซ้ำอย่างน้อย 2-3 ครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย

เคล็ดลับการวัดชีพจรให้ได้ผลดี : ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวัดชีพจรคือตอนเช้าหลังจากการตื่นนอน แต่หากว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สามารถตรวจชีพจรอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยวัดชีพจรในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า กลาง เย็น และก่อนนอน จากนั้นนำมาค่าหาเฉลี่ยจะได้ค่าชีพจรที่ถูกต้อง

ชีพจรเต้นเร็วไปจะทำอย่างไรดี

ถ้าชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที วิธีการเบื้องต้นที่สามารถช่วยได้ผลเป็นอย่างดีคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และอย่าปล่อยให้ตัวเองอ่อนเพลีย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

อย่าลืมว่าการวัดชีพจรเป็นเพียงการตรวจด้วยตนเองแบบง่าย ๆ เท่านั้น ปัจจัยที่จะให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดยังมีอีกหลายสาเหตุ ถ้าชีพจรเต้นเร็วทุกครั้งที่ทำการตรวจ ร่วมกับอาการเหนื่อยหอบ เจ็บหรือแน่นหน้าอกเมื่อต้องออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

หมอค่ะ คือหนูตอนนี้อายุ 19 ปีวันนี้ผลตรวจร่างกายประกาศ มีชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ ที่ 120 แต่นี้ไม่ครั้งแรกที่รู้หัวใจเต้นเร็ว รู้ครั้งแรกตอนหาหมอ ที่ รพ. ช่วง ม.4 ไปหาหมอมีอาการเพลียตัวร้อน ก่อนเข้าพบหมอ พยาบาลก็จะวัดความดัน การเต้นหัวใจที่ใช้แขนสอดเข้าไปในเครื่อง ผลออกมารอหมอตรวจ หมอบอกความดันต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ตื่นเต้นหรอ หัวใจเร็ว ตอนนั้นที่ 110 กว่าๆ( ถ้าจำไม่ผิด) หมอก็ให้ยามาทานพวกเกลือแร่ ปกติ แล้วพอม.5 ที่ โรงเรียนมีการบริจาคเลือด ก็ต้องกรอกแบบฟรอมก่อน ก็จะวัดนั่นนี้ แต่พี่คนที่ตรวจเขาถามหนูว่าตื่นเต้นหรอ หัวใจเต้นเร็วจัง หนูก็ตอบว่าไม่ค่ะ แต่พี่เขาก็บอกน่าจะตื่นเต้นแหละ บริจาคครั้งแรก แต่หนูก็ธรรมดาน่ะ แต่มีช่วงหนึ่งคือ ตั้งแต่ ม.3 เวลาวิ่ง หรือเรียนพละงี้จะเล่นไม่ได้เหนื่อยแล้วแบบต้องหายใจทางปากช่วย หายใจถี่มาก เวลาตื่นเต้นหรือเหนื่อยธรรมดาเนี่ยใจเต้นแรงเเละเร็วจนรู้สึกว่ามีเสื้อขยับแล้วจะเจ็บๆหน้าอกไม่สิ ตรงช่วงใต้หน้าอก(นม)เจ็บจี๊ดๆ ด้วย ทุกครั้งที่บริจาคเลือด พี่คนตรวจชอบทักว่าตื่นเต้นตลอด ตอน ม.6 ช่วงไปสอบแล้ว ต้องนอนค้างคืนกับเพื่อน แล้วเพื่อนตัวใหญ่กว่า นอนบังพัดลมทางระบายอากาศ(หนูนอนติดผนังห้อง) แล้วพอตกดึกหนูนอนหลับรู้สึกเจ็บ ๆหน้าอก ใต้นมเจ็บจี๊ด ๆ เจ็บมาก หายใจไม่สะดวกสะดุ้งตื่นขึ้นก็ยังเจ็บ หายใจถี่ใจเต้นเร็วขึ้นๆ ได้หายใจทางปากช่วย ตอนนั้นก็ไม่คิดอะไร คิดแค่อากาศในห้องน้อยมั้งเลยหายใจลำบาก แต่ขาชาก้าวลุกจากเตียงมีเซ ๆ จนเวลาผ่านไป ตอนนี้ อายุ 19 ขึ้น ปี 1 มีตรวจสุขภาพนิสิตใหม่ ผลตรวจพึ่งออกแลวมีใบแจ้งอาการ ดูผลออกมาที่ 120 แล้ว EO ที่ 0.4 % แต่ EO หนูไม่สงสัยหรอกเพราะหนูเคยมีอาการแพ้ กับความเครียดนิดหน่อย แต่ที่เเจ้งบอกว่า 120 ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ ซึ่งมันทำให้หนูเริ่มเอะใจ นิดว่า หนูเป็นอะไรไหม เพราะเต้นปกติที่ 60 -100 ในใบที่แจ้งจากทางมหาลัย มันก็จะหวิว ๆ หน่อย หนูเคยคิดจะลองไปหาหมอน่ะ ถามพี่ พ่อ ก็จะบอกว่าไม่เป็นอะไร แต่หน้ามืดบ่อยมากเหมือนจะเป็นลมแต่ไม่เป็น สรุปมันผิดปกติมั้ย หนูพึ่งมาหาข้อมูลในเว็บในเน็ตเพราะแต่ก่อนที่เคยตรวจไปโดนทักไปก็ไม่เอะใจ แต่พอบ่อยครั้งมันหวิว ยิ่งตอนนี้ กิจกรรมเยอะ วิ่งขึ้นบรรไดตึกเรียน แค่เดินยังเหนื่อยเลยตอนนี้ (เดินไกลๆน่ะคะ) อาจจะยาวหน่อย แต่บอกข้อมูลคิดว่าน่าจะพอวิเคราะห์ได้ หนูย่อสุดๆละ ลืม ๆ หนูเคยกินกาแฟช่วงอ่านหนังสือ กินได้นิดเดียว เพราะใจเต้นแรงจนรู้สึกได้ และหนูไม่ดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ด้วยน่ะ #รบกวนด้วยน่ะคะ

 แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

แพทย์

Oct 11, 2017 at 11:48 PM

สวัสดีค่ะ คุณ Gessara 

การที่มีภาวะหัวใจหรือชีพจรเต้นเร็ว (Tachycardia) หัวใจเต้นเร็ว สามารถเกิดได้จากหลายอย่างค่ะ

-ความผิดปกติของหัวใจ เช่น มีการทำงานที่เต้นผิดจังหวะ อาจเต้นเร็วไป หรือมาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งถ้าเหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ หรือนอนราบเเล้วมีอาการเหนื่อย วูบเป็นลม หมดสติ แนะนำให้ลองไปพบแพทย์เพื่อทำการเช็คหัวใจอย่างละเอียดค่ะ เช่นตรวจร่างกายฟังเสียงหัวใจ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ค่ะ

-โรคไทรอยด์สูง ซึ่ง จะทำให้ร่างกายมีการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นได้ค่ะ ถ้ามีอาการกินจุ แต่น้ำหนักน้อย ขี้ร้อน ขี้หงุดหงิด ท้องเสียบ่อย คอโต อาจลองตรวจเลือดดูค่าไทรอยด์ค่ะ เนื่องจากการให้ยาลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์จะทำให้อาการหัวใจเต้นเร็วดีขึ้นค่ะ

-การที่มีไข้ ไม่สบาย อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วได้ค่ะ

-ภาวะซีด หรือว่าโลหิตจาง ก็เป็นอีกสาเหตุนึง ซึ่งอาจทำให้มีอาการวูบ หมดสติ หรือ อ่อนเพลียได้ด้วยค่ะ

-ภาวะการขาดสมดุลของเกลือเเร่ในร่างกาย

-ความดันในร่างกายต่ำ ซึ่งในบางครั้งที่ออกกำลังกาย หรือเปลี่ยนท่าเร็วๆ ร่างกายอาจมีการปรับตัวของระบบหลอดเลือดทำให้มีหัวใจเร็วได้บ้างค่ะ

-ภาวะเครียด หรือกังวล 

 

เเนะนำให้ไป พบเเพทย์ค่ะ เพื่อหาสาเหตุ อย่างละเอียด เนื่องจากอาการเป็นมาค่อนข้างนานค่ะ เนื่องจากบางภาวะต้องได้รับการรักษา เพื่อไม่ให้อาการเป็นมากขึ้นในอนาคตหรือมีภาวะเเทรกซ้อนค่ะ

 Gessara

สมาชิก

Oct 12, 2017 at 12:16 AM

หนูมีอาการท้องเสียด้วยและเสียบ่อย เสียตั้งแต่สมัย ม.4 ม.5 ละ แต่หนูคิดมาตลอดคือ อาจจะกินนี้ไม่ได้ กินผิดเวลารึป่าว หนูก็กินยาแก้ท้องเสียปวดท้องไว้ตลอด และหนูไม่ได้เป็นโลหิตจางค่ะ แต่หมอค่ะ คือ ในใบตรวจเอกซเรย์ปอดและทรวงอกหนูในใบแจ้งก็บอกว่าปกติค่ะ #รบกวนด้วยน่ะคะ

 แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

แพทย์

Oct 12, 2017 at 12:22 AM

แนะนำว่า ลองตรวจเลือดเพื่อดูไทรอยด์เพิ่มเติมค่ะ ร่วมกับเกลือเเร่ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจค่ะ 

 Gessara

สมาชิก

Oct 12, 2017 at 12:30 AM

หมอค่ะ ตอนนี้รู้สึกกลัวขึ้นมาเลย จะกล้าตรวจไหมทีนี้ หนูมาถามเพื่อให้หายสงสัยไม่กังวล(ในความคิดหนูน่ะ) นี้หนักเลย กังวลกว่าเดิมอีก 5555 ขอบคุณค่ะ คุณหมอที่ให้คำปรึกษา

 Gessara

สมาชิก

Nov 04, 2017 at 12:52 AM

หมอค่ะ หนูไปหาหมอมาแล้ว ตามที่หมอบอกเลย เพื่อตรวจละเอียดขึ้น ทั้งตรวจคลื่นไฟฟ้า เอ็กซ์เรย์ ตรวจเลือดด้วย หนูไปตรวจที่รพ.รัฐของจังหวัดที่หนูเรียน ผลบอกว่าไม่อะไร เป็นปกติดีทุกอย่างแต่ตอนหนูไปตรวจเขาวัดการเต้นหัวใจ2ครั้ง ครั้งแรกทีาแขนใช้เครื่องได้ 135 พอทีนี้เขาใช้อันที่ตรวจวัดที่มันหนีบที่ปลายนิ้วได้ 145 ค่ะหมอ เขาส่งหนูห้องฉุกเฉินมาตรวจ แต่จริงๆหนูมาตรวจเฉยๆ ไม่ได้จะเข้าห้องฉุกเฉินหนูคิดว่ามาตรวจและปรึกษาหมอ ได้ตรวจไทรอยด้วย .. ไปตรวจ 23 ต.ค. ผลออก 30 ต.ค. สรุปไม่เป็นอะไร แต่หนูถามว่าแล้วอาการเกิดเพราะอะไร หมอบอกว่าอาจจะแค่ตื่นเต้นเหนื่อยแค่นี้แหละค่ะ หมอให้ยาลดความดัน.โรคหัวใจ"หมอบอกกินตอนที่มันเต้นเร็วน่ะ " หนูงง ? สมมุติหนูเดินนานๆมันเต้นเร็ว เหนื่อยหายใจไม่ทันต้องกิน ๆยาตลอด "แต่หนูก็ไม่กินตลอดหรอกไม่เต้นเร็วจริงหนูก็ไม่กิน " ถามว่าอาการหนูเป็นไงหลังหาหมอ ก็เหมือนเดิมค่ะ เพิ่มเติมคือมียากินดีมาก เลยไม่ต้องหายใจพงาบๆ ตอนมันเต้นเร็วมากๆ